Home > Education Business

ชาลี โสภณพนิช แผน “ซิตี้แคมปัส” รุกโปรเจกต์มิกซ์ยูส

การทุ่มเม็ดเงิน 2,600 ล้านบาท ขยายโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ แคมปัสแห่งใหม่ เนื้อที่ 15 ไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนพระราม 9 ของนักลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่าง “ชาลี โสภณพนิช” เป้าหมายไม่ใช่แค่การสานอุดมการณ์การสร้างโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ยังเป็นการต่อยอดธุรกิจสร้างโปรเจกต์มิกซ์ยูสในเนื้อที่อีกหลายสิบไร่ หลังประสบความสำเร็จกับการบุกเบิกโรงเรียนโชรส์เบอรี ริเวอร์ไซด์ แห่งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน จนกลายเป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญของโครงการต่างๆ ในย่านเจริญกรุง ชาลี ในฐานะผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซิตี้เรียลตี้ จำกัด ยืนยันว่า เขาไม่ได้คาดหวังรายได้และกำไรจากตัวโรงเรียน โดยประเมินจะถึงจุดคุ้มทุนภายใน 5-10 ปี จากจำนวนนักเรียนประมาณ 640 คน อัตราค่าเล่าเรียนเริ่มต้น 640,000 บาทต่อปี แต่โชรส์เบอรีจะเป็นหมุดสำคัญที่ดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามาหมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ภายใต้แผนก่อสร้างโครงการ “มิกซ์ยูส” เนื้อที่อีก 30 ไร่ ตามแผนเบื้องต้น บริษัทเตรียมเงินลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท

Read More

ทุนใหญ่แห่ยึด รร.นานาชาติ “โสภณพนิช” ดัน “โชรส์เบอรี” บุกจีน

บรรดาทุนใหญ่ เศรษฐีตระกูลดัง แห่กระโดดเข้าสู่สมรภูมิธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีนักเรียน 30,000-40,000 คน และมีแนวโน้มเติบโตไม่หยุดจากจำนวนใบจองที่นั่ง “Waiting List” ในโรงเรียนอินเตอร์ชื่อดังอีกนับร้อยรายชื่อในแต่ละแห่ง แม้ค่าเล่าเรียนจะสูงกว่า 500,000-600,000 บาทต่อปี บางแห่งสูงเฉียดล้านบาทต่อปีก็ตาม ประมาณกันอีกว่า แม้ก่อนหน้านี้ โรงเรียนนานาชาติหลายแห่งยอมถอดใจ เลิกกิจการ เพราะไม่สามารถแข่งขันในตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในกลุ่มโรงเรียนชั้นนำจากประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่ล่าสุดยังมีโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมากถึง 200 โรง และเชื่อว่าจะเปิดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ผู้ปกครองต้องการเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของโรงเรียนทั่วไป ชาลี โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพ กล่าวว่า ตลาดโรงเรียนนานาชาติยังมีการเติบโต แม้มีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ปกครองเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะเห็นชัดเจน เมื่อมีโรงเรียนนานาชาติระดับกลางหลายแห่งเลิกลงทุน เพราะปัจจัยหลายอย่าง ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน หลักสูตร ครูอาจารย์ และชื่อเสียงของโรงเรียนแม่จากต่างประเทศ ชาลีเปรียบเทียบกับ “โชรส์เบอรี” ซึ่งกลุ่มโสภณพนิช ตัดสินใจร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี ประเทศอังกฤษ ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

ซีพี รุกแนวรบใหม่ ธุรกิจการศึกษาครบวงจร

เครือซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจการศึกษาบนที่ดินผืนใหญ่ เนื้อที่มากกว่า 50 ไร่ ย่านแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีทั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)” เจาะตลาดระดับอุดมศึกษาในฐานะ Corporate University แห่งแรก อาคาร CP ALL ACADEMY และล่าสุด ประกาศเปิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” โดยคาดหวังจะให้เป็นโรงเรียนสาธิตต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หัวหน้าทีมและผู้บริหารโครงการก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM กล่าวว่า โครงการโรงเรียนสาธิต PIM ใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 ปี โดยเดินทางไปดูงานการศึกษาในหลายประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจเลือกรูปแบบและระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาระดับโลกและเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด เพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กได้เรียนในสิ่งที่ถนัด เขาจะมีความสุขและสามารถพัฒนาได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รศ.ดร.พิชิตฟอร์มทีมอาจารย์จากวงการศึกษา ดึงอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดัง และโรงเรียนสาธิตของรัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมจุดแข็งตามแนวคิด “สาธิต” อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันเหมือนในยุคปัจจุบัน

Read More

ธุรกิจการศึกษา “บูม” กลุ่มทุนแห่ขยาย ต่อยอดอาณาจักร

ธุรกิจการศึกษาพุ่งติดทอปเท็นดาวรุ่งในปี 2560 โดยประเมินเม็ดเงินคร่าวๆ มูลค่ากว่าแสนล้านบาทและมีกลุ่มทุนแห่ลงทุนสินทรัพย์อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มแข่งขันกันสูงจากการสอบวัดระดับของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทย ขยายฐานการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยสำรวจเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาเฉพาะช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ในระดับก่อนอุดมศึกษาจากผู้ปกครองทั่วประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโต 2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท แยกเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ อีก 800 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการศึกษาที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 302 ราย มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี

Read More