Home > Suporn Sae-tang (Page 51)

เจาะแผน “ซอสต๊อด” ต้านกระแสโมเดิร์นเทรด

การประกาศลุยธุรกิจตัวล่าสุดของ “ปิติ ภิรมย์ภักดี” ที่ย้ำว่า เทหมดหน้าตัก ทั้งเงินลงทุนส่วนตัว ใช้ชื่อและหน้าเป็นแบรนด์สินค้า ภายใต้ชื่อบริษัท ฟาเธอร์ ออฟ ออล ซอส โดยประเดิมสินค้าตัวแรก ซอสพริกพริก Made By TODD หรือ “ซอสต๊อด” ด้านหนึ่งเป็นความพยายามฉีกแนวตลาดซอสในเมืองไทย ซึ่งมีให้เลือกอยู่ไม่กี่ชนิดและแยกประเภทชัดเจน ใช้จิ้ม หมัก ปรุงรส หรือทานคู่กับอาหารไม่กี่เมนู เพราะ “ซอสต๊อด” เป็นซอสอเนกประสงค์ที่อร่อยได้ครบ ทั้งจิ้ม หมัก ผัด ทอด ปิ้ง ย่าง หรือผสมกับซอสอื่น ชนิดที่คนไม่เคยชอบกินซอสอย่าง “สันติ ภิรมย์ภักดี” ยังต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาจิ้มซอสต๊อดอย่างเอร็ดอร่อย แต่อีกด้านหนึ่งเป็นความพยายามของปิติที่ต้องการสร้างโมเดลธุรกิจ “ซอสต๊อด” โดยวางระบบซัปพลายเชน หรือการจัดการห่วงโซอุปทานของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

Read More

สงครามเครื่องดื่มเดือด “กระทิงแดง” พุ่งชนแสนล้าน

สมรภูมิเครื่องดื่มเดือดพล่านขึ้นทันที เมื่อกลุ่ม ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่ “กลุ่มธุรกิจ TCP” ประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ในรอบ 60 ปี เตรียมทุ่มเม็ดเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อพุ่งชนเป้าหมายที่ขยายใหญ่ขึ้น ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” แต่ต้องการเติบโตในทุกกลุ่มเครื่องดื่ม ทุกแบรนด์ เพื่อผลักดันรายได้เติบโตขึ้น 3 เท่า ยอดขายทะลุ 1 แสนล้านบาท ใน 5 ปี จากองค์กรธุรกิจที่เข้าถึงยาก ไม่เน้นออกสื่อ ตั้งแต่ยุคนายเฉลียว อยู่วิทยา มาถึงทายาทรุ่นที่ 2 ไม่ว่าจะเป็น เฉลิม อยู่วิทยา หรือ สราวุฒิ อยู่วิทยา ที่เหมือนจะเดินตามรอยพ่อ เน้นทำงานบุกตลาดอยู่เบื้องหลัง แม้สามารถขยายอาณาจักรเติบโตอย่างต่อเนื่องและส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในกว่า 170 ประเทศทั่วโลกแล้ว แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก การยกเครื่องในกลุ่มกระทิงแดงจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

สราวุฒิ อยู่วิทยา รุกภารกิจใหม่ “เฮาส์ออฟแบรนด์”

การแถลงข่าวของ “สราวุฒิ อยู่วิทยา” เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการออกสื่อครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มกระทิงแดงในรอบหลายปี โดยเฉพาะหลังสิ้น “เฉลียว อยู่วิทยา” เจ้าพ่อธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” กว่า 5 ปี ที่สำคัญ เนื้อหาสาระไม่ใช่แค่ทิศทางโรดแมปธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า การยกเครื่องโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ และการลงทุนทุ่มเม็ดเงินสูงสุดในรอบ 60 ปี แต่ยังหมายถึงการเปิดตัว “หัวเรือใหญ่” ในสงครามธุรกิจเครื่องดื่มที่กำลังแข่งขันอย่างดุเดือดและมีคู่แข่งระดับยักษ์ทั้งสิ้น แน่นอนว่า ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านขบวนการต่างๆ จากยุคเจเนอเรชั่น 1 สู่เจน 2 ที่มีพี่น้อง 2 แม่ รวมกัน 11 คน จากเดิม เฉลิม อยู่วิทยา ลูกชายคนโตของเฉลียวกับภรรยาคนแรก นางนกเล็ก สดศรี เป็นประธานบริษัท เรดบูล คอมปานี ลิมิเต็ดฯ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดูแลตลาดในภาคพื้นยุโรป

