Home > On Globalization (Page 20)

แต่งงานกันไหม?

 ผู้เขียนเชื่อว่าเหตุผลของการแต่งงานหรือไม่แต่งงานของแต่ละท่าน คงเป็นไปอย่างหลากหลาย และมีมิติของความรู้สึกที่มากมาย ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่แต่ละท่านจะเลือกหยิบนำมาอธิบาย แต่สำหรับในญี่ปุ่น ซึ่งเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ความกลัวและรู้สึกเปลี่ยวเหงาได้ก่อให้เกิดทัศนะใหม่ๆ ว่าด้วยการแต่งงานที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ ท่านผู้อ่านลองนึกและจินตนาการถึงภาพของผู้คนมากมาย ที่ต้องสัญจรด้วยเท้าเป็นเวลานานนับ 10 ชั่วโมงเพื่อกลับบ้านหลังจากที่ระบบขนส่งมวลชนล่มสลาย เพราะแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย หากว่าแต่ละคนกลับรู้สึกโดดเดี่ยวอย่างจับใจดูซิคะ ความรู้สึกที่ว่าทุกคนพร้อมที่จะตายลงไปโดยไม่มีใครห่วงหาอาทร สั่นคลอนห้วงอารมณ์ของผู้คนจำนวนมาก และทำให้หลายคนคิดถึงการแต่งงานในฐานะที่อย่างน้อยก็จะได้มีใครสักคนมาร่วมแบ่งปัน ให้ได้ร่วมรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เรื่องการแต่งงานนี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ แต่ครั้นจะลองเริ่มต้นสานสัมพันธ์กับใครสักคนก็คงใช้เวลาพอสมควรเลยเหมือนกัน นี่จึงกลายเป็นที่มาของธุรกิจ “จัดการจับคู่แต่งงาน” (arranged marriages) ที่กำลังกลับมาได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอีกครั้งในขณะนี้ จริงๆ แล้ว วิถีปฏิบัติว่าด้วย  arranged marriages ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม male dominant แบบญี่ปุ่นนะคะ เพราะก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 วิถีปฏิบัติเช่นว่านี้นับว่าเป็นเรื่องปกติสามัญ  ก่อนที่ในยุคหลังสงครามวิถีดังกล่าวจะลดระดับความนิยมลงไปเป็นระยะจากผลของค่านิยมแบบตะวันตกและความเป็นอิสระที่เพิ่มมากขึ้นของเพศหญิงทำให้ในทศวรรษ 1990  arranged marriages มีสัดส่วนเหลือเพียงไม่เกินร้อยละ 30 และกลายเป็นสิ่งพ้นสมัยในเวลาต่อมา ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมญี่ปุ่นได้ก่อให้เกิดวิถีใหม่ที่เรียกว่า โกคง (gokon) หรือการนัดบอดแบบหมู่คณะขึ้นมาเป็นช่องทางในการสานสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ โดยฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอย่างน้อยฝ่ายละคนอาจรู้จักกันมาก่อน นัดหมายที่จะพาเพื่อนหญิง-ชายของแต่ละฝ่ายในจำนวนที่เท่ากันเพื่อให้ครบคู่มาพบกัน เพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนา ซึ่งอาจนำไปสู่การสานสัมพันธ์ระหว่างคู่ที่จูนคลื่นตรงกันในอนาคต ข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ

Read More

ผู้หญิงเปรูถูกละเมิดสิทธิทางเพศด้วยการบังคับให้ทำหมัน

 ประเทศเปรูเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมืองหลวงคือ เมืองลิมา (Lima) ประเทศเปรูมีประชากรประมาณ 30 ล้านคน ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการมี 3 ภาษาด้วยกัน คือ สเปน เกชัว (Quechua)  และภาษาอีมารา (Aymara) สาเหตุที่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการก็เพราะประเทศเปรูเคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปนมาก่อน ผู้คนชาวเปรูประมาณ  84% จึงใช้ภาษาสเปนในการติดต่อสื่อสาร ในขณะที่ชาวเปรูอีก 13% ซึ่งมักอาศัยอยู่ในเขตชนบทจะใช้ภาษาเกชัว และชนกลุ่มน้อยประมาณ 1.7% จะใช้ภาษาอีมารา นอกจากนี้ผู้คนชาวเปรูมากกว่า 80% นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  ประเทศเปรูมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาล โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งนี้ได้ 5 ปี ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยกับประเทศเปรูมีความเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประชากรบางภูมิภาครวมไปถึงชนกลุ่มน้อย มีรายได้น้อยและไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็มักจะไม่รู้จักวิธีการคุมกำเนิด ทำให้มีลูกเยอะและกลายเป็นครอบครัวใหญ่ ที่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดูแลทุกคนในครอบครัว ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีมานานพอสมควรในเปรู ดังนั้นเมื่อประธานาธิบดีอัลแบร์โต ฟูจิโมริ (Alberto Fujimori) ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศเปรู ระหว่างปี 2533-2543 จึงได้ออกนโยบายคุมกำเนิดเพื่อควบคุมจำนวนประชากรที่ยากจน โดยการบังคับให้ผู้หญิงเปรูที่เป็นชนกลุ่มน้อยทำหมัน นโยบายคุมกำเนิดนี้

