Home > Life (Page 33)

บอกลาอาการปวดหลัง … ไม่ยาก

 Column: Well – Being กล่าวกันว่า หนึ่งในอาการร่วมมากที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้ชาวออสเตรเลียต้องไปพบแพทย์คือ อาการปวดหลัง ชาวออสซี่ราวร้อยละ 70 – 90 ล้วนเคยทุกข์ทรมานจากอาการปวดหลังจากสาเหตุอันหลากหลาย ตั้งแต่ปัญหาการทรงท่า (postural problems) บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ข้อเสื่อม กระดูกพรุน อายุที่มากขึ้น สุขภาพไม่แข็งแรง หรือการทำงานที่ทำให้กระดูกสันหลังทำงานหนัก ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว เราส่วนใหญ่มักมีความรู้พื้นฐานว่า การทำหรือไม่ทำอะไรแล้วจะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อกระดูกสันหลังของเรา แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ทำให้คุณเกิดอาการปวดหลังอย่างไม่คาดคิด แต่มีวิธีแก้ไขหรือเยียวยาได้เช่นกัน ปวดหลังเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักหายเองได้ หรือถ้าไม่หายก็มีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้คุณบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ ดังนั้น การที่ได้รู้ว่าเรามีหลายวิธีในการจัดการกับความเจ็บปวดย่อมช่วยได้มาก ขณะที่ความวิตกกังวลรังแต่จะทำให้ปัญหาเลวร้ายลง ศาสตราจารย์ Paul Hodges University of Queensland School of Health and Rehabilitation Sciences อธิบายว่า “ความเจ็บปวดเกิดขึ้นจากการที่ระบบประสาทของคุณแปลความข้อมูลที่ได้รับจากร่างกาย ระบบประสาทสามารถทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นหรือน้อยลงนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณกังวลเกี่ยวกับความเจ็บปวดมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ถ้าคุณวิตกกับอาการปวดหลังมาก สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลง” ให้จำไว้ว่า

Read More

ทดสอบสุขภาพเองได้ที่บ้าน

 Column: Well – Being คุณมีวิธีทดสอบสุขภาพตนเองได้ง่ายๆ ขณะอยู่ที่บ้าน ไม่ว่าสุขภาพหัวใจหรือความเสี่ยงจากโรคสมองเสื่อม ผลที่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่เกี่ยวกับความเสี่ยงของคุณ ทั้งยังช่วยให้คุณเพิ่มความระมัดระวัง และเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้นดังนี้ ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดย: วัดเส้นรอบวงกล้ามเนื้อน่องส่วนที่ใหญ่ที่สุด น่ากังวลถ้า: วัดได้ 34.5 ซม. หรือน้อยกว่า ทำไม: ยิ่งกล้ามเนื้อน่องมีขนาดเล็กมากเท่าไร คุณยิ่งมีความเสี่ยงในการเกิด plaque หรือมีแนวโน้มจะเกิด plaque ในหลอดเลือดสมองคาโรติด (carotid arteries) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ขนาดประมาณนิ้วก้อย ทำหน้าที่ส่งเลือดจากหัวใจผ่านคอด้านหน้าไปสู่สมอง Plaque ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง และเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดโรคหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ นักวิจัยอธิบายว่า เพราะเส้นรอบวงของกล้ามเนื้อน่องเป็นตัวชี้วัดถึงมวลกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมันและไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ใช้ในยามจำเป็น วิธีป้องกัน: บริโภคปลามากขึ้น นักวิจัยกล่าวว่า ผู้ที่บริโภคโปรตีนโดยเฉพาะจากปลาวันละ 20 กรัม สามารถลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 20 เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปลา ช่วยป้องกันการเกิด plaque ในหลอดเลือดสมองคาโรติด คุณหาเนื้อปลา 20 กรัมได้จาก ปลาทูน่ากระป๋อง 90 กรัม, ปลาแซลมอน 100 กรัม และปลากะพง 100

