Home > ธุรกิจน้ำมัน

เชฟรอนจัดทัพ “คาลเท็กซ์” พลิกกลยุทธ์สู้ศึกน้ำมัน

สงครามธุรกิจน้ำมันที่วันนี้เหลือค่ายต่างชาติดั้งเดิม 2 รายใหญ่ คือ เชลล์และคาลเท็กซ์ น่าจะเพิ่มความร้อนแรงมากขึ้น หลังบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ประกาศปิดดีลซื้อกิจการ “คาลเท็กซ์” จาก เชฟรอน เอเชีย แปซิฟิคโฮลดิ้งส์ (CAPHL) มูลค่าราว 5,500 ล้านบาท หลังตระเตรียมแผนทั้งหมดนานเกือบปี เหตุผลสำคัญ คือ กลุ่มเชฟรอนต้องการปรับโครงสร้างธุรกิจในไทย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพราะทั้ง SPRC และคาลเท็กซ์ ต่างมีเชฟรอนเป็นบริษัทแม่ สำหรับ SPRC จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2535 แรกเริ่มมีเชฟรอนถือหุ้น 64% และ ปตท. ถือหุ้น 36% ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน กำลังผลิต 155,000 บาร์เรลต่อวัน ก่อนแปลงสภาพจากบริษัทจำกัดเป็น บริษัทมหาชนจำกัด เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Read More

น้ำมันแพงปลุกสงครามธุรกิจ “เชลล์” พลิกโฉมคาเฟ่อีกรอบ

สมรภูมิธุรกิจน้ำมันกำลังร้อนเดือด ทั้งสถานการณ์ราคาที่พุ่งพรวดต่อเนื่องและการแข่งขันในกลุ่มนอนออยล์ โดยเฉพาะแบรนด์ต่างชาติ 3 ค่ายใหญ่ เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์ พยายามเร่งดันส่วนแบ่งตลาดไล่ตามเบอร์ 1 พีทีทีสเตชั่นของค่ายโออาร์ ทั้งทุ่มงบปรับโฉมสถานีบริการ อัปเกรดผลิตภัณฑ์ และดึงพาร์ตเนอร์เข้ามาเติมเต็มไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินสถานการณ์การช่วงชิงลูกค้าและส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มทอปไฟว์ ได้แก่ โออาร์ บางจาก เอสโซ่ เชลล์ และคาลเท็กซ์ แนวโน้มรุนแรงขึ้นอีกหลายเท่า เพราะปัญหาน้ำมันแพงบีบผู้บริโภคต้องลดการใช้รถยนต์ ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ยอดขายจึงมีแนวโน้มชะลอตัว ไม่ต่างจากช่วงโควิดแพร่ระบาดที่ผู้คนงดการเดินทาง รวมถึงมาตรการตรึงราคาทำให้ส่วนต่างกำไรลดลงอีก นั่นทำให้ “นอนออยล์” เป็นโจทย์การตลาดที่สามารถวัดกำลังการดึงดูดกลุ่มลูกค้าเข้ามาใช้บริการในปั๊ม ไม่ใช่เติมน้ำมัน แต่เป็นจุดแวะพัก กิน ชอป เที่ยว เหมือนไปศูนย์การค้าหรือห้างใกล้บ้าน ล่าสุด บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ออกมาประกาศเปิดเกมรุกตลาด เปลี่ยนโฉมร้านกาแฟ “เดลี่คาเฟ่ (Deli Cafe)” เป็น “เชลล์ คาเฟ่ (Shell Cafe)” โดยประเดิมสาขาแรกย่านนวลจันทร์

Read More

OR พร้อมขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งแรก เปิดจอง 24 ม.ค. เปิดโอกาสให้คนไทยโตไปด้วยกัน

