Home > Cover Story (Page 175)

จาก “ศรีตราดราม่า” สู่ธุรกิจบันเทิงครบวงจร

 ปี 2512 สมาน ทองร่มโพธิ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการที่กรุงเทพฯ พาครอบครัวย้ายมาอยู่ จ.ตราด เริ่มต้นกิจการ “ศรีตราดราม่า” หน้าตลาดสดขนาดใหญ่ในเมือง ด้วยใจรักและมองเห็นช่องทางธุรกิจที่ยังไม่มีคู่แข่ง สมานสร้างศรีตราดราม่าให้กลายเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยแห่งแรกของจังหวัดตราด 13 ปีต่อมา ในขณะที่ธุรกิจโรงหนังกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สมานประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทิ้งภรรยาและลูกๆ อีก 5 คน  สุวัฒน์ ซึ่งเป็นลูกชายคนโต อายุเพียง 17 ปี ตัดสินใจรับหน้าที่ดูแลกิจการของพ่อ เพราะเห็นความรัก ความผูกพันของพ่อกับโรงหนังที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง ซึ่งเป็นบ้านของครอบครัวด้วย รวมถึงพนักงานอีกกว่า 100 ชีวิต  การจับธุรกิจในวัยไม่ถึงยี่สิบ เขาโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าและพรรคพวกเพื่อนฝูงของพ่อจนสามารถขยายสาขาโรงหนังครอบคลุมทั้งภาคตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสระแก้ว พร้อมกับกิจการสายหนัง ซึ่งสมานฟิล์มเป็นตัวแทนจากค่ายหนังทุกค่ายจวบจนทศวรรษ2530 กิจการโรงหนังอยู่ในยุคซบเซา กระทั่งปี 2537 การมาของค่ายอีจีวีและเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทำให้ธุรกิจนี้คึกคักอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็เป็นคู่แข่งทุนใหญ่ที่น่ากลัวด้วย ปี 2542 สุวัฒน์และสุวิทย์

Read More

“เอสเอฟ” รุกธุรกิจคอมเพล็กซ์ ดัน “MAYA” สร้างฐานกลางเชียงใหม่

 “เป้าหมายไม่ใช่เบอร์ 1 ทุกอย่างต้องเติบโตอย่างมีทิศทาง อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ใช่อะไรที่ฉาบฉวยแล้วหายไป” จากจุดเริ่มต้น โรงหนัง “ศรีตราดราม่า” หน้าตลาดสดในจังหวัดตราดเมื่อ 40 กว่าปีก่อน  วันนี้ เอสเอฟ ซีเนม่า ซิตี้ สร้างเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ มีโรงภาพยนตร์ชั้นนำกระจายอยู่ทั่วประเทศ 32 สาขา จำนวนมากกว่า 200 โรง และล่าสุดขยายอาณาจักรเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เปิดโครงการศูนย์การค้า “เม-ญ่า” (MAYA) ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ที่เรียกว่า “The Art of Retailtainment” บนถนนนิมมานเหมินท์ ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ประธานบริษัท เอสเอฟ ซีเนม่า ซิตี้ จำกัด ถือเป็นจังหวะและโอกาสที่จะนำประสบการณ์และจุดแข็งที่สั่งสมมาตลอดชีวิต เพื่อสร้างฐานธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่มั่นคงที่สุด  ตามแผน “เมญ่า” จะเปิดให้บริการภายในปลายปี 2556  และต้องการเป็น “แลนด์มาร์ค” ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก เป็นเมืองเศรษฐกิจอันดับ

Read More

“ความสามารถ+พันธมิตร” ทางรอด SMEs ในยุค AEC ?

