Home > 2017 (Page 14)

ฤทธิ์ ธีระโกเมน ปรับลุค MK ยุคใหม่ ส่งต่อ “เจน 3”

“MK ยุคต่อไปต้องมาจาก New Generation เรากำลังพัฒนาคนรุ่นใหม่ หัวคิดใหม่และมีพลัง...” ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ย้ำโรดแมพที่วางไว้หลังจากลุยสร้างอาณาจักรธุรกิจร้านอาหารมาอย่างยาวนาน ติด 1 ใน 20 มหาเศรษฐีไทย และตั้งเป้าต้องการเป็นผู้นำในฐานะ Restaurant Food Chain Expert เป็น Multi Brand Company ที่มีแบรนด์ร้านอาหารครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ รองรับทุกตลาดและทุกกลุ่มเป้าหมาย “เราเป็น Creative Founder ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสเกษียณ 100% แต่ต้องเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเรียนรู้และก้าวข้ามไปให้ได้ ซึ่งไม่ใช่ง่าย ประสบการณ์มากมาย บางครั้งต้องใช้เวลาเรียนรู้นานถึง 10 ปี” ทั้งนี้ เส้นทางของฤทธิ์ ธีระโกเมน เริ่มต้นชัดเจนหลังเปิดร้านสุกี้เอ็มเคสาขาแรกในศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อ 30 กว่าปีก่อน โดยฉีกแนวคู่แข่งในเวลานั้น เปลี่ยนจากหม้อสุกี้เตาแก๊สเป็นเตาไฟฟ้า

Read More

“เจน 3” เปิดแนวรบ ฉีกกรอบ จาก “ลอนดอนสตรีท” ถึง “เอ็มเคไลฟ์”

อาณาจักรธุรกิจ “เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป” ใช้เวลามากกว่า 5 ทศวรรษ จากเจนเนอเรชั่นแรก ยุคคุณป้าทองคำ เมฆโต เข้ามาทำกิจการร้านอาหารไทยร่วมกับมาคอง คิงยี (Makong King Yee) ชาวฮ่องกง ซึ่งเป็นที่มาของ คำว่า “MK” แถวๆ สยามสแควร์ จน มาคอง คิงยี ต้องย้ายครอบครัวไปอยู่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และตกลงขายกิจการให้ป้าทองคำ ซึ่งมีลูกสาว คือ ยุพิน ช่วยกันดำเนินกิจการและเป็นที่รู้จักชื่นชอบในหมู่นักกิน โดยมีอาหารขึ้นชื่อในยุคนั้น ได้แก่ ข้าวมันไก่ เนื้อตุ๋น ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อย่างเกาหลีเตาถ่าน ยำแซ่บๆ และเค้ก จาก “ป้าทองคำ” สู่การบุกเบิกของเจนเนอเรชั่น 2 ที่เหมือนพรหมลิขิตให้บรรดาหัวเรือใหญ่มาเจอกัน เมื่อฤทธิ์ ธีระโกเมน ซึ่งเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นทำงานในสำนักพิมพ์นิตยสารคอมพิวเตอร์ก่อนมาจับมือกับเพื่อนคู่ใจ ทนง

Read More

อุปสรรคในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในประเทศออสเตรเลีย

Column: Women in Wonderland ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลมีการออกนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว ในรายงานของ The Global Gender Gap Report ซึ่งจัดทำโดย World Economic Forum พบว่าในปี 2014 ประเทศออสเตรเลียถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 24 ในเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศจากทั้งหมด 142 ประเทศ ใน The Global Gender Gap Report นี้จัดอันดับแต่ละประเทศในเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง โดยวัดจากตัวชี้วัดหลักๆ ด้วยกัน 4 ด้านคือ 1) ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงานและเลื่อนตำแหน่งเหมือนกับผู้ชายหรือไม่ 2) ผู้หญิงมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในทุกระดับเหมือนกับผู้ชายหรือไม่ 3) อัตราการเกิดของเด็กผู้หญิงและผู้ชายมีจำนวนพอๆ กันหรือไม่ เพราะในบางประเทศจะนิยมมีลูกชายมากกว่าลูกสาว และ 4) ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสในทางการเมืองเท่ากันหรือไม่ โดยเฉพาะจำนวนของผู้หญิงที่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในแต่ละรัฐบาล จากการจัดอันดับนี้จะเห็นได้ว่าประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่พยายามขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ประเทศออสเตรเลียเองก็เคยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิงเหมือนกัน คือ Julia Gillard