Read More

Make-Inu: สุนัขขี้แพ้

 การดูหมิ่นเหยียดหยามหรือแม้กระทั่งการทอนคุณค่าของผู้คนให้เสื่อมเสียศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ดูจะเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแทบทุกสังคมนะคะ และเป็นกรณีที่เกี่ยวเนื่องกับรากฐานและพัฒนาการทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมไม่น้อยเลย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นให้สามารถหลีกหนีปรากฏการณ์เช่นที่ว่านี้แต่อย่างใด สังคมญี่ปุ่นได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น Male Dominant Society มาอย่างยาวนาน แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเงื่อนเวลาในปัจจุบัน ทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นกลายเป็นขุมพลังในการขับเคลื่อนกลไกทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทวีบทบาทอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน บทบาทของผู้หญิงญี่ปุ่นในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดไว้เพียงการเป็นแม่บ้านที่ต้องดูแลความเรียบร้อยภายในบ้านและเลี้ยงดูกุลบุตรกุลธิดาอีกต่อไปแล้วนะคะ หากแต่สามารถยืนหยัดเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้น โดยมีสถานะของการเป็น Office Ladies หรือ OLs เป็นภาพจำลองที่กระตุ้นเร้าให้ผู้หญิงเข้าทำงานในระบบอย่างต่อเนื่อง การเกิดขึ้นของกลุ่มผู้หญิงทำงานในสำนักงานหรือ OLs ซึ่งถือเป็นชนชั้นใหม่ในสังคมญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็ติดตามมาด้วยราคาที่ต้องจ่ายพอสมควรทีเดียว อิสรภาพที่ได้มาจากการปลดเปลื้องพันธนาการของการพึ่งพิงรายได้จากฝ่ายชาย นอกจากจะส่งผลให้แนวโน้มความนิยมที่จะครองความเป็นโสดและใช้ชีวิตอิสระของสตรีญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งการยอมรับสถานะของผู้หญิงที่เป็น Single Parent ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้สตรีญี่ปุ่นในกลุ่มนี้พร้อมที่จะจับจ่ายเงินเพื่อบำรุงความสุขและความต้องการของพวกเธอได้อย่างเสรี วาทกรรมว่าด้วย “สุนัขขี้แพ้” (make-inu: มาเกะ-อินุ) ที่เหยียดหยามผู้หญิงในวัย 30ปีขึ้นไปที่เลือกจะใช้ชีวิตโสดโดยไม่แต่งงานและไม่มีบุตร ด้วยนัยที่บ่งชี้ว่าเป็นเพราะพวกเธอเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีคุณค่า และไม่มีใครต้องการ จึงต้องครองความเป็นโสดและอยู่ในโลกของพวกเธอเพียงลำพัง กลายเป็นประหนึ่งหอกแหลมที่ทิ่มแทงลงไปในความรู้สึกของหญิงสาวกลุ่มนี้ให้ต้องเผชิญกับความเจ็บแปลบไม่น้อย ขณะเดียวกันประพฤติกรรมในลักษณะ self satisfaction อย่างสุดโต่งของสตรีญี่ปุ่นกลุ่มนี้ ได้ก่อให้เกิดกระแสการค่อนขอดอย่างเสียหายและถึงขั้นกล่าวหาพวกเธอว่าเป็น parasite singles หรือ “คนโสดที่เป็นพยาธิของสังคม” เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ยุคเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา ผู้เขียนเชื่อว่าหากข้อกล่าวหาเหล่านี้ปรากฏขึ้นในสังคมไทย กลุ่มพิทักษ์สิทธิสตรีในสังคมไทยคงต้องลุกขึ้นทักท้วงและตอบโต้ผู้พูดว่าละเมิดหรือเหยียดหยามสตรีเพศอย่างไม่น่าให้อภัยแน่นอน เพราะไม่ว่าจะเทียบผู้หญิงเป็นสุนัข หรือพยาธิ ก็คงไม่งามและไม่บังควรอยู่แล้ว

