Home > 2015 > พฤศจิกายน (Page 3)

สัญญาณบ่งชี้ว่าต้องทำจิตบำบัด

 Column: Well – Being ผู้คนจำนวนมากเคยชินกับการยอมเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยทางอารมณ์โดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร แต่นิตยสาร GoodHealth ให้ข้อคิดและคำแนะนำว่า นักจิตวิทยาช่วยให้คุณผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากทางจิตใจได้ “มีคนมากมายยอมจมปลักอยู่กับความทุกข์ทรมานอย่างเงียบๆ พวกเขาอับอายเกินกว่าจะยื่นมือออกมาขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งที่อาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้” ดร.ลุยซี บลันเดลล์ แห่งสถาบันจิตวิทยาบริสเบนซิตีอธิบาย “ภาวะซึมเศร้าทางอารมณ์เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างไม่ปกติในชีวิตของเรา และภาวะดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาตามปกติที่มีต่อสถานการณ์ที่ผิดปกติหรือยากลำบาก การทำจิตบำบัดช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ที่กำลังเผชิญกับความยุ่งยากในชีวิตได้อย่างไม่น่าเชื่อ” ศูนย์ให้คำปรึกษาและการสะกดจิตบำบัดให้นิยามว่า จิตบำบัด คือ การบำบัดรักษาอารมณ์และจิตใจหรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติ โดยวิธีทางจิตวิทยา เพื่อบรรเทาปัญหาและความผิดปกติของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยมีวุฒิภาวะที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจและพึ่งตนเองได้ ปัจจัยสำคัญในการบำบัดรักษาที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดรักษากับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ที่ดีผ่านกระบวนการความสัมพันธ์นี้ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิด ทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ให้การบำบัดได้ และในขณะเดียวกันผู้ให้การบำบัดก็จะต้องให้ความอบอุ่น เข้าใจ ยอมรับ ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ไม่ตำหนิผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ ต้องเคารพในตัวผู้ป่วย และยอมรับในคุณค่าของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน จิตบำบัดเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคนสองคน คือผู้ป่วยและผู้บำบัดรักษา ในที่นี้ผู้ป่วยคือบุคคลที่มีปัญหา และผู้บำบัดรักษาคือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอาจเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย หรือนักการศึกษาก็ได้ ทั้งนี้แล้วการบำบัดทางจิตสามารถแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ ได้แก่ จิตบำบัดรายบุคคล และจิตบำบัดแบบกลุ่มนิตยสาร GoodHealth

Read More

อวสานลานเบียร์? หรือปฐมบทการชิงพื้นที่?

 ข่าวความเป็นไปว่าด้วยกรณีนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาระบุว่า การที่ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปีกันอย่างเต็มที่ ทั้งการจัดกิจกรรมลานเบียร์ การนำกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้  ทั้งในรูปแบบของการเป็นสปอนเซอร์ จัดคอนเสิร์ต มิวสิกเฟสติวัล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า กิจกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการกระทำผิด ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และอยู่ระหว่างหาแนวทางการดำเนินการด้านคดี ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และนำไปสู่ข้อถกแถลงในวงกว้าง สอดรับกับช่วงเทศกาลลานเบียร์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 32 ของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร ขณะเดียวกัน กิจกรรมการตลาดหลายกิจกรรมในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังอาจเข้าข่ายความผิดในส่วนของมาตรา 30 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการหรือในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ

Read More

SCG: ถึงเวลาเปลี่ยนควาญช้าง ความเป็นไปในยุคหลัง กานต์ ตระกูลฮุน

 การประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่แทนผู้บริหารท่านเดิมที่กำลังจะเกษียณอายุขององค์กรชั้นนำอย่าง SCG เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจให้ภาพของแบบแผนพิธีการที่ต้องดำเนินให้ถูกต้องอย่างเป็นทางการ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางหรือการเปลี่ยนผ่านขององค์กรอย่างที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรธุรกิจแห่งอื่นๆ เหตุที่เป็นดังนี้ก็เนื่องเพราะก่อนหน้านี้ รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ต่อจากกานต์ ตระกูลฮุน ภายใต้แผนสืบทอดผู้นำ หรือ Succession plan มาตั้งแต่เมื่อปี 2554 หรือกว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาแล้ว ช่วงเวลาที่ทอดยาวดังกล่าวทำให้รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส เป็นว่าที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่มีโอกาสในการเตรียมตัว และผ่านกระบวนการบ่มเพาะ ทดสอบ ภายใต้แรงกดดันและประสบการณ์ที่ท้าทายหลากหลายมากที่สุดคนหนึ่ง ขณะที่ความรู้และประสบการณ์ในเอสซีจีในช่วงที่ผ่านมาของเขา ก็ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมในการบริหารและผลักดันยุทธศาสตร์องค์กรในยุคที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้นนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเพิ่มสัดส่วนรายได้ ด้วยการมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Products & Services: HVA) ซึ่งถือว่าเป็นเข็มมุ่งในการบริหารองค์กรในอนาคต ดูเหมือนว่าบทบาทของรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส จะได้รับการบ่มเพาะและเตรียมตัวมาอย่างดี โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่าเขาถูกส่งไปเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจกระดาษ (เอสซีจี แพคแกจจิ้ง) ซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์บริหารอย่างครอบคลุม ยืดหยุ่น และมีนัยความหมายสอดคล้องกับจังหวะก้าวของเอสซีจีในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่สองอย่างมาก เพราะขณะที่ธุรกิจกระดาษกำลังขับเคลื่อนท่ามกลางปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ธุรกิจกระดาษของ SCG  จะต้องสร้าง “โอกาสทางการตลาด” ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดจึงอยู่ที่ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและความแตกต่าง โดยเฉพาะการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษเพื่อใช้กับสินค้าประเภทอาหาร

Read More

DIWALI: เทศกาลแห่งความสว่าง

 Column: AYUBOWAN หลังจากผ่านพ้นวันออกพรรษาช่วงเวลาหนึ่งเดือนก่อนถึงคืนเพ็ญวันลอยกระทง สำหรับประเทศไทยก็คงเต็มไปด้วยงานบุญงานกุศลในนามของการทอดกฐิน ที่มีระดับชั้นให้เรียกขานตามแต่ลำดับขั้นของเจ้าภาพผู้จัดกฐินว่าเป็นคณะหรือบุคคลที่มีสถานะทางสังคมเช่นไร สำหรับศรีลังกา ซึ่งนับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท และดำเนินตามรอยทางแห่งพระไตรปิฎก การตั้งกองกฐินหลังวันออกพรรษาก็ถือเป็นกิจกรรมทางศาสนาที่มีนัยความหมายต่อสังคมศรีลังกาไม่น้อยไปกว่าวันสำคัญทางศาสนาวันอื่นๆ แม้ว่าในวันนี้ ศรีลังกาอาจจะไม่มีขบวนแห่กฐินอย่างยิ่งใหญ่ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์เหมือนเมื่อครั้งอดีตที่รุ่งเรืองของทั้งราชอาณาจักรอนุราธปุระ หรือแม้ในราชอาณาจักรแคนดี้ที่ผ่านเลยไปแล้วก็ตาม กิจกรรมที่ครอบคลุมตลอดทั้งช่วงเวลาหนึ่งเดือน ทำให้แต่ละอารามสงฆ์และชุมชนที่แวดล้อมศรัทธาสามารถเลือกกำหนดวันที่เหมาะสมกันได้เอง ซึ่งหากมองในมิติของความสะดวกก็ต้องถือว่าก้าวหน้าและเป็นการกระจายโอกาสในการทำบุญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่อีกฝั่งฟากของสังคมศรีลังกาที่เป็นพหุสังคมที่หลากหลายและมีประชากรชาวฮินดูร่วมอยู่ด้วย ช่วงเดือนพฤศจิกายนถือเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ต่อเนื่องยาวนานรวมกว่า 5 วันกันเลยทีเดียว และถือเป็นเทศกาลแห่งความสุข ที่สุกสดใสสว่างไสวที่สุดของชาวฮินดูก็ว่าได้ เพราะเทศกาล Diwali หรือ Deepavali ที่ว่านี้เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองชัยชนะของความสว่าง เหนืออนธกาลแห่งความมืดมน ทุกอาคารบ้านเรือนจึงประดับประดาไปด้วยดวงโคม เทียน และตะเกียงน้ำมัน (deepa) เพื่อเป็นตัวแทนแห่งแสงสว่างทางปัญญาเหนืออวิชชาทั้งปวง และยังมีการเฉลิมฉลองด้วยดอกไม้ไฟ ซึ่งทำให้ Diwali หรือ Deepavali เป็นเทศกาลที่เต็มไปด้วยแสง สี เสียง อย่างคึกคัก ต้นทางของเทศกาล Diwali หรือ Deepavali สามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุคสมัยแห่งอินเดียโบราณ โดยเทศกาลนี้ถือเป็นงานรื่นเริงฉลองการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ในฤดูร้อน ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ในเดือน Kartika ตามปฏิทินฮินดู ที่จะอยู่ในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