Read More

จุฬาฯ เดินหน้าโรดแมป Smart Intellectual City

การปรับมาสเตอร์แพลนแผนใช้ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าหมายเปิดพื้นที่เมืองใหม่รอบมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “LIVE LIFE-LEARNING” สร้างการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ถูกต้องกับไลฟ์สไตล์ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ “Smart Intellectual City” กำลังเป็นโมเดลที่เพิ่มมูลค่าที่ดินพุ่งพรวด โดยเฉพาะ 2 โครงการที่เตรียมเปิดตัวล่าสุด “สามย่านมิตรทาวน์” และ “สเตเดี้ยม วัน” สร้างความตื่นเต้นทั้งในแง่การพลิกโฉมพื้นที่และเพิ่มจิ๊กซอว์เติมเต็มความน่าสนใจ แน่นอนว่า อาณาจักรที่ดินของจุฬาฯ ในเขตปทุมวันถือเป็นขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล จำนวนทั้งสิ้น 1,153 ไร่ ถูกจำแนกการใช้ประโยชน์หลัก 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ และพื้นที่ส่วนราชการ (ยืมและเช่าใช้) 184 ไร่ โดยข้อมูลสำรวจของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ราคาที่ดินบริเวณถนนพระราม 1 ในปัจจุบันพุ่งกระฉูดสูงกว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวา

Read More

พงศ์วรรธน์ ติยะพรไชย ดัน “สเตเดี้ยม วัน” สู้ยักษ์

“สเตเดี้ยม วัน เป็นโครงการแนวคิดใหม่ สปอร์ตรีเทล ต่างจากคอมมูนิตี้มอลล์ส่วนใหญ่ที่เน้นเรื่องอาหาร ผมและทีมผู้บริหารมีไลฟ์สไตล์คล้ายกัน เราต้องการพื้นที่ออกกำลังกายมาผนวกกับโครงการ เพื่อสร้าง destination ใหม่และต้องการให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตดีขึ้น มีสถานที่ออกกำลังกายใจกลางเมือง” พงศ์วรรธน์ ติยะพรไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สปอร์ต โซไซตี้ จำกัด ผู้บริหารโครงการสเตเดี้ยม วัน กล่าวกับ “ผู้จัดการ360” ถึงคอนเซ็ปต์ใหม่ของโครงการสเตเดี้ยม วัน ที่ถือเป็นสปอร์ตคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกในอาเซียนด้วย โครงการนี้เริ่มต้นจากทีมผู้บริหารคนรุ่นใหม่ 4 คน คือ พงศ์วรรธน์, สิทธิชัย ศรีสงวนสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอส.จี.ดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายระบบกล้องวงจรปิดแบบครบวงจรแบรนด์ฟูจิโกะ (FUJIKO), ถนอมเกียรติ สัมมาวุฒิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟเวอร์เอ็นจ์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าครบวงจร และณัฐภัค รีกิจติศิริกุล ทั้ง 4