Read More

นิทรรศการเอมีล แบร์นารด์

 Column: From Paris ญาติมิตรมาเที่ยวปารีส จะแนะนำให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ออรองเจอรี (Musée de l’Orangerie) ซึ่งอยู่ในบริเวณสวนตุยเลอรีส์ (Jardin des Tuileries) การเดินทางไปที่ง่ายที่สุดคือนั่งรถใต้ดินสาย 1 ไปขึ้นสถานี Concorde เดินออกทางป้ายที่บ่งว่า Musée de l’Orangerie โผล่ขึ้นจะเป็นปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) ที่มีแท่งหินโอเบลิสค์ (Obélisque) ของอียิปต์ กำแพงที่เห็นเป็นกำแพงสวนตุยเลอรีส์ Musée de l’Orangerie จะอยู่ทางขวามือ ต้องเดินเข้าสักนิด แล้วจะเห็นทางเดินขึ้นสูงไป หน้าพิพิธภัณฑ์ตั้งรูปปั้น Le baiser ของโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ไป Musée de l’Orangerie ครั้งสุดท้ายเมื่อเพื่อนมาเยือน ชมภาพสวนบัวขนาดใหญ่ที่โคล้ด โมเนต์

Read More

ยืนเพื่อสุขภาพ

 Column: Well – Being ปัจจุบันการนั่งถูกขนานนามว่าเป็น “การสูบบุหรี่รูปแบบใหม่” ไปเสียแล้ว เพราะการจ่อมนั่งอยู่กับที่นานเกินไป ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพนานัปการ ทำให้คุณเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง เป็นต้น ผลการวิจัยยังยืนยันว่า แม้การนั่งดูทีวีนานๆ ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายอย่างไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อคุณอายุเกิน 25 ปี การนั่งดูทีวีนานขึ้นทุกหนึ่งชั่วโมง ทำให้อายุขัยของคุณสั้นลงราว 22 นาที คำอธิบายข้อหนึ่งคือ การนั่งทำให้กล้ามเนื้อมัดที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายไม่สามารถหดเกร็งตัวได้ ทำให้ lipoprotein lipase ซึ่งเป็นโมเลกุลในระบบเผาผลาญที่สำคัญมาก และมีหน้าที่กำจัดน้ำตาลกลูโคสและไขมันออกจากกระแสเลือด ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ที่สำคัญคุณไม่อาจชดเชยผลเสียจากการนั่งเป็นเวลานานด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเสียด้วย ดังนั้น หากคุณพยายามลุกยืนมากขึ้นและนั่งให้น้อยลง สุขภาพของคุณย่อมดีขึ้นในแง่ ป้องกันโรคร้ายคุกคาม ถ้าคุณสามารถจำกัดเวลานั่งให้เหลือวันละไม่ถึง 4 ชั่วโมง คุณย่อมเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็งหรือโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ยังดื้อแพ่งนั่งจ่อมมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ดูแลดีเอ็นเอได้ดีขึ้น ผลการวิจัยระบุว่า การนั่งน้อยลงทำให้เทโลเมียร์ (telomeres) ยาวขึ้น เทโลเมียร์เป็นส่วนที่อยู่บริเวณปลายสุดของโครโมโซม ทำหน้าที่เสมือนส่วนหุ้มโครโมโซม และมีผลต่อกระบวนการชราภาพของเซลล์ ยิ่งคุณมีเทโลเมียร์ยาวมากเท่าไร นั่นหมายถึงคุณมีอายุขัยยาวขึ้นเพียงนั้น และเทโลเมียร์ยิ่งสั้นมากเท่าไร หมายถึงคุณมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการมีปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กับการมีอายุมากขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง

Read More

Tips ดีๆ มีมาอีกแล้ว

 Column: Well-being สมการดื่มกาแฟให้ได้ผลที่สุด เวลาตื่นนอน + 90 นาที = ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการดื่มกาแฟให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด เป็นสมการที่คุณควรจำให้ขึ้นใจ เพราะหลังจากคุณตื่นนอน ระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มความตื่นตัวให้แก่ร่างกาย จะเพิ่มระดับสูงขึ้นโดยธรรมชาติ ดังนั้น ถ้าคุณรีบดื่มกาแฟช่วงตื่นนอนใหม่ๆ จะได้รับประโยชน์น้อยมาก แต่หลังจากตื่นนอนแล้วหนึ่งหรือสองชั่วโมง ร่างกายจะผลิตคอร์ติซอลน้อยลง หากคุณดื่มกาแฟช่วงเวลานี้ จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการกระตุ้นความตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โพแทสเซียมลดความเสี่ยงกระดูกหัก   เรารู้กันมานานแล้วว่า แคลเซียมจำเป็นต่อกระดูกเป็นอย่างมาก แต่โพแทสเซียมก็มีบทบาทสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันในแง่การทำให้กระดูกแข็งแรง ปกติแล้วเนื้อเยื่อกระดูกมีการสูญสลายและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าอยู่ในภาวะสูญเสียมวลกระดูกมากกว่าการสร้างใหม่ นั่นหมายความว่ากระดูกของคุณอ่อนแอลงเรื่อยๆ  นักวิจัยประจำมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์พบว่า การบริโภคเกลือโพแทสเซียมในปริมาณมากที่มีอยู่ในผลไม้และผักทุกชนิด ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะกระดูกหักหรือแตกร้าวได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงแนะนำให้บริโภคผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน เพื่อคงสภาพกระดูกของคุณให้แข็งแรงตลอดไป ขมิ้นชันยับยั้ง plaque ในสมอง     สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันซึ่งมีสีเหลืองนั้น มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิด plaque ที่จับตัวอยู่ระหว่างเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งเป็นตัวการของการอักเสบ บลูเบอร์รี่ป้องกันความจำเสื่อม สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอร์รี่ ช่วยปกป้องสมองจากอาการความจำเสื่อมได้ นักวิจัยกล่าวว่า การนำบลูเบอร์รี่ 2 ถ้วยมาปั่นเป็นสมูตตี้แล้วบริโภค ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ได้นานถึง 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว อมารันธ์อุดมด้วยวิตามินบี อมารันธ์เป็นธัญพืชที่นำมาปรุงอาหารได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งวิตามินบีที่ทำหน้าที่ช่วยเปลี่ยนอาหารให้เป็นกลูโคส เพื่อเป็นแหล่งพลังงานแก่สมอง บริโภคอโวคาโดได้วันละผล ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพนน์สเตทระบุว่า แม้คนมีน้ำหนักตัวเกิน ยังสามารถบริโภคอโวคาโดได้ทั้งผลและเป็นประจำทุกวันด้วย เพราะไขมันจากผลอโวคาโดช่วยลดระดับไขมันเลวหรือแอลดีแอลในเลือดได้ดี นอกจากนี้ กากใยและสารเตอรอลจากพืชที่พบในอโวคาโด ยังช่วยสร้างไขมันดีหรือเอชดีแอลให้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ระวังเครื่องดื่มเสริมวิตามิน   จากการที่เราต้องการสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงร่างกายนี่เอง ทำให้เราพยายามยัดเยียด

Read More

เมื่อนโปเลองที่ 3 ไม่ใช่หลานของนโปเลองที่ 1

 คอลัมน์ From Paris ทหารหนุ่มจากกอร์ส (Corse) หรืออีกนัยหนึ่งเกาะคอร์สิกา (Corsica) ในภาษาอังกฤษ เติบใหญ่ได้เป็นแม่ทัพในการสงคราม จนขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศฝรั่งเศส และตั้งตนเป็นจักรพรรดิด้วยการประกอบพิธีปราบดาภิเษกที่วิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส (Notre-Dame de Paris) ถือเป็นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire)  ช่วงที่นโปเลองเรืองอำนาจอยู่ระหว่างปี 1804-1814 หลังจากล่าถอยจากรัสเซีย อันหมายถึงความพ่ายแพ้หลังจากที่ชนะสงครามมาตลอด นโปเลองต้องสละบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) แล้วหลบหนีกลับมาฝรั่งเศส นำทัพไปรบอีกในปี 1815 แล้วประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิวอเตอร์ลู (Waterloo) หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์-เฮเลนา และถึงแก่กรรมหลังจากนั้น 6 ปีด้วยมะเร็งกระเพาะอาหาร บ้างก็ว่าเพราะถูกวางยาพิษ หลุยส์ โบนาปาร์ต (Louis Bonaparte) น้องชายของนโปเลองมีลูกชื่อหลุยส์ นโปเลอง โบนาปาร์ต (Louis Napoléon Bonaparte) ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่สอง (Seconde République) ภายหลังตั้งตนเป็นจักรพรรดินโปเลองที่ 3 (Napolélon

