Home > On Globalization (Page 21)

กฎหมายใหม่ที่เอาเปรียบผู้หญิงในอัฟกานิสถาน

 ทุกวันนี้ผู้หญิงชาวอัฟกานิสถานต้องตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวเป็นประจำ เด็กๆ เองก็ถูกบังคับให้แต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนี้ผู้หญิงชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะได้ไปโรงเรียนและทำงานนอกบ้าน เพราะสามีหรือบิดาของพวกเธอต้องการให้ผู้หญิงอยู่แต่ในบ้านคอยดูแลรับใช้สามีและบิดา และเพราะสาเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ซึ่งอัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงในอัฟกานิสถานถือว่าเป็นอัตราที่สูงเกือบที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ เมื่อตอนต้นปีผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับ honor killing ซึ่งหมายถึงเหตุการณ์ที่พ่อฆ่าลูกสาวของตัวเองในประเทศเยเมน เพียงเพราะพวกเธอประพฤติตัวไม่เหมาะสม ซึ่งเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศเยเมนและประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และประเทศอัฟกานิสถานก็เป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่มีเหตุการณ์ honor killing เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าในศาสนาอิสลาม การที่พ่อมีสิทธิ์ที่จะลงโทษภรรยาและลูกสาวได้ถ้าหากพวกเธอทำผิดแม้จะไม่เป็นการทำผิดกฎหมายก็ตาม แต่การฆ่าลูกสาวหรือน้องสาวของตัวเองนั้นยังคงมีความผิดอยู่ แต่รัฐบาลอัฟกานิสถานกลับออกกฎหมายใหม่ที่จะทำให้ผู้ชายเหล่านี้ไม่มีความผิด เมื่อพวกเขาใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงในครอบครัว ตอนนี้รัฐบาลอัฟกานิสถานได้ผ่านร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา ซึ่งได้ระบุไว้ในมาตรา 26 ว่าการกระทำดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คือ ในกรณีที่ญาติของผู้เสียหายเป็นผู้ที่ทำความผิดในคดีความที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัว เช่นการบังคับให้แต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก และ honor killing เป็นต้น ให้ถือว่าญาติของผู้เสียหายไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้มาตรา 26 ยังไม่อนุญาตให้หมอหรือจิตแพทย์ยื่นหลักฐานใดๆ เพื่อช่วยสนับสนุนว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าหากร่างกฎหมายใหม่ฉบับนี้มีการประกาศใช้ขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เท่ากับว่าผู้ชายทุกคนในแต่ละครอบครัวสามารถใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงในครอบครัวของตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นการทุบ ตี หรือแม้กระทั่งฆ่าให้ตาย ผู้ชายเหล่านี้ก็จะไม่มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น รวมไปถึงการบังคับให้ลูกสาวตัวเองแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กก็ถือว่าไม่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน เพราะในมาตรา 26 นี้บุคคลที่เป็นญาติกับผู้เสียหายจะไม่ถูกลงโทษในคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภายในครอบครัว ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในอัฟกานิสถานนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเกิดมาจากครอบครัวทั้งนั้น ดังนั้นถ้าหากว่าคนในครอบครัวสามารถใช้ความรุนแรงได้และไม่ผิดกฎหมาย ความรุนแรงต่อผู้หญิงในอัฟกานิสถานก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นและอาจจะร้ายแรงมากกว่าเดิมด้วย ถ้าหากว่ากฎหมายนี้มีการประกาศใช้ขึ้นมาผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะไม่สามารถเอาผิดกับผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงเหล่านี้ได้

