Home > ผศ. ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง

นักวิจัยโคราชช่วยยกระดับดินด่านเกวียน พัฒนาดริปเปอร์กาแฟ-ภาชนะกินเข่าค่ำ

สกสว. หนุนทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมายกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มและแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งชุดดริปเปอร์และฟิลเตอร์เซรามิกส์จากเนื้อดินด่านเกวียนและกากกาแฟดงมะไฟ และชุดภาชนะกินเข่าค่ำตามประเพณีพื้นถิ่นจากดินด่านเกวียนผสมดินเหลือใช้จากเอสซีจี ผศ. ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ลงพื้นที่ติดตามผลงานวิจัยมูลฐานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริม ววน. โดยมีผลงานเด่นในการเพิ่มโอกาสการแข่งขันเชิงพาณิชย์ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม คือ “การสร้างฟิลเตอร์เซรามิกส์สำหรับดริปกาแฟจากเนื้อดินด่านเกวียนและกากกาแฟดงมะไฟ” ซึ่งมี ผศ. ดร.อ่อนลมี กมลอินทร์ สาขาวิชานวัตกรรมเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ โดยใช้องค์ความรู้จากวัสดุศาสตร์ด้านเซรามิกส์มาสร้างผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการดื่มกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นักวิจัยได้ช่วยยกระดับชุมชนด่านเกวียนด้วยการต่อยอดใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น โดยการผสานดินด่านเกวียนและกาแฟดงมะไฟ สองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมา สร้างเป็นชุดดริปเปอร์เซรามิกส์ที่มีความเป็นฟิลเตอร์ในตัว และหาอัตราส่วนผสมของเคลือบขี้เถ้าจากกากกาแฟดงมะไฟสำหรับตกแต่งชุดดริปเปอร์ นับเป็นสินค้าแปลกใหม่ที่มีสีสันเทียบเท่าต่างประเทศ รวมถึงออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวการทำกาแฟและเครื่องปั้นดินเผา ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย และถูกใจคอกาแฟ วัสดุที่พัฒนาขึ้นมีความแข็งแรงเหมาะสมกับการนำไปใช้งานได้จริง สามารถนำตัวฟิลเตอร์เซรามิกส์ไปดริปกาแฟชนิดต่าง ๆ ได้ตามกระบวนการดริปทั่วไปโดยไม่ต้องใช้กระดาษกรอง ในปริมาณกาแฟคั่วบด 12-15 กรัม จะช่วยให้กาแฟมีความเข้มและนุ่มนวล รู้สึกถึงรสชาติผลไม้จากการดริป พร้อมกับมีคู่มือให้ผู้ใช้งานสำหรับวิธีแก้ไขการอุดตันของฟิลเตอร์ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ยังปราศจากสารพิษในดิน จึงเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

Read More

สกสว. หนุนจัดเวทีรับฟังเสียงชาวอีสาน เร่งแก้หนี้แก้จนและปัญหาสิ่งแวดล้อม

สกสว. จับมือศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดเวทีคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ปัญหาใหญ่คือ ความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แก้หนี้แก้จน พร้อมรับมือปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งภัยแล้ง คุณภาพแหลงน้ำ และการจัดการขยะ-ของเสีย โครงการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อคืนข้อมูลผลการศึกษาความต้องการระดับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 17 มกราคม 2566 ณ โรงแรมอวานีขอนแก่น โฮเทล แอนด์คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น โดยประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคนของภาคอยู่ในระดับต่ำ ภัยแล้งและคุณภาพของแหล่งน้ำในพื้นที่ และการจัดการขยะและของเสีย ซึ่งเสียงของประชาชนในพื้นที่จะเป็นตัวสะท้อนความต้องการงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาบนฐานความรู้และการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผศ. ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สกสว. ระบุว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย โดยการรับฟังทราบความต้องการในพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้

Read More

สกสว. ยื่นมือแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ เกษตรกรใต้เสียหายหนัก 4 แสนล้านบาท

สกสว.ลงพื้นที่ยะลา หารือการใช้วิจัยและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โรคเชื้อราในใบทุเรียน และโรคเหี่ยวของกล้วยหิน หลังประเมินความเสียหาย 14 จังหวัด 4 แสนล้านบาทใน 3 ปี นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไข “โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา โรคเชื้อราในใบทุเรียน และโรคเหี่ยวของกล้วยหิน” ณ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรร่วมหารือ เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัญหา สถานะขององค์ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรของจังหวัดยะลาเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ปี 2562 แต่เมื่อเทียบกับจังหวัดชุมพรที่มีขนาดใกล้เคียงกันพบว่ามีตัวเลขสูงกว่ายะลาเกือบ 4 เท่าตัว สะท้อนถึงการใช้ประโยชน์ทั้งความรู้และเทคโนโลยีที่ต่ำมากของเกษตรกร จึงต้องเร่งหาแนวทางในการสร้างมูลค่าเพื่อให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจขยับสูงขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้มีปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในสวนยางพาราและลุกลามไปยังสวนทุเรียน จึงต้องหาเจ้าภาพและงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยนายอับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา เผยว่า ได้หารือในสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่เริ่มระบาดในจังหวัดนราธิวาสเมื่อปี 2562 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ “ปัญหานี้ลุกลามไปในพื้นที่ 14 จังหวัด ถึงวันนี้ประเมินความเสียหายได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท

Read More