Home > สกสว (Page 4)

กมธ.แก้จนฯ จับมือสกสว.แก้ปัญหาน้ำชุมชน ใช้นวัตกรรมสังคมเพิ่มผลผลิตที่กำแพงเพชร

รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และคณะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับนายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดินทำกินของเกษตรกร ณ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นคณะทั้งหมดได้ไปศึกษาดูงานและรับทราบสรุปผลงานโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตโครงการชลประทานท่อทองแดง ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งคบ.ท่อทองแดงเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีเป้าหมายในการลดการใช้น้ำในภาคเกษตร โดยจัดทำงานวิจัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ รองรับภาวการณ์ลดกำลังคนของเจ้าหน้าที่รัฐ และสร้างความมั่นใจจากเกษตรกรต่อโครงการ โดยสร้างกลไกการสื่อสารระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่โครงการซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมาก สิ่งสำคัญคือ ต้องรักษาธรรมาภิบาลการใช้น้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่อย่างเหมาะสม ผู้นำชุมชนและผู้นำเกษตรกรเข้าใจว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่อย่างไร ในฤดูแล้งสามารถประเมินได้ว่าเมื่อมีน้ำต้นทุนและน้ำในเขื่อนมีน้อย สามารถรู้ทันสถานการณ์น้ำถึงวิกฤตในพื้นที่ล่วงหน้าและมีข้อมูลประกอบการขอโควตาน้ำจากกรมชลประทาน ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลซึ่งเป็นพื้นที่กลางน้ำ โดยมีประตูเปิดปิดผลักดันน้ำเข้านิคมและผันน้ำไปช่วยเกษตรกรในหมู่ต่าง ๆ รวมทั้งสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ดอนที่ไม่สามารถรับน้ำจากคบ.ท่อทองแดงและคบ.วังบัวได้ โดยขุดคลองให้น้ำไหลผ่านและติดตั้งโรงสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ช่วย ในอนาคตจะมีโครงการรับมือภัยแล้งเพิ่มโดยใช้พื้นที่ว่างเปล่า 80 ไร่ ทำเป็นแก้มลิงรับน้ำล่วงหน้าในปลายฤดูฝน ซึ่งชาวบ้านจะของบประมาณทำโครงการดังกล่าว พร้อมขอทำประตูน้ำเพื่อยกระดับน้ำดันขึ้นคลองซอยด้านบนซึ่งเป็นพื้นที่ดอน ขณะที่การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ อบต.หนองไม้กอง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นส่วนท้ายน้ำ

Read More

ภาคีจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์-โคมไฟ สืบสานวิถีเยาวราชส่งต่อคนรุ่นใหม่

ภาคีวัฒนธรรมชี้อัตลักษณ์ย่านเยาวราชสูงค่า ร่วมถ่ายทอดแก่นแท้ของเทศกาลไหว้พระจันทร์และองค์ความรู้ในพื้นที่อย่างเหมาะสม หากลวิธีส่งต่อให้คนรุ่นใหม่สืบสานพื้นที่วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและสีสันที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว โครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางศิลปะและวัฒนธรรมย่านเยาวราช มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับชุมชนเลื่อนฤทธิ์ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในย่านเยาวราช จัดกิจกรรม “Moon Festival” ไหว้พระจันทร์ วันดูโคม ชมศิลปะ ณ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถ.เยาวราช พร้อมจัดเสวนา “คุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด, ประเพณีจีนในสังคมไทย” ศ. ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ ผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์มีความสำคัญรองมาจากเทศกาลตรุษจีน นักวิจัยใช้พื้นที่ของชุมชนและเทศกาลเป็นตัวเชื่อมคนภายในกับคนภายนอกให้มองเข้ามาในพื้นที่เยาวราชซึ่งยังคงรักษาประเพณีไว้ โดยมีอีกตัวเชื่อมหนึ่งคือ “โคมไฟ” อันเป็นสัญลักษณ์การไหว้พระจันทร์ในอดีต เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ แนวคิดเรื่องคุณค่า การเปลี่ยนผ่าน และการต่อยอด โดยมองว่าวัฒนธรรมอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่เราจะปรับเปลี่ยนและอยู่กับวัฒนธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร การถ่ายทอดประเพณีไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งค้นหากลไกแนวทางจัดการศิลปะของชุมชน และสร้างเวทีพบปะสังสรรค์ทางความคิด โดยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ภาครัฐ เอกชนเป็นภาคีสำคัญ ด้านนายไพศาล หทัยบวรพงษ์ ผู้เชียวชาญด้านวัฒนธรรมจีน เผยว่า ในฐานะลูกหลานจีนรุ่นที่ 3 ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเทศกาลไหว้พระจันทร์ในประเทศไทยที่นับวันเลือนหายไป ในขณะที่ช่วงเดินทางไปเยี่ยมบรรพบุรุษที่เมืองซัวเถา

