Home > Suporn Sae-tang (Page 34)

โรงหนังลุ้นปลดล็อกรอบ 3 แอนดรอยด์ทีวี-สตรีมมิ่ง คึกคัก

กลุ่มธุรกิจโรงภาพยนตร์ต้องรอลุ้นมาตรการคลายล็อกดาวน์รอบใหม่ เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ยังยกเว้นไว้ในการผ่อนปรนรอบที่ 2 ซึ่งตามเป้าหมายไทม์ไลน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. คาดว่าจะผ่อนปรนรอบที่ 3 ประมาณต้นเดือนมิถุนายน และรอบที่ 4 กลางเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าที่สุดในเดือนกรกฎาคม หากไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะเบอร์ 1 ค่ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ พยายามสื่อสารข้อมูลการซักซ้อมมาตรการ Safety & Hygiene Measures ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ เริ่มตั้งแต่การคัดกรองอย่างเข้มงวด (Screening) เมื่อก้าวเข้าสู่พื้นที่ มีการวัดไข้ หยดเจลล้างมือลูกค้า และกำหนดให้เดินเข้าคิวเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรต่อคน รวมทั้งเว้นระยะห่างการชมภาพยนตร์ในโรงหนัง (Distancing) โดยผู้ชม 1 คน เว้นที่นั่งว่าง 2-3 ที่ สลับกับผู้ชมคนถัดไปต่อเนื่อง การจองตั๋ว หากจองผ่านตู้

Read More

สงครามยุค New Normal บุฟเฟต์-ปิ้งย่าง ทุ่มแหลก

ธุรกิจร้านอาหารหลังมาตรการคลายล็อกดาวน์กำลังระเบิดสงครามช่วงชิงกลุ่มลูกค้าขนานใหญ่ตามวิถี New Normal ชนิดที่ต้อง Reset กระบวนการทั้งหมดตามเงื่อนไขของภาครัฐ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มบุฟเฟต์-หมูกระทะ พลิกกลยุทธ์หนีตาย ห้ำหั่นแจกหม้อ แจกกระทะ เปิดศึกอย่างดุเดือด ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารออมสินคาดการณ์ว่า หากประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้อย่างดี ภายใน 3 เดือน ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศจะสูญเสียรายได้ประมาณ 16,000 ล้านบาท แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดลากยาวไปจนถึง 6 เดือน อาจสูญเสียรายได้มากถึง 34,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ภาครัฐ โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เริ่มทยอยคลายล็อกดาวน์ ประเดิมอนุญาต 6 กลุ่มกิจกรรมและกิจการเสี่ยงน้อยเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ซึ่งรอบแรกมีกลุ่มร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม นอกห้างสรรพสินค้า ร้านริมทาง หาบแร่แผงลอย ตามด้วยมาตรการผ่อนปรนรอบที่ 2 อีก 3 กลุ่มกิจการ ซึ่งกลุ่มธุรกิจร้านอาหารขยายเพิ่มเติมร้านจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มในภัตตาคาร

Read More

สงครามโฮมช้อปปิ้งเต็มจอ ตลาดนัดออนไลน์ร้อนระอุ

สมรภูมิโฮมช้อปปิ้งร้อนแรงต่อเนื่องรับมาตรการ Work from home แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ยอมปลดล็อกผ่อนปรนการเปิดดำเนินธุรกิจบางกิจการ เช่น ร้านอาหาร ตลาดนัด แต่มีข้อกำหนดเข้มข้นและผู้คนส่วนใหญ่ยังหวั่นวิตกกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้รูปแบบช้อปปิ้งฟอร์มโฮม ทั้งทีวีและสื่อออนไลน์เป็นกระแสหลักที่สร้างรายได้ก้อนใหม่ให้กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ล่าสุด ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรด สำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทั่วประเทศระหว่าง 23 มีนาคม-17 เมษายน 2563 พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรดไตรมาส 1 อยู่ที่ระดับ 47.2 ต่ำที่สุดในรอบ 7 ไตรมาส หรือเกือบ 2 ปีที่เริ่มสำรวจมาตั้งแต่กลางปี 2561 ปัจจัยลบมีทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 การประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การสั่งปิดกิจการชั่วคราว มาตรการยกเลิกวีซ่าและฟรีวีซ่า การประกาศยกเลิกเที่ยวบินชั่วคราวของสายการบินในไทย และภัยแล้ง โดยเฉพาะคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้าและธุรกิจบางประเภท ให้ประชาชนอยู่ในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีคนพลุกพล่าน การบริหารจัดการธุรกิจมีข้อจำกัด เพราะการสั่งปิดกิจการกะทันหันกระทบต่อการจัดการเกี่ยวกับพนักงาน ปัญหาสภาพคล่อง เจอผู้ค้าออนไลน์เถื่อนจำหน่ายสินค้าตัดราคา การลักลอบจำหน่ายสินค้าหนีภาษีและปัญหากำลังซื้อหดตัว ประเมินกันว่า

