Home > Suporn Sae-tang (Page 31)

ทาคาชิมายะ บูมบิ๊กไฮไลท์ ครบ 2 ปี ฝ่ามรสุมค้าปลีกไทย

สยาม ทาคาชิมายะ กลายเป็นห้างสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ถูกจับจ้องความเคลื่อนไหวก้าวต่อไป หลังเปิดดำเนินการเมื่อปี 2561 พร้อมๆ กับอภิมหาโครงการไอคอนสยาม และจะดีเดย์ครบรอบ 2 ปี ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ขณะเดียวกัน ชื่อชั้น “ทาคาชิมายะ” ถือเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจยาวนานมากกว่า 190 ปี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1829 ที่เมืองเกียวโต โดยนายอีดะ ชินกิชิ ระยะแรกเน้นจำหน่ายสินค้าปลีกประเภทเสื้อผ้า ผ้าฝ้าย จนขยายอาณาจักรธุรกิจและผุดสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 20 แห่ง ส่วนสาขาในต่างประเทศเริ่มบุกประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นผู้เช่าหลักในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดใจกลางถนนสายหลักออร์ชาร์ด และขยายต่อเนื่อง ได้แก่ สาขาเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน สาขาโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จนล่าสุด คือ สยามทาคาชิมายะ ไอคอนสยาม ประเทศไทย เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทลูก ทาคาชิมายะ สิงคโปร์ สัดส่วน 51% กับกลุ่มไอคอนสยาม 49% หากย้อนไปวันแรกของการเผยโฉมในประเทศไทยนั้น

Read More

ศึกบิ๊กเซล “ลาซาด้า-ช้อปปี้” ใครจะปังปุริเย่ กว่ากัน

2 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซในไทย ลาซาด้า (Lazada) และช้อปปี้ (Shopee) เริ่มลั่นกลองรบประชันโปรโมชั่นปลุกกระแสการจับจ่ายครั้งใหญ่รับเทศกาลชอปปิ้งระดับโลก 11.11 หลังจากตลอด 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2563 ทั้งสองฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์สร้างเครือข่ายร้านค้าแบรนด์ใหญ่ แบรนด์ดัง แบรนด์กลาง และเอสเอ็มอี ทุ่มโปรโมชั่นทุกรูปแบบขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการโหมโรงเล่นกิมมิกบิ๊กเซลทุกเดือน ต้องยอมรับว่า ไอเดียกระตุ้นวันช้อปปิ้งของปรมาจารย์ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งอาณาจักร “อาลีบาบา (Alibaba)” จุดกระแสจนกลายเป็นต้นแบบกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซทุกรายต้องเดินตามและต่อยอดจาก “วันคนโสด 11.11” วันที่ 11 เดือน 11 เปิดแคมเปญทุกเดือน จะเป็นวันที่ 8 เดือน 8 วันที่ 9 เดือน 9 หรือวันที่ 10 เดือน 10 ซึ่งบรรดานักช้อปต่างรอคอยแคมเปญนี้ พร้อมกับเปรียบเทียบว่า ค่ายไหนจะปังปุริเย่กว่ากัน หากย้อนที่มาคร่าวๆ “วันคนโสด” เป็นธรรมเนียมของประเทศจีน ตรงกับวันที่

