Home > Russia

จับตาความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร

ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การสู้รบยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง แม้จะมีการเปรยถึงการเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างสองชาติ ทว่าจนถึงเวลานี้ การเจรจาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น แน่นอนว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในยูเครนโดยรัสเซีย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยเฉพาะในพื้นที่ยุโรป แม้จะมีการประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย โดยมีการห้ามทำธุรกรรมการค้า การลงทุน หรือการประกาศยึดทรัพย์สินของผู้นำรัสเซียแล้วก็ตาม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความผันผวนทางตลาดเงินทั่วโลก รวมไปถึงราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และล่าสุดราคาน้ำมันดิบเช้าวันที่ 2 มีนาคม สูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ 108 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นั่นเพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ รัสเซียและยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี และข้าวโพด โดย วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ในเบื้องต้นสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ กดดันกำลังซื้อ ต้นทุนการผลิต และสร้างความยากลำบากในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ แต่หากสถานการณ์ทวีความรุนแรงอาจส่งผลต่อภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนไมโครชิป เนื่องจากรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตก๊าซนีออนและแร่พัลลาเดียมซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ ภาวะสงครามและการคว่ำบาตรที่รุนแรงอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะยุโรป ซึ่งเชื่อมโยงอย่างมากกับรัสเซีย ทั้งในแง่พลังงาน ภาคเศรษฐกิจ และภาคการเงิน ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ หากไม่ลุกลามบานปลายจนกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในระยะยาว

Read More

เจ้าภาพฟุตบอลโลก ความหวังที่อาจเป็นฝันร้าย

ขณะที่การแข่งขันฟุตบอลโลกในสังเวียนฟาดแข้งกำลังดำเนินไปอย่างออกรสชาติ และท่ามกลางผลการแข่งขันที่ส่งความสมหวังผิดหวังให้แก่เหล่ากองเชียร์ของทีมโปรดแต่ละทีมไปแบบระคนกัน ความเป็นไปนอกสนามแข่งขัน และความคาดหวังจากผลของการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันก็ดำเนินไปด้วยความเข้มข้นและลุ้นระทึกไม่แตกต่างกัน ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลที่แต่ละประเทศคาดหวังไว้จากการเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก ทำให้หลายประเทศพยายามอย่างยิ่งยวดในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ด้วยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นจักรกลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจการลงทุนภายในประเทศ นอกเหนือจากการสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียก็ดำเนินไปในวิถีที่ไม่แตกต่างกันมากนักโดยรัฐบาลรัสเซียตั้งความหวังไว้ว่า ฟุตบอลโลกครั้งนี้จะช่วยหนุนนำให้เศรษฐกิจของรัสเซียเติบโตขึ้น ก่อนที่คณะกรรมการของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) จะลงมติตัดสินใจมอบสิทธิการเป็นเจ้าภาพให้กับรัสเซีย ชนะคู่แข่งขันทั้งโปรตุเกส/สเปน และ เบลเยียม/เนเธอร์แลนด์ ที่เสนอตัวเข้ามาในฐานะเจ้าภาพร่วม ในช่วงปลายปี 2010 ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี ของการเตรียมการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารัสเซียได้ใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมากถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยหวังว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นการเปิดศักราชแห่งความรุ่งเรืองและการพัฒนาครั้งใหม่ให้กับ 11 เมืองที่จะใช้เป็นสังเวียนของการแข่งขัน และจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของเมืองเหล่านี้เติบโตขึ้นร้อยละ 15 ในช่วงเวลานับจากนี้ การลงทุนเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงสนามกีฬาให้ได้มาตรฐานรองรับการแข่งขันระดับโลกดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ที่มีงบประมาณรวมกว่า 3.53 แสนล้านรูเบิล โดยงบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรไปสำหรับการลงทุนในระบบการบินและการพัฒนาสนามบิน ขณะที่การสร้างโรงแรมใหม่ในเมืองที่เป็นสถานที่แข่งขันก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีการลงทุนเพื่อรองรับกับทั้งนักกีฬาและนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมการแข่งขันด้วย การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของรัสเซียได้รับการประเมินว่าจะส่งผลให้ GDP ของรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.2-1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วงเวลาระหว่างที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่มีกำหนดนานนับเดือนนี้ ภาคโรงแรมของรัสเซียจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ ประเด็นที่สำคัญมากกว่าตัวเลขรายได้และการลงทุนดังกล่าวอยู่ที่ตลอดระยะเวลาของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เกิดการจ้างงานในภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซียรวมไม่ต่ำกว่า 2 แสนตำแหน่งงาน