Read More

RSU 5.0 นวัตกรรม ม.รังสิต บนความพยายามของการศึกษาไทย

ความเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กับการเปิดเผยทิศทางและภาพรวมของแผนการที่กำลังดำเนินไปอย่างมีกรอบโครง ที่ถูกกำหนดเอาไว้ในอนาคต ภาพชัดที่ฉายขึ้นมานั้นดูจะอุดมไปด้วยความคาดหวังที่มุ่งจะสร้างนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบใหม่ โดยมีหมุดหมายเพื่อสร้างให้เกิดแรงขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แผนการลงทุนในธุรกิจของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่จะผุดโรงพยาบาลอาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นแนล บนพื้นที่ 11 ไร่ ย่านธุรกิจบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และด้วยงบประมาณสูงนับหมื่นล้านบาท อาจจะเป็นคำตอบที่สามารถไขข้อข้องใจในคำถามที่อยู่ในใจของใครหลายคนได้เป็นอย่างดี ที่ว่าศักยภาพด้านการแพทย์ของไทยนั้นก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ทว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กลับบอกว่า “จุดประสงค์ของเราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพื่อทำธุรกิจ แต่อยากจะสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องแสดงศักยภาพของประเทศ” ก่อนจะอธิบายเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า มีแนวความคิดในการสร้างโรงพยาบาลที่ไม่เหมือนโรงพยาบาล เปลี่ยนความเจ็บป่วย สิ้นหวัง และสลดหดหู่ มาเป็นการอยู่กับธรรมชาติ สถานที่สวยงาม โดยกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 35 เป็นสถานบริการด้านสุขภาพที่คนมาแล้วมีความสุข เป็น The Most Humanized Medical Care เน้นความเป็นมนุษย์ เอาใจใส่ และเอื้ออาทร นอกจากนี้แนวความคิดที่สองคือ การสร้างโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์ขั้นสูงครบวงจร เป็นคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษาพยาบาลในอนาคต และแนวความคิดที่สาม คือการเป็นโรงพยาบาลที่มีองค์ความรู้ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการแพทย์แผนตะวันออก โดยเฉพาะ Oriental Medicine ที่ประกอบไปด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และแผนอินเดีย กลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นอกจากความต้องการจะปรับรูปแบบของโรงพยาบาลให้ห่างไกลจากความหดหู่และความสิ้นหวังของผู้เข้ามารักษาพยาบาลแล้ว