 ความเป็นไปของ AEC ดูจะแผ่ซ่านครอบคลุมไปในทุกบริบท ไล่เรียงตั้งแต่มิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม แต่ประเด็นที่กำลังสร้างความกังวลใจอย่างกว้างขวางน่าจะอยู่ที่อนาคตของ SMEs ไทยว่าจะดำเนินไปอย่างไรในกระแสธารแห่ง AEC ที่ว่านี้ แม้ว่าในความเป็นจริง SMEs ในหลายภาคอุตสาหกรรมจะถือเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป พลังงานทดแทน รวมถึงกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ บริการ เพราะมีโอกาสทางการค้าอยู่มากมาย และSMEs ของไทยก็มีศักยภาพที่จะก้าวไปสู่ตลาดภายนอกได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิด AEC  แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดธุรกิจที่อาจจะยังไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่น้อยต้องอยู่ในภาวะชะงักงัน ซึ่งทางออกของประเด็นนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจับมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ ทั้งในมิติของค่าขนส่ง ค่าวัตถุดิบ การแลกเปลี่ยนวิธีในการบริหารจัดการและเทคโนโลยี เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งที่กลุ่ม SMEs ต้องตระหนักและเร่งดำเนินการ อยู่ที่การเก็บข้อมูลเพื่อมาพัฒนา สินค้าและบริการ สร้างคุณค่าคุณภาพ ไปสู่มาตรฐาน ไปสู่ลูกค้ากลุ่มที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นลำดับขั้นของการพัฒนา SMEs จากธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้เติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นบริษัทระดับโลก ที่ทันสมัย ซึ่งมีประเด็นว่าด้วยการปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพของการผลิตและแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญ ทัศนะว่าด้วยการพัฒนา SMEs

Read More

TBEC รุกธุรกิจก๊าซชีวภาพในลาว หวังบำบัดน้ำเสีย-ผลิตไฟฟ้า

 ความพยายามที่จะลดต้นทุนด้านพลังงานและการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม กำลังเดินทางมาสู่จุดบรรจบที่ทำให้ทั้งสองเรื่องยึดโยงและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไปโดยปริยาย โดยล่าสุดบริษัท ไทย ไบโอแก๊ซ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (TBEC) หนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจก๊าซชีวภาพของประเทศไทย ได้ร่วมกับบริษัท ลาว-อินโดไชน่า กรุ๊ป มหาชน (LIG) แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เปิดตัวโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังแบบครบวงจรแห่งแรกใน สปป.ลาว ภายใต้โครงการ TBEC LIG Biogas Project โดย นูลิน สินบันดิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานในพิธีด้วย โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำในยุโรป European Development Finance Institutions (EDFI)  และ Energy and Environment Partnership-Mekong (EEP Mekong) กระทรวงการต่างประเทศของฟินแลนด์ โดยใช้งบประมาณกว่า 130 ล้านบาท และสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ถึง 7 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นมูลค่าทดแทนพลังงานได้ถึงปีละ 40

Read More

“บิ๊กโคล่า” แหกกฎสู้ยักษ์ เร่งขยายพอร์ตรุกอาเซียน

 แม้สมรภูมิเครื่องดื่มน้ำอัดลมกำลังขับเคี่ยวกันอย่างรุนแรงใน 4 แบรนด์หลัก ล่าสุด โค้กออกมาประกาศชัยชนะกวาดส่วนแบ่งในตลาดรวม ทั้งน้ำดำและน้ำสีที่มีมูลค่า 44,000 ล้านบาท มากกว่า 55% ขณะที่ “เสริมสุข” โค่นอดีตพันธมิตรขึ้นอันดับ 2 ส่วนแบ่ง 19% เขี่ย “เป๊ปซี่” ตกไปอยู่ในอันดับ 3 ซึ่งมี “บิ๊กโคล่า” จ้องแซงทางโค้งอยู่ตลอดเวลา  แต่ปรากฏการณ์ที่น่าจับตาไม่ใช่แค่การช่วงชิงตลาดด้วยกลยุทธ์หลากหลายชนิด กลับเป็นยุทธศาสตร์การขยายแนวรบใหม่ การแหกกฎสู้ยักษ์เจ้าตลาด “โค้ก-เป๊ปซี่” และมองเป้าหมายขนาดใหญ่ของกลุ่มอาเจกรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มครบวงจรสัญชาติเปรู ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาสร้างฐานในเอเชีย และประกาศเป้าหมายต้องก้าวขึ้นเป็นบริษัทข้ามชาติระดับโลกภายในปี 2563 ซึ่งเป็นการเดินเกมแนวเดียวกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ที่กำลังเร่งขยายพอร์ตสินค้าเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ในตลาดอาเซียนและเอเชีย ทั้งเครื่องดื่มน้ำอัดลม  “เอส” ชาพร้อมดื่ม “โออิชิ” และเพิ่งฮุบหุ้นใหญ่กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มขนาดใหญ่ระดับโลก เฟรเซอร์แอนด์นีฟ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” เข้ามาเสริมทัพได้อีก  ปัจจุบัน อาเจกรุ๊ปได้รับการจัดอันดับเป็นบริษัทเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ อันดับ 10 ของโลก ตามรายงานของบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาด ยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

