Home > อนุรักษ์โบราณสถาน

สกสว. หนุนทีมวิจัยลุยสำรวจ ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ จัดทำข้อมูลวิศวกรรมมรดกโลกและแผนการอนุรักษ์

สกสว.หนุนคณะวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ สำรวจเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐานทางวิศวกรรมสำหรับทำเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก และข้อมูลสนับสนุนแผนการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนภายใต้การมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน ชี้ปรางค์ฤาษีที่มีการเอียงตัวทางด้านข้าง และอาจมีโครงสร้างโบราณสถานหรือโบราณวัตถุฝังอยู่ข้างใต้ เตรียมหารืออุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพและกรมศิลปากรวางแผนการขุดค้น ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก โดยประเทศไทยจะต้องจัดส่งเอกสารนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเข้าวงรอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกนั้น รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ระยะที่สอง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาหลักของงานวิจัยครั้งนี้ โดยนำองค์ความรู้ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากโครงการวิจัยระยะแรกที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามาผนวกกับการวิจัยเชิงลึกอันต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานทางวิศวกรรมสำหรับการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก และเป็นแนวทางการศึกษาสำหรับแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ ต่อไป สำหรับความคืบหน้าในการสำรวจอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพล่าสุด คณะวิจัยโครงการ “การสำรวจและประเมินความมั่นคงเพื่อการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์มรดกโลก” ที่มี รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม เป็นหัวหน้าโครงการ ได้นำคณะนักวิจัยสำรวจภาคสนามเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงโครงสร้างในสภาพปัจจุบันของโบราณสถานที่สำคัญของอุทยาน โดยผลการดำเนินงานประกอบด้วย การบันทึกภาพดิจิทัลจากการถ่ายภาพภาคพื้นดิน และถ่ายภาพมุมสูงโดยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อนำข้อมูลไปประมวลเป็นรูปทรง 3 มิติของโบราณสถาน รวมถึงเก็บข้อมูลตำแหน่งและขนาดของรอยร้าวหรือลักษณะการเสื่อมสภาพ ณ ปัจจุบัน

Read More

ทีมมจธ.ต่อยอดข้อมูลดิจิทัลทางวิศวกรรม ติดตามสภาพอุโบสถวัดราชประดิษฐฯ

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร “วันนิทรรศการวิชาการ รร.จปร. 2563” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดแวสดงผลงานทางวิชาการร่วมกับสถาบันภายนอก ในโอกาสนี้คณะวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล 3 มิติ เพื่อการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและการรักษามรดกทางวัฒนธรรม” ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ได้ร่วมถวายรายงานพลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราช โดยเฉพาะงานวิจัยเกี่ยวกับโบราณสถานสำคัญของประเทศไทย โครงการดังกล่าวเป็นงานวิจัยที่ขยายผลต่อยอดจากโครงการ “การใช้ฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับงานวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืนในการอนุรักษ์โบราณสถานหรืออาคารโบราณในชุมชน” ภายใต้ชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยคณะวิจัยมุ่งพัฒนากระบวนการประยุกต์ใช้ข้อมูลดิจิทัล 3 มิติทางวิศวกรรม เพื่อการตรวจสอบสภาพโครงสร้างพื้นฐาน สภาพภูมิประเทศ และการรักษามรดกทางวัฒนธรรม อาทิ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติสำหรับการประเมินโครงสร้างอาคารและโบราณสถาน วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้และกระบวนการใช้ข้อมูลดังกล่าวแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกิจกรรมสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติควบคู่กับองค์ความรู้ทางวิศวกรรมสำหรับการประเมินและรักษามรดกทางวัฒนธรรม และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสแกนวัตถุสามมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิประเทศเพื่อประเมินผลกระทบทางธรรมชาติและภัยพิบัติต่าง ๆ สำหรับโครงการวิจัยการสำรวจด้วยกล้องสแกนวัตถุสามมิติ

Read More

วิศวกรรมกับการอนุรักษ์ บทบาทเพื่อโบราณสถานไทย

ประเทศไทยมีแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์กระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก บางแห่งได้รับการรับรองจากกรมศิลปากร และมีหลายแห่งที่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นภาพความทรุดโทรมและพังทลายของแหล่งโบราณสถาน ทั้งจากภัยตามธรรมชาติและกลไกของกาลเวลา รวมไปถึงปัญหาการบูรณะที่คลาดเคลื่อนจากความถูกต้องก็ถูกนำเสนอออกมาให้เห็นไม่น้อยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันโบราณสถานของไทยจำนวนมากอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงทางโครงสร้าง เกิดการแตกร้าว ทรุด พังทลาย และเสี่ยงต่อการเสียหายที่ไม่อาจซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้อีก ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาปรับปรุง บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ขาดความสามารถในการประเมินความเสียหายของโบราณสถานที่แม่นยำและมีความละเอียด ขาดความชำนาญในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและองค์ความรู้สมัยใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์เข้ามาช่วยในการบูรณะซ่อมแซม ทำให้โบราณสถานหลายแห่งไม่ได้รับการดูแลและบูรณะอย่างเป็นระบบ “การเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานควรนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะสภาพปัจจุบัน และวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์โบราณสถาน นอกจากนี้ จะต้องมีการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซม รวมถึงประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ทราบถึงความเร่งด่วนของการบำรุงรักษาและบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานแต่ละแห่ง เพื่อวางแผนบำรุงรักษาให้โบราณสถานมีความแข็งแรงและมั่นคงสืบไป” รศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัย “การอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม” การวิจัยที่จะเข้ามาช่วยให้โบราณสถานในเมืองไทยได้รับการอนุรักษ์ที่เป็นระบบและยั่งยืนมากขึ้น โครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการพัฒนาแนวทางเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมที่เหมาะสมและมีความทันสมัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากหลากสถาบันการศึกษา โดยมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ “ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานให้ยั่งยืน ปัญหาสำคัญคือเราขาดข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจที่จะดำเนินการใดๆ ในอนาคต

Read More