Read More

โอกินาวา

 แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่มีรากทางวัฒนธรรมเข้มแข็งและเด่นชัด แต่คงไม่มีดินแดนของญี่ปุ่นส่วนใดที่จะให้ความรู้สึกแปลกแตกต่างออกไปจากความเป็นญี่ปุ่นได้มากเท่ากับหมู่เกาะทางตอนใต้ ที่ชื่อ โอกินาวา เป็นแน่ เพราะด้วยระยะทางที่ไกลโพ้นออกไปจากผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น และประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีตของหมู่เกาะกว่า 100 เกาะที่ทอดตัวยาวรวมระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรแห่งนี้ และทำให้การไปเยือนโอกินาวาในความรู้สึกของคนญี่ปุ่นกลายประหนึ่งเดินทางไปต่างประเทศเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นต่างประเทศเสียยิ่งกว่าการเดินทางไปเที่ยวเกาหลี หรือเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยซ้ำ แม้ความเป็นมาของโอกินาวาอาจสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 แต่โอกินาวาเพิ่งถูกผนวกรวมเข้ามามีสถานะที่เป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นอย่างจริงจังก็เมื่อสมัยเมจิ (1868-1912) โดยได้รับการสถาปนาให้เป็นจังหวัดโอกินาวา เมื่อปี 1879 หรือเมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง หลังจากดินแดนแห่งนี้ถูกช่วงชิงสิทธิในการถือครองทั้งจากจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น มาเนิ่นนาน ความสำคัญของโอกินาวาปรากฏให้เห็นเด่นชัดในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อหมู่เกาะน้อยใหญ่ของโอกินาวากลายเป็นสมรภูมิการรบพุ่งระหว่างกองกำลังของสหรัฐอเมริกาและกองทัพของจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่ดุเดือดและเข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์สงคราม ความปราชัยของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โอกินาวาต้องตกอยู่ภายใต้การครอบครองของสหรัฐอเมริกานานกว่า 27 ปี และทำให้โอกินาวากลายเป็นที่ตั้งของฐานทัพสหรัฐอเมริกา ในการก่อสงครามทั้งในคาบสมุทรเกาหลี (1950-1953) หรือแม้กระทั่งในสงครามเวียดนาม (1965-1972) ด้วย และแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมอบคืนอำนาจอธิปไตยของโอกินาวาให้กลับคืนสู่ญี่ปุ่นในปี 1972 แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังคงฐานทัพอยู่ในโอกินาวา  แต่ประวัติการณ์ของโอกินาวา ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องของสงครามนะคะ เพราะด้วยเหตุของทำเลที่ตั้งทำให้โอกินาวามีสถานะเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมหลากหลายไล่เรียงตั้งแต่พ่อค้าจากแผ่นดินใหญ่ของจีนไปจนจรดผู้คนจากหมู่เกาะทะเลใต้ รวมถึงชาวมาเลย์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และแน่นอนว่าต้องมีไทยด้วย มรดกทางวัฒนธรรมที่โอกินาวาได้รับจากการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ไม่ได้ทำให้โอกินาวาสูญเสียเอกลักษณ์ดั้งเดิมแต่อย่างใด หากแต่กลายเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเสริมต่อเติมให้เกิดสิ่งใหม่ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมแบบโอกินาวาขึ้นมาเองอีกต่างหาก ความใกล้ชิดระหว่างโอกินาวากับจีนส่งผลให้วัฒนธรรมของโอกินาวามีกลิ่นอายความเป็นจีนแทรกอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดนตรี เครื่องเคลือบ หรือแม้แต่คาราเต้ (Karate) ที่แปลว่ามือเปล่า

