Home > วิกฤตต้มยำกุ้ง

สหพัฒน์เร่งเจาะธุรกิจใหม่ หืดจับ หลุดเป้า 3 แสนล้าน

เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ผิดหวังอย่างรุนแรง ทั้งที่เคยประกาศลั่นในงานเปิดตัว “สหกรุ๊ปแฟร์” เมื่อปีก่อน ตั้งเป้าหมายผลักดันบริษัทในเครือมากกว่า 200 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ามากกว่าพันรายการ และร้านค้าปลีก ลุยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดันรายได้ฉลุยแตะ 3 แสนล้านบาท เพราะสุดท้ายต้องหดเป้าทั้งหมดและกุมขมับยอมรับว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลถือเป็นช่วงเลวร้ายที่สุด เหตุผลสำคัญ คือ กำลังซื้อในระดับรากหญ้าและภาคการเกษตรหายไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของกำลังซื้อที่หดหายมาจากพิษเงินบาทที่แข็งค่ามาที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และยังทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ขณะที่ความสามารถในการส่งออกลดน้อยลง โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในไทยแบบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำแบบ 100% นั่นทำให้ยักษ์ใหญ่อย่างสหพัฒน์ต้องปรับกระบวนทัพต่างๆ เมื่อแนวโน้มกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่นเติบโตลดลง บริษัทเริ่มมองหากลุ่มธุรกิจใหม่ๆ โดยขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และหันไปลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น ธุรกิจกลุ่มสินค้าบริการและการศึกษา ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ ในย่านสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับสินค้าในเครือของบริษัทที่ต้องการส่งแบบรวดเร็วและสดใหม่ และธุรกิจพลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน ในกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่น ซึ่งยังเป็นแหล่งรายได้หลักนั้น เสี่ยบุณยสิทธิ์พลิกกลยุทธ์ลดขนาดธุรกิจ (Scale Down) และปรับแผนงานสู่ธุรกิจเสื้อผ้าเจาะตลาดลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น เจาะตลาดชุดยูนิฟอร์มพนักงาน ทั้งนี้ ช่วงการจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์

Read More

20 ปีวิกฤตต้มยำกุ้ง บทเรียนสู่อนาคตยุค 4.0

นอกเหนือจากข่าวที่ไหลบ่าท่วมกระแสการรับรู้ของผู้คนไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 44 อำนวยความสะดวกให้กับการก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางในเส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย ที่มีจีนเป็นผู้ดำเนินการ หรือการอนุมัติและเร่งรัดให้มีการสร้างหอชมเมืองด้วยวิธีที่ไม่ต้องประมูลเพื่อเร่งรัดให้โครงการสำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วแล้ว บทวิเคราะห์ย้อนอดีตว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจไทยที่ลุกลามไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ดูจะเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผู้ให้ความสนใจไม่น้อย เนื่องเพราะบทเรียนแห่งวิกฤตในครั้งนั้นยังคงส่งผลกระทบสืบเนื่องและส่วนหนึ่งฝังรากเป็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ดูเหมือนว่า กลไกรัฐไทยและภาคธุรกิจเอกชนไทยกำลังอยู่ในห้วงเวลาที่พร้อมจะผลิตซ้ำความผิดพลาดครั้งเก่าจากความพยายามเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในภาวะซึมเซายาวนานให้กลับมีสีสัน บนความคาดหวังครั้งใหม่ว่าจะช่วยฉุดกระชากเศรษฐกิจสังคมไทยออกจากหล่มโคลนให้ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้ หลักไมล์แห่งการวิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ส่วนใหญ่ได้ยึดเอาวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ด้วยการยกเลิกการผูกติดกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากถูกโจมตีค่าเงินอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านั้น ซึ่งการประกาศดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมาก และส่งผลให้ปริมาณหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยทันที และกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลกระทบทางการเงินและเศรษฐกิจไทย ก่อนที่จะลุกลามและขยายตัวจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียในนาม “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หากแต่ในความเป็นจริงการประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็งที่หักโค่นลงโดยที่ภูเขาน้ำแข็งแห่งปัญหาที่สั่งสมอยู่ใต้ผิวน้ำกำลังละลายและพังครืนจากความอ่อนแอที่เกิดขึ้นอยู่ภายในโครงสร้างที่เปราะบาง โดย AMRO หรือสถาบันวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN +3 Macroeconomic Research Office) ได้เสนอบทวิเคราะห์ย้อนอดีตวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้นว่าแม้จะดูเหมือนว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทถูกกดดันจากการเก็งกำไรอย่างรุนแรง แต่ในความเป็นจริงความเสี่ยงต่างๆ ในภูมิภาคได้ก่อตัวมาสักระยะก่อนหน้านั้นแล้ว โดยเฉพาะความไม่สมดุลของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค พัฒนาการจากเศรษฐกิจต่างประเทศ และความอ่อนแอของภาคการเงินและบรรษัทเอกชน ความไม่สมดุลของภาคต่างประเทศถูกสะท้อนจากเงินทุนเอกชนที่ไหลเข้ามาอย่างมากและการลงทุนของเอกชนภายในประเทศที่สูง ซึ่งถูกกระตุ้นเพิ่มขึ้นไปอีกจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทกลับถูกตรึงเอาไว้ตามนโยบายขณะนั้น เงินทุนที่ไหลเข้ามาป็นชนวนขับเคลื่อนการขยายสินเชื่อและการลงทุนในเกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย โดยเฉพาะการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และเกิดฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์

Read More