Home > วิศวกรรม

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More