Read More

ดิบ…แต่ไม่เถื่อน

 ท่านผู้อ่านคิดเห็นแบบเดียวกับผู้เขียนไหมคะว่า กิจกรรมในความทรงจำที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารถือเป็นประสบการณ์ที่เล่าสู่ และแลกเปลี่ยนกันได้ไม่รู้เบื่อจริงๆ เพราะลำพังแค่เพียงปลาดิบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสังคมญี่ปุ่น ยังมีความหลากหลายในกระบวนการนำเสนอ จนพ้นไปจากการเป็นเพียงชิ้นเนื้อที่ไม่ผ่านการปรุงอย่างที่เราท่านคุ้นเคยไปไกลทีเดียว คนญี่ปุ่นเชื่อว่าการบริโภคปลาดิบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะนอกจากจะได้สารอาหารครบถ้วนจากเนื้อปลาแล้ว การที่ไม่ผ่านการปรุงไม่ว่าจะเป็นการผัด ทอด หรือแม้แต่ต้ม นึ่ง ย่าง ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะได้รับน้ำมันและสารปนเปื้อนอื่นๆ ในขั้นตอนเหล่านั้นลดลงไปด้วย  การบริโภคปลาดิบ นอกจากจะเป็นความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติแบบเซนของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพไปด้วยในตัว ครั้งหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสไปทานมื้อกลางวันกับหมู่มิตรชาวญี่ปุ่นในร้านซูชิแบบ Kaiten ที่เป็นสายพานลำเลียงอาหารมาให้เลือกเป็นจานต่างๆ ซึ่งเป็นร้านประจำของพวกเรา เชฟคงเห็นว่าวันนั้นมีสาวๆ มาด้วยกันหลายคน จึงถือโอกาสแนะนำเมนูอาหารพิเศษประจำวันให้ได้ลิ้มลอง อาหารที่ว่าเป็นปลาตัวเล็กใส ซึ่งมีรูปพรรณสัณฐานเหมือนปลาเข็มของไทย ประมาณนั้นนะคะ นับจำนวนได้ ก็สักสิบกว่าตัว ใส่อยู่ในแก้วใสสะอาด ด้วยความสงสัยจึงถามเพื่อนๆ ญี่ปุ่นว่า เมนูที่ว่าดีต่อสุขภาพนั้นดีอย่างไร  เชฟยืนอธิบายสรรพคุณอย่างออกรสว่า เจ้าปลาเป็นๆ ตัวน้อยที่ว่านี้ จะช่วยดูดซึมของเสียหรือพิษในระบบทางเดินอาหาร ทานบ่อยๆ จะทำให้สุขภาพดี หุ่นดี แต่ต้องทานกันสดๆ ค่ะ แล้วให้มันว่ายกระดื๊บๆ อยู่ในท้องของเรา     กลุ่มเพื่อนที่เป็นชาวญี่ปุ่นเอง แม้จะเคยทราบว่ามีเมนูแบบนี้มาก่อน แต่ทุกคนในที่นั้น ก็ยังไม่มีใครเคยทดลองนะคะ เราก็มองหน้ากันไปมา ว่าจะทดลองดูไหม และด้วยความอยากรู้อยากเห็นของทุกคน ในที่สุด...เอ้า.. ลองก็ลอง...   ดื่มเลย...ดื่มเลย

Read More

ปัญหาเรื่องการแต่งงานในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรีย

 เมื่อเดือนที่แล้วได้กล่าวถึงปัญหาด้านจิตใจของเด็กซึ่งมีผลกระทบมาจากสงครามในซีเรีย ในฉบับนี้จะขอพูดถึงปัญหาการแต่งงานที่เกิดขึ้นภายในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรียในประเทศจอร์แดน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการหย่าร้างที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ที่ค่ายลี้ภัย Zaatari ซึ่งเป็นค่ายลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดของชาวซีเรียอยู่ในประเทศจอร์แดน ค่ายนี้มีชาวซีเรียตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนแก่เป็นจำนวนมากที่ลี้ภัยจากสงครามมาอยู่ที่นี่ และเพราะมีคนจำนวนมากย้ายมาอยู่ที่นี่ จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่พ่อแม่หลายๆ คนต้องการให้ลูกแต่งงานกับคนที่ได้พบเจอกันในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่การแต่งงานที่เกิดขึ้นในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ ทำให้เกิดปัญหาหลักๆ 3 เรื่องด้วยกัน ปัญหาแรกที่เกิดขึ้นคือ การบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างที่เราทราบกันดีว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นเรื่องที่พ่อแม่บังคับให้เด็กผู้หญิงแต่งงานทั้งๆ ที่พวกเธออาจจะไม่ต้องการแต่งงาน และเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ไม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าต้องการที่จะแต่งงานหรือไม่ สิ่งเดียวที่พวกเธอทำได้คือการเชื่อฟังพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่ส่วนใหญ่จึงบังคับลูกสาวให้แต่งงานเมื่อตัวเองเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วและได้เลือกคนที่เหมาะสมไว้ให้ การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย The United Nations Children’s Fund (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า UNICEF) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลทางสถิติว่า มีเด็กผู้หญิงชาวซีเรียอย่างน้อย 3% ที่แต่งงานตอนอายุ 15 ปี และอีกประมาณ 13 % ที่แต่งงานตอนอายุ 18 ปี ซึ่งการบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยอยู่นี้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตชนบท โดยเฉพาะในเขตชนบททางตอนใต้ซึ่งถือว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา ในประเทศซีเรีย เด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่