Read More

เสื้อผ้าทำร้ายคุณได้อย่างไม่คาดคิด

Column: Well – Being แปลกแต่จริง! ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เสื้อผ้าที่คุณสวมใส่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้อย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน! เมื่อสวมเสื้อผ้าและแต่งตัวในตอนเช้า คุณอาจใส่ใจเพียงแค่ว่า ชุดที่สวมใส่ดูดีแล้วยัง และเหมาะสมกับสภาพอากาศในวันนั้นหรือเปล่า แทบไม่มีความคิดที่ว่า ชุดนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องคิดถึงประเด็นนี้ให้มาก โดยเฉพาะในบางสถานการณ์ เสื้อผ้าของคุณอาจกระตุ้นให้เกิดผลที่ตามมาอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งนิตยสาร GoodHealth นำเสนอให้พึงระวังดังนี้ สายเสื้อในเล็กไปทำให้ปวดศีรษะ ประเด็นนี้เป็นความจริง โดยเฉพาะเมื่อคุณมีขนาดเต้านมคัพซีหรือใหญ่กว่านั้น “สายเสื้อในที่คล้องตรงหัวไหล่ต้องรับน้ำหนักของเต้านม แต่ถ้าสายมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับขนาดเต้านมของคุณ สายเสื้อในสามารถกดลงบนหัวไหล่และบีบรัดเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดไหล่ แขน คอ หรือศีรษะได้” ทิม อัลลาร์ไดซ์ นักกายภาพบำบัดอธิบาย เขายังกล่าวเสริมว่า โดยทั่วไปแล้วเสื้อในที่ไม่พอดีตัวยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ “ถ้าเสื้อในหลวมเกินไป กล้ามเนื้อที่คอและศีรษะต้องทำงานหนักขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเจ็บปวด” ผ้าใยสังเคราะห์ทำให้เกิดกลิ่นตัว แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นตัวไม่ได้อาศัยอยู่บนผิวหนังเท่านั้น มันยังเจริญเติบโตได้ดีบนเสื้อผ้าโดยเฉพาะผ้าใยสังเคราะห์หรือโพลีเอสเตอร์ ดร.คริส คอลล์เวิร์ท นักวิจัยกลิ่นแห่งมหาวิทยาลัยเกนท์ของเบลเยียมแนะนำว่า การซักเสื้อผ้าในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงสามารถลดปริมาณแบคทีเรียได้ เช่นเดียวกับการนำเสื้อผ้าออกตากแดด เพราะแสงแดดมีรังสีอัลตราไวโอเลตที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าคุณทำตามทั้งสองวิธีแล้ว กลิ่นตัวบนเสื้อผ้าก็ยังคงอยู่ แสดงว่าแบคทีเรียปักหลักอยู่ในเนื้อผ้าเป็นการถาวรแล้ว คุณจะไม่มีวันกำจัดกลิ่นน่ารังเกียจนั้นได้ ชุดกระชับสัดส่วนทำให้นอนไม่หลับ นักวิจัยเกาหลีใต้กล่าวว่า การสวมชุดชั้นในประเภทกระชับสัดส่วนซึ่งรัดติ้ว ส่งผลให้ร่างกายผลิตสารเมลาโทนินได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ นอกจากนี้ ชุดกระชับสัดส่วนยังกดหรือรัดบริเวณกระเพาะอาหารตอนบน จึงเพิ่มความเสี่ยงของอาการกรดไหลย้อนมากขึ้น ถ้าคุณมีปัญหานอนไม่หลับหรือกรดไหลย้อน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้มีสาเหตุจากชุดชั้นในที่กระชับสัดส่วน เสื้อผ้าสีเข้มดึงดูดยุง การที่คุณมักถูกยุงกัด อาจมีสาเหตุจากสีเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ได้ “เสื้อผ้าสีดำ น้ำเงิน

