Home > PTT

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นับถอยหลังส่งต่อ Big Mission

ณ เวลานี้ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คงต้องนับถอยหลังการอำลาตำแหน่ง ซึ่งจะครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 พร้อมๆ กับการบ้านชิ้นใหญ่ให้บิ๊กซีอีโอคนใหม่ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการสรรหาจากรายชื่อผู้สมัครทั้ง 5 ราย โดยมีนัดหมายสัมภาษณ์วิสัยทัศน์ในวันที่ 17 มกราคมนี้ ทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC นายบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.

Read More

OR เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรก เปิดด้วยราคา 26.50 บาทต่อหุ้น

หุ้น โออาร์ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรก เปิดด้วยราคา 26.50 บาทต่อหุ้น เตรียมเข้า SET50 แบบ Fast-Track ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 208,980 ล้านบาท บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (‘OR’) เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 11 ก.พ. 2564 นี้ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ ‘OR’ ด้วยราคา IPO 18 บาท คิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคาเสนอขาย (IPO) ที่ 208,980 ล้านบาท โดยนับเป็นหุ้น IPO ที่มีมูลค่าสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของตลาดหุ้นไทย และคาดว่าจะได้รับการจัดเข้าไปรวมอยู่ในดัชนี SET50 และ

Read More

ปตท. ดัน OR ลุยตลาดหุ้นวัวดุ ระดม 7 หมื่นล้าน รุกนอนออยล์

ปตท. เดินหน้าดันแผนเสนอขายหุ้นไอพีโอ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ และคาดจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ท่ามกลางปัจจัยลบพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่โผล่ขึ้นทุกวัน ว่ากันว่า ตามแผน OR จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,000 ล้านหุ้น โดยมีกูรูประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท คำนวณราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น และน่าจะสามารถเข้าคำนวณในดัชนี SET50 ได้หลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องยอมรับว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทแม่และ OR พยายามดึงเวลา เพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายตลอดปี 2563 หลังจากยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

Read More

ปตท. รุกหนัก เบนเข็มสู่ไฟฟ้า

การประกาศที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีนัยสำคัญอยู่ที่การขยายธุรกิจใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีแนวโน้มเติบโต ทั้งการเข้าสู่ธุรกิจวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการรุกเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในด้านหนึ่งดูจะเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการขับเคลื่อน ปตท. ให้ก้าวเดินต่อไป เป็นการปรับเปลี่ยนที่สอดรับกับทั้งสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ก่อนหน้านี้ ปตท. เคยระบุว่าทางกลุ่มอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบริหารจัดการระหว่างเชื้อเพลิงประเภท Conventional ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหิน กับประเภท New Energy ที่ประกอบด้วยพลังงานหมุนเวียน (Renewable) พลังงานรูปแบบใหม่ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางของพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปภายในช่วงปลายปี 2563 การปรับโครงสร้างธุรกิจดังกล่าวในด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าการเติบโตของพลังงานของโลกในอนาคตจะมุ่งไปสู่พลังงานรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น แม้ว่าในส่วนของการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะยังมีความสำคัญอยู่ในช่วง 10 ปีนี้ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ เพราะถือว่าเป็นพลังงานสะอาดและเป็นพลังงานหลักที่จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวก็ตาม ระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม ปตท. แม้จะมีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นแกนหลัก แต่ ปตท. มอบหมายให้บริษัทลูกในเครือ ปตท.

Read More

ปตท. เร่งเครื่องทิ้งห่างคู่แข่ง รุกบิ๊กโปรเจกต์นอนออยล์

ปตท. กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ด้านหนึ่งเร่งคัดเลือกประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ เข้ามารับตำแหน่งแทนซีอีโอคนเก่า เทวินทร์ วงศ์วานิช ซึ่งจะเกษียณอายุวันที่ 31 สิงหาคม 2561 เพื่อเดินหน้าองค์กรธุรกิจที่สร้างกำไรมากกว่า 1.3 แสนล้านบาท อีกด้านเร่งโอนทรัพย์สินให้บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (PTTOR) เพื่อรุกบิ๊กโปรเจกต์นอนออยล์ และเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าจากปั๊ม PTT ซึ่งใช้มานานกว่า 40 ปี เป็น “PTTOR” พร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งนี้ ตามแผน 5 ปี (2561-2565) ปตท. แบ่งงบลงทุน 2 ส่วน ส่วนแรกเน้นการลงทุนที่มีความชัดเจน รวม 340,000 ล้านบาท ส่วนที่ 2 ลงทุนโครงการที่มีความเป็นไปได้อีก 245,000 ล้านบาท โดยงบลงทุนที่มีความชัดเจนได้รวมการลงทุนในบริษัทใหม่ที่เตรียมนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ บริษัท PTTOR ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างทุน ซึ่ง ปตท.

