Home > 2017 > สิงหาคม (Page 2)

50 ปี ASEAN การเดินทางข้ามฝั่งฝัน

นับถอยหลังไปอีกไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ต้องถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ที่จะครบรอบวาระการก่อตั้งเป็นปีที่ 50 ซึ่งหากพิจารณาองค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชีวิต ก็ต้องถือว่าองค์กรแห่งนี้กำลังก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูงมากขึ้นตามวัย ภายใต้คำขวัญ “One Vision One Identity One Community” ที่พยายามรักษาจุดร่วมสงวนจุดต่าง เพื่อสร้างประชาคมที่มีความร่วมมือทั้งในมิติการเมืองความมั่นคง (Political-Security Community) ความร่วมมือทางด้านสังคม-วัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) และประชาคมเศรษฐกิจ (Economic Community) ความเป็นไปขององค์กรภูมิภาคแห่งนี้ก็ดูจะก้าวหน้าไปจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นปฐมบทของการเริ่มต้นอาเซียนไปมากพอสมควร หากแต่ด้วยสภาพข้อเท็จจริงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจในระดับนานาชาติในปัจจุบัน การดำรงอยู่ขององค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ดูจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่พร้อมจะสั่นคลอน ประชาคมอาเซียน ที่มีประชากรรวมกว่า 630 ล้านคน และมี GDP รวมกันสูงกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ถึงยุคดิจิทัล เมื่อหอสมุดแห่งชาติขยับตัว

เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบัน ชนิดที่เรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นวันจรดค่ำ เทคโนโลยีถูกใช้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน หลายหน่วยงานเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบวิธีการทำงาน การบริการ และใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร แม้ว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีของบางหน่วยงานภาคเอกชนจะไม่มีข้อจำกัด ทั้งยังสามารถเห็นถึงประสิทธิผลที่ดีขึ้นของการทำงานรูปแบบเดิมที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้าไปได้อย่างลงตัว หากแต่กับหน่วยงานภาครัฐที่แม้ว่าการทำงานจะต้องยึดโยงกับวาทกรรม “ไทยแลนด์ 4.0” แต่ยังไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติ ที่กำลังมีความพยายามจะปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบของ “ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ” ทั้งเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่นความไม่ประทับใจของผู้ใช้บริการ การค้นหาหนังสือที่ต้องเริ่มด้วยการค้นจากบัตรรายการ แต่กลับหาหนังสือไม่เจอ หนังสือที่ต้องการไม่ได้อยู่บนชั้น หรือคำถามที่ว่าทำไมจึงไม่สามารถค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบ้านได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นโจทย์สำคัญที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน “สิ่งที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของคนในชาติประการหนึ่ง คือองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากห้องสมุด ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ มีห้องสมุดเป็นของตัวเอง บ่งบอกว่าคนไทยรักการอ่านเป็นลำดับ นับเนื่องมาถึงยุคดิจิทัล ที่หอสมุดถึงเวลาต้องปรับตัว เมื่อระบบดิจิทัลมีบทบาทในชีวิตของคนเรามากมาย เราจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบดิจิทัลในหอสมุด การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน การโดดเดี่ยวน่าจะเป็นการยากในการพัฒนา เราจำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน หรือหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งน่าจะสร้างผลดีให้กับหอสมุด “นี่อาจจะเป็นก้าวสำคัญ แม้ว่าการประชุมครั้งนี้มีระยะเวลาเพียง 2 วัน และคงไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วนัก แต่นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานอื่นๆ แม้ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการวิ่งตามในการพัฒนาหอสมุดเพื่อให้เทียบเท่าประเทศอื่นๆ” อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในการประชุม เรื่องการประสานงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลในประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่

Read More

จุฬาฯ เดินหน้าโรดแมป Smart Intellectual City

การปรับมาสเตอร์แพลนแผนใช้ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าหมายเปิดพื้นที่เมืองใหม่รอบมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “LIVE LIFE-LEARNING” สร้างการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ถูกต้องกับไลฟ์สไตล์ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ “Smart Intellectual City” กำลังเป็นโมเดลที่เพิ่มมูลค่าที่ดินพุ่งพรวด โดยเฉพาะ 2 โครงการที่เตรียมเปิดตัวล่าสุด “สามย่านมิตรทาวน์” และ “สเตเดี้ยม วัน” สร้างความตื่นเต้นทั้งในแง่การพลิกโฉมพื้นที่และเพิ่มจิ๊กซอว์เติมเต็มความน่าสนใจ แน่นอนว่า อาณาจักรที่ดินของจุฬาฯ ในเขตปทุมวันถือเป็นขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล จำนวนทั้งสิ้น 1,153 ไร่ ถูกจำแนกการใช้ประโยชน์หลัก 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ และพื้นที่ส่วนราชการ (ยืมและเช่าใช้) 184 ไร่ โดยข้อมูลสำรวจของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ราคาที่ดินบริเวณถนนพระราม 1 ในปัจจุบันพุ่งกระฉูดสูงกว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวา

Read More