Read More

ปิดห้างหนีม็อบ ออนไลน์พรึ่บ ไลฟ์สดยอดพุ่ง

แม้ธุรกิจศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้ากำลังอ่วมพิษการเมือง ทั้งการชุมนุมแฟลชม็อบตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และการปิดให้บริการชั่วคราวของรถไฟฟ้า ส่งผลต่อบรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปี แต่ดูเหมือนว่าช่องทางออนไลน์กลับคึกคักสุดขีด โดยเฉพาะบรรดาแม่ค้า Facebook Live ที่เล่นกลยุทธ์อัดสินค้าจำนวนมากขึ้น ไลฟ์นานขึ้นและถี่ยิบทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงขั้นที่ว่า บางเพจที่มียอดผู้ชมจำนวนมากและกำลังไลฟ์สดในช่วงเวลาการนัดหมายชุมนุมตามจุดต่างๆ มีการแทรกข้อความโหนกระแสการเมือง “สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย” ให้ผู้คนคลิกแชร์ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อเพิ่มยอดแชร์ด้วย ขณะเดียวกัน หากประเมินเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ตลาดการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มีอัตราเติบโตแบบพุ่งพรวด มีจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งกลุ่มแม่ค้าที่ต้องปิดหน้าร้านตามคำสั่งของทางการ กลุ่มคนตกงาน หรือแม้กระทั่งกลุ่มห้างสรรพสินค้าต่างหันมาเปิดเฟซบุ๊กไลฟ์ เพื่อสร้างยอดขายแบบเร่งด่วน ตัวอย่างกรณีห้างสรรพสินค้าโรบินสันประกาศให้พนักงานจัดรายการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพจของสาขาต่างๆ วันละ 3-6 รอบ รอบละประมาณ 1 ชั่วโมงทุกวัน มีการจัดรายการแนะนำ รีวิวสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจสั่งซื้อพร้อมบริการส่งถึงบ้าน ดังนั้น เมื่อรวมกับสถานการณ์การเมืองที่ทำให้ห้างค้าปลีกปิดให้บริการเร็วขึ้นและการเดินทางที่ไม่สะดวกทำให้นักช้อปส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้าน ยิ่งเปิดโอกาสกระตุ้นให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวสูงมาก โดยข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา คาดการณ์ว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยจะหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 35% จากปี

Read More

ห้างลุ้นกำลังซื้ออีกเฮือก มึนม็อบดาวกระจายลาม

แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจออกพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2563 ให้มีการอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อผ่าทางตันของประเทศ แต่นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นที่ยังต้องแลกกับความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพิษการเมืองส่งผลเต็มๆ ต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของประชาชน ทั้งที่กลุ่มห้างค้าปลีกต่างคาดหวังการฟื้นรายได้อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสสุดท้าย หลังปัญหาโควิด-19 คลี่คลาย ที่สำคัญ 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มคณะราษฎร 2563 และแนวร่วมธรรมศาสตร์ และการชุมนุม คือ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรี 2. เปิดสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ รวมถึงสั่งปล่อยตัวและไม่ดำเนินคดีใด ๆ กับกลุ่มผู้ถูกจับกุมอีก ล้วนเป็นการเรียกร้องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย เกมนี้จึงเหมือนหนังเรื่องยาว ต้องดูท่าทีของแต่ละฝ่าย แต่ต้องยอมรับว่าการงัดกลยุทธ์ม็อบดาวกระจายตามจุดสำคัญทั่วกรุงเทพฯ สามารถกดดันรัฐบาลอย่างได้ผล เนื่องจากเลือกจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ โดยประเดิมหมุดแรกย่านราชประสงค์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ช้อปปิ้งสตรีท มีห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ไล่ไปตั้งแต่เซ็นทรัลเวิลด์ เกษรวิลเลจ สยามพารากอน อัมรินทร์พลาซ่า

