Home > Suporn Sae-tang (Page 32)

“เจริญ” เดินหน้าอสังหาฯ แสนล้าน ดัน “เดอะปาร์ค” วัดดวงสู้วิกฤต

ทีซีซีกรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจเดินหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์แสนล้าน ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เหล่ากูรูต่างฟันธงอัตราจีดีพีไทยมีสิทธิ์ติดลบทะลุตัวเลขสองหลัก หากเกิดการแพร่ระบาดระลอกสองของเชื้อโควิด-19 โดยล่าสุดเผยโฉม เดอะ ปาร์ค ไลฟ์ (The PARQ Life) ปลุกจุดขายไลฟ์สไตล์รีเทล ตามแผนสร้างย่านธุรกิจขนาดใหญ่บนถนนพระราม 4 ซึ่งปักหมุดไว้ตั้งแต่อาคาร FYI Center อาคาร ThaiBev Quarter และตามด้วยการเร่งพลิกโฉมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขณะเดียวกันเมื่อจิ๊กซอว์ทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งเดอะปาร์ค เฟส 2 จะมีพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียมเพิ่มเติม โรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เน้นให้บริการกลุ่มนักธุรกิจและผู้คนที่เดินทางมาประชุมสัมมนาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการในรูปลักษณ์ใหม่ ขยายพื้นที่การจัดงานเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตารางเมตร เป็น 70,000 ตารางเมตร จะปลุกกระแสต่อยอดไปถึงอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก ที่เตรียมประเดิมเปิดเฟสแรกในปี 2566 เป้าหมายใหญ่ คือ วัน แบงค็อก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)

Read More

ซีอาร์ซีเขย่ายกแผง จัดทัพ “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” เร่งสปีด

กลุ่มเซ็นทรัลกำลังเร่งเคลื่อนทัพ Food Retail หวังปลุกรายได้โค้งสุดท้ายก่อนปิดปี 2563 และปูทางลุยสงครามค้าปลีกในปี 2564 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังต้องลุ้นฝ่าปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งประเด็นการเมือง ม็อบนักเรียนนักศึกษาขยายวง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วง ขณะเดียวกัน ภายใต้โครงสร้างธุรกิจหลักของบริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีอาร์ซี” ทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มแฟชั่นรีเทล จำหน่ายสินค้าเครื่่องแต่งกายและเครื่่องประดับ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง และห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี กลุ่มฮาร์ดไลน์รีเทล จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าตกแต่งและปรับปรุุงบ้าน ได้แก่ ไทวัสดุุ บ้านแอนด์บียอนด์ เพาเวอร์บาย และเหงียนคิม เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลาง-ใหญ่ ในประเทศเวียดนาม สุดท้าย คือ กลุ่มฟู้ดรีเทล จำหน่ายสินค้าอุุปโภคบริโภคและสินค้าทั่วไป ได้แก่ เซ็นทรัลฟู้ดฮอลล์ ท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท บิ๊กซีเวียดนาม และลานชีมาร์ท เครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กถึงกลางในพื้นที่ชานเมืองและชนบทของประเทศเวียดนาม ต้องถือว่า

Read More

จับตาแผนเปิดประเทศ ดึงท่องเที่ยวปลุกกำลังซื้อสุดฤทธิ์

ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเตรียมเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือนตุลาคม โดยออกมายอมรับว่า ถ้าไม่ทำอะไรเลย สถานการณ์จะหนักกว่านี้ สถานประกอบการปิด ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ขณะที่รัฐบาลไม่มีเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนได้ทั้งหมด มิหนำซ้ำกำลังเจอวิกฤตรายได้ประเทศ การเก็บภาษีหลุดเป้าหมาย สาเหตุสำคัญมาจากแผนกระตุ้นกำลังภายในประเทศส่อแววล้มเหลว แม้มีการแจกเงินช่วยเหลือให้ประชาชนหลายกลุ่ม แต่เป็นการชดเชยผลกระทบจากโควิด-19 กำลังซื้อไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ขาดรายได้มากว่า 4-5 เดือน ทั้งการปิดกิจการชั่วคราวและการเลิกจ้าง ขณะเดียวกันโครงการปลุกการท่องเที่ยวในประเทศ “เราเที่ยวด้วยกัน” ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่าน http://www.เราเที่ยวด้วยกัน.com ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีผู้ลงทะเบียนราว 4.92 ล้านคน ลงทะเบียนสำเร็จ 4.67 ล้านคน แต่มีการจองโรงแรมและจ่ายเงิน 625,606 ห้อง จากจำนวนสิทธิ์ทั้งหมด 5 ล้านสิทธิ์ คิดเป็นเม็ดเงินเพียง 1,874.9 ล้านบาท จนกระทั่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องอัดฉีดเพิ่มวันพักจากเดิม 5 วัน เป็น 10 วัน และช่วยเหลือค่าตั๋วเครื่องบินจากเดิมไม่เกินคนละ 1,000 บาท เป็นคนละไม่เกิน