Read More

ไปดูเบสบอล

 อาจจะด้วยเหตุที่บ้านเรือนของชาวญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก จึงเป็นเหตุให้ชาวญี่ปุ่นนิยมแสวงหากิจกรรมยามว่างด้วยการออกไปพักผ่อนกลางแจ้ง ซึ่งไล่เรียงได้ตั้งแต่กิจกรรมชมดอกซากุระ การเดินป่า หรือแม้กระทั่งไปชมกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกีฬาเบสบอล ที่ถือเป็นกีฬายอดฮิตของชาวญี่ปุ่นมาเนิ่นนาน ฤดูการแข่งขันเบสบอลของญี่ปุ่นเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม เรื่อยไปจนถึงปลายเดือนกันยายน ของแต่ละปี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ผ่านฤดูร้อน ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสำหรับการประกอบกิจกรรมกลางแจ้ง การนัดหมายไปพบกันในสนามแข่งขันเบสบอล เป็นวิถีของผู้คนในวัยทำงานในญี่ปุ่นก็ว่าได้ โดยใครไปก่อนก็นั่งชมนั่งเชียร์ทีมที่แข่งขันไปพลางๆ พร้อมกับรองท้องด้วย ทักโกะยากิ และยากิโซบะ แกล้มไปกับเบียร์สดที่มีสาวเบียร์เดินขายอยู่ทั่วทุกมุมบนอัฒจันทร์ของสนาม แต่หากจะเรียกสาวเบียร์สดของญี่ปุ่นว่าสาวเชียร์เบียร์แบบในบ้านเราคงไม่ถูกต้องนัก เพราะหน้าที่ของพวกเธอแทบไม่ต้องเชียร์เลย เนื่องจากในสังคมญี่ปุ่นนั้น ใครที่เป็นแฟนเบียร์ยี่ห้อใด ก็จะรักใคร่อยู่เฉพาะเบียร์ยี่ห้อนั้น อย่างสุดใจ เรียกว่ามีแบรนด์รอยัลตี้สูงจริงๆ หน้าที่ของสาวเบียร์ในสนามแข่งขันเบสบอลเหล่านี้ จึงอยู่ที่การแบกถังเบียร์สดขึ้นหลัง โดยมีคันโยก สำหรับกดปั๊มรินเบียร์ใส่แก้ว มองดูคล้ายเป็นถังออกซิเจนของมนุษย์อวกาศ ในขณะเดียวกันในบางมุมมองก็เหมือนเกษตรกรกำลังฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชไม่น้อยเช่นกัน การดื่มเบียร์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสนามกีฬาก็ดีหรือที่อื่นๆ ในสังคมญี่ปุ่นไม่ได้ถูกทำให้กลายเป็นกิจกรรมผิดบาปเหมือนในบ้านเรานะคะ เพราะเขาถือว่าทุกคนต้องดูแลสุขภาพร่างกายและสติได้อยู่แล้ว จะมียกเว้นก็เฉพาะในยามที่ต้องขับขี่ยวดยานพาหนะ ซึ่งกฏหมายว่าด้วยการขับขี่ขณะมึนเมาหรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์เดชของแอลกอฮอล์นั้นหนักหน่วงมากจนไม่มีใครอยากเสี่ยง กระนั้นก็ดี ใช่ว่าการไปนั่งชมเบสบอลในสนามแข่งขันจะให้บรรยากาศแบบเดียวกันหมด เพราะด้วยเหตุที่การสร้างสนามเบสบอลในเขตเมืองใหญ่ๆ หมายถึงเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ทั้งค่าที่ดินและการก่อสร้าง สนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ จึงพัฒนาปรับปรุงให้มีความสามารถในการรองรับกิจกรรมได้หลากหลายขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงสนามกีฬาอย่างเดียว กิจกรรมที่เพิ่มมากขึ้นควบคู่กับความพยายามที่จะเอาชนะขีดจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศทำให้รูปแบบของสนามเบสบอลรุ่นใหม่ๆ แปลงสภาพเป็นสนามในร่ม หรือ indoor stadium ซึ่งมีหลังคาปิดและควบคุมอุณหภูมิภายในด้วยเครื่องปรับอากาศ เพื่อนชาวญี่ปุ่นของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอพูดถึงสนามเบสบอลแบบที่มีหลังคานี้ด้วยภาษาไทยที่น่ารักแบบของเธอว่า “สนามที่มีฝาปิด” ส่วนสนามเบสบอลแบบดั้งเดิมก็ถูกเธอเรียกว่า “สนามไม่มีฝา” ซึ่งฟังแล้วก็ให้ความรู้สึกชัดเจนและน่าเอ็นดูไปอีกแบบหนึ่ง แม้ว่าเธอจะเป็นแฟนของทีม

Read More

Be Prepared! จงเตรียมพร้อม!

 ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าผู้เขียนกำลังจะชวนท่านทั้งหลายไปเคลื่อนไหวอะไรนะคะ เพียงแต่บรรยากาศหลังจากชื่นมื่นระรื่นระเริงนับตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เชื่อว่าหลายท่านคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว กว่าจะนำพาความรู้สึกต่างๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุดให้กลับมาเป็นปกติ ก่อนจะเดินหน้าสู่การทำงานอีกครั้ง หรืออาจมีบางท่านเตรียมตัววางแผนที่จะไปพักผ่อนยาวๆ อีกครั้ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่นานนับจากนี้แล้วก็ได้ ขณะที่ผู้ที่มีเยาวชนในการดูแล คงต้องเตรียมความพร้อมให้บุตรหลานสำหรับการเริ่มต้นภาคเรียนใหม่ที่กำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา และหลายท่านอาจเป็นกังวลอยู่กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบุตรหลาน โดยเฉพาะที่กำลังขยับชั้นเรียนจากประถมเข้าสู่มัธยม หรือจากมัธยมไปสู่ขั้นอุดมศึกษา สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือการรณรงค์ส่งเสริมการขายของในห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่ของเมืองไทยช่วงถัดจากนี้ มักจะอยู่ในธีมว่าด้วย สนุกหรรษารับลมร้อน มหาสงกรานต์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภาคบันเทิง ก่อนที่จะย้อนกลับมาเข้าสู่ธีมต้อนรับการเปิดภาคเรียน หรือ back to school กันอย่างเอิกเกริก แต่เด็กญี่ปุ่นซึ่งจะกลับเข้าโรงเรียนในช่วงต้นเดือนเมษายนที่กำลังจะมาถึงนี้ มีบรรยากาศการเตรียมตัวก่อนการเปิดภาคเรียนที่ดูจะแตกต่างกับความเป็นไปในบ้านเรา เพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมแห่งการเตรียมตัว และมักจะเป็นการเตรียมตัวล่วงหน้ากันเป็นปี หรือหากจะเป็นการส่งเสริมการขายทั่วไป ก็มักจะมีการเตรียมตัวกันเป็นฤดูกาล หรืออย่างน้อยก็ 2 เดือนขึ้นไป ตัวอย่างง่ายๆ หนึ่ง ก็คือตั้งแต่ผ่านพ้นการเฉลิมฉลองปีใหม่ ห้างสรรพสินค้าและร้านรวงต่างๆ ก็จะเริ่มประดับและวางสินค้าอันเกี่ยวเนื่องกับวันวาเลนไทน์กันแล้ว และเมื่อถึงวันวาเลนไทน์จริงๆ สินค้าที่วางขายกลับเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องแบบและกระเป๋านักเรียนที่จะต้องใช้ในเดือนเมษายน ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ หากหนุ่มสาวคนไหนที่อยู่ในญี่ปุ่น คิดจะหวังน้ำบ่อหน้าในช่วงใกล้ๆ ประมาณว่ารอให้นัดได้ก่อนแล้วค่อยเลือกซื้อของขวัญช่วงใกล้ๆ วัน อาจต้องรอไปถึงปีหน้าเลยก็ได้นะคะ เพราะเมื่อถึงวันแห่งความรักจริงๆ สินค้าก็อาจจะพอมีอยู่บ้าง แต่ก็จะน้อย และมักจะกลายเป็นสินค้าเกรดสอง เกรดสาม ซึ่งสะท้อนมาตรฐานของผู้ซื้อไปในตัว เรื่องชุดนักเรียน และอุปกรณ์การศึกษาของญี่ปุ่นก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน คือ ถ้าเตรียมตัวมาไม่ดี และหวังจะไปซื้อหาในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนเปิดเรียนเหมือนที่บ้านเราคุ้นเคย