Read More

พิบัติภัยธรรมชาติ กับงานวิศวกรรมบูรณะโบราณสถาน

 เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เกิดขึ้น ณ ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงของเนปาลที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม สร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นทำให้อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษ แหล่งโบราณสถานและมรดกโลกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย  โบราณสถานเหล่านี้ทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเยือนเนปาล สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนไม่น้อย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจประเมินค่าได้ ขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็อดกังวลไม่ได้ว่า เหตุการณ์เดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานในประเทศไทยหรือไม่  อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุทกภัย วาตภัย และธรณีพิบัติ สร้างความเสียหายให้กับถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม คณะวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ได้ลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับผู้แทนกรมศิลปากร เพื่อศึกษาร่องรอยการเคลื่อนตัวของโบราณสถาน สาเหตุ และแนวทางการบูรณะซ่อมแซมตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพบร่องรอยความเสียหายของโบราณสถานสำคัญดังนี้ องค์เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จากการสำรวจพบว่า องค์เจดีย์เกิดการทรุดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3.49 เมตร

Read More

เทศกาลขนมปัง

 Column: From Paris ชาวฝรั่งเศสบริโภคขนมปังเป็นว่าเล่น ขนมปังอร่อยคือ บาแกต (baguette) ขนมปังแท่งยาว กรอบนอกนุ่มใน บาแกตเสร็จใหม่กลิ่นหอมยวนใจ ซื้อแล้วเดินบิเข้าปาก พอถึงบ้าน บาแกตหายไปหนึ่งในสาม เป็นกันเช่นนี้หลายบ้าน หากมือไม่ว่าง หนีบบาแกตไว้ใต้รักแร้ ไม่ทราบได้กลิ่นอื่นมาด้วยหรือไม่ ทุกปีเทศบาลกรุงปารีสจะจัดเทศกาลขนมปัง (fête du pain) ที่ลานหน้าวิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส์ (Notre-dame de Paris) มีการสาธิตการทำขนมปังรูปแบบต่างๆ รวมทั้งครัวซองต์ (croissant) แถมเปิดโอกาสให้เด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมทำขนมปัง มีร้านค้าขายขนมปังและน้ำตาล แถมขายแซนด์วิช และขนมทาหน้าต่างๆ สนุกทั้งชาวฝรั่งเศสและชาวต่างประเทศ ในโอกาสนี้มีการประกวดทำบาแกตด้วย ผู้ได้รางวัลชนะเลิศมีหน้าที่ทำบาแกตให้ทำเนียบประธานาธิบดีตลอดปี จึงเชื่อได้ว่าท่านประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) ได้กินขนมปังอร่อยเสมอ Guide Pudlowski Paris 2015 เป็นหนังสือแนะนำอาหารการกินในปารีส เลือกสเตฟาน วานเดอร์มีร์ช (Stéphane Vandermeersch) เป็น boulanger de

Read More

เฟบริส พาร์คเคอร์วอง ผู้บริหารคิดบวกของ ELLE

 คงจะมีสื่อสิ่งพิมพ์เพียงไม่กี่ฉบับบนโลกที่มีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อวงการแฟชั่นทั่วโลกรวมถึงในไทยอีกทั้งยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานจนได้รับความไว้วางใจและดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่ปีที่ 70 ELLE นับเป็นนิตยสารสัญชาติฝรั่งเศส ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองแฟชั่นที่หลายคนสนใจและให้การยอมรับจนได้รับการตีพิมพ์ไปหลายประเทศ และเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ELLE ทำให้ เฟบริส พาร์คเคอร์วอง CEO ของ ELLE เดินทางมาประเทศไทยเพื่อจัดงานในครั้งนี้ร่วมกับพาร์ตเนอร์ของไทยอย่างบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ภายในงานแถลงข่าวครบรอบ 70 ปี แฟชั่นโชว์และงานนิทรรศการ “เซเวนตี้ส์ เยียร์ส ออฟ สไตล์” (70 Years of Style) ที่มีการจัดแสดงชุดเดรสที่ออกแบบมาเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบ 70 ปี ของแบรนด์ ELLE โดยนำเสนอจุดเด่นของแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่ยุคโฟร์ตี้ส์ (40’s) จนถึงยุคมิลเลนเนียม (00’s) ทำให้ผู้จัดการ 360  ํ ได้มีโอกาสพบกับ เฟบริส อาบัวเซอร์ พาร์คเคอร์วอง CEO บริษัท แอล

Read More