Read More

เวิร์กฟอร์มโฮมดันสื่อทีวี ค่ายใหญ่อัดคอนเทนต์สู้

มาตรการ Work from home อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ อย่างเข้มข้น ลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นปัจจัยผลักดันสื่อทีวีเติบโตสูงขึ้น โดยมีผลวิจัยชี้ชัดว่า คนไทยใช้เวลาดูทีวีเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งชั่วโมงต่อวัน จากช่วงก่อนหน้าเฉลี่ย 4.03 ชั่วโมง เป็น 4.31 ชั่วโมง เรตติ้งเพิ่มสูงสุด จนทำให้ค่ายทีวียักษ์ใหญ่เร่งแข่งขันอัดคอนเทนต์ขนานใหญ่ ล่าสุด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังตัดสินใจขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม 2563 ได้แก่ การควบคุมการเข้าออกราชอาณาจักร ห้ามออกนอกเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 - 04.00 น. ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และงดการทำกิจกรรมในคนหมู่มาก เช่น ประชุม อบรม สัมมนา ทั้งในที่โล่งแจ้ง หรือจัดพิเศษ รวมทั้งยืนยันต้องคงมาตรการเวิร์กฟอร์มโฮมต่อไป ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% แม้ล่าสุด พล.ต.อ.อัศวิน

Read More

บิ๊กอสังหาฯ ลุยฝ่าด่าน ลุ้นครึ่งปีหลังฟื้นไข้

บิ๊กอสังหาริมทรัพย์ ค่าย “เอพี” ตัดสินใจเดินหน้าถ่ายทอดสดงานแถลงข่าว แผนปักธงลาดพร้าว ประกาศส่งมอบคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ “ไลฟ์ ลาดพร้าว” ผ่าน FACEBOOK LIVE เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” ที่มีทั้งยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะยืนยันเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ประเทศไทยจะค่อยๆ ฟื้นไข้ในครึ่งปีหลัง แน่นอนว่า วิกฤตรอบนี้ที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง ยิ่งกว่าแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส ถือเป็นโจทย์ยากในการกระตุ้นความต้องการและความมั่นใจ แต่หากประเมินข้อมูลต่างๆ ยังมีปัจจัยบวก ซึ่งล่าสุด ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออกมาประเมินภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ปรากฏว่า ในไตรมาส 1 ปี 2563 ตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีจำนวน 77,500 หน่วย ลดลง 11% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ที่มี 86,855 หน่วย มูลค่าโอน 180,000

Read More

คอนโดฯ ป่วนยอดติดเชื้อ “บ้านเดี่ยว” มาแรงฮุบตลาด

ข้อมูลผู้ติดเชื้อไวรัส “โควิด-19” ในคอนโดมิเนียมบางแห่งที่มีการส่งต่อกันผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย บวกกับกระแสข่าวกลุ่มวัยรุ่นคึกคะนอง นักท่องเที่ยวต่างชาติ แอบรวมตัวกันจัดปาร์ตี้ หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม-ตี 4 ปิดสถานบันเทิงทุกแห่งทั่วประเทศ สร้างความตื่นกลัวและกำลังเป็นจุดเปลี่ยนทำให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์พลิกเกมหันมารุกตลาดบ้านเดี่ยวรองรับมาตรการ Social Distancing มากขึ้น ขณะเดียวกันภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์เจอปัจจัยลบเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 ทั้งปัญหากำลังซื้อลดลงจากวิกฤตหนี้ครัวเรือนจนถูกธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ที่เข้มงวดมากขึ้น และปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าต่างชาติหายไปเกือบ 100% แน่นอนว่า ตลาดคอนโดมิเนียมโดนผลกระทบรอบด้าน โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะมีโครงการคอนโดมิเนียมหนาแน่น ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เคยประเมินเมื่อช่วงต้นปี 2563 คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลน่าจะทรงตัวหรือบวกเพียงเล็กน้อย แต่ล่าสุดฟันธงจะติดลบ 10% โดยคอนโดมิเนียมติดลบมากสุด จากปี 2562 ที่มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม 98,000 หน่วย จะลดลงเหลือ 89,000 หน่วย ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบจะใกล้เคียงปีก่อน

Read More

รุกโซเชียลมีเดียสู้วิกฤต ออนไลน์บุ๊กกิ้ง ขายบ้าน ขายรถ

ยุควิกฤตโควิด-19 ที่ต้องคุมเข้มมาตรการ Social Distancing รักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้ช่องทางออนไลน์กลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของทุกธุรกิจ ทั้งการจัดอีเวนต์ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งสงครามโปรโมชั่นของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ขายบ้าน ขายรถ ชนิดที่เรียกว่า สังคมยุคใหม่ การจองซื้อคอนโดมิเนียมหลักล้าน ไม่ต่างอะไรกับการคลิกสั่งพิซซ่าสักถาด เพราะหากเข้าถึงลูกค้าที่มีกำลังซื้อได้มากเท่าไร ยิ่งหมายถึงโอกาสสร้างยอดขายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทุกบริษัทยังมั่นใจถึง Real Demand และเป็นความต้องการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ขึ้น หลังเจอบทเรียนการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส โควิด-19 ขณะเดียวกัน สื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เริ่มมีกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์เข้ามาใช้เป็นสื่อโฆษณาเจาะกลุ่มลูกค้ามากขึ้น จนถือเป็นกลุ่มผู้ซื้อสื่อหลักแซงหน้ากลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้ หากคลิกดูความเคลื่อนไหวของโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ในแต่ละวัน จะเห็นโพสต์โฆษณาของบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบทุกแบรนด์ เด้งขึ้นมาให้เห็นต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง อย่างโพสต์ขายโครงการคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ Aspire งามวงศ์วานของค่ายเอพี (ไทยแลนด์) โครงการ นิช โมโน รามคำแหง ของค่ายเสนาดีเวลลอปเมนท์ โครงการบ้านเดี่ยวสไตล์ญี่ปุ่น โนเบิล เกเบิล คันโซ