Read More

กีฬาสี…ญี่ปุ่น

 ท่านผู้อ่านรู้สึก เหมือนผู้เขียนบ้างไหมคะว่า การจะหยิบจับเสื้อผ้าอาภรณ์มาใส่ในแต่ละวัน ในช่วงที่ผ่านมาดูจะลำบากและอึดอัดคับข้องกันเหลือเกิน เนื่องเพราะไม่ต้องการให้ถูกจับไปอยู่ฝั่งฟากของความขัดแย้งในมหกรรมกีฬาสีระดับชาติที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 3-4 ปี เรื่องราวของการแบ่งสีในสังคมไทย ไม่ได้จำกัดขอบเขตการรับรู้อยู่เฉพาะในบ้านเมืองเราเท่านั้น หากยังแพร่กว้างออกไปสู่การรับรู้ของต่างชาติ บางแห่งถึงกับออกประกาศเตือนนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อบางสี หากจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย Travel Advisory ดังกล่าว คงบ่งบอกนัยบางอย่างให้สังคมไทยบ้างไม่มากก็น้อย ในทางกลับกัน เรื่อง “สี” สำหรับสังคมญี่ปุ่นนั้น หากจะคิดถึงในเชิง “สัญญะ” ก็คงจะไม่พ้นสีขาวและสีแดง ซึ่งเป็นสีธงชาติของญี่ปุ่นนั่นเอง “สี” เช่นที่ว่า ก็เป็นอุดมคติของสังคมไทย ที่ต้องการเห็นคนไทยสำนึกในสีของธงชาติไทยร่วมกัน แต่สิ่งเหล่านี้กลับเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องเรียกร้องกันอย่างหนาหูเพิ่มขึ้น เหมือนกับว่าความสำนึกดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่  หากจะมองประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอยู่ที่ ความสำนึกในเรื่องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นท่ามกลางการกล่าวอ้าง หรือเกิดขึ้นจากการรณรงค์ร้องขอกันเป็นห้วงๆ เพราะการปลูกฝังในเรื่องของความเป็นหมู่คณะ หรือการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสังคมญี่ปุ่น เป็นดอกผลของรูปการณ์จิตสำนึก จากการฟันฝ่าความทุกข์ยากของชาติ และเรียนรู้พัฒนาจากสิ่งเหล่านั้นร่วมกันอยู่เสมอ แม้ว่าโศกนาฏกรรม และความเห็นแก่ตัวในสังคมญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เหมือนกับทุกๆ สังคมในโลก แต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ของญี่ปุ่น ซึ่งปลูกฝัง “สิทธิ” และ “หน้าที่” อย่างชัดเจน แทบทุกระดับในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะการเน้นการมีส่วนร่วม และการทำงานเป็นหมู่คณะ ขณะที่ ยังคงเคารพ “สิทธิ” ความเป็นปัจเจก

