Home > Suporn Sae-tang (Page 41)

เคอรี่-ไปรษณีย์ไทย ปูพรมพรึ่บ สกัดหน้าใหม่

สงครามธุรกิจโลจิสติกส์ บริการส่งพัสดุแบบด่วนหรือ “Express” ร้อนเดือดขึ้นหลายเท่า เพราะหลังจากกลุ่ม “อาลีบาบา” ของมหาเศรษฐีระดับโลก “แจ็ค หม่า” ทุ่มทุนดัน “Best Express - Flash Express” 2 แบรนด์ธุรกิจขนส่งสินค้าเข้ามาเจาะตลาดโลจิสติกส์ในไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุด น้องใหม่ J&T Express จากประเทศจีน เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ พร้อมๆ กับการเร่งปูพรมสาขาทั่วเมือง ที่สำคัญ หลายทำเลกลายเป็นสมรภูมิช้างชนช้าง ชนิดคูหาติดคูหา ร้านชนร้าน จนทำให้ทั้งไปรษณีย์ไทยและเคอรี่เอ็กซ์เพรส ต้องเร่งปูพรมสาขาสกัดคู่แข่งหน้าใหม่อย่างเร่งด่วน ไม่นับการชูจุดแข็งด้านบริการทุกรูปแบบ เหตุผลสำคัญมาจากแนวโน้มการขยายตัวของตลาดขนส่งสินค้าและพัสดุที่พุ่งพรวดต่อเนื่องตามธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตก้าวกระโดด โดยข้อมูลการสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA คาดการณ์มูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ชของประเทศไทยในปี 2562 จะพุ่งสูงถึง 3.2 ล้านล้านบาท หรือเติบโต 12-13% จากปี 2561 ที่มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3.15 ล้านล้านบาท และปี 2560

Read More

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” นับถอยหลังศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต

“เซ็นทรัล-สยามพิวรรธน์” กลายเป็นคู่แข่งทุกเวที นอกจากกระโดดร่วมประมูลชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีในสนามบินแล้ว ทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่เตรียมระเบิดศึกลักชัวรีเอาต์เล็ต โดยเจ้าแรกได้ฤกษ์เปิดให้บริการโครงการ “เซ็นทรัลวิลเลจ” ในเดือนสิงหาคมนี้ ขณะที่ค่ายหลังดีเดย์ “ลักชัวรีพรีเมียม เอาต์เล็ต ซิตี้” ในเดือนตุลาคม ทิ้งห่างกันไม่ถึง 2 เดือน บนสมรภูมิเดียวกัน ฟากกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก ล่าสุด ทีมผู้บริหารของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอ็น” ออกมาประกาศความพร้อม เพื่อสร้าง New Shopping Platform หรือลักชัวรีเอาต์เล็ตระดับโลกแห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ติดสนามบินสุวรรณภูมิ (The First International Luxury Outlet in Thailand) ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Bangkok Outlet Experience’ ไฮไลต์สำคัญ คือ บูทีคสโตร์จากแบรนด์ระดับโลกรวมกว่า 235 ร้านค้า ได้แก่

Read More

เปิดสมรภูมิดิวตี้ฟรี บิ๊กเนมรุมสกัด “คิงเพาเวอร์”

สมรภูมิชิงสัมปทานร้านดิวตี้ฟรีร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ประกาศขายซองคัดเลือกผู้ประกอบการ โครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ (ดิวตี้ฟรี) ทั้ง 2 สัญญา คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 สัญญา และท่าอากาศยานภูมิภาค ได้แก่ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ รวมอีก 1 สัญญา โดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งมีพื้นที่เชิงพาณิชย์หลายหมื่นตารางเมตรและเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารติดทอปเท็น ทั้งในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแผนขยายศักยภาพโครงการ เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง รวม 5 เฟส จนถึงปี 2573 ตามแผนของ ทอท. ตั้งเป้าปี 2563 สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 60 ล้านคนต่อปี ปี 2564 เพิ่มเป็น 90 ล้านคนต่อปี จนถึงเฟสที่ 5 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโครงการในปี 2568-2573