Read More

ศึกจีสโตร์ เซ็นทรัล-ซีพี เมื่อ “ท็อปส์เดลี่” ต้องชน “เซเว่นฯ”

หลังจากเสียกิจการบิ๊กซีในประเทศไทยให้กับเครือทีซีซีของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ล่าสุด กลุ่มเซ็นทรัลเปิดฉากรุกแนวรบ G-store (Gas Station Store) อีกครั้ง โดยดัน 2 แบรนด์ในพอร์ต ทั้งมินิซูเปอร์มาร์เก็ต “ท็อปส์เดลี่” และร้านสะดวกซื้อ “แฟมิลี่มาร์ท” ลุยสถานีบริการน้ำมันบางจาก เสียบแทนคอนวีเนียนสโตร์ข้ามชาติจากเนเธอร์แลนด์ “สพาร์ (SPAR)” ทันทีที่ยุติสัญญาและปิดสาขาในประเทศไทยทั้ง 46 แห่ง ล่าสุด ใช้เวลาไม่ถึง 1 เดือน บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล เร่งสปีดเปิดสาขาท็อปส์ เดลี่ ในปั๊มบางจากไปแล้ว 11 แห่ง ได้แก่ สาขาบางจาก รามอินทรา กม. 7 บางบัวทอง ราชพฤกษ์ ร่มเกล้า เอ็มอาร์ที คลองบางไผ่ ศรีนครินทร์ ปากช่อง กาญจนาภิเษก-บางบอน เอโอที-สุวรรณภูมิ พระราม

Read More

เจาะห้างทองเจนใหม่ ตู้ออนไลน์ “ออม-ถอน” ครบวงจร

จากพ่อค้าตระเวนรับซื้อเศษทองตามชุมชนย่านนนทบุรีเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ค่อยๆ สะสมทุนเปิด “ร้านทองเนรมิต” ลงหลักปักฐานจนเป็นที่รู้จักของผู้คน แต่ด้วยความที่ไม่อยากสืบทอดกิจการแค่การนั่งเฝ้าหน้าร้าน ซื้อมาขายไป “วชิรศักดิ์ ศรีศักดิ์สกุลชัย” ในฐานะเจเนอเรชั่น 3 จึงงัดไอเดียแปลงโฉมใหม่ภายใต้แบรนด์ “ซาริน่า (Zarina)” รุกขยายธุรกรรมแบบครบวงจร 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะโมเดลล่าสุด “ตู้ทองมา” ที่รวมทุกแพลตฟอร์มเพื่อเจาะฐานตลาดครั้งใหญ่ แน่นอนว่า ช่วง 5 ปีของ “ซาริน่า” ฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ปรับเปลี่ยนจากกิจการครอบครัวเป็นบริษัทมหาชน และใช้วิธีการขยายสาขา ทั้งการลงทุนเองและขายแฟรนไชส์ จนปัจจุบันมีสาขาหน้าร้านของบริษัท 5 แห่ง ได้แก่ สาขาเอสพลานาด แคราย สาขาบางใหญ่ สาขาสนามบินน้ำ สาขากาญจนาภิเษก สาขาอุดรธานี และสาขาแฟรนไชส์อีก 2 แห่งที่ จ. พะเยา และตั้งฮั่วเส็ง สิรินธร ขณะที่ตู้ออมทองออนไลน์ “ทองมา” ซึ่งรุกขยายอย่างจริงจังได้ปีเศษๆ