Read More

“อาทิตย์ อุไรรัตน์” : ตำนานที่มีชีวิตและความหวังครั้งใหม่

หากกล่าวถึงนักธุรกิจ-การเมืองไทยที่ดำเนินบทบาทโลดแล่นและอุดมด้วยสีสัน พร้อมด้วยเรื่องราวแห่งชีวิตที่มีทั้งมิติของความสำเร็จและบทเรียนบนความล้มเหลวให้ได้สืบค้นติดตาม “อาทิตย์ อุไรรัตน์” ถือได้ว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งในทำเนียบนามของ “ตำนานที่ยังมีชีวิต” (Living Legend) ที่ต้องได้รับการเอ่ยถึงในลำดับต้นๆ อย่างไม่อาจปฏิเสธ เพราะด้วยวัย 79 ปี หากเป็นผู้คนทั่วไปคงใช้เวลาในช่วงที่เป็นประหนึ่งปัจฉิมวัยนี้ ให้ผ่านพ้นไปด้วยการพักผ่อน หรือแม้กระทั่งคิดทบทวนอดีตกาลครั้งเก่า ด้วยท่วงทำนองที่อ่อนแรงกำลังในการสร้างสรรค์และขาดความคิดคำนึงถึงอนาคตเบื้องหน้า แต่สำหรับ อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดูเหมือนเขายังอุดมด้วยจิตวิญญาณของการพัฒนาและความคิดฝันคาดหวังที่หาได้ยากสำหรับผู้คนที่กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้สูงอายุในวัย 80 (octogenarian) นี้ ความแตกต่างของ อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อเปรียบเทียบกับนักธุรกิจ-การเมือง รายอื่นๆ ของสังคมไทยที่เห็นได้ชัดในด้านหนึ่งอยู่ที่ทัศนะที่ก้าวหน้า ความกล้าหาญในการตัดสินใจโดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และไม่สยบยอมต่ออำนาจและผลกระทบที่อาจมีต่อกิจการของเขาและครอบครัว ซึ่งในด้านหนึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ทั้งในมิติของการเมืองและธุรกิจ ดูประหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่ด้วยวิถีที่ว่านี้ อาทิตย์ อุไรรัตน์ กลับกลายเป็นตัวแบบ (model) และตัวแทน (represent) ที่สะท้อนมิติความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ได้เป็นอย่างดี ย่างก้าวของอาทิตย์ อุไรรัตน์ นับตั้งแต่การเข้าไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าการประปานครหลวง เมื่อปี 2527 ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะ อัศวินม้าขาว ที่เข้าไปกอบกู้กิจการของการประปานครหลวงที่เคยเป็นดินแดนสนธยาและอุดมด้วยผลประโยชน์ ให้ปลอดพ้นจากอำนาจแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของทั้งเหล่าข้าราชการและนักการเมือง

Read More

เนด้า-สปป.ลาว สร้างระบบประปา พัฒนาคุณภาพชีวิต

ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นมุมใดของโลก สังคมโซเชียลเองก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คนจำนวนมาก อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนหมู่มากไปแล้ว หากแต่อีกซีกหนึ่งของโลกกว้างใหญ่ใบนี้ยังมีอีกหลายเมืองที่ผู้คนยังขาดปัจจัยสี่ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตด้อยกว่าหลายประเทศที่อยู่แวดล้อม แม้ว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติอันเป็นเสน่ห์ที่สำคัญในการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสัมผัสวิถีแห่งความเป็นธรรมชาติและกลิ่นอายของเมืองที่เต็มไปด้วยประวัติและอารยธรรมที่น่าค้นหา กระนั้นอีกหลายเมืองใน สปป.ลาว ยังขาดความพร้อมในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต “น้ำ” หลายหมู่บ้านใน สปป. ลาว ประชาชนยังคงต้องใช้น้ำจากลำธาร หรือขุดเจาะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งจะประสบปัญหาเมื่อเข้าสู่หน้าแล้งที่ส่งผลให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งเหือดลง เมื่อสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ยังไม่พร้อมสมบูรณ์นัก ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น ที่ทำให้ยากต่อการพัฒนาและต่อยอด ทั้งในมิติของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่น่าจะทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในอนาคต แม้ว่าหลายเมืองใน สปป.ลาว เช่น เมืองหลา เมืองแบ่ง เมืองคอบ เมืองห้วยทราย เมืองไชบุลี เมืองยมมะลาด เมืองพะลานไช เมืองสาละวัน เมืองสุขุมา เมืองปากซอง เมืองโขง เมืองมูนละปาโมก และเมืองคีนาด จะยังต้องการการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากแต่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ NEDA ที่มีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อมองว่าการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนั้นนับเป็นเรื่องสำคัญซึ่งง่ายต่อการต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้พัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน ทำให้ NEDA ตัดสินใจเลือกเมืองที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย 5 เมือง