Read More

เกมจัดฉากประมูลดิวตี้ฟรี ปรับเงื่อนไขลดกระแสต้าน

แม้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ยอมปรับเงื่อนไขการเปิดประมูลดิวตี้ฟรี หลังเจอกระแสต่อต้านรูปแบบสัญญาผูกขาดสัมปทานยาวนานนับสิบปี ถูกตั้งคำถามถึงการเอื้อประโยชน์และเปิดช่องโหว่ให้ยักษ์เอกชนบางรายกอบโกยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ดูเหมือนว่า การจับตาจากทั้งกลุ่มองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน กลุ่มนักวิชาการสถาบันทีดีอาร์ไอ และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยังไม่จบ เพราะมีประเด็นน่าสงสัยต้องติดตามอีกหลายข้อ ที่สำคัญระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลมากมาย ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจเปรียบเทียบกับสนามบินชั้นนำในต่างประเทศถูกสะท้อนสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง แต่ ทอท. ยืนกรานจะเลือกใช้โมเดลเปิดประมูลแบบสัญญาเดียว และรวบสัญญาดิวตี้ฟรีท่าอากาศยานทั้ง 4 แห่ง คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ เป็นสัญญาเดียว กระทั่งวันที่ 15 มีนาคม 2562 จะด้วยเหตุผลจากสถานการณ์การเมืองใกล้เลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม ในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องออกมาสั่งการให้คณะกรรมการ ทอท. และผู้บริหาร ทอท. พิจารณาทบทวนแนวทางการประมูล โดยคำนึงถึงข้อท้วงติงของสังคมและประโยชน์ที่ ทอท. และประเทศชาติจะได้รับอย่างรอบด้าน ต่อมา วันที่ 28 มีนาคม 2562

Read More

ซีพีรุกขยายพอร์ตพรีเมียม ถึงคิวลุยบุฟเฟ่ต์หรูหัวละพัน

เพียงเดือนเศษๆ หลังเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ฤกษ์เผยโฉมภัตตาคารฮาร์เบอร์ (Harbour) สาขาแรกในประเทศไทย โดยนับเป็นสาขาที่ 10 ของโลก ในอภิมหาโครงการไอคอนสยาม เพื่อเปิดแนวรบใหม่ เจาะตลาดบุฟเฟต์อินเตอร์ระดับพรีเมียม ดูเหมือนว่าเกมธุรกิจทั้งหมดกำลังเดินตามแผนขยายหน้าร้านเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเซกเมนต์และทุกระดับรายได้ ชนิดทะลุเป้าหมาย ที่สำคัญ แบรนด์ “ฮาร์เบอร์” ถือเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ซีพีต้องการชิมลางขยายฐานลูกค้ากลุ่มกระเป๋าหนักๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ตามราคาบุฟเฟต์ที่กำหนดเรตเริ่มต้นคนละ 799++ ในมื้อกลางวัน และมื้อเย็นคิดราคา 899 ++ บาทต่อคน ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ 1,099++ บาทต่อคน ในพื้นที่ร่วม 2,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับลูกค้ารอบละ 450 ที่นั่ง หรือราว 1,000 ที่นั่งต่อวัน และถือเป็นภัตตาคารบุฟเฟต์ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แน่นอนว่า หากภัตตาคารฮาร์เบอร์ ซึ่งถือเป็นร้านอาหารแบรนด์แรกที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดตัวภายใต้แผนร่วมทุนกับไห่หลายกรุ๊ปไต้หวัน สามารถเจาะตลาดอย่างฉลุย นั่นย่อมหมายถึงการเดินหน้ารุกตลาดพรีเมียม

