Home > สกสว

นักวิจัยถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ไทยอย่าประมาทสึนามิอันดามันยังเสี่ยง

นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เตือนประเทศไทยต้องเตรียมรับมือ ห่วงชายฝั่งทะเลอันดามันยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 ทั้งระบบเตือนภัยสึนามิและแผนที่หลบภัยสึนามิ รวมถึงมาตรการผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่ประชาชนควรเรียนรู้เทคนิคการหลบภัยทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เผยถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ว่าเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน และสูญหายอีกประมาณ

Read More

นักวิจัยโคราชช่วยยกระดับดินด่านเกวียน พัฒนาดริปเปอร์กาแฟ-ภาชนะกินเข่าค่ำ

สกสว. หนุนทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมายกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มและแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งชุดดริปเปอร์และฟิลเตอร์เซรามิกส์จากเนื้อดินด่านเกวียนและกากกาแฟดงมะไฟ และชุดภาชนะกินเข่าค่ำตามประเพณีพื้นถิ่นจากดินด่านเกวียนผสมดินเหลือใช้จากเอสซีจี ผศ. ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ลงพื้นที่ติดตามผลงานวิจัยมูลฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริม ววน. โดยมีผลงานเด่นในการเพิ่มโอกาสการแข่งขันเชิงพาณิชย์ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม คือ “การสร้างฟิลเตอร์เซรามิกส์สำหรับดริปกาแฟจากเนื้อดินด่านเกวียนและกากกาแฟดงมะไฟ” ซึ่งมี ผศ. ดร.อ่อนลมี กมลอินทร์ สาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ โดยใช้องค์ความรู้จากวัสดุศาสตร์ด้านเซรามิกส์มาสร้างผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการดื่มกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นักวิจัยได้ช่วยยกระดับชุมชนด่านเกวียนด้วยการต่อยอดใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น โดยการผสานดินด่านเกวียนและกาแฟดงมะไฟ สองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมา สร้างเป็นชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ที่มีความเป็นฟิลเตอร์ในตัว และหาอัตราส่วนผสมของเคลือบขี้เถ้าจากกากกาแฟดงมะไฟสำหรับตกแต่งชุดดริปเปอร์ นับเป็นสินค้าแปลกใหม่ที่มีสีสันเทียบเท่าต่างประเทศ รวมถึงออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวการทำกาแฟและเครื่องปั้นดินเผา ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย และถูกใจคอกาแฟ วัสดุที่พัฒนาขึ้นมีความแข็งแรงเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้จริง สามารถนำตัวฟิลเตอร์เซรามิกส์ไปดริปกาแฟชนิดต่าง ๆ ได้ตามกระบวนการดริปทั่วไปโดยไม่ต้องใช้กระดาษกรอง ในปริมาณกาแฟคั่วบด 12-15 กรัม จะช่วยให้กาแฟมีความเข้มและนุ่มนวล รู้สึกถึงรสชาติผลไม้จากการดริป พร้อมกับมีคู่มือให้ผู้ใช้งานสำหรับวิธีแก้ไขการอุดตันของฟิลเตอร์ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ยังปราศจากสารพิษในดิน จึงเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

Read More

มรภ. หมู่บ้านจอมบึงมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สกสว. แนะดันมวยไทย-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมูลค่าสูง

สกสว. พร้อมสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และต่อยอดขยายผลการใช้ประโยชน์และเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวมูลค่าสูงเชิงสุขภาพ และผลักดัน soft power มวยไทยได้ ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และคณะ เดินทางไปติดตามการดำเนินงานด้านวิทยาสาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และรับฟังการนำเสนอโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยงานวิจัยพื้นฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปีงบประมาณ 2564-2566 โดยมี ผศ. ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ให้การต้อนรับและนำเสนอภาพรวมการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ผศ. ดร.ชัยฤทธิ์ระบุว่า จังหวัดราชบุรีถือเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล เนื่องจากมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และมี GDP อยู่ในอันดับที่ 14 ของประเทศ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงจึงเน้นการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐานและงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อมุ่งการสร้างผลกระทบของงานวิจัย โดยนำโจทย์มาพัฒนาเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และนำไปขยายผลต่อยอด รวมถึงเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น รวมถึงพัฒนาการเรียนการสอน และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”

