Home > Smart Hospital

BDMS ปักหมุด “กรุงเทพอินเตอร์” เมินวิกฤต เจาะซูเปอร์ไฮเอนด์

เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ของมหาเศรษฐี “ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” เดินหน้าขยายฐานต่อเนื่อง หลังจากเปิดให้บริการ Movenpick BDMS Wellness Resort เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา จับกลุ่มต่างชาติและเจาะตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ล่าสุด เผยโฉมโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (Bangkok International Hospital หรือ BIH) ปลุกปั้นจุดขายใหม่ ‘Smart Hospital’ ชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย แน่นอนว่า การผลักดัน “Smart Hospital” มาจากการเร่งไล่ให้ทันกับความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีบวกกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการความสะดวกรวดเร็ว แต่ต้องแม่นยำถูกต้อง เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลมี “ชีวิต” เป็นเดิมพัน ไมเคิล เดวิด มิตเชลล์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า จากประสบการณ์กว่า 47 ปี ของ BDMS โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลเกิดจากความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการบริการและการรักษา โดยเปิดให้บริการการรักษาด้านโรคสมองและระบบประสาท โรคกระดูกและข้อ และโรคกระดูกสันหลัง มีทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูงและมีความชำนาญ เทคโนโลยีเครื่องมือทางการแพทย์ขึ้น ภายใต้แนวคิด “Smart

Read More

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More