Read More

มาแล้ว “โรบอทคาเฟ่” บาริสต้าหุ่นยนต์จะแรงแค่ไหน

การเผยโฉมหุ่นยนต์ชงกาแฟ Robosta café ของบริษัทคนไทย Brainworks โดยปักหมุดแรกในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2020 “The Hybrid Edition” เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน สร้างความตื่นเต้นให้ผู้ชมงานชนิดแน่นบูธ ที่สำคัญ บริษัทมีแผนเจรจาธุรกิจกับร้านกาแฟแบรนด์ดังที่เตรียมเปิดตัวแฟรนไชส์ Robot Barista ในปลายปีนี้ด้วย แน่นอนว่า ในต่างประเทศ อย่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นำหุ่นยนต์บาริสต้ามาสร้างสีสันได้ระยะหนึ่งแล้ว จนเกิดกระแส 2 ด้าน ด้านหนึ่งถือเป็นนวัตกรรมการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ แต่อีกด้านหนึ่งสะท้อนความหวั่นวิตกเรื่องการแย่งงานของมนุษย์ ก่อนหน้านี้ อ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ บริษัทด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เคยประเมินว่า งานในภาคการผลิตทั่วโลกสูงถึง 20 ล้านตำแหน่ง อาจถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในปี 2030 หรือในอีก 10 ปีข้างหน้า และหุ่นยนต์จะแย่งงานในภาพรวมถึง 800 ล้านตำแหน่ง โดยเฉพาะภูมิภาคที่คนมีทักษะในการทำงานต่ำกว่า ซึ่งมีแนวโน้มเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าและมีอัตราการว่างงานสูงกว่าภูมิภาคอื่น จะเสี่ยงต่อการสูญเสียตำแหน่งงานให้แก่หุ่นยนต์มากกว่า ที่สำคัญ ตำแหน่งงานในภาคบริการจะถูกหุ่นยนต์มาแทนที่มากขึ้นด้วย

Read More

นับถอยหลังบิ๊กดีล ซีพีฮุบเทสโก้ จับตามติบอร์ดแข่งขันฯ ชี้ชะตา

นับถอยหลังอีกไม่ถึงเดือน คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จะต้องสรุปชี้ขาดบิ๊กดีลการเข้าซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ใช้เม็ดเงินมูลค่าสูงถึง 3.38 แสนล้านบาท และเป็นประเด็นสำคัญ ทั้งในแง่บรรทัดฐานตามตัวบทกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการพลิกกลยุทธ์รุกสงครามค้าปลีกของยักษ์ใหญ่ “ซีพี” ต้องยอมรับว่า ในอดีตประเทศไทยเกิดบิ๊กดีลค้าปลีกหลายครั้ง ทั้งกรณีบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ เม็ดเงินมูลค่า 35,500 ล้านบาท เมื่อปี 2553 ซีพี ออลล์ ฮุบค้าส่งแม็คโคร เงินลงทุนกว่า 1.88 แสนล้านบาท ในปี 2556 และกลุ่มเบอร์ลี่ยุคเกอร์ทุ่มทุนกว่า 2 แสนล้านบาท ซื้อกิจการบิ๊กซีเมื่อปี 2559 แต่ช่วงนั้นยังอยู่ภายใต้กฎหมายเดิม พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ยังไม่มีกำหนดเกณฑ์การรวมธุรกิจและอำนาจเหนือตลาด หรือการผูกขาด ทำให้ทั้งสามดีลลอยลำยืนหนึ่งในธุรกิจค้าปลีก จนกระทั่งเกิดดีลล่าสุด เมื่อเครือซีพีชนะการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ในประเทศไทยและมาเลเซีย ด้วยวงเงิน 10,576 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.38 แสนล้านบาท ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ยังต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าชี้ขาดว่า การควบรวมกิจการจะเข้าข่ายการผูกขาดหรือการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดหรือไม่