Read More

ทำสมาธิ-กำราบหวัด & อัลไซเมอร์

 Column: Well – Being ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมายยืนยันว่า การทำสมาธิ (mindfulness meditation) เป็นผลดีอย่างมากต่อสุขภาพโดยรวม แม้นักวิจัยยังไม่ถึงขั้นเจาะจงว่าการทำสมาธิสามารถรักษาโรคได้ แต่มีการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการทำสมาธิดีต่อสุขภาพในแง่ ต่อสู้กับหวัดและไข้หวัดใหญ่   เพราะการทำสมาธิอาจช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ปี 2012 Annals of Family Medicine ระบุผลการศึกษาในผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปว่า การทำสมาธิสามารถลดโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงหวัดและไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าการออกกำลังกาย การค้นพบนี้ช่วยเสริมการศึกษามากมายก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า การทำสมาธิสามารถต่อสู้กับโรคภัยได้ โดยลดความเครียดและช่วยเสริมสร้างการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากอัลไซเมอร์การทำสมาธิอาจช่วยให้สมองเสื่อมช้าลง เพราะภาวะสมองเสื่อมนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ Rebecca Erwin Wells, MD แห่ง Wake Forest  ตีพิมพ์ในรายงานปี 2013 ว่า ในการศึกษาผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเริ่มสูญเสียความทรงจำ ปรากฏว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของกลุ่มตัวอย่างที่ฝึกการทำสมาธิ มีอาการฝ่อน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสมองส่วนฮิปโปแคมปัสเป็นสมองส่วนที่เกิดโรคความเสื่อมของระบบประสาท (neurodegenerative diseases) เช่น อัลไซเมอร์  ผลการศึกษายังกล่าวว่า ในผู้ฝึกการทำสมาธิ สมองส่วนที่เรียกว่า default mode network มีการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทมากกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกทำสมาธิ

Read More

ใช้อาหารบำบัดโรคซึมเศร้า

 Column: well-being เป็นเวลานับพันปีมาแล้วที่การแพทย์แผนตะวันออกและนักธรรมชาติบำบัด แนะนำให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพื่อช่วยรักษาและบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ Eva Selhub, MD, อาจารย์ผู้บรรยายประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยอมรับว่า ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์ตะวันตกได้หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน สถาบันวิจัยจำนวนมากพากันระบุว่า อาหารที่บริโภคล้วนส่งผลต่อสุขภาพสมองและสุขภาพจิตของเราทั้งสิ้น วงการจึงหันมามุ่งเน้นงานวิจัยและการบำบัดรักษาสุขภาพจิตด้วยอาหารกันขนานใหญ่ จนเกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า “nutritional psychiatry” Felice Jacka, PhD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยดีกิน ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า “ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ผลการวิจัยได้เน้นย้ำให้เราตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพร่างกายโดยรวมที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้” ลดอาหารหวาน ช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้  Drew Ramsey, MD, ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกด้านสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ และผู้เขียนร่วมหนังสือ The Happiness Diet อธิบายว่า สมองของเรานั้นเหมือนอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นจากอาหารที่เราบริโภคเป็นหลัก “อารมณ์ต่างๆ มีจุดเริ่มต้นเชิงชีววิทยาจากการที่เซลล์ประสาทสองเซลล์มากระทบกัน และเซลล์ประสาทเหล่านี้ก็สร้างขึ้นจากสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั่นเอง” เขาเพิ่มเติมต่อไปว่า ร่างกายไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ได้ หากขาดธาตุเหล็กและทริปโตแฟน และไม่สามารถสร้างไขมัน myelin ที่ทำหน้าที่เป็นฉนวนหุ้มเซลล์สมองได้ ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี 12 ที่พบมากในอาหารทะเล เนื้อวัว

