Home > Suporn Sae-tang (Page 52)

“SAWAD” พลิกสินเชื่อห้องแถว ลุย “สถาบันการเงินทางเลือก”

การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ “กลุ่มศรีสวัสดิ์” ในรูปแบบโฮลดิ้งคอมปะนีและจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกระดับจากสินเชื่อห้องแถวหรือ “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เป็น “สถาบันการเงินทางเลือก” แบบครบวงจร สะท้อนการแข่งขันที่ร้อนแรงในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ธิดา แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบว่า ถ้าดูตัวเลขจำนวนรถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดกว่า 36 ล้านคัน แต่มีรถยนต์ที่ทำสัญญาเงินกู้กับเราแค่ 4 แสนกว่าคัน นั่นหมายถึงโอกาสการขยายตลาดอีกหลายเท่าตัว ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 38 ปี นับตั้งแต่ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน เริ่มจาก “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” ให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ ตั้งสำนักงานห้องแถวเจาะถึงกลุ่มลูกค้า อาศัยจุดขายเรื่องการจัดระบบการให้สินเชื่อ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และกลยุทธ์สำคัญ คือ เจรจาผ่อนผันการชำระได้ เพียงไม่กี่ปี ศรีสวัสดิ์เติบโตอย่างรวดเร็วและปูพรมสาขาทั่วประเทศ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่ผู้เล่นรายใหญ่และกลุ่มแบงก์พาณิชย์แห่เข้ามาช่วงชิงตลาด “สินเชื่อรถแลกเงิน” บวกกับเจอวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายครั้ง ทำให้ฉัตรชัยต้องปรับโครงสร้างธุรกิจหลายรอบ พร้อมๆ

Read More

“เอ็มบาสซี” 24 ชั่วโมง ดัน Open House ดึงเจนใหม่

“เซ็นทรัลเอ็มบาสซี” ฝ่าฟันมรสุมกว่า 3 ปี จากวิสัยทัศน์ของกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการปักธงประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวแบบ “ลักชัวรี่ ไลฟ์สไตล์” เน้นรูปแบบโครงการสไตล์สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ (Iconic Building) เทียบชั้นมหานครทั่วโลกที่มีงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อ เหมือนพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮมน์ บิลเบา แห่งสเปน เบิร์จ อัล อาหรับ ดูไบ มารีนา เบย์ แซนด์ สิงคโปร์ และสปรูซ สตรีท แห่งนิวยอร์ก โดยหวังจะปลุกปั้น “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่” เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองที่หากไม่มาชมก็เหมือนมาไม่ถึง เพราะโจทย์การตลาดระดับซูเปอร์ไฮเอนด์ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้ายากขึ้นบวกกับสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งบรม พิจารณ์จิตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ยอมรับว่าเขาต้องสร้างกลยุทธ์ เขย่าสัดส่วนต่างๆ และเติมเต็มทุกองค์ประกอบ เพื่อขยายฐานลูกค้าระดับพรีเมียมและคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อ กระทั่งงานแถลงข่าว Central Embassy Completion เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บรมประกาศชัดเจนว่า วันนี้เซ็นทรัลเอ็มบาสซีครบสมบูรณ์แล้ว และนั่นอาจหมายถึงเกมการต่อยอดสู่บิ๊กโปรเจ็กต์ของกลุ่มเซ็นทรัลบนที่ดินสถานทูตอังกฤษอีกกว่า 10,000 ตารางวา ซึ่งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่กำลังเปิดศึกประมูลแย่งชิงกันอยู่ “ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด เซ็นทรัลเอ็มบาสซีเปิดตัวพื้นที่ใหม่ 3 โซน