Read More

ฤๅกำลังเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ?

  ข่าวการลอบสังหารเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำตุรกีอย่างอุกอาจ ขณะกำลังกล่าวสุนทรพจน์เปิดนิทรรศการศิลปะ “รัสเซียในมุมมองของชาวเติร์ก” (Russia as seen by Turks) ภายในหอศิลป์กลางกรุงอังการา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงเหตุรถบรรทุกพุ่งเข้าชนตลาดคริสต์มาสกลางกรุงเบอร์ลิน กำลังส่งสัญญาณและสร้างความหวั่นวิตกในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง เพราะในขณะที่รัฐบาลรัสเซียและตุรกี พยายามเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้เป็นปกติอีกครั้งหลังจากที่ทั้งสองประเทศมีเหตุบาดหมางกัน จากกรณีที่ตุรกียิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกใกล้พรมแดนซีเรีย เมื่อปีที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้รัสเซียออกมาตรการคว่ำบาตรและกดดันตุรกีหลากหลาย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นการตอบโต้ เหตุการณ์ยิงสังหารเอกอัครราชทูตรัสเซียครั้งนี้ เกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังการประท้วงใหญ่ในตุรกี ซึ่งผู้ประท้วงคัดค้านการที่รัสเซียเข้าแทรกแซงในซีเรียด้วย ทำให้ผู้นำของทั้งตุรกีและรัสเซียต้องออกมาแถลงยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ โดยต่างระบุว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นความจงใจที่จะยั่วยุและทำลายให้เกิดความร้าวฉานระหว่างรัสเซียและตุรกี ซึ่งความพยายามที่ว่านี้จะไม่มีวันสำเร็จ ขณะที่ Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย แถลงผ่านโทรทัศน์ระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการยั่วยุที่มุ่งขัดขวางการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติที่กำลังดำเนินอยู่ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการไปสู่สันติภาพในซีเรียด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม คณะเจ้าหน้าที่สืบสวนจากรัสเซียจะเดินทางไปยังตุรกี เพื่อร่วมสอบสวนกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ก่อนหน้านี้ ทั้งรัสเซียและตุรกีได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางอพยพผู้คนออกจากเมืองอเลปโปของซีเรีย ควบคู่กับความพยายามที่จะนัดหารือครั้งสำคัญระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน เรื่องสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย เพื่อแสวงหาหนทางในการยุติภาวะสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานในซีเรีย ซึ่งมีรายงานว่า การหารือดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่อไป แม้จะเกิดเหตุยิงทูตรัสเซียขึ้นก็ตาม ข่าวร้ายว่าด้วยการก่อร้ายในยุโรปไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่ในวันเดียวกันนี้ ด้วยเวลาไล่เลี่ยกันไม่ถึงชั่วโมง ก็เกิดเหตุรถบรรทุกวิ่งเข้าชนฝูงชนที่กำลังจับจ่ายและซึมซับบรรยากาศของตลาดคริสต์มาสกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทางการรัฐบาลเยอรมนีประเมินปรากฏการณ์นี้ให้มีสถานะเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ การโจมตีครั้งล่าสุดนี้ นอกจากจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ก่อการร้ายครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษของเยอรมนีแล้ว ยังทำให้หลายฝ่ายนึกย้อนไปถึงเหตุโจมตีที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส

Read More