Read More

กองทุน ววน. สานพลังกรมศิลปากรเสริมความเข้มแข็งของโบราณสถาน

กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผนึกกำลังกรมศิลปากร หารือแนวทางอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วย ววน. มุ่งเป้า ‘รวมกันเพื่อเข้มแข็ง’ และใช้งบประมาณวิจัยอย่างคุ้มค่าเพื่อประโยชน์ต่อหน่วยงาน ประเทศชาติ และประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของโบราณสถานอย่างแท้จริง รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย น.ส.สตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำคณะนักวิจัยเข้าพบ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อร่วมประชุมหารือการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการเชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างทุนทางปัญญาแก่คนไทยในด้านการอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งนี้ สกสว.เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนระบบวิจัยของประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ รวมถึงภัยพิบัติและแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อโบราณสถาน ตลอดจนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยในพื้นที่มีบทบาทในการบริการวิชาการ โดยกองทุนฯ ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยเชิงกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ชาติผ่าน วช. ขณะที่กรมศิลปากรสามารถขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนฯ ได้โดยตรงเพื่อทำงานตามพันธกิจ ประเด็นที่อยากหารือร่วมกันในครั้งนี้คือ แนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย หน่วยงานเจ้าภาพในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการสืบค้นและบูรณะโบราณสถานให้ยั่งยืนต่อไป โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ รวมทั้งการจัดทำระบบเตือนภัยโบราณสถานในด้านต่าง ๆ เพื่อวางแผนเสริมกำลังโครงสร้างโบราณสถานได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนการถ่ายโอนความรู้ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันเป็นโครงการนำร่องระหว่างนักวิจัยและกรมศิลปากร

Read More

กสว. ย้ำสร้างทีมไทยแลนด์เข็นวิจัยเสริมแกร่งเอกชน พร้อมหนุนการทำงานร่วมกับนาซ่าและธนาคารโลก

กสว. หนุนตั้ง ‘ทีมไทยแลนด์’ เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมสร้างกำลังคนเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต รวมถึงการสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกับนาซ่าและธนาคารโลกเพื่อขับเคลื่อน ววน. สู่การพัฒนาประเทศ ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวาระสำคัญ เช่น การติดตามประเมินผลว่าตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และอาจตั้ง “ทีมไทยแลนด์” เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนต่าง ๆ ต้องเห็นภาพเชิงระบบของประเด็นที่ขับเคลื่อนเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย เช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและระบบราง ทั้งการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน ความก้าวหน้าและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ความต้องการลงทุนร่วมของภาคเอกชน นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาอนุมัติการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญของแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากลแข่งขันได้ และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน ในแผนด้าน ววน. ของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งทำงานเพื่อปิดช่องว่างในการสร้างคนและเครือข่าย รวมถึงการนำความรู้เทคโนโลยีต่างประเทศมาใช้หรือการถ่ายทอดและต่อยอดเทคโนโลยีที่จะต้องทำงานแบบทีมไทยแลนด์เช่นกัน พร้อมทั้งอาจต้องพิจารณาการสร้างกำลังคนในภาคอุดมศึกษาที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) อาจต้องพิจารณาสนับสนุนการสร้างนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกควบคู่กันไปกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ที่รับผิดชอบด้านการผลิตกำลังคนในระดับอุดมศึกษา โดยอาจปรับเปลี่ยนหลักสูตรในระบบวิศวกรรมให้ตอบโจทย์เชิงประเด็นมากขึ้น เช่น วิศวกรรมไฟฟ้าระบบราง ฟิสิกส์ระบบราง และสาขาที่ขาดแคลนอื่น

Read More

สกสว. หนุนจัดเวทีรับฟังเสียงชาวอีสาน เร่งแก้หนี้แก้จนและปัญหาสิ่งแวดล้อม

สกสว. จับมือศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดเวทีคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ปัญหาใหญ่คือ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แก้หนี้แก้จน พร้อมรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งภัยแล้ง คุณภาพแหลงน้ำ และการจัดการขยะ-ของเสีย โครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 17 มกราคม 2566 ณ โรงแรมอวานีขอนแก่น โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคนของภาคอยู่ในระดับต่ำ ภัยแล้งและคุณภาพของแหล่งน้ำในพื้นที่ และการจัดการขยะและของเสีย ซึ่งเสียงของประชาชนในพื้นที่จะเป็นตัวสะท้อนความต้องการงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาบนฐานความรู้และการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผศ. ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สกสว. ระบุว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย โดยการรับฟังทราบความต้องการในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้

Read More

สกสว. หนุนศึกษาความต้องการในพื้นที่ภาคเหนือ เร่งแก้ปัญหาหมอกควันและภัยพิบัติด้านอากาศ