Read More

ปตท. เปิดศึกครบสูตร “พีที” เร่งเครื่องทิ้ง “บางจาก”

 การบุกธุรกิจนอนออยล์อย่างจริงจังของ ปตท. ในช่วงหลายปีจนรั้งตำแหน่งผู้นำแซงคู่แข่ง กลายเป็นบทพิสูจน์ทั้งในแง่รายได้ กำไร และความอยู่รอด ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงต่อเนื่อง ล่าสุด ปตท. เดินหน้าผลักดันสัดส่วนรายได้จากธุรกิจนอนออยล์เทียบกับธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ไม่ใช่  50:50 แต่จะเพิ่มเป็น 60:40 ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า  ตามแผนยุทธศาสตร์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จากงบลงทุนหน่วยธุรกิจน้ำมันระยะ 5 ปี (ปี  2559-2563) ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท จะใช้ขยายและปรับปรุงสถานีบริการน้ำมัน 8,000 ล้านบาท ธุรกิจค้าปลีก 2,000 ล้านบาท ธุรกิจก๊าซหุงต้ม (LPG) 2,500 ล้านบาท ที่เหลือ 7,500 ล้านบาท ใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ลงทุนคลังน้ำมันและระบบท่อต่างๆ  ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจเสริมในสถานีบริการน้ำมันไม่ใช่น้ำมัน หรือนอนออยล์ (non-oil) ซึ่งอยู่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจะเน้นแผนขยายแฟรนไชส์ร้านคาเฟ่อเมซอนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1,400 สาขา

Read More

จับตา ปตท. ผนวก ราชบุรีโฮลดิ้ง พลังงานไทยในอาเซียน

 ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อสภาพอากาศทั้งไทยและทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ด้วยวิกฤตด้านพลังงานที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้หลายหน่วยงานออกมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์การประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการหาช่องทางที่จะนำพลังงานทดแทนทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานจากขยะ มาใช้ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการมองแหล่งพลังงานตามแนวตะเข็บชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่นที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพิ่งจรดปากกาลงนามความร่วมมือลงทุนด้านพลังงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา แม้หลักใหญ่ใจความของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะมีเนื้อหาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต และสร้างความเข็มแข็งในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศร่วมกัน ดูเหมือนบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สองบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน มากกว่าจะเป็นดั่งสโลแกนที่ได้ยินจนคุ้นหูว่า “พลังไทย เพื่อไทย”  แน่นอนว่าความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอย่าง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่นอกจากจะเป็นประธานในงานและพยานคนสำคัญแล้ว ยังให้ความเห็นที่เสมือนเป็นแรงสนับสนุนแก่บริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทยที่เป็นไปเพื่อรองรับอนาคตของประเทศ การศึกษาเพื่อดำเนินโครงการด้านพลังงานที่สำคัญและเป็นทิศทางพลังงานในอนาคตที่จำเป็นของไทย ทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน “พลังความร่วมมือของแต่ละบริษัทจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่อยู่ในไทยและในต่างประเทศได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือเป็นการแสดงถึงศักยภาพของบริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทย ที่สามารถสร้างโครงข่ายพลังงานในระดับชาติ ด้วยความมุ่งมั่นในบทบาทหน้าที่สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านพลังงานของสังคมไทย” แนวความคิดดังกล่าวดูเหมือนจะตรงกับสโลแกนของ คสช. ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การขยับของสองบริษัทที่มีธงนำด้านพลังงาน

Read More

KLICK2JOY แผนบุก PTT Online

 ปตท. กำลังเร่งเปิดแนวรบธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการบุกเข้าสู่สมรภูมิใหม่ในยุคเทคโนโลยีขยายตัวอย่างรวดเร็วและตลาดอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด ผลพวงจากนโยบาย “Digital Economy” ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2558   การนำร่องเว็บไซต์ชอปปิ้งออนไลน์ CLICK2JOY ของยักษ์น้ำมันอย่าง ปตท. จึงตั้งเป้าหมายรุกเข้าสู่ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ เจาะกลุ่มผู้บริโภคตามแผนโรดแมป 5 ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2562 สอดประสานกับเครือข่ายค้าปลีกที่เดินหน้าสยายปีกครอบคลุมกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ มินิซูเปอร์มาร์เก็ตจิฟฟี่ ร้านจอยคาเฟ่คอนวีเนียน ร้านอาหารในเครือจิฟฟี่ ร้านชานมไข่มุก “เพิร์ลลี่ ที” ร้านกาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” รวมทั้งยังมีฐานลูกค้าสมาชิก “บลูการ์ด” อีกส่วนหนึ่งจากธุรกิจน้ำมัน แม้ช่วงเวลากว่า 6 เดือน เว็บไซต์ CLICK2JOY ยังทำรายได้ยอดขายเฉลี่ยเพียงหลักแสนบาทต่อเดือน เนื่องจากหลังเผยโฉมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 ยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สู่สื่อสาธารณะ แต่อาศัยการบอกต่อลูกค้าผ่านร้านจิฟฟี่และเครือข่ายสังคมออนไลน์เท่านั้น ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสั่งซื้อสินค้าจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและลูกค้าประจำของร้านจิฟฟี่  สรีนา แซ่ด่าน ผู้จัดการส่วนบริหารแบรนด์และกิจกรรมการตลาดลูกค้า บริษัท