Read More

“Kitchen of Myanmar” และนโยบาย 3 ประโยชน์ของซีพี

 ประเทศเมียนมาร์กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ในด้านหนึ่งเป็นเพราะเมียนมาร์มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ พลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ ขณะเดียวกัน ถ้ามองในเชิงภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของเมียนมาร์ก็มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยว่ามีพรมแดนที่เชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ ซึ่ง 2 ใน 5 ประเทศนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งจีนและอินเดีย นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังมีทางออกสู่ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวก ดังนั้น หากมองในมิตินี้เมียนมาร์ก็จะสามารถเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่ไม่แพ้ใครในอาเซียน และทำให้มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันไม่ใช่น้อย มิติมุมมองว่าด้วยเมียนมาร์นี้ ยังประกอบส่วนด้วยความเป็นประเทศที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นฐานกำลังของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานได้ดี ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เนื่องด้วยมีจำนวนประชากรมากถึง 58 ล้านคน ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่ทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เมียนมาร์เป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเป็นอย่างดี ประเด็นดังกล่าวทำให้พลันที่รัฐบาลเมียนมาร์ส่งสัญญาณเปิดประเทศและปฏิรูปประชาธิปไตย นักลงทุนจำนวนมากที่เล็งเห็นโอกาสนี้ก็เดินทางเข้าไปดูลู่ทาง และเริ่มหาพันธมิตรปักหลักทำธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสัจธรรมที่ผู้คนในเครือข่ายของซีพี มักพูดกันเสมอๆ ว่า “ที่ใดมีหนอนเยอะที่นั่นก็ย่อมมีนกเยอะ” สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จากการที่มองเห็นศักยภาพตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมีความเพียบพร้อมของวัตถุดิบ ขณะที่ซีพีมีทั้งองค์ความรู้ และมีเทคโนโลยีในเกษตรอุตสาหกรรม พันธกิจของซีพีในเมียนมาร์กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะมีเป้าหมายสู่การเป็น “Kitchen of Myanmar” และตลอดเวลาที่ผ่านมา

Read More

ซีพียกเครื่องธุรกิจค้าปลีกปรับกระบวนทัพโกอินเตอร์

“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว” แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ  ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก  อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ

Read More

ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้สยามเซ็นเตอร์

 เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่สมการรอคอย หลังจากปิดปรับปรุงครั้งใหญ่นานถึง 6 เดือน “สยามเซ็นเตอร์” กลับมาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมา ท่ามกลางผู้คนที่รักและผูกพันกับสยามเซ็นเตอร์ที่มารอชมรูปโฉมใหม่หลังการปฏิวัติศูนย์การค้าแห่งนี้ ซึ่งใช้เงินลงทุนไปถึง 1,800 ล้านบาท ใช้เวลาเตรียมการทั้งหมดนานกว่า 18 เดือน และใช้เม็ดเงินในการฉลองเปิดตัวร่วม 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่ใช้ในการฉลองเปิดตัวสยามพารากอน  “เราเป็นผู้ปฏิวัติวงการค้าปลีกของเมืองไทยมาตลอด แต่ในครั้งนี้ เรามุ่งหวังว่าปรากฏการณ์สยามเซ็นเตอร์จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์เวทีค้าปลีกระดับโลก เรามักได้ยินคนไทยพูดว่า อยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแห่งการชอปปิ้ง วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะบอกใครๆ ให้หันมามองว่าศูนย์กลางแห่งการชอปปิ้งสุดล้ำสมัยนั้นควรเป็นเช่นไร” ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวก่อนนำชม คอนเซ็ปต์ใหม่ของสยามเซ็นเตอร์ คือ เมืองแห่งไอเดียล้ำเทรนด์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศิลปะ แฟชั่น เทคโนโลยี และไลฟ์สไตล์ ตลอดจนแนวคิดและการออกแบบใหม่ๆ จากทั่วโลก โดยความโดดเด่นจะอยู่ที่ดีไซน์เอกลักษณ์ของร้านที่หาดูได้เฉพาะที่นี่ และดีไซน์สินค้าบางรายการที่มีขายเฉพาะที่นี่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะร้องขอให้แบรนด์ดังทั้ง 200 กว่าร้านค้า พร้อมใจร่วมมือกันผลิต “ความพิเศษ” ออกมาสำหรับสยามเซ็นเตอร์เป็นการเฉพาะ  หลายร้านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