Read More

Planet Marketing มาแรง เจาะกลยุทธ์ “ดีต่อใจ” สู้วิกฤต

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายเป็นอาวุธทำลายล้างเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่เหล่านักวิเคราะห์ต่างฟันธงว่า เศรษฐกิจจะเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์เมื่อปี 2552 และยิ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้บรรดานักการตลาดต้องทบทวนกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ไม่ใช่แค่การขายของแบบเดิมอีกแล้ว ที่ผ่านมา มีสินค้าหลายแบรนด์พยายามสร้างแคมเปญเพื่อประโยชน์ต่อสังคม บางค่ายพยายามสะท้อนผ่าน “แบรนด์” เช่น กลุ่มสหพัฒน์ที่เน้นปลุกแบรนด์ “ซื่อสัตย์” และเน้นย้ำตัวตนสินค้า แต่ดูเหมือนว่า ความนิยมยังอยู่ในวงจำกัด ดร.แสงสุข พิทยานุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเฮลท์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก “เดนทิสเต้” (Dentiste) และผลิตภัณฑ์ดูแลผิว “สมูท-อี” (Smooth-E) กล่าวว่า แผนการตลาดในอนาคตของธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิม ไม่ใช่การขายสินค้า หรือโฆษณาว่า สินค้าดีอย่างไร เพราะสินค้าทุกตัวต่างมีคู่แข่งทัดเทียมกัน สินค้าเจ้าหนึ่งสวย อีกเจ้าสวยเช่นกัน ดังนั้น โจทย์ข้อสำคัญนอกจากคุณภาพสินค้าแล้วอยู่ที่การวางแผนการตลาดอย่างไรเพื่อผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืน “ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังวิกฤตหนัก เจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส “โควิด-19” และสมรภูมิการตลาดในโลกยุค Digital disruption การเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลุ่ม Gen Y หรือ

Read More

ตื่น “แพนิกชอปปิ้ง” บิ๊กคอนซูเมอร์โกย

แม้กระทรวงพาณิชย์เรียกถกกลุ่มภาคเอกชนยืนยันสินค้าอุปโภคบริโภคหลักๆ ไม่มีปัญหาขาดแคลน แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแส “Panic Shopping” ที่ก่อตัวรุนแรงตั้งแต่การสั่งปิดสถานที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศฉีดยาแรงใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ระยะเวลา 1 เดือนแรกก่อนประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งการแห่ซื้อกักตุนสินค้า ผู้ค้าโก่งราคาแพงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะที่เห็นเป็นปัญหาชัดเจน คือ “ไข่ไก่” ล่าสุดขาดตลาด ต้องต่อคิวยาวเหยียดรอซื้อ ทั้งตลาดค้าส่งและค้าปลีก ที่สำคัญ ราคาแพงขึ้นมากกว่า 30 บาทต่อแผง ตกแผงละ 120 บาท และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นรายวัน จากปกติเฉลี่ยแผงละ 85-95 บาท นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า ไทยผลิตไข่ไก่ได้ปีละกว่า 15,000 ล้านฟอง หรือวันละ 41 ล้านฟอง ทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศวันละ 39 ล้านฟอง เหลือส่งออกวันละ 1-2

Read More

ค้าปลีก-ร้านอาหาร อ่วมแสนล้าน กระหน่ำเดลิเวอรี่หนีตาย

ประเมินกันว่า ธุรกิจค้าปลีกปี 2563 จะสูญเสียเม็ดเงินมากกว่า 200,000 ล้านบาท หลังเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โควิด-19” โดยเฉพาะการประกาศฉีดยาแรงใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา แน่นอนว่า ณ เวลานี้ความปลอดภัย คือ ความจำเป็นอันดับ 1 และทุกคนในประเทศต้องปรับตัวรับผลกระทบที่พลิกผันอย่างรวดเร็ว แม้ส่วนหนึ่งรัฐบาลเร่งออกมาตรการเยียวยาต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และกลุ่มผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจรถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร กิจการสถานบริการ ซึ่งสูญเสียรายได้ชนิดไม่ทันตั้งตัว ขณะที่กลุ่มยักษ์ค้าปลีก ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และมิกซ์ยูส มีสเกลขนาดใหญ่ แม้ยังมีเซกเมนต์ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เกตและร้านสะดวกซื้อ เปิดให้บริการได้

Read More