Read More

ปตท. พลังที่ยั่งยืน ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน

 ช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีหน่วยงานหรือวิสาหกิจแห่งใดได้รับความสนใจและกล่าวถึงมากเท่ากับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รัฐวิสาหกิจที่มีรายได้มากที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยบทบาทและทิศทางขององค์กรแห่งนี้ว่าจะเป็นไปด้วยท่วงทำนองอย่างไร ขณะเดียวกัน การถกแถลงเพื่อหาหนทางจัดการกับอนาคตของ ปตท. กลับทำให้ภาพอดีตขององค์การเชื้อเพลิง ในสังกัดกรมการพลังงานทหารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ “สามทหาร” ที่เป็นประหนึ่งต้นทางก่อนการก่อร่างสร้างอาณาจักรพลังงานของไทยในนาม ปตท. ผุดพรายขึ้นมาในห้วงกระแสสำนึกของผู้คนอีกจำนวนหนึ่งไปโดยปริยาย ประวัติการณ์และความเป็นไปของ ปตท. ในวันนี้ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางอุดมการณ์ที่สวนทางและเป็นคู่ขนานระหว่างการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นส่วนใหญ่โดยรัฐ พร้อมกับหน้าที่ในการประคับประคองให้สามารถพึ่งพาตัวเองในเชิงพลังงานและเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ แต่ในอีกบริบทหนึ่งของ ปตท. ในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนระดมทุนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ สถานภาพดังกล่าวกลับทำให้ ปตท. ต้องแสวงหารายได้รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ตามหลักสากลของการประกอบกิจการในเชิงธุรกิจ ความขัดกันในเรื่องผลประโยชน์ในการดูแลส่วนได้ส่วนเสียให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะเช่นว่านี้ จึงกลายเป็นวาทกรรมที่อยู่คู่และครอบงำความเป็นไปขององค์กรแห่งนี้มาเกือบตลอดระยะเวลาของการดำรงอยู่ของ ปตท. เลยก็ว่าได้ หากในความเป็นจริงไม่ว่า ปตท. จะมีทิศทางในอนาคตอย่างไร ดูเหมือนว่าผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญซึ่งได้ถูกสถาปนาให้เป็นผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท กลับกลายเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับการดูแลจาก ปตท. เป็นพิเศษตั้งแต่ต้น และนั่นเป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างมุ่งหมายที่จะได้เข้ามามีบทบาทและตำแหน่งใน ปตท. อย่างต่อเนื่องไม่ต้องนับรวมเรื่องผลประโยชน์รายทางอื่นๆ ที่ยังอภิปรายและหาข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ระบุความถูกผิดได้อย่างชัดเจน มิติที่ว่านี้ ดูจะเป็นเรื่องราวที่สะสมและเป็นรากของปัญหาสำหรับ ปตท. มาเนิ่นนาน แม้ว่าจะไม่ใช่ประเด็นทางยุทธศาสตร์ของการพัฒนาธุรกิจก็ตาม ย้อนกลับไปปี 2521 “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” หรือ “ปตท.” ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานในช่วงวิกฤตน้ำมันโลก

Read More

ขยายสมรภูมิค้าปลีก โมเดลธุรกิจใหม่ของ ปตท.

 แม้รายได้รวมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มูลค่ากว่า 2.4 ล้านล้านบาท มาจาก “น้ำมัน” เป็นตัวหลัก ทั้งการซื้อขายน้ำมันดิบระหว่างประเทศ ธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน แต่หากเปรียบเทียบกับระดับกำไร 100,000 ล้านบาท และนับวันส่วนต่างกำไรของธุรกิจน้ำมันจะลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง มิหนำซ้ำยังต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล และเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ ปตท. ต้องปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยให้น้ำหนักกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ (นอนออยล์) และบุกธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการร่วมมือกับบริษัท เค.อี.แลนด์ จำกัด ลงทุนก่อสร้างไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์ครบวงจร “เดอะคริสตัลพีทีที” บนถนนชัยพฤกษ์ พื้นที่ 12 ไร่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปีนี้  ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของทิศทางการทำธุรกิจน้ำมัน ไม่ใช่แค่การเปิดปั๊มน้ำมันในศูนย์การค้า แต่เป็นการสร้างธุรกิจค้าปลีกเป็นจุดขายใหม่และใช้สถานีบริการน้ำมันเป็น “แม็กเน็ต” ตัวหนึ่ง  โดยพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดกว่า 9,000 ตารางเมตรในเดอะคริสตัลพีทีที  จะประกอบไปด้วยร้านรูปแบบใหม่ของ ปตท. ทั้งจิฟฟี่ซูเปอร์เฟรชมาร์เก็ต จิฟฟี่คิทเช่น ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอน มีโซนร้านค้าแฟชั่น โซนการศึกษาสำหรับเด็กๆ

Read More