Read More

“สเตเดี้ยม วัน” ผุดสปอร์ตฮับ ฟื้นตำนานตลาดหลังสนามศุภฯ

การเปิดตัว “สเตเดี้ยม วัน (Stadium One)” บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ โดยตั้งเป้าพัฒนาโครงการเป็นคอมมูนิตี้มอลล์แนวใหม่ “สเตเดี้ยม ออฟ ไลฟ์” (Stadium of Life) ศูนย์รวมค้าปลีกกีฬาและไลฟ์สไตล์ของคนรักการออกกำลังกายครบวงจร ด้านหนึ่งถือเป็นความท้าทายของกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ในการบุกเบิกตลาดอสังหาริมทรัพย์ฉีกแนว แต่อีกด้านหนึ่ง สเตเดี้ยม วัน กำลังจะพลิกฟื้นตำนานตลาดสนามศุภชลาศัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้รูปแบบธุรกิจที่มีสีสันมากขึ้น ตามแผนเบื้องต้น สเตเดี้ยม วัน ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2560 จะประกอบด้วย 3 โซนหลัก คือ โซนร้านค้าปลีก (Sport Retail) มีร้านค้าปลีก จำนวน 129 ร้าน พื้นที่ค้าปลีก 5,000 ตารางเมตร โซนอาคารกีฬาในร่ม (Active Lifestyle) พื้นที่ 5,600 ตร.ม. และลานอีเวนต์ (Event in Action)

Read More

บีแลนด์ เร่งจิ๊กซอว์ตัวใหม่ ดันโครงการยักษ์ “มิกซ์ยูส”

อนันต์ กาญจนพาสน์ หรือ “เสี่ยช้าง” ลูกชายคนโตของมงคล กาญจนพาสน์ กลับจากการทำธุรกิจในฮ่องกงมาลุยธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน โดยวางแผนตั้งแต่วันแรกจะก่อสร้างอภิมหาโครงการขนาดยักษ์ “เมืองทองธานี” บนถนนแจ้งวัฒนะ เนื้อที่กว่า 4,500 ไร่ วาดฝันให้เป็น “กรุงเทพฯ แห่งอนาคต” โครงการเมืองใหม่สมบูรณ์แบบรองรับประชาชนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่ใครจะเชื่อว่า บางกอกแลนด์ที่มาพร้อมเม็ดเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทและพกพาความมั่นอกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยยุคนั้น ประกาศผุดโครงการคอนโดมิเนียมแบบติดจรวดกว่า 30,000 ยูนิต กลับกลายเป็น “เมืองร้าง” ไปทันทีหลังเจอวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี 2536 จนบาดเจ็บสาหัสจากพิษ “ต้มยำกุ้ง” แต่ใครจะเชื่ออีกเช่นกันว่า อนันต์สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ งัดทุกกลยุทธ์เปลี่ยนจาก “เมืองคอนโดมิเนียม” สู่ “ศูนย์กีฬายักษ์ใหญ่” เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ก่อนผันจุดขายหลักขึ้นชั้นศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุมขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ปี 2555 อนันต์ประกาศอิสรภาพล้างหนี้หลายหมื่นล้านทั้งหมดและเปิดฉากรุกขยาย

Read More

บีแลนด์พลิกโฉมรีเทล เซ็นทรัลเจอศึกหนัก

หลังจากชิมลางรุกตลาดรีเทล เปิดตัว “บีไฮฟ์ ไลฟ์สไตล์” ในเมืองทองธานี ล่าสุด บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผนยกเครื่องโครงการค้าปลีกครั้งใหญ่ ผุดอีก 2 โปรเจกต์ “เดอะพอร์ทอล” และ “คอสโม บาซาร์” พลิกโฉมตลาดนัดและอัพเกรดร้านค้าทั้งหมดเข้าสู่อาคารหรูระดับไฮเอนด์ตามมาสเตอร์แพลนแผนสร้างเมืองที่ครบสมบูรณ์ที่สุด ด้านหนึ่งเปิดกลยุทธ์สร้างการจับจ่ายของประชากรกว่า 200,000 คน และกลุ่มไมซ์ (MICE) หรือกลุ่มประชุมสัมมนาที่เดินเข้าออกในเมืองทองธานีมากกว่า 10-15 ล้านคนต่อปี อีกด้านหนึ่งเร่งต่อยอดสู่โครงการมิกซ์ยูสริมทะเลสาบอีก 700 ไร่ ซึ่งถือเป็นที่ดิน “สันใน” ราคาแพงที่สุดในเมืองทองธานี ซึ่งเฉพาะแผนการลงทุนระยะสั้น 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2562 บางกอกแลนด์มีโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม โรงภาพยนตร์ และสวนน้ำ กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร

Read More

กุลวดี จินตวร 27 ปี สร้าง “เมืองทองธานี”

“เมืองทองธานีมาไกลมาก ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาเมืองทองธานี ไม่มีอะไรเลย เป็นคนแรกๆ ที่มีโอกาสสร้างเมืองทองธานี ทำงานร่วมกับคุณอนันต์ (กาญจพาสน์) ยากลำบากมาก การสร้างเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย เราเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเจริญอย่างรวดเร็ว แม้มีสะดุดช่วงหนึ่งถูกหาว่าเป็นเมืองร้างและใช้เวลารีเทิร์นกลับมา มาวันนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามมาสเตอร์แพลน 100%” กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 ํ” ถึงอภิมหาโครงการ “เมืองทองธานี” บนที่ดินมากกว่า 4,500 ไร่ ที่ใช้เวลายาวนานถึง 27 ปี โดยเริ่มต้นทำงานกับอนันต์ตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูจนเจอวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ซึ่งถือเป็นช่วงพีเรียดหนักหนาสาหัสที่สุด กุลวดี หรือ “คุณตุ้ม” รู้จักอนันต์ กาญจนพาสน์ เมื่อครั้งทำงานอยู่ที่บริษัทสถาปนิกแห่งหนึ่งในฮ่องกง ขณะนั้นอนันต์กำลังมองหามืออาชีพด้านสถาปนิกเพื่อมาช่วยทำงานในโครงการเมืองทองธานี เวลานั้นกุลวดีมีทั้งประสบการณ์และความรู้ หลังจบปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ตัดสินใจไปเรียนโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่ฝรั่งเศส

Read More

สหพัฒน์ปลุก 20 ปี BSC พลิกบทเรียน “ต้มยำกุ้ง”

“เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเหมือนกำลังขับรถเกียร์ 3 เข้าสู่ขาขึ้นและใกล้เจอทางเรียบ ปีหน้าคาดว่าจะเป็นเกียร์ 4 คือเศรษฐกิจดี หากไม่มีอะไรมาสะดุดขาตัวเอง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยถือว่าดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กำลังซื้อจากนี้ไปจะดีขึ้น เพราะสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งที่ผ่านมาคนไทยอยู่ในสถานการณ์โศกเศร้าเลยทำให้ไม่ค่อยซื้อสินค้า แต่สถานการณ์ซบเซามาปีกว่าแล้ว ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้" บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยด้วยความหวังและความมั่นใจ แม้ดูจะสวนทางกับบรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการที่ยังประเมินสถานการณ์ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและต้องเผชิญกับปัจจัยลบอีกหลายตัว หลายคนหวาดกลัวกับภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาการส่งออก ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญ คือปัจจัยด้านการเมืองและความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง แน่นอนว่า เครือสหพัฒน์ผ่านวิกฤตหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตค่าเงินครั้งใหญ่ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 ซึ่งบุณยสิทธิ์ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ แม้สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากเหมือนอดีต แต่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะปัญหากำลังซื้อหดตัว หากเปรียบเทียบปี 2540 มีปมใหญ่อยู่ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจนแตะ 50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโชคดีที่ธุรกิจของกลุ่มตระกูลโชควัฒนามีสัดส่วนการกู้เงินต่างประเทศจำนวนไม่มาก เพราะบริษัทในเครือเน้นนโยบายการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง จึงไม่เกิดภาวะหนี้ท่วมเหมือนหลายๆ บริษัท แต่ผลกระทบในเวลานั้น คือกำลังซื้อของชาวบ้านลดลงอย่างหนัก เพราะสถานประกอบการหลายแห่งแบกรับหนี้ไม่ไหว ต้องปิดตัว เลิกจ้าง คนจำนวนมากไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน ในฐานะยักษ์ใหญ่สินค้าคอนซูเมอร์ บุณยสิทธิ์งัดกลยุทธ์จัดงาน “สหกรุ๊ป

Read More