Read More

ช่างทอง 2 แสนคน อ่วม พิษตลาดป่วนขึ้นลงแรง

จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ ออกมาย้ำเตือนถึงสถานการณ์ตลาดทองคำที่กำลังปั่นป่วนผันผวนอย่างหนัก เปลี่ยนราคากันทุกชั่วโมง ขึ้นแรงและร่วงลงแรง เพราะไม่ใช่แค่อาการเจ็บหนักของกลุ่มนักเก็งกำไรรายย่อย รายกลาง แต่กำลังส่งผลกระทบต่อช่างทำทองในอุตสาหกรรม จำนวนกว่า 200,000 คน มีสิทธิ์ตกงานสูงถึง 60-70% เหตุผลสำคัญ คือ เมื่อตลาดทองคำไม่นิ่ง กลุ่มลูกค้าผู้ซื้อส่วนใหญ่จะรอ เพื่อซื้อหรือขาย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าทองรูปพรรณหายไปเกือบทั้งหมด ร้านทองปลีกหยุดสั่งซื้อ ร้านทองค้าส่งหยุดออร์เดอร์และกระทบเป็นลูกโซ่ต่อกลุ่มช่างทำทองทันที ขณะเดียวกันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาครัฐประกาศล็อกดาวน์ ปิดให้บริการห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ผู้คนงดการเดินทาง ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกโรงงานผลิตทองรูปพรรณหยุดการผลิตไปจำนวนมาก และหยุดการจ้างกว่า 50% นายจิตติกล่าวว่า หากดูข้อมูลการซื้อขายทองคำช่วงเดือนกรกฎาคม ลูกค้าส่วนใหญ่นำทองแท่งมาขาย เพื่อกินส่วนต่างราคาที่เพิ่มสูงขึ้นและเริ่มนำทองรูปพรรณมาขายในช่วงเดือนสิงหาคม ขณะที่ด้านการส่งออกไปต่างประเทศมีปัญหา ปริมาณและมูลค่าเริ่มน้อยลง เนื่องจากประเทศแถบยุโรปยังเจอปัญหาโควิด-19 แพร่ระบาด อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของผู้ประกอบการร้านทองยังมีทุนหมุนเวียนอยู่ ร้านรายใหญ่สามารถสั่งจ่ายเช็คให้ลูกค้า ส่วนร้านรายย่อยจ่ายเงินสด “ร้านทองยังอยู่ได้ แต่เป็นห่วงกลุ่มช่างทอง เพราะทองรูปพรรณขายไม่ได้เลย โดยขายไม่ดีตั้งแต่เกิดโควิด-19 เรื่อยมาจนเกิดสถานการณ์ตลาดทองคำผันผวน ยิ่งไม่มีลูกค้าซื้อ มีแต่นำมาขาย ช่างทองมีปัญหา โรงงานเล็กๆ ปิดไปเยอะ ต่างประเทศไม่สั่งก็เดือดร้อนหมด ผมคาดช่างทำทองในระบบรวมกับกลุ่มจิวเวลรี่

Read More

ทองผันผวนหนัก จับตากองทุนเทขาย

ราคาทองคำกลายเป็นประเด็นร้อนแรงหลังพุ่งทะลุระดับบาทละ 30,000 บาท และมีการประกาศราคาหลายรอบ บางวันเปลี่ยนแปลงมากกว่า 40 ครั้ง ทุบสถิติเป็นประวัติการณ์ เกิดการเก็งกำไร ผู้คนแห่เข้าคิวขายเป็นแถวยาวเหยียดหนาแน่น แต่หลังจากนี้ต้องจับสัญญาณความเสี่ยงและปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มกองทุนต่างชาติเพราะจะเป็นตัวการทำให้ราคาทองผันผวนและพลิกร่วงลงได้ ขณะเดียวกัน หากพิจารณาข้อมูลต่างๆ เริ่มจากภาพรวมความต้องการซื้อทองคำของทั้งโลกยังเพิ่มขึ้น แม้เจอภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในแง่ความต้องการเพื่อการสวมใส่เครื่องประดับ ทองคำเพื่อการลงทุน ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้นำเข้าทองคำแท่งมากเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน และความต้องการของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ว่ากันว่า ธนาคารกลางที่ถือครองทองคำเป็นเงินสำรองมากที่สุดในโลก คือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ มากกว่า 8,000-9,000 ตัน ตามด้วยเยอรมนี 3,369 ตัน และอิตาลี 2,451 ตัน แต่ประเทศที่ถูกจับตามากกลับเป็นจีนและรัสเซีย เนื่องจากทั้งสองประเทศพยายามถือครองทองคำในเงินทุนสำรองมากขึ้น เพื่อลดการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐและลดบทบาทเงินดอลลาร์สหรัฐ นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า ราคาทองคำผันผวนมากจนไม่สามารถคาดการณ์ตัวเลขเป้าหมายชัดเจนได้ แต่หากประเมินราคาทองคำมีโอกาสขยับขึ้นในระยะสั้น เพราะเหตุการณ์ต่างประเทศยังมีปัญหาหลายอย่าง และอยู่ในจุดรุนแรงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุระเบิดร้ายแรงในกรุงเบรุตจนจุดกระแสประท้วงต่อต้านรัฐบาล กรณีความขัดแย้งยืดเยื้อระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล และประเทศแถบยุโรปยังมีการระบาดต่อเนื่อง อย่างกรณีเลบานอน แม้ล่าสุด นายกรัฐมนตรีฮัสซัน ดิอับ

Read More

“ซินไฉฮั้ว” จัดหนัก ปูพรมร้านหยอดเหรียญ สร้าง “ฮับ”

