Home > power (Page 2)

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ผนึกพันธมิตร ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 420 เมกะวัตต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี นาง ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิลิปปินส์

Read More

หมดเวลาของถ่านหิน? อาเซียนเน้นพลังงานทดแทน

การแถลงผลประกอบการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไรในระดับหลายพันล้านบาทแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏภาพของการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตด้วยการลดสัดส่วนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปของการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังปรับเข้าหาพลังงานทดแทนมากขึ้น กรณีดังกล่าวสอดรับกับความเคลื่อนไหวของบี. กริม พาวเวอร์ ที่ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) ประกาศความร่วมมือในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในอาเซียน ผ่านการลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินกู้ มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท นัยความหมายของการลงนามสนับสนุนเงินกู้ระหว่างบี. กริม พาวเวอร์กับเอดีบี ครั้งนี้ นอกจากจะนับเป็นการสนับสนุนวงเงินกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดที่เอดีบีเคยให้การสนับสนุนกับบริษัทในประเทศไทยแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังสะท้อนแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานที่เอดีบีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและสนองตอบต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ซึ่งพลังงานได้รับการประเมินในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกที่บี. กริมจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรุกเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ภายใต้สัญญาสนับสนุนเงินกู้จากเอดีบี ประกอบด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการกักเก็บพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “เงินทุนของเอดีบีจะสนับสนุนการดำเนินงานของบี.กริม เพาเวอร์ ในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบ Distributed Power Generation และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

Read More

บ้านปูผลประกอบการดี มุ่งเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานครบวงจร

ข่าวคราวกรณีการคัดค้าน “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา” ของกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยุติโครงการ โดยชุมนุมอยู่บริเวณด้านหน้าสำนักงานสหประชาชาติ หรือ UN เพิ่งได้ข้อยุติเมื่อสัปดาห์ก่อน ด้วยการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและกลุ่มเครือข่ายฯ ในการถอนการศึกษา EHIA โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่-เทพา ขณะที่บริษัทเอกชนที่มีความชำนาญด้านธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอย่างบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพิ่งแถลงข่าวเปิดเผยตัวเลขผลประกอบการประจำปี 2560 ว่าบริษัท บ้านปู มีรายได้จากการขายรวม 2,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 97,640 ล้านบาท ถือเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 27 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อีกทั้งบ้านปูฯ ยังมีกำไรสุทธิรวม 234 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7,942 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 4 เท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาถ่านหินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากปริมาณการผลิตถ่านหินที่จำกัดของประเทศส่งออกหลัก และปริมาณการขายไฟฟ้าที่สม่ำเสมอของธุรกิจไฟฟ้า ตัวเลขรายได้และกำไรไม่ได้มีเพียงเฉพาะบริษัทบ้านปูใหญ่เท่านั้น ขณะที่บริษัทลูกอย่าง บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Conventional Power Generation)

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More