Read More

ฟัว กราส์ มีปัญหา

 Column: From Paris อาหารจานอร่อยของฝรั่งเศสมีหลายอย่าง อร่อยจนลืมโรคภัยที่อาจถามหา อาหารจานอร่อยบางจานเป็นอาหารท้องถิ่นของภาคต่างๆ ด้วยเหตุนี้ยามไปอัลซาส (Alsace) จะขอชิม choucroute หรือที่รู้จักกันในภาษาเยอรมันว่า sauerkraut อีกทั้ง baeckeofe ต้มเนื้อสามชนิดอันมีเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อหมูต้มกับมันฝรั่ง อาจใส่หอมใหญ่และแครอตได้ด้วย ทว่าต้องเลือกร้านที่ไม่ใส่เนื้อวัวเพราะไม่กินเนื้อวัวมานานแล้ว ไหนจะ tarte flambée แผ่นแป้งบางที่มีหน้าแฮมและหอมใหญ่ใส่เนยแข็งแล้วอบ และไม่ลืมดื่มเบียร์ด้วย เพราะชาวอัลซาสนิยมดื่มเบียร์ ไปเที่ยวชายทะเลของนอร์มองดี (Normandie) ถามหาอาหารทะเลที่มาเป็นถาดและซุปปลา–soupe de poisson ไปทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองมาร์เซย (Marseille) ไม่ลืม bouillabaisse ซุปปลาหลายชนิดที่ใส่หอยแมลงภู่ด้วย ถ้าไปเที่ยวถิ่นภูเขาแถบซาวัว (Savoie) ก็ต้องชิม tartiflette เนยแข็ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนยแข็ง reblochon) ผัดกับมันฝรั่ง หอมใหญ่และหมูสามชั้นหมักเกลือที่เรียกว่า lardon และไส้กรอก อาหารจานเด่นของภาคตะวันตกเฉียงใต้คือเป็ดต้มเค็ม–confit de canard และที่ขาดไม่ได้คือฟัว กราส์ foie gras  อันที่จริง

Read More

สุขภาพดีขึ้นได้ในไม่กี่นาที

 Column: Well – Being คุณไม่จำเป็นต้องทุ่มเทเวลาหลายๆ ชั่วโมง เพื่อดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น เวลาเพียงไม่กี่นาทีสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมากมายจนคุณคิดไม่ถึง ผลการวิจัยยืนยันว่า คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งวันเพื่อทำให้รู้สึกดีขึ้นทั้งทางกายภาพและจิตใจ เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ ย่อมช่วยให้สุขภาพหัวใจ ภาวะเครียด ตลอดจนถึงภูมิคุ้มกันดีขึ้นได้ 5 นาที ... จดรายการอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักใช้เวลาเพียงวันละ 5 นาที จดบันทึกประจำวันเกี่ยวกับอาหารที่คุณบริโภค จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ดีขึ้น Dr. Jack Hollis นักวิจัยด้านสุขภาพแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่า ผู้ที่จดบันทึกรายการอาหารที่บริโภคทุกวัน สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าผู้ที่ไม่จดบันทึกถึงสองเท่า เขาเชื่อว่าการทำอย่างนี้ทำให้เราระมัดระวังเกี่ยวกับนิสัยการบริโภคที่ไม่ดีได้ 2 นาที ... ผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดความเครียดDr. Mandy Deeks นักจิตวิทยาแห่ง Jean Hailes for Women’s Health แนะนำให้ใช้เวลาเพียง 2 นาที ในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดความเครียดและภาวะตึงเครียด โดยเน้นเฉพาะจุด เช่น มือ แขน หรือหัวไหล่ ด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อราว 10 วินาทีแล้วคลายออก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

Read More