Home > รถไฟใต้ดิน

มิวเซียมสยาม เปิดพื้นที่ประวัติศาสตร์ชวนชม Site Museum มิวเซียมใต้ดินแห่งแรกของไทย

มิวเซียมสยาม ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชวนคนไทยชม “มิวเซียมใต้ดินภายในสถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (Site Museum)” ซึ่งถือเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในพื้นที่ขนส่งสาธารณะใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทยในบริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้ามหานครสถานีสนามไชยกับมิวเซียมสยาม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พื้นที่รอบบริเวณสถานีสนามไชยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เป็นแหล่งให้ความรู้กับคนไทยและนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางสัญจรผ่านไปมายังเส้นทางนั้น พร้อมเชิญชวนทุกคนมาค้นพบความเป็นมาของพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของกรุงเทพฯ โดยสามารถเข้าชมฟรีได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า “การจัดทำมิวเซียมใต้ดิน หรือ Site Museum ขึ้นเป็นความร่วมมือระหว่างมิวเซียมสยามกับ รฟม. และ บีอีเอ็ม มีจุดเริ่มต้นมาจากการขุดพบโบราณวัตถุหลากหลายประเภทระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกจัดแสดงอยู่ที่มิวเซียมสยามและภายในสถานีตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา การจัดทำนิทรรศการในครั้งนี้ได้พัฒนาพื้นที่บริเวณทางขึ้น-ลงภายในสถานีสนามไชยในรูปแบบ Site Museum และจัดทำนิทรรศการภายในสถานีรถไฟฟ้า และทำพื้นที่บริเวณนี้ให้กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้สาธารณะอีกแห่งที่สำคัญในการนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ประวัติศาสตร์พื้นที่ที่น่าภาคภูมิใจเผยแพร่ในรูปแบบของการนำเสนอแบบสมัยใหม่ที่ทุกคนสามารถศึกษาและเข้าใจได้ง่าย โดยนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวทำให้ผู้เข้าชมเห็นภาพได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ภายในนิทรรศการได้แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ประวัติพื้นที่บางกอก 2) กลุ่มวังท้ายวัดพระเชตุพน 3) การจำลองท้องพระโรงวังเก่าในสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อมโยงเรื่องราวทั้งหมดด้วยการใช้สัญลักษณ์ของวัตถุที่ค้นพบในชั้นดินที่ต่างกันไป

Read More

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

 ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร  แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ

Read More