Home > อยุธยา

“อยุธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์” ฟื้นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

รศ. ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า คณะผู้วิจัยร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ จัดกิจกรรม “The Legendary Food Culture of Ayutthaya” วัฒนธรรมอาหารในตำนานศรีอโยธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์ แผ่นดินทองแห่งความรุ่งเรืองบนรากฐานพหุวัฒนธรรมต้นตำรับสยาม “วิเทศศาสตร์ โภชนศิลป์” ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินโครงการวิจัย “การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออก” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเที่ยวด้านวัฒนธรรมอาหารของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เป็นที่รู้จัก และรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องอาหารการกิน โดยนำอาหารไทยโบราณหาทานยากมาเป็นจุดขาย ผสมผสานกับการเรียนรู้เรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ ผ่านการดำเนินโครงการ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ โครงการการค้นหาต้นแบบวัฒนธรรมอาหารและพัฒนาสำรับอาหารอยุธยาเมืองท่าแห่งตะวันออกที่มีตนเป็นหัวหน้าโครงการ โดยลงพื้นที่ศึกษาภูมิวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอาหารอยุธยา ถอดรหัสภูมิปัญญาสำรับอาหารอยุธยา และพัฒนาสำรับอาหารกรรมวิธีโบราณดั้งเดิม 5 ชนิด คือ ต้มยำน้ำข้น ทอดมันกุ้ง มัสมั่น ข้าวบุหรี่ (ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ) และมีไฮไลท์สำคัญที่จะต่อยอดส่งออกขายและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากชนิดใหม่ของพระนครศรีอยุธยา คือ “ขนมหินฝนทอง” ซึ่งเป็นขนมหวานหาทานยาก หน้าตาคล้ายกับหินฝนทองที่คนโบราณใช้ทดสอบทองคำว่าเป็นทองแท้หรือไม่ มีรสหวาน หอม

Read More

พิบัติภัยธรรมชาติ กับงานวิศวกรรมบูรณะโบราณสถาน

 เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เกิดขึ้น ณ ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงของเนปาลที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม สร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นทำให้อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษ แหล่งโบราณสถานและมรดกโลกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย  โบราณสถานเหล่านี้ทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเยือนเนปาล สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนไม่น้อย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจประเมินค่าได้ ขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็อดกังวลไม่ได้ว่า เหตุการณ์เดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานในประเทศไทยหรือไม่  อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุทกภัย วาตภัย และธรณีพิบัติ สร้างความเสียหายให้กับถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม คณะวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ได้ลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับผู้แทนกรมศิลปากร เพื่อศึกษาร่องรอยการเคลื่อนตัวของโบราณสถาน สาเหตุ และแนวทางการบูรณะซ่อมแซมตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพบร่องรอยความเสียหายของโบราณสถานสำคัญดังนี้ องค์เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จากการสำรวจพบว่า องค์เจดีย์เกิดการทรุดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3.49 เมตร

Read More