Home > RSU International Hospital

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More