Read More

“ดุสิตธานี” บนจุดตัดแห่งยุคสมัย

  การประกาศความร่วมมือระหว่างเครือดุสิตธานี (DTC) กับกลุ่มเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพื่อร่วมการปรับโฉมและพัฒนาพื้นที่โรงแรมดุสิตธานีให้เป็นอาคารพาณิชยกรรมแบบประสม (mixed use) ภายใต้งบลงทุน 36,700 ล้านบาท นอกจากจะเป็นดีลใหญ่แห่งปีแล้ว กรณีดังกล่าวยังสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของธุรกิจโรงแรม และการพัฒนาที่ดินในเขตเมืองหลวงของสยามประเทศที่มีนัยสำคัญอีกด้วย อาคารของโรงแรมดุสิตธานีที่มีความสูง 23 ชั้นซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ที่หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนสีลมมานานเกือบ 5 ทศวรรษเคยได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (modernism) ของสังคมไทย และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย กำลังจะถูกรื้อถอน เพื่อเปิดทางให้โครงการที่จะประกอบส่วนด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน เบียดแทรกขึ้นมาทดแทน ความเป็นไปของดุสิตธานี ในด้านหนึ่งสะท้อนวิถีและข้อเท็จจริงของธุรกิจโรงแรมของไทยที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันที่หนักหน่วง หลังจากมีโรงแรมจากเครือระดับนานาชาติเข้ามาเปิดดำเนินการอย่างหลากหลาย ขณะที่ผู้ประกอบการดั้งเดิมของไทย ทั้งดุสิตธานี ปาร์คนายเลิศ โรงแรมเอเชีย แอมบาสเดอร์ ต่างอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัว และปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สามารถดึงดูดและเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวระดับต่างๆ ได้มากขึ้น ควบคู่กับปรากฏการณ์ของการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมืองที่ทำให้ราคาที่ดินกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมการการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย ทางเลือกของผู้ประกอบการหรือทายาทที่รับช่วงธุรกิจแต่ละราย จึงดำเนินไปบนบริบทที่หลากหลาย โดยในกรณีของณพาภรณ์ โพธิรัตนังกูร กรรมการผู้จัดการของโรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 4 ของเลิศ เศรษฐบุตร และหลานยายของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ระบุว่า “ธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันสูงมาก

Read More

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More

CPN ร่วมดุสิตธานีผุด มิกซ์ยูส เสริมยุทธศาสตร์ปักหมุด “เซ็นทรัล”

  ข่าวการร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (mixed use development) ระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล โดย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) และ บมจ. ดุสิตธานี (DTC) บนผืนที่ดินบริเวณหัวมุมถนนสีลมและถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนไม่เฉพาะต่อบริบททางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าปลีก หากแต่ยังส่งแรงกระเทือนต่อภูมิทัศน์ใหม่ของกรุงเทพฯ อย่างไม่อาจเลี่ยง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ อาคารโรงแรมดุสิตธานี ที่ตั้งตระหง่านเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของการก้าวเข้ายุคสมัยใหม่ของสังคมไทยมานานกว่า 47 ปี กำลังจะถูกรื้อถอนในช่วงปลายปี 2561เพื่อเปิดทางให้โครงการพัฒนาครั้งใหม่ที่มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3.7 หมื่นล้านบาทนี้ผุดขึ้นมาเป็นหมุดหมายใหม่ใจกลางเมืองมหานครแห่งนี้ทดแทน ขณะเดียวกัน จังหวะก้าวแห่งความร่วมมือครั้งนี้ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้ ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเซ็นทรัล ประกาศวิสัยทัศน์ 10 ปีข้างหน้าของเซ็นทรัลว่าจะก้าวสู่การเป็น World Destination อย่างครบวงจรรอบด้านภายใต้ยุทธศาสตร์ Central Bangkok ซึ่งรวมถึงความพยายามที่จะปิดดีลการประมูลที่ดินสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ บริเวณถนนวิทยุ ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 10,000 ตารางวา ด้วยมูลค่ารวมมากกว่า 20,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางวาละ

Read More