โออาร์ พร้อมขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เปิดโอกาสให้คนไทยร่วมเติบโตไปด้วยกันกับแบรนด์ไทยที่จะก้าวไปเป็นแบรนด์ระดับโลก เปิดจองวันที่ 24 มกราคม 2564 – เวลา 12:00 น. (เที่ยง) ของวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 นี้ ที่ช่วงราคาเสนอขาย 16.00 – 18.00 บาทต่อหุ้น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ พร้อมเปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไทยที่จะก้าวไปเป็นแบรนด์ระดับโลก พร้อมสร้างคุณค่าให้กับสังคมชุมชน ผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ที่ช่วงราคาเสนอขาย 16.00 – 18.00 บาทต่อหุ้น สำหรับผู้จองซื้อรายย่อย สามารถจองซื้อได้ที่ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และกรุงไทย ที่สำนักงานใหญ่และทุกสาขาทั่วประเทศและผ่านช่องทางออนไลน์ ในวันที่ 24 มกราคม

Read More

“โออาร์” เร่งปลุกภาพลักษณ์ ปูพรมแดงเข้าตลาดหลักทรัพย์

ยักษ์ใหญ่ ปตท. ถือฤกษ์ 1 พฤศจิกายน 2562 เปิดตัวบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ “โออาร์” อย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิดหลัก TOGETHER FOR BETTERMENT พร้อมๆ กับประกาศเดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะบริษัทเรือธง (Flagship) ด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและยกระดับเป็นแบรนด์ไทยชั้นนำระดับโลก ที่สำคัญ โออาร์ต้องการตอบโจทย์ใหญ่อีก 3 ข้อ ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป็นเงื่อนไขการเข้าระดมทุน ข้อ 1 การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ข้อ 2 การดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายหลักของรัฐบาล และ ข้อ 3 การเข้าตลาดของโออาร์ สร้างความแข็งแกร่งในตลาดต่างประเทศ พาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เติบโตได้ นั่นทำให้การเปิดตัวบริษัทไม่ได้เน้นหนักเฉพาะแผนการขยายอาณาจักรธุรกิจ แต่ทีมผู้บริหาร โดยเฉพาะนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกรรมการ และนางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

Read More

PTTOR นับถอยหลังปลุกราคาหุ้น ดัน “คาเฟ่ อเมซอน” ชน “สตาร์บัคส์”

ตามแผนของ ปตท. คาดว่า การโอนทรัพย์สินธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกจากบริษัทแม่ให้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ PTTOR ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จะแล้วเสร็จและยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายในปีนี้ เพื่อเร่งแผนขายหุ้นให้ประชาชนครั้งแรก (IPO) กลางปี 2562 หลังเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนที่ ปตท.จะต้องสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ PTTOR ในฐานะบริษัทน้ำมันเอกชนที่ร้อนแรง ปลุกราคาหุ้นสู้ปัจจัยลบต่างๆ ที่ยังรุมเร้าประเทศรอบด้าน ก่อนหน้านี้ ปตท. เคยตีมูลค่าทรัพย์สินที่จะขายให้ PTTOR อยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แต่เนื่องจากการเลื่อนระยะเวลาการโอนทรัพย์สินทำให้ต้องตีมูลค่าใหม่ ซึ่งเชื่อว่ามูลค่าจะสูงขึ้นอีก หากดูตามโครงสร้างธุรกิจของ PTTOR แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก กลุ่มแรก กลุ่มธุรกิจน้ำมัน ประกอบด้วยธุรกิจค้าปลีกน้ำมันผ่านสถานีบริการ ทั้งในและต่างประเทศ (ปั๊มน้ำมัน) ธุรกิจจำหน่ายเชื้อเพลิงหล่อลื่นทั้งในและต่างประเทศ ธุรกิจจำหน่ายน้ำมันและก๊าซหุงต้มแอลพีจี จำหน่ายแอลพีจีในครัวเรือน รวมถึงการบริหารโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจน้ำมัน ส่วน กลุ่มที่ 2

Read More