“ซินไฉฮั้ว” แบรนด์ซักแห้งเจ้าแรกในประเทศไทยประกาศเจาะช่องว่างปูพรมสาขาทั่วเมือง โดยเฉพาะกลยุทธ์รุกแนวรบแฟรนไชส์ร้านซักผ้าหยอดเหรียญที่กำลัง “บูม” ทั่วเมือง ทั้งลดแลกแจกแถมขนานใหญ่ เพื่อปูทางสู่เป้าหมายใหญ่ตามแผนยุทธศาสตร์การสร้าง “ฮับ (Hub)” บุกขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ปี 2563 ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นตัวหนุนภาพรวมตลาดแฟรนไชส์ เพราะความต้องการคนทำธุรกิจส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นและหันมาทำธุรกิจซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งร้านซักผ้าหยอดเหรียญเป็นหนึ่งในกิจการยอดนิยมที่มีนักลงทุนสนใจจำนวนมาก หากดูข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทผู้ให้บริการธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ประมาณ 252 ราย ยอดทุนจดทะเบียนราว 1,214 ล้านบาท มีอัตราขยายตัวโดดเด่นที่สุดในกลุ่มธุรกิจบริการ โดยช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดจัดตั้งบริษัท 10 ราย เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9 เท่า มูลค่าทุนจดทะเบียน 21 ล้านบาท ขยายตัว 6 เท่าตัว ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ เพราะอานิสงส์จากไลฟ์สไตล์ของคนสังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้บริการเครื่องซักผ้า ซึ่งส่วนมากติดตั้งตามคอนโดมิเนียมและหอพัก ทั้งนี้ กลุ่มแบรนด์ใหม่ๆ ที่กำลังเร่งขยายสาขาอย่างหนัก เช่น Mr. Jeff, WashCoin,

Read More

6 ทศวรรษ อาณาจักร “กระทิงแดง”

อาณาจักรธุรกิจแสนล้านของตระกูลอยู่วิทยา เริ่มต้นเมื่อ 60 กว่าปีก่อน เมื่อ “เฉลียว อยู่วิทยา” เซลล์ขายยาตัดสินใจตั้งบริษัทขายยา หจก. ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2499 โดยเช่าตึกในซอยรามบุตรี ถนนข้าวสาร เป็นที่ตั้งบริษัท และคิดค้นสูตรยาให้โรงงานผลิตยาในประเทศเยอรมนีเป็นผู้ผลิต เช่น เอ็นโดทาลีน (แก้ท้องเสีย) อลูแม็ก (แก้ปวดท้อง) ต่อมา เฉลียวตั้งโรงงานผลิตยาที่ตรอกสาเก หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ ชื่อ บริษัท ที.ซี.มัยซิน อุตสาหกรรม จำกัด และพัฒนายาตัวใหม่ วางขายภายใต้ชื่อ “ทีซี มัยซิน” ทั้งยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้ฝีหนอง ยาหยอดหู ยาหยอดตา เข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ช่วงปี 2511-2520 หจก.ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล ย้ายโรงงานผลิตยาจากตรอกสาเก มาตั้งที่ถนนเอกชัย เขตบางบอน และเริ่มขยายกลุ่มสินค้าจาก “ยา” สู่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอื่นๆ โดยเริ่มต้นสินค้ากลุ่มเครื่องสำอางยี่ห้อ

Read More

สึนามิเศรษฐกิจ วิกฤตล้มละลายลามหนัก

นับถอยหลังโฉมหน้ารัฐบาล “ประยุทธ์ 2/2” ทุกฝ่ายต่างจับจ้องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาผลพวงจากพิษโควิด-19 โดยเฉพาะรอบนี้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” และอาจลุกลามกลายเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ” ลูกใหญ่ซัดกระหน่ำทั่วทั้งโลก สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจน ก็คือ สถานการณ์การล้มละลายต่อเนื่องเหมือนโดมิโน ตั้งแต่ระดับยักษ์ใหญ่จนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก ในต่างประเทศ กลุ่มออยเลอร์เฮอร์เมส (Euler Hermes) บริษัทประกันสินเชื่อที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดว่า การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างระเบิดเวลาการล้มละลายและคาดการณ์จำนวนบริษัทล้มละลายทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างปี 2562-2564 และราวครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลกจะมีบริษัทล้มละลายสูงสุดเป็นสถิติใหม่นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกปี 2552 ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้นมากที่สุด คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 57% ในปี 2564 เทียบกับปี 2562 ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น บราซิลจะมีบริษัทล้มละลายเพิ่มขึ้น 45% สหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 43% สเปนเพิ่มขึ้น 41% ส่วนจีนอยู่ที่ 20% ผลวิจัยย้ำด้วยว่า ยิ่งบริษัทยื่นล้มละลายมีขนาดใหญ่เท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิด “Domino Effect” ยิ่งสูงขึ้น โดยมี 2 ภาวการณ์ที่จะเร่งการล้มละลายสูงขึ้น

Read More