Home > ศ.ดร. อมร พิมานมาศ

นักวิจัยถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น ไทยอย่าประมาทสึนามิอันดามันยังเสี่ยง

นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติถอดบทเรียนแผ่นดินไหวญี่ปุ่น เตือนประเทศไทยต้องเตรียมรับมือ ห่วงชายฝั่งทะเลอันดามันยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 ทั้งระบบเตือนภัยสึนามิและแผนที่หลบภัยสึนามิ รวมถึงมาตรการผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่ประชาชนควรเรียนรู้เทคนิคการหลบภัยทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เผยถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ว่าเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน และสูญหายอีกประมาณ

Read More

นั่งร้านถล่ม กับสาเหตุเชิงวิศวกรรม

ศ. ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์นั่งร้านก่อสร้างโครงการ “วัน แบงค็อก” ถล่มเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 3 รายนั้น เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง และสร้างความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เข่น ตึกถล่มขณะกำลังก่อสร้างอาคาร 6 ชั้นที่ซอยรังสิตคลอง 6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และนั่งร้านก่อสร้างโรงฝึกกีฬา วิทยาลัยพลศึกษาที่จังหวัดกระบี่ถล่ม มีผู้เสียชีวิต 5 คน เป็นสตรีทั้งหมด เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 ในเชิงวิศวกรรม สาเหตุหลักของการวิบัติของนั่งร้านเหล็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น 1. คํ้ายันไม่เพียงพอระหว่างการก่อสร้าง ไม่สามารถรับน้ำหนักคอนกรีตระหว่างก่อสร้างได้ 2. การประกอบคํ้ายันไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง เช่น ขาดชิ้นส่วนค้ำยันทแยง

Read More

แผ่นปูนร่วง ปัญหาใกล้ตัว

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย และนักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. เปิดเผยถึงเหตุการณ์แผ่นปูนร่วงลงมาจากสถานีรถไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ว่าเป็นอันตรายต่อประชาชนและผู้ขับขี่ยานพาหนะ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดสนิมและแผ่นปูนร่วงลงมานั้น ตามข่าวระบุว่าเกิดจากสนิมเหล็กมีความเป็นไปได้สูง แต่ต้องวิเคราะห์ว่า เป็นสนิมของเหล็กเสริมด้านในหรือเหล็กเสริมที่บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างแผ่นปูน เมื่อพูดถึงสนิมเหล็กกับโครงสร้างคอนกรีต พบว่าเป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น 1. สภาพสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งริมถนนที่มีการจราจรมาก ทำให้เกิดปฏิกริยาคาร์บอเนชั่น และลดความเป็นด่างในคอนกรีตลงซึ่งทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่ายขึ้น 2. ระยะหุ้มคอนกรีต หากคอนกรีตมีระยะหุ้มเหล็กน้อยไป จะส่งผลให้สารเคมีแพร่เข้าไปทำปฏิกริยากับเหล็กเสริมด้านใน เกิดเป็นสนิมได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่เป็นการวิบัติที่จุดยึดต่อยึดแผ่นปูนกับเข้ากับโครงสร้างหลัก ต้องตรวจสอบว่าการยึดแผ่นปูนนั้นใช้วัสดุอะไร เหล็กฉากหรือเหล็กเส้น ตลอดจนวิธีการเชื่อมต่อ หากทำไม่ถูกวิธีแผ่นปูนก็อาจร่วงหล่นได้ รวมทั้งความชื้นที่เกิดจากการระบายน้ำและน้ำฝนก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสนิม สำหรับแนวทางป้องกันปัญหาแผ่นปูนร่วงเบื้องต้นนั้น ศ.ดร.อมรระบุว่าจะต้องมีการตรวจสอบโดยวิศวกรที่มีความชำนาญ ซึ่งทำได้หลายวิธีคือ 1. การตรวจสอบเชิงพินิจ ซึ่งเป็นการดูด้วยสายตา แต่วิธีการนี้อาจตรวจไม่พบสนิมที่เกิดขึ้นด้านใน และ 2. การตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือเบื้องต้น เช่น Half Cell Potential ซึ่งจะวัดความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้าภายในเหล็กเสริมและสามารถบ่งชี้โอกาสการเกิดสนิมเหล็กได้ และ 3. การตรวจสอบด้วยวิธีทำลาย (Destructive testing) ถ้าเป็นเหล็กเสริมด้านใน

Read More