Read More

งานต้นแบบวิจัยสู่นโยบายพาณิชย์ ใช้นวัตกรรมเคลือบผ้าไหมให้คงรูป-ลดขุย

ผู้ประกอบการสุดปลื้มหลัง ส.ส.และเจ้าหน้าที่รัฐสภาชื่นชมผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหน้ากากผ้าไหมแท้ร่วมโชว์ที่รัฐสภา โดย สกสว. ได้เชื่อมโยงพลังการพัฒนานวัตกรรมจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำกับหน่วยงานนโยบายด้านพาณิชย์ พร้อมนำ ‘คีแตม’ สารสกัดจากเมล็ดมะขามเหลือทิ้งและไคโตซานจากเปลือกกุ้งมาเคลือบผ้าไหมให้คงรูป แข็งแรงทนทานและไม่เป็นขุย หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแสดงผลงานหัตถศิลป์ชุมชนภายใต้แบรนด์ “ไผท” ในงานนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ซึ่งจัดโดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย น.ส.ชลีทิพย์ ทิพเนตร กรรมการผู้จัดการบริษัท บรรจงศิลป์ไทย จำกัด และบริษัทเกรซ ออฟฟีเชี่ยล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าไหมแท้ทอมือสีธรรมชาติและกระเป๋าถือดีไซน์ต่าง ๆ ได้รับความสนใจและชื่นชมจากสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐสภาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสีสันและการออกแบบที่สวยงามทันสมัย โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามถึงการช่วยเหลือชุมชนและการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข ชื่นชมที่มีการผลักดันและช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน รวมถึง ส.ส.นครศรีธรรมราชที่จะร่วมสนับสนุนด้านการพัฒนาชุมชน ทั้งนี้ น.ส.ชลีทิพย์เป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการเชื่อมโยงงานวิจัยภับภาคนโยบายพาณิชย์ ของสำนักประสานงานโครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคนโยบาย

Read More

กสว. ยินดีเปิดรับโจทย์วิจัยแก้ปัญหาประเทศ ไก่โคราช-เกษตรแม่นยำลุยขยายเครือขาย

ประธานบอร์ด กสว. พร้อมเปิดรับโจทย์วิจัยจากสภานิติบัญญัติและทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศ มั่นใจมีผลงานคุ้มค่าการลงทุน ไม่ขึ้นหิ้ง ด้าน มทส.จับมือเบทาโกรขยายตลาดทั้งในห้างและส่งเสริมการเลี้ยงไก่ในส.ป.ป.ลาวและกัมพูชา ขณะที่รมว.สธ.-ส.ส.ลำพูนแนะทีมเกษตรแม่นยำขยายเครือข่ายและประยุกต์ใช้งานระบบเซ็นเซอร์ทางเคมีในพื้นที่เพิ่มเติม ศ. นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดงานนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย นับเป็นการตอบโจทย์ภาคประชาชนและภาคนโยบายผ่านงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของประเทศและงานวิจัยที่สามารถนำไปกำหนดนโยบาย โดยมีหน่วยบริหารจัดการทุนเป็นหน่วยผลิตผลงานวิจัย เพื่อลดคำวิจารณ์ ‘งานวิจัยขึ้นหิ้ง’ และลดความซ้ำซ้อนของการสนับสนุนทุนวิจัย โดยพยายามที่จะตอบโจทย์ของทุกภาคส่วน เช่น ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) การต่อยอดและย่อยงานวิจัยให้เข้าใจง่าย เช่น คู่มือเทคนิคการปลูกลำไยนอกฤดู และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ “สกสว.เป็นแหล่งรับโจทย์วิจัยจากฝ่ายต่าง ๆ กระจายสู่หน่วยบริหารจัดการทุน และนำงานวิจัยพร้อมใช้มาขยายผลต่อยอดผ่าน ส.ส. ซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนและรู้ถึงปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี ดังนั้นหากมีปัญหาใดทางเราพร้อมที่จะนำมาเป็นโจทย์วิจัย

Read More

ประธานรัฐสภาสนใจนวัตกรรมบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ในงานนิทรรศการใช้ประโยชน์ที่รัฐสภา

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อม ส.ส. และเจ้าหน้าที่รัฐสภา ให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ประธานรัฐสภาให้ความสนใจการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ โดยสอบถามถึงจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมและประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับ ซึ่งนายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ในฐานะหัวหน้าโครงการ โครงการวิจัย “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร” รายงานว่าเพื่อหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้าใจภาพรวมของระบบน้ำในชุมชนตนเอง โดยศึกษารูปแบบและกลไกสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ ผลผลิตและผลกระทบตามที่ตั้งไว้ จึงได้ดำเนินโครงการร่วมกับพื้นที่นำร่อง 10 ตำบล 4 อำเภอ ซึ่งคณะวิจัยได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินกิจกรรมในชุมชนโดยเริ่มจากการพัฒนาผู้นำในพื้นที่ให้มีความเข้าใจ ร่วมจัดทำประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบน้ำในพื้นที่เพื่อให้เข้าใจพื้นที่แหล่งน้ำที่มี การจัดทำตารางการเพาะปลูกพืชในรอบปี บนทางเลือกพืชที่เพาะปลูกต่าง ๆ ตามปริมาณน้ำแต่ละปี จัดทำแผนผังชุมชนซึ่งแสดงผังเกษตร ผังน้ำ