Read More

ฟู้ดเชนยึดสมรภูมิใหม่ เจาะแฟรนไชส์ 2.3 แสนล้าน

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (ซีอาร์จี) ออกมาเปิดกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ตั้งเป้า Transform from Operator to Innovator ขยายโหมดจากผู้รับสิทธิ์บริหารแฟรนไชส์ หรือ “แฟรนไชซี” สู่การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์แบรนด์ร้านอาหารยักษ์ใหญ่ เพื่อเร่งปูพรมขยายสาขาทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นช่วงจังหวะแต่งตัวขยายพอร์ตธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมส่งออกทุกๆ แบรนด์ในเครือ เจาะตลาดอาเซียน หลังจากซุ่มศึกษาข้อมูลมานานหลายปี ในเวลาเดียวกัน ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังมีความต้องการสูงมาก หลายคนต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เปรียบเทียบจากปี 2560 ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีเครือข่ายมากกว่า 90,000-100,000 ราย เกิดใหม่วันละ 20 แห่ง มีจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ต่ำกว่า 850-900 บริษัท และมีมูลค่าเม็ดเงินสูงถึง 2 แสนล้านบาท ปี 2561 มูลค่าเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2.2-2.3 แสนล้านบาท มีผู้สนใจขอข้อมูลแฟรนไชส์ 15,000-20,000 รายต่อปี และเป็นธุรกิจอาหารสัดส่วนมากสุดเกือบ 23% โดยตลาดมีอัตราเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า

Read More

CRG ทรานส์ฟอร์มชิงธงรบ ดัน “อร่อยดี” เจาะสตรีทฟู้ด

เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ออกมาประกาศเดินหน้ารุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารที่มีเม็ดเงินมากกว่า 410,000 ล้านบาท ภายใต้ยุทธศาสตร์ Let’s Make The Jump โดยปีนี้กำหนดกลยุทธ์สำคัญ Transform from Operator to Innovator ไม่ใช่แค่การเป็น “แฟรนไชซี” แบรนด์อิมพอร์ตยักษ์ใหญ่ แต่พลิกบทบาทเข้าสู่โหมดการลุยธุรกิจแบบเต็มสูบ โดยเฉพาะแผนสร้างแบรนด์รุกเซกเมนต์ใหม่ๆ เปิดศึกหลายแนวรบ ทั้งสตรีทฟู้ด แฟรนไชส์และศึกเดลิเวอรี่ที่กำลังร้อนเดือดขีดสุด ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ “ซีอาร์จี” ระบุว่า ปี 2562 จะเป็นปีที่บริษัทรุกสมรภูมิธุรกิจร้านอาหารมากที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจดูชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตดีอยู่ ที่สำคัญคู่แข่งในกลุ่มฟู้ดเชนรายใหญ่กระโดดลงแข่งขันเจาะตลาดแมสมากขึ้น เพราะสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง “ในอดีต ผู้คนต้องตามล่าหาอาหาร แต่ทุกวันนี้ ร้านอาหารต้องตามล่าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกรูปแบบบวกกับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเลือกสรรอาหารที่มีคุณภาพ โดนๆ มากกว่าการคำนึงถึงราคาเพียงอย่างเดียว ลูกค้าคนรุ่นใหม่บางคนอาจยอมเสียค่าบริการส่งสินค้าเพื่อสั่งชานมไข่มุก 1 แก้ว เหตุผลเดียว

Read More

สงครามทีวีดิจิทัลยิ่งระอุ ปรับทัพใหญ่ ลุ้น กสทช.

สงครามทีวีดิจิทัลยิ่งร้อนระอุ หลังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางแนวทาง ทั้ง “ช่วยเหลือ” และ “เยียวยา” ทั้งสนับสนุนค่าภาระ Must Carry และค่าใช้จ่ายการออกอากาศผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (Mux) ร้อยละ 50 จนถึงปี 2565 ผลักดันการสำรวจความนิยม (Rating) ของผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลที่ออกอากาศผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่ออ้างอิงหารายได้อย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะแผนเปิดประมูลคลื่น 700 MHz ของทีวีดิจิทัล เพื่อนำเงินประมูลมาช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งเท่ากับเปิดโอกาสให้เกิดการพลิกฟื้นธุรกิจครั้งใหญ่ ความเคลื่อนไหวที่เห็นชัดเจน คือ การเสริมจุดแข็งด้านคอนเทนต์และขยายฐานผู้ดู เพื่อเพิ่มเรตติ้งและดูดโฆษณา โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและกลุ่มธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินรายได้ที่สำคัญของช่องทีวีค่ายต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ช่วงปี 2561 เม็ดเงินโฆษณาที่ส่งผ่านสื่อต่างๆ มีมูลค่ารวม 1.05 แสนล้านบาท เติบโต 3.9% ประกอบด้วย สื่อทีวี 6.79