Read More

ซากุระ ร่วง

 บรรยากาศของญี่ปุ่นช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนเมษายน คงไม่มีสิ่งใดโดดเด่นไปกว่า ดอกซากุระที่เริ่มทยอยผลิบาน พร้อมๆ กับการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ หลายท่านคงคิดถึงการเดินทางไป Hanami ชมความงามของดอกซากุระที่กำลังผลิบานถึงถิ่น ซึ่งสถานที่สำหรับชมดอกซากุระ แม้จะมีอยู่หลายแห่งหลายที่ แต่หนึ่งในจำนวนนั้น คงไม่พ้น Ueno park ซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวที่คนไทยคุ้นเคย ขณะที่ Aoyama Cemetery ก็ขึ้นชื่อโดดเด่นและมีความสวยงามไม่แพ้กัน แม้ชื่อและบรรยากาศโดยรอบจะให้ความรู้สึกที่แปลกแตกต่าง และละม้ายการไปเช็งเม้งในต่างแดนมากไปสักหน่อยก็ตาม  แต่การเปลี่ยนผ่านใช่ว่าจะเกิดขึ้นเฉพาะกับฤดูกาล เพราะชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ก็ดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้วย เพราะในวันที่ 1 เมษายนของทุกปีจะถือเป็นวันเริ่มต้นบริบทใหม่ๆ ของชาวญี่ปุ่นแทบทุกระดับชั้น  นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของปีงบประมาณใหม่ พนักงานเริ่มเข้าทำงานวันแรก โรงเรียนแต่ละแห่งจะเริ่มเปิดเทอมใหม่ในช่วงเวลานี้ด้วย ผู้เขียนเคยต้องพาลูกชายเข้าเรียนชั้นประถมหนึ่งในกรุงโตเกียว ซึ่งในวันแรกของภาคเรียน โรงเรียนจัดให้มีการปฐมนิเทศและพิธีฉลองการเปิดภาคเรียนโดยเชิญผู้ปกครองเข้าร่วมพิธี ซึ่งทั้งเด็กและผู้ปกครองต่างแต่งกายสวยงาม โดยคุณแม่จำนวนไม่น้อยจะแต่งชุดกิโมโนมาร่วมในโอกาสซึ่งถือเป็นวันสำคัญของชีวิตการเป็นนักเรียนเลยทีเดียว โดยมีฉากหลังของดอกซากุระเบ่งบานควบคู่กันไป นับเป็นการปฐมนิเทศ ที่มีสีสันที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยผ่านพบมาเลยก็ว่าได้ ขณะเดียวกันนักศึกษาจบใหม่ ซึ่งเพิ่งผ่านฉลองการรับปริญญาในช่วงเดือนมีนาคมและได้รับการคัดเลือกให้เป็นพนักงานในแต่ละบริษัท จะเตรียมตัวเริ่มชีวิตการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ภาพของขบวนแถวของผู้ปกครองและเด็กประถมหนึ่งที่เข้าเรียนในวันแรก ที่เคลื่อนผ่านแถวของพนักงานใหม่ จึงเป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ทั่วไปในเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นในห้วงเวลานี้เช่นกัน ถามว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าหนุ่มสาวที่กำลังเดินผ่านเราเป็นพนักงานใหม่ของบริษัท ขอเรียนว่ามีวิธีสังเกตได้ไม่ยากเลย เพราะพนักงานใหม่ของแทบทุกบริษัทซึ่งต้องผ่านการอบรมจากบริษัทที่รับเข้าทำงาน จะต้องสวมเชิ้ตขาว กระโปรง หรือกางเกงสีดำ สวมเสื้อสูท โดยผู้ชายต้องผูกเนกไทสีดำ และพวกเขาจะต้องอยู่ในชุดที่ว่านี้ไปนานกว่า 1 เดือน จนกว่าการอบรมจะสิ้นสุด ฟังดูเหมือนกลับไปเป็นนักเรียนใหม่ ใส่ยูนิฟอร์มอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้เขียนเข้าใจว่าหลายท่านอาจรำลึกถึงเมื่อครั้งเป็นนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่ง ซึ่งต้องมีพิธีรับน้องใหม่ นัยว่าเพื่อเป็นการละลายพฤติกรรม ในญี่ปุ่น เรื่องราวประมาณนี้ก็มีนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพนักงานใหม่นั้น

Read More

SUGAMO: ฮาราจูกุของ สว.