สกสว. จับมือศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดำเนินโครงการจัดทำแผนบูรณาการด้าน ววน. เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน และจัดเวทีคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคเหนือ หวังนำข้อมูลมาออกแบบแผน ววน. ให้ตรงเป้า ชี้ปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้คือ ปัญหาหมอกควัน และภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคเหนือ วันที่ 5 มกราคม 2566 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอที่มาและผลการจัดทำรายงานความต้องการระดับพื้นที่จากโครงการปีที่ 1 รวมถึงกระบวนการจัดทำข้อมูลเพื่อสำรวจความต้องการระดับพื้นที่กับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และแผนภาพการทำงานของกลไกระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ระดับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยการรับทราบความต้องการในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สามารถตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริง ซึ่ง สกสว.จะนำข้อมูลในพื้นที่มาออกแบบแผน ววน. ด้านต่าง ๆ ให้ตรงเป้าหมายความต้องการของพื้นที่ซึ่งเป็นผู้ใช้ความรู้ อีกทั้งกลไกการทำงานของ ววน.นี้ยังทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่ากองทุนส่งเสริม ววน. ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคอย่างแท้จริง ผศ.ชล บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Read More

กสว. อนุมัติคำขอตั้งงบวิจัย 3.11 หมื่นล้านบาท พร้อมชงครม. มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

กสว. อนุมัติคำขอตั้งงบวิจัย 3.11 หมื่นล้านบาท ให้ สกสว. เร่งทำแผนย่อยผลักดันการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเห็นชอบให้เสนอมาตรการสร้างความร่วมมือและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในโครงการจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่จากต่างประเทศ เข้า ครม. มุ่งเน้น 7 สาขาเป้าหมาย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวาระสำคัญคือ การอนุมัติคำขอตั้งงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 3.11 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย คำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน จำนวน 9,083.5386 ล้านบาท และคำของบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ จำนวน 22,016.4614 ล้านบาท และขอให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ทำงานร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน เพื่อพัฒนาแผนงานย่อยรายประเด็นการผลักดันการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้สามารถตอบคำถามคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณ โดย สกสว. ขอโอนย้ายงบประมาณ 279.98 ล้านบาท จากงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐานไปยังงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ขณะที่งบประมาณเสนอตั้งแผนงานแก้ไขปัญหาและตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ

Read More

สกสว. ยื่นมือแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ เกษตรกรใต้เสียหายหนัก 4 แสนล้านบาท

สกสว.ลงพื้นที่ยะลา หารือการใช้วิจัยและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โรคเชื้อราในใบทุเรียน และโรคเหี่ยวของกล้วยหิน หลังประเมินความเสียหาย 14 จังหวัด 4 แสนล้านบาทใน 3 ปี นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไข “โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โรคเชื้อราในใบทุเรียน และโรคเหี่ยวของกล้วยหิน” ณ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรร่วมหารือ เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหา สถานะขององค์ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรของจังหวัดยะลาเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ปี 2562 แต่เมื่อเทียบกับจังหวัดชุมพรที่มีขนาดใกล้เคียงกันพบว่ามีตัวเลขสูงกว่ายะลาเกือบ 4 เท่าตัว สะท้อนถึงการใช้ประโยชน์ทั้งความรู้และเทคโนโลยีที่ต่ำมากของเกษตรกร จึงต้องเร่งหาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพื่อให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจขยับสูงขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้มีปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในสวนยางพาราและลุกลามไปยังสวนทุเรียน จึงต้องหาเจ้าภาพและงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยนายอับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา เผยว่า ได้หารือในสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่เริ่มระบาดในจังหวัดนราธิวาสเมื่อปี 2562 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ “ปัญหานี้ลุกลามไปในพื้นที่ 14 จังหวัด ถึงวันนี้ประเมินความเสียหายได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท

Read More

สกสว.จับมือทุกภาคส่วนรุกขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีชั้นเชิง

สกสว.นำทัพขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย เปิดเวทีระดมสมองจับมือทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับภูมิภาค ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “เอนก” ชี้นักวิชาการต้องเป็นนักบริหารที่เป็นผู้นำต้องช่ำชองเรื่องยุทธศาสตร์ให้มากขึ้น และเห็นโอกาสที่จะพัฒนาประเทศ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 (TSRI Annual Symposium 2022) ภายใต้หัวข้อ “ขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว และผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดเห็นจากทั้งภาคนโยบายของประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาคม ววน. และผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนานโยบายเศรษฐกิจและสังคมระดับภูมิภาค ตลอดจนแนวทางการทำงานร่วมกันของ ววน. กับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภูมิภาค ในโอกาสนี้ รมว.อว.ได้ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ

Read More