Read More

“เซ็นทรัลออนไลน์” แตกเพื่อโต ปรับทัพชิงเม็ดเงินแสนล้าน

กลุ่มเซ็นทรัลต้องปรับทัพธุรกิจออนไลน์อีกครั้ง หลังจากยักษ์ใหญ่ต่างชาติแห่เข้ามาบุกตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 2.5 ล้านล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น “อีเลฟเว่นสตรีท” จากเกาหลี อาลีบาบา ยักษ์ออนไลน์แดนมังกร หรือ “ลาซาด้า” ซึ่งประกาศตัวเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา Priceza.com รายงานยอดผู้เข้าใช้งาน Shopping Search Engine ในไทย พบว่าช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 มีผู้สนใจเข้ามาค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคาผ่าน Priceza.com เพิ่มขึ้นถึง 145% เทียบกับปี 2559 หรือมีผู้เข้ามาใช้งานค้นหาสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาถึงเดือนละกว่า 9 ล้านราย ที่สำคัญ ยอดการค้นหากว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือนพบว่า ร้านค้าออนไลน์ที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Lazada.co.th, 11STREET.co.th, thainitashop.com, Cmart.co.th และ Central.co.th ซึ่งหากกลุ่มอาลีบาบาของแจ๊คหม่าเปิดศึกงัดกลยุทธ์บุกตลาดไทยอย่างเต็มที่ ด้านหนึ่งเม็ดเงินในสมรภูมิออนไลน์จะเติบโตมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งหมายถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นด้วย แน่นอนว่า ทศ

Read More

เซ็นทรัล ปลุก “แอสทรัล” เดินหน้ารุกตลาดลักชัวรี่

“กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้นำด้านการค้าปลีกในประเทศไทยตั้งแต่ยุคเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาแรก คือเซ็นทรัล วังบูรพา เมื่อ 70 ปีก่อน ภายใต้วิสัยทัศน์ตั้งแต่ยุคเตียงและสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ที่ต้องการสร้างศูนย์กลางของเมือง ชื่อ Central มีความหมายกว้างมาก เป็นทั้ง Center of the City และ Center of Life จากวันนั้นถึงวันนี้ Vision ความเป็น Central เป็น Vision เดียวกัน ไม่ล้าสมัยและอยู่ต่อไป โดยคนรุ่นที่ 3 กำลังสานต่อจากห้างเซ็นทรัลไม่กี่คูหา วันนี้ขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ...” ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ตอกย้ำรากฐานแนวคิดและ Vision การดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Centrality (เซ็นทรัลลิตี้) เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมือง และการใช้ชีวิตในเมืองตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงล่าสุด แน่นอนว่า สำหรับคนรุ่นที่ 3 อย่างยุวดี และโดยเฉพาะทศ

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

ซีพี รุกแนวรบใหม่ ธุรกิจการศึกษาครบวงจร

เครือซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจการศึกษาบนที่ดินผืนใหญ่ เนื้อที่มากกว่า 50 ไร่ ย่านแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีทั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)” เจาะตลาดระดับอุดมศึกษาในฐานะ Corporate University แห่งแรก อาคาร CP ALL ACADEMY และล่าสุด ประกาศเปิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” โดยคาดหวังจะให้เป็นโรงเรียนสาธิตต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หัวหน้าทีมและผู้บริหารโครงการก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM กล่าวว่า โครงการโรงเรียนสาธิต PIM ใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 ปี โดยเดินทางไปดูงานการศึกษาในหลายประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจเลือกรูปแบบและระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาระดับโลกและเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด เพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กได้เรียนในสิ่งที่ถนัด เขาจะมีความสุขและสามารถพัฒนาได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รศ.ดร.พิชิตฟอร์มทีมอาจารย์จากวงการศึกษา ดึงอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดัง และโรงเรียนสาธิตของรัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมจุดแข็งตามแนวคิด “สาธิต” อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันเหมือนในยุคปัจจุบัน

Read More

ธุรกิจการศึกษา “บูม” กลุ่มทุนแห่ขยาย ต่อยอดอาณาจักร

ธุรกิจการศึกษาพุ่งติดทอปเท็นดาวรุ่งในปี 2560 โดยประเมินเม็ดเงินคร่าวๆ มูลค่ากว่าแสนล้านบาทและมีกลุ่มทุนแห่ลงทุนสินทรัพย์อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มแข่งขันกันสูงจากการสอบวัดระดับของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทย ขยายฐานการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยสำรวจเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาเฉพาะช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ในระดับก่อนอุดมศึกษาจากผู้ปกครองทั่วประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโต 2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท แยกเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ อีก 800 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการศึกษาที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 302 ราย มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี

Read More

“เฟรเซอร์ส” ลุยแผนสร้างเมือง จาก “เซ็นทรัลปาร์ค” สู่ “วัน แบงค็อก”

หลังยุทธการยึดครองบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” และเดินหน้าแผนรุกธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจร เจาะตลาดอาเซียนและลุยโรดแม็พสยายปีกสู่ทุกตลาดทั่วโลกกว่า 5 ปี ในช่วงจังหวะเดียวกัน เจริญ สิริวัฒนภักดี เร่งปูพรมสร้างอาณาจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ “ทีซีซี” อย่างเข้มข้น โดยใช้เครือข่ายของ “เอฟแอนด์เอ็น” ที่มีอสังหาริมทรัพย์อยู่ในพอร์ตมูลค่ามหาศาล และความแข็งแกร่งทุกด้าน ทั้งด้านเงินทุน ความเชี่ยวชาญด้านการบริหาร และโนว์ฮาว ในฐานะผู้ประกอบกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศแบบครบวงจร ปัจจุบันกิจการอสังหาริมทรัพย์ของเอฟแอนด์เอ็นภายใต้บริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (Frasers Centrepoint Limited หรือ FCL) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ครอบครองสินทรัพย์ มูลค่ามากกว่า 17,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 605,000 ล้านบาท มีธุรกิจหลักในการพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ โรงแรม ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม ธุรกิจหลักของ FCL อยู่ในประเทศสิงคโปร์

Read More

ทีซีซีระเบิดศึกแลนด์มาร์ค เขย่า “ซีพี-เซ็นทรัล”

“วิสัยทัศน์ของเราคือการสร้างสรรค์สถานที่ที่ผู้คนจะตกหลุมรักและอยากมาใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่ที่ทำให้ทุกคนในกรุงเทพฯ รู้สึกว่าที่นี่คือส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของกรุงเทพฯ และเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะกลายเป็นแลนด์มาร์คระดับโลกที่ยกระดับภาพลักษณ์ที่ดีงามของกรุงเทพฯ และประเทศไทยให้โดดเด่นเป็นสง่าบนเวทีโลก” เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ทีซีซี และบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด (FCL) ประกาศเป้าหมายการทุ่มทุนกว่าแสนล้านบาท ผุดโครงการ ‘One Bangkok’ (วัน แบงค็อก) บนที่ดินกว่า 104 ไร่ โดยเฉพาะการสร้าง “เมือง” เป็นประตูเชื่อมโลกกับเอเชีย ที่สำคัญ เจริญจัดวางแผนทั้งหมด เพื่อปลุกย่านถนนพระราม 4 เป็นทำเลทองเกรด A ไม่ต่างจากเส้นสุขุมวิทอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่เปิด “เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI CENTER)” บริเวณหัวมุมถนนพระราม 4-รัชดาภิเษก เนื้อที่ 9 ไร่ แบ่งเป็นอาคารสำนักงานเช่าสูง 12 ชั้น 2 อาคาร และโรงแรมโมเดน่า บาย

Read More

ปณต สิริวัฒนภักดี ได้เวลาลุยโปรเจ็กต์แสนล้าน

“ประเมินอย่างเดียว คือ คุณเจริญมีความเชื่อมั่นผมหรือเปล่า!!” ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ย้ำกับสื่อที่รุมยิงคำถามความมั่นอกมั่นใจในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “One Bangkok (วัน แบงค็อก)” ซึ่งทำลายสถิติเงินลงทุนสูงสุดมากกว่า 1.2 แสนล้านบาท โดยประกาศเป้าหมายสร้างแลนด์มาร์คระดับโลกแห่งใหม่ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท เฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ที่สำคัญ วัน แบงค็อก เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโปรเจ็กต์แรกที่เครือทีซีซีกรุ๊ปผนึกกำลังกับกลุ่มเฟรเซอร์ส เซ็นเตอร์พอยท์ ลิมิเต็ด ในเครือเอฟแอนด์เอ็น หลังเจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มเม็ดเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนล้านบาท ซื้อกิจการ “เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ” หรือ เอฟแอนด์เอ็น

Read More