 เพื่อนๆ ของผู้เขียนทั้งที่อยู่ในแวดวงเครื่องแต่งกายหรือมีความสนใจใฝ่รู้เรื่องแฟชั่นล้ำสมัย มักชวนผู้เขียนไปเดินเตร็ดเตร่ สังเกตการณ์และสำรวจกระแสความนิยมล่าสุดของสังคมญี่ปุ่นอยู่เป็นระยะ ผู้เขียนเคยสังเกตและสนุกนึกตามประสาคนช่างคิดนึก พบจุดที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือภายใต้เส้นทางรถไฟสาย ยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งถือเป็นรถไฟสายหลักที่วิ่งรอบกรุงโตเกียวนี้ มีแหล่งรวมแฟชั่นของคนญี่ปุ่นในแต่ละช่วงวัยไว้อย่างน่าสนใจ               เพราะรถไฟที่วิ่งวนเป็นวงกลมรอบกรุงโตเกียวสายนี้ ทำหน้าที่ประหนึ่งหน้าปัดนาฬิกาแฟชั่นขนาดใหญ่ไปด้วยในคราวเดียวกัน ท่านผู้อ่านลองตามผู้เขียนมานะคะ บ่อยครั้งที่จุดเริ่มต้นของพวกเรามักเป็น ฮาราจูกุ (Harajuku) เพราะทำให้เห็นภาพกว้างของแฟชั่นญี่ปุ่นในแต่ละช่วงได้อย่างหลากหลาย  ความเป็นไปของแฟชั่นที่ฮาราจูกุ ส่วนใหญ่จะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายในวัยกำลังจะโต ตั้งแต่อายุ 13 ปีขึ้นไปหรือที่เรียกกันว่าโลว์ทีน (low teen) หรือกลุ่มนักเรียนมัธยมเป็นหลัก เทียบคร่าวๆ ก็คงคล้ายกับสยามบ้านเราในช่วงหนึ่ง แต่ฮาราจุกุ มีสีสันมากกว่ามาก แถมยังพรั่งพรูห้อมล้อมด้วยรายละเอียดที่บางครั้งก็เกินเลยไปกว่าที่จะนึกถึงว่ามีผู้คนสวมใส่เสื้อผ้าแบบนี้สัญจรไปบนท้องถนนได้จริงๆ  แต่หากเป็นกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษาตั้งแต่ระดับวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ย่านแฟชั่นหลักของพวกเขาก็จะเป็นแถวชิบูยา (Shibuya) ซึ่งมีร้านรวงเกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องประดับ เรียงรายอยู่มากมาย ภายใต้สนนราคาที่ไม่แพงนัก โดยเฉพาะหากเจาะลึกลงไปในรายละเอียด อาคาร 109 ของชิบูยา ซึ่งอยู่ตรงหัวถนนก็คงใกล้เคียงกับการไปเดินอยู่ในห้างแพลททินั่ม ที่ประตูน้ำเลยทีเดียว ส่วนแฟชั่นของผู้คนในวัยทำงานจะอยู่ขยับสูงถัดขึ้นไปอีกหน่อยเป็น ชินจูกุ (Shinjuku) ซึ่งก็คงให้ภาพที่ไม่แตกต่างจากสาวออฟฟิศเมืองไทยเดินชอปปิ้งแถวราชประสงค์เท่าใดนัก ในโปรแกรมท่องเที่ยวของบริษัททัวร์จากเมืองไทยส่วนใหญ่ หรือแม้ในหนังสือแนะนำสถานที่น่าสนใจในกรุงโตเกียว

Read More

ปัญหาทางจิตใจของเด็กๆ ผลกระทบที่เกิดจากสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย

 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมปีที่แล้ว ได้เกิดเหตุการณ์การต่อสู้อย่างรุนแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,300 คนเป็นอย่างน้อยภายในเวลาหนึ่งวัน เหตุการณ์นี้เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อประธานาธิบดี Bashar Al-Assad ได้สั่งการให้กองทัพทิ้งระเบิดเพื่อปราบปรามกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเขตเมืองกัวตาห์ (Ghouta) ซึ่งเป็นเขตชานเมืองของกรุงดามัสกัส (Damascus) เมืองหลวงของประเทศซีเรีย (Syrian Arab Republic) หลังจากการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยืดเยื้อมานานกว่า 29 เดือนแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นสงครามกลางเมืองของประเทศซีเรียที่ใช้ความรุนแรงมากที่สุด  ชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มขึ้นจากการที่ประชาชนในหลายประเทศของกลุ่มตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาเหนือได้ลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลของตัวเอง เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลงจากตำแหน่ง หลังจากที่ผูกขาดอำนาจในประเทศมานานหลายทศวรรษ การเรียกร้องในครั้งนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2553 เป็นต้นมา เริ่มตั้งแต่ประเทศตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน เป็นต้น ประเทศซีเรียเองก็เป็นหนึ่งประเทศในตะวันออกกลางที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องในครั้งนี้เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เรียกว่า Arab Spring (อาหรับสปริง หรือการปฏิวัติในประเทศอาหรับ) สงครามกลางเมืองซีเรียในครั้งนี้ยังคงดำเนินต่อไปและไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ จากการต่อสู้ในครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ปี 2556 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด73,455 ราย

Read More