Read More

สุเวทย์ ธีรวชิรกุล บริหารความเสี่ยงเพื่ออยู่รอด

 “การโตหวือหวา ล้มได้ง่าย คนขึ้นเร็วก็ล้มได้เร็ว เอ็มบีเคอยากขึ้นแล้วไม่ต้องลงและขยับขึ้นไปเรื่อยๆ”  ปี 2556 ถือเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญของ “เอ็มบีเคกรุ๊ป” เพราะเป็นปีแรกที่บริษัทต้องจ่ายค่าเช่าให้สำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามสัญญาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ หรือที่หลายคนยังเรียกติดปากว่า “มาบุญครอง” ในอัตราสูงขึ้นหลายเท่า โดยระบุให้ผลประโยชน์ตอบแทนรวม 22,860 ล้านบาท พร้อมค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไม่น้อยกว่า 2,500 ล้านบาท รวมส่วนเพิ่มเติมอีก 5% กรณีรายได้ของเอ็มบีเคเกินกว่าที่ประเมินไว้  คิดเฉพาะค่าเช่าเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละ 85 ล้านบาท เป็น 600 ล้านบาท และยาวนานต่อเนื่องตลอดอายุสัญญา 20 ปี  นี่คือ “โจทย์” ข้อสำคัญที่กดดันให้ “สุเวทย์ ธีรวชิรกุล” ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ต้องรีบรีโนเวตศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ รอบใหม่ ลงทุนสร้าง “สกายวอล์ค” ระยะทาง 600 เมตร เชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงกลางสี่แยกปทุมวันยาวไปจนถึงจุฬาฯ

Read More

การแข่งขันไม่มีวันหยุดยั้ง เศรษฐา ทวีสิน

20 กว่าปีบนเส้นทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แม้หลายคนมองการก้าวย่างของ “เศรษฐา ทวีสิน” มีทั้งทุน มีผู้ใหญ่คอยอุปถัมภ์ค้ำชู รวมถึงคอนเนกชั่นจากฝ่ายต่างๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) สามารถเติบโตกลายเป็น “แบรนด์” อันดับหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ มียอดขายมากกว่า 40,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ทะลุ 30,000 ล้านบาท  เศรษฐา คือส่วนสำคัญ โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของไอเดียการใช้แผนการตลาดแบบหวือหวา ใส่สีสัน และฉีกนอกกรอบ ทำในสิ่งที่คู่แข่งไม่คิดและไม่ทำ  กลยุทธ์ธุรกิจของ “แสนสิริ” จึงมีความต่างและสร้างเกมน่าตื่นเต้นตลอดเวลา ขยายโครงการที่สร้างไลฟ์สไตล์โดนใจกลุ่มลูกค้าและครอบคลุมทุกเซกเมนต์ รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ๆ นิชมาร์เก็ตเจาะเฉพาะกลุ่ม และปิดยอดขายได้อย่างรวดเร็ว  ล่าสุด เศรษฐาในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ประกาศแผนดำเนินงานในปี 2556จะพัฒนา 45 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 61,000 ล้านบาท ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ แบ่งเป็นคอนโดมิเนียม 24 โครงการ มูลค่ารวม

Read More