Read More

เปิดตัวเชื้อเพลิงและสารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis ลุยขยะเพิ่มทรัพย์สู่สังคมไร้ขยะ

สกสว.หนุนนักวิจัย VISTEC เผยโฉมงานวิจัยขยะเพิ่มทรัพย์ซึ่งใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนขยะอินทรีย์และขยะเศษอาหารเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีสารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับพืช ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของรัฐบาล ศ. ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น หัวหน้าโครงการ “ระบบสาธิตกระบวนการชีวภาพเพื่อการแปลงขยะอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยได้ร่วมกันทำโครงการ “ขยะเพิ่มทรัพย์” โดยใช้เทคโนโลยี C-ROS (Cash Return from ZeroWaste and Segregation of Trash) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชีวภาพแบบบูรณาการสำหรับสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็น "สังคมไร้ขยะ" ที่สามารถเปลี่ยนขยะอินทรีย์จากอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร ขยะเศษอาหารจากเทศบาลชุมชนและครัวเรือนให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและสารชีวภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเพื่อการสร้างรากฐานสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) “ทีมวิจัยเชื่อว่าระบบการจัดการขยะที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจากการแยกขยะ แต่กระบวนการแยกขยะมีค่าใช้จ่ายและเป็นการฝืนพฤติกรรมคนส่วนใหญ่ ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องสร้างเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ เมื่อขยะเป็นของมีมูลค่า จะทำให้วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นได้จริง ปัจจุบันทีมวิจัยมีเทคโนโลยีหลายแบบที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มได้หลายตัว หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่พร้อมใช้งานและสามารถจัดจำหน่ายแล้ว คือสารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis ที่ผ่านกระบวนการย่อยแบบไฮเทค มีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับพืช ปลอดภัย ไร้สารพิษ” BioVis เป็นสารชีวภาพสำหรับบำรุงพืชที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี สมบูรณ์ แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย

Read More

หน้ากากผ้าบาราโหม-ปัตตานียอดพุ่ง ช่วยแรงงานกลับจากมาเลเซียมีรายได้

เครือข่ายวิจัย สกสว. ปัตตานี กลุ่มบาราโหมบาร์ซา พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงโควิด-19 ชักชวนแรงงานที่กลับจากมาเลเซียทำหน้ากากผ้าลวดลายมลายู สร้างรายได้ตกเดือนละ 1.2 แสนบาท ยอดซื้อส่วนใหญ่มาจาก กทม. เพราะเป็นงานศิลป์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร นางฟารีดา กล้าณรงค์ หัวหน้ากลุ่มบาราโหมบาร์ซา และวิทยากรศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวอารยธรรมปัตตานี ในฐานะเครือข่ายวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในโครงการ “วิจัยและพัฒนาศักยภาพเยาวชนนอกระบบจังหวัดชายแดนใต้สู่การเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้” เปิดเผยว่า ตนได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้แนวคิดการนำสิ่งที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนงานหัตถกรรม จากที่ทำผ้าบาติกด้วยบล๊อกไม้โดยประยุกต์เอามรดกทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบาราโหม มาสร้างจุดเด่นในการสืบสานศิลปวัฒธรรมให้ลูกหลานของชุมชนและเผยแพร่แก่สังคม ด้วยการทำหน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลน โดยด้านนอกใช้ผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายเครื่องถ้วยชามโบราณที่ขุดพบในพื้นที่แล้วนำมาทำบล็อกไม้ ด้านในเป็นผ้ามัสลินหรือผ้าสาลู ซึ่งขั้นตอนการทำได้ศึกษาเปิดดูจากอินเตอร์เน็ต ล่าสุดกลุ่มบาราโหมบาร์ซาได้จัดทำ “ลือปัสบาติก” ที่มีความพิเศษจากที่อื่นด้วยลวดลายคงความเป็นอัตลักษณ์ของปัตตานี ใช้สี 4 ราชินีในตำนานของชาวปาตานี การออกแบบที่ไม่เหมือนใคร สินค้าสะดวกต่อการพกพา โดยในคอลเลคชั่นใหม่ของบาราโหมบาร์ขณะนี้เน้นผ้าบาติกวัยรุ่น ใน 1 เซต ราคา 450 บาท ประกอบด้วยผ้าลือปัสเพจ (ผ้าอเนกประสงค์ ใช้เป็นผ้าคลุมศีรษะหรือผ้าพันคอ) กระเป๋าใส่ผ้าลือปัน และหน้ากากป้องกันโรค ซึ่งผ้าเซตดังกล่าวได้ถ่ายทอดเรื่องราวศิลปะบนพื้นผ้าบาติกพิมพ์ลายด้วยบล๊อกไม้แห่งปัตตานี โดดเด่นด้วยลวดลายประวัติศาสตร์สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย

Read More