Read More

ทีวีไดเร็คสู้ยักษ์ค้าปลีก บุกแนวรบห้างออนไลน์

เจ้าตลาดโฮมช้อปปิ้ง “ทีวีไดเร็ค” ต้องประกาศปรับโฉมธุรกิจครั้งใหญ่ หลังประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ล้มเลิกเป้าหมายการเป็นเจ้าของสื่อทีวี โดยหันมารุกช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ด้านหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงเชิงธุรกิจจากต้นทุนการซื้อสื่อทีวีที่แพงขึ้น อีกด้านหนึ่ง การจับจ่ายออนไลน์กลายเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและมีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัญญาณที่เห็นชัดเจนในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา คือ บรรดาห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างเร่งปูทางการรุกสู่ช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเซ็นทรัล โรบินสัน เดอะมอลล์ เทสโก้โลตัส บิ๊กซี ท็อปส์ หรือแม้กระทั่งกลุ่มร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่นอีเลฟเว่นและแฟมิลี่มาร์ท ตามเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนรูปแบบจาก “ออฟไลน์” สู่ “ออนไลน์” มากกว่าเท่าตัว อย่างกลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับเจดี ดอทคอม เปิดบริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ เพื่อดำเนินธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส ล่าสุด จัดทัพกลุ่มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซใหม่ เพื่อรุกตลาดเต็มรูปแบบ โดยนำเว็บไซต์เซ็นทรัลออนไลน์ควบรวมเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มของเจดี เซ็นทรัล (www.jd.co.th) ดึงทุกหน่วยธุรกิจสร้างห้างสรรพสินค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ ได้แก่ พาวเวอร์บาย จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ซูเปอร์สปอร์ต

Read More

TVD พลิกเกมโฮมช้อปปิ้ง แผนฮุบหุ้นสปริงนิวส์ล่ม

“ทีวีไดเร็ค” ต้องพลิกเกมรุกสงครามโฮมช้อปปิ้งอีกครั้ง หลังตัดสินใจยุติการเข้าลงทุนในสถานีโทรทัศน์ทีวีดิจิทัล ช่อง 19 หรือสปริงนิวส์ โดยที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา ประกาศพับแผนซื้อหุ้นบริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น ในเครือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น เนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ส่งผลให้ขั้นตอนการเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่หาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ แน่นอนว่า จากเดิมที่ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD วาดแผนรุกเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลชนิดเต็มสูบ นำร่องด้วยการเป็นผู้ร่วมผลิตรายการช่องสปริงนิวส์ (ช่อง 19) ระยะเวลา 4 ปี เพื่อร่วมมือกับสถานีวางแผนเพิ่มสัดส่วนผังรายการแนะนำสินค้าจากเดิมที่เน้นรายการข่าว แต่ยังคงช่วงเวลาออกอากาศข่าวในแต่ละวันตามกฎระเบียบของ กสทช. ซึ่งจะทำให้ทีวี ไดเร็ค มีช่วงเวลาโฆษณาแนะนำสินค้าทางช่องสปริงนิวส์เพิ่มขึ้น แต่มีต้นทุนลดลงเมื่อเทียบกับการซื้อเวลาโฆษณาโดยตรงจากสถานีแบบเดิม พร้อมๆ กับการรุกใช้สื่อโฆษณาทางทีวีดิจิทัลในช่องอื่นๆ และสื่ออื่นๆ

Read More