Read More

พลิกปูมเครือสารสาสน์ อาณาจักรธุรกิจหมื่นล้าน

กรณีครูประจำชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ จ. นนทบุรี ทำร้ายเด็กนักเรียนในห้องเรียนจนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักและลุกลามตรวจสอบโรงเรียนในเครือสารสาสน์อีก 34 แห่ง กำลังเป็นปมปัญหาใหญ่สะเทือนอาณาจักรธุรกิจโรงเรียนเอกชนหลักหมื่นล้านของ “พิบูลย์ ยงค์กมล” ที่ปักหมุดรุกสร้างเครือข่ายมานานมากกว่า 50 ปี ปัจจุบันจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ระบุว่า เครือสารสาสน์เปิดดำเนินการโรงเรียนทั้งหมด 43 แห่ง มีทั้งที่ใช้ชื่อสารสาสน์และไม่ได้ใช้ชื่อสารสาสน์ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเปิดการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลถึงมัธยมศึกษาและเป็นโรงเรียนรูปแบบสองภาษา (Bilingual Program) จำนวน 23 แห่ง ที่เหลือสอนรูปแบบสามัญทั่วไป (ภาษาไทย) ขณะเดียวกัน ขยายกิจการวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยสารสาสน์บริหารธุรกิจกนกอนุสรณ์และวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสาสน์ รวมทั้งเปิดสถาบันอุดมศึกษาอีก 1 แห่ง คือ สถาบันสารสาสน์เซนต์ปีเตอร์ แน่นอนว่า เครือสารสาสน์ก่อร่างสร้างอาณาจักรใช้เม็ดเงินไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นล้านและรายได้ทั้งเครือแตะหลักพันล้านมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเพจ SME From Zero to Hero เคยโพสต์ข้อมูลระบุตัวเลขกำไรของเครือสารสาสน์ย้อนไปตั้งแต่ปี 2556 มีกำไรกว่า

Read More

คอมมูนิตี้มอลล์ฟื้น ตลาดนัดเทรนด์ใหม่ผุดพรึ่บ

ผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 กลายเป็นจุดพลิกฟื้นค้าปลีกกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์และตลาดนัดกลางคืนแนวใหม่ บรรยากาศชิคๆ เพิ่มไลฟ์สไตล์ มีจุดแฮงก์เอาต์ เล่นดนตรี จนสร้างจุดเช็กอินมาแรงแซงหน้าศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบเดิมๆ และการตอบโจทย์พฤติกรรมการจับจ่ายยุค New Normal โดยเฉพาะประเด็นความเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสอันตรายระลอกสอง ล่าสุด มีนักลงทุนแห่ผุดโครงการคอมมูนิตี้มอลล์เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ขณะที่โครงการที่เปิดให้บริการก่อนช่วงโควิดยังดึงดูดผู้เช่าและกลุ่มลูกค้า หลังทางการคลายล็อกเต็มรูปแบบ เนื่องจากเจ้าของร้านค้าเช่าส่วนใหญ่ต้องปรับลดพื้นที่รองรับจำนวนลูกค้าที่ลดลงและรักษามาตรฐานตามมาตรการ Social Distancing โดยปรับโหมดสู่โมเดลขนาดกลางและขนาดเล็ก เน้นบริการดีลิเวอรี่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับศูนย์การค้าประเภทคอมมูนิตี้มอลล์ ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์และตลาดนัด ทั้งอัตราค่าเช่าที่ไม่แพงมากเมื่อเปรียบเทียบกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่และบรรยากาศกลางแจ้งช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าอีกส่วนหนึ่ง ข้อมูลจากบริษัทวิจัยอสังหาริมทรัพย์ ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) ระบุว่า การรักษาระยะห่างทางสังคมถือเป็นมาตรฐานใหม่ในธุรกิจ ศูนย์การค้ากึ่งในร่มและกลางแจ้งที่ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับอากาศบริสุทธิ์ ป๊อปอัปสโตร์ หรือรูปแบบโครงการค้าปลีกที่แปลกใหม่ เพิ่มพื้นที่สันทนาการ เช่น พื้นที่สีเขียว ที่นั่งกลางแจ้ง พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง พื้นที่หอประชุม พื้นที่บนดาดฟ้า และลู่วิ่งจ๊อกกิ้ง สถานที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความปลอดภัยและมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกัน กลุ่มร้านค้าปลีก โดยเฉพาะธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น เครื่องสำอาง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นรูปแบบอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งธุรกิจที่ปรับตัวเร็วที่สุด คือ กลุ่มฟาสต์ฟู้ดต่างลดโซนพื้นที่นั่ง เพิ่มขนาดห้องครัวและพื้นที่รับส่งอาหาร ร้านอาหารบรรยากาศนั่งสบายที่มีขนาดใหญ่ต่างลดขนาดพื้นที่เช่า คาดการณ์ร้านค้าปลีกมีแนวโน้มลดพื้นที่ลง

Read More

แห่ถอย “ฟูดทรัค” สู้วิกฤตตกงาน ส. ขอนแก่น ลุยแฟรนไชส์รถ “แซ่บ”

การกระโดดเข้ามาเร่งสปีดแฟรนไชส์ Food Truck ของแบรนด์อาหารไทยยักษ์ใหญ่อย่าง “ส. ขอนแก่น” โดยประเดิม 2 แบรนด์หลักในเครืออย่าง “แซ่บ” และ “ข้าวขาหมูยูนนาน” สะท้อนความร้อนแรงและกระแสการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเซกเมนต์ฟูดทรัค โดยตัวเลขประมาณการเบื้องต้นระบุว่า ทั่วประเทศมีจำนวนฟูดทรัคมากกว่า 1,500 คัน จากแบรนด์ต่างๆ มากกว่า 600 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ คร่าวๆ สูงถึง 1,350 ล้านบาท ที่สำคัญ ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่กดดันให้กิจการต่างๆ เลิกจ้างคนงานไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านคน และผู้คนมากกว่า 12 ล้านคน จะมีรายได้ลดลงจากการตัดเงินเดือน ตัดโอที ตัดรายได้พิเศษต่างๆ ส่งผลให้หลายคนเร่งหาอาชีพเสริม ยิ่งทำให้ฟูดทรัคกลายเป็นช่องทางทำมาหากินยอดนิยม เนื่องจากเป็นกิจการรูปแบบเชิงรุกเคลื่อนที่เข้าหากลุ่มลูกค้า สอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคแบบ New Normal รวมทั้งหลายบริษัทยังเน้นให้พนักงาน Work from Home เพื่อประหยัดต้นทุนด้วย ชนินทร์ วัฒนพฤกษา ประธานและผู้ก่อตั้งฟู้ดทรัค คลับ

Read More

“เจริญ” เดินหน้าอสังหาฯ แสนล้าน ดัน “เดอะปาร์ค” วัดดวงสู้วิกฤต

ทีซีซีกรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตัดสินใจเดินหน้าโครงการอสังหาริมทรัพย์แสนล้าน ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เหล่ากูรูต่างฟันธงอัตราจีดีพีไทยมีสิทธิ์ติดลบทะลุตัวเลขสองหลัก หากเกิดการแพร่ระบาดระลอกสองของเชื้อโควิด-19 โดยล่าสุดเผยโฉม เดอะ ปาร์ค ไลฟ์ (The PARQ Life) ปลุกจุดขายไลฟ์สไตล์รีเทล ตามแผนสร้างย่านธุรกิจขนาดใหญ่บนถนนพระราม 4 ซึ่งปักหมุดไว้ตั้งแต่อาคาร FYI Center อาคาร ThaiBev Quarter และตามด้วยการเร่งพลิกโฉมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ขณะเดียวกันเมื่อจิ๊กซอว์ทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งเดอะปาร์ค เฟส 2 จะมีพื้นที่สำนักงานระดับพรีเมียมเพิ่มเติม โรงแรมหรือเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เน้นให้บริการกลุ่มนักธุรกิจและผู้คนที่เดินทางมาประชุมสัมมนาที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ซึ่งจะเปิดให้บริการในรูปลักษณ์ใหม่ ขยายพื้นที่การจัดงานเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ตารางเมตร เป็น 70,000 ตารางเมตร จะปลุกกระแสต่อยอดไปถึงอภิมหาโครงการ วัน แบงค็อก ที่เตรียมประเดิมเปิดเฟสแรกในปี 2566 เป้าหมายใหญ่ คือ วัน แบงค็อก ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)

Read More