Read More

เรามาลองคุยกัน

 เมื่อครั้งที่ผู้เขียนยังพำนักอยู่ในกรุงโตเกียวเมื่อหลายปีมาแล้ว กิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเติมและสานส่งให้ความคิดคำนึงบรรเจิดจนบางครั้งเตลิดเลยเถิดไป หนึ่งในนั้นก็คงเป็น Pecha Kucha นี่ล่ะค่ะ ที่ผู้เขียนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วยความถี่มากเป็นพิเศษ ความน่าสนใจของ Pecha Kucha ในกรุงโตเกียว ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบเจอ อยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งต้องเริ่มจากเจ้าของสถานที่จัดงานและรูปแบบกิจกรรมที่ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับหน่ออ่อนของการแลกเปลี่ยนทางความคิด ที่ก่อให้เกิดการต่อยอด ผลิดอกออกผลในเวลาต่อมา แนวความคิดเกี่ยวกับ Pecha Kucha ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่น หากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็ประมาณ chit-chat หรือ “มาคุยกัน” ในภาษาไทยบ้านๆ แบบเรา เกิดขึ้นจาก 2 สถาปนิก Astrid Klein และ Mark Dytham ที่เป็นหุ้นส่วนในบริษัท Klein-Dytham Architecture ที่ต้องการดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใน Super Deluxe ไนท์คลับแบบอันเดอร์กราวน์ อีกหนึ่งในธุรกิจที่พวกเขาได้ร่วมกันลงทุนสร้างขึ้นท่ามกลางการแข่งขันสูงในย่าน Roppongi ที่ขึ้นชื่อของกรุงโตเกียว ด้วยการสร้างเอกลักษณ์ให้ Super Deluxe กลายเป็นพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมแนวทดลองที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่น่าเชื่อนะคะว่าจากแนวความคิดด้านการตลาดที่หวังจะสร้างให้คลับอันเดอร์กราวน์ แห่งหนึ่งให้เป็นที่รู้จัก กลายเป็นว่า Pecha Kucha

Read More

ชีวิตอัตโนมัติ

 ท่านผู้อ่านระลึกถึงวัยเด็กหรือมีภาพจำเกี่ยวกับโหลของเล่นหยอดเหรียญ ที่ต้องมาคอยลุ้นว่าของเล่นที่บรรจุอยู่ในหุ้มพลาสติกหน้าตาเหมือนไข่ จะเป็นอะไรและใช่อย่างที่เราต้องการได้หรือเปล่าคะ เวลาที่ล่วงเลยมา นานมากจนทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่านอาจจะลืมหรือจำรายละเอียดได้ไม่ทั้งหมดหรอกนะคะ อีกทั้งด้วยวิทยาการและเทคโนโลยี ก็คงนำพาให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญพัฒนาไปไกลจนเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ จากเดิมที่มีสถานะเป็นเพียงอุปกรณ์หลอกเอาสตางค์จากเด็กๆ ซึ่งไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าสินค้าที่จะได้รับคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไปไหม มาสู่การเป็นเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่มีสรรพสินค้าแสดงให้เห็นและพร้อมที่จะให้เลือกซื้อได้ตามสะดวก เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นแผ่กว้างครอบคลุมในเกือบจะทุกกิจกรรมเลยทีเดียว ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารแบบ อิ่มด่วน ที่ผู้บริโภคจะต้องสั่งซื้ออาหารผ่านเครื่องสั่งซื้อก่อนที่จะนำตั๋วที่ได้ไปส่งให้บริกรซึ่งจะจัดอาหารให้ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย ความสะดวกของเหล่าเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือตู้หยอดเหรียญเหล่านี้ล่ะค่ะ ที่สร้างให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคอย่างหนักหน่วงในสังคมญี่ปุ่น เพราะนอกจากจะมีร้านสะดวกซื้อกระจายอยู่ทั่วทุกหัวมุมถนนแล้ว เครื่องจำหน่ายสินค้ายังเข้าไปเติมเต็มช่องว่างในระดับตรอกซอกซอยให้ครบถ้วนกระบวนความของการบริโภคอย่างสะดวกสบายอีกด้วย เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญไม่ได้มีภาพลักษณ์ว่าด้วยความสะดวกสบายเท่านั้นนะคะ เพราะในหลายกรณีเครื่องมือที่ว่านี้ยังกลายเป็นอุปกรณ์ในการดูดซับกำลังซื้อที่ทรงอานุภาพอย่างยิ่งยวด และบางครั้งดูจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่าเกรงขามสำหรับร้านสะดวกซื้อไปในคราวเดียวกันเสียด้วย เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอทำงานในสำนักงานที่มีเครื่องหยอดเหรียญสำหรับจำหน่ายเครื่องดื่มสารพัดชนิดอยู่ภายในบริเวณอาคาร ซึ่งนั่นทำให้เธอสมัครใจเป็นแฟนคลับของเครื่องหยอดเหรียญไปโดยปริยาย และมีค่าใช้จ่ายผ่านเครื่องมือที่ว่านี้วันละหลายพันเยนเลยทีเดียว จริงๆ แล้วจะเรียกเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเหล่านี้ว่าเครื่องหยอดเหรียญก็คงจะเป็นการดูแคลนไปสักหน่อย เพราะนอกจากจะมีช่องให้หยอดเหรียญ 100 และ 500 เยนแล้ว เครื่องอัตโนมัติเหล่านี้ยังมีช่องสำหรับใส่ธนบัตรอีกด้วย ลำพังมูลค่าของเงินเยน ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 100 เยน ต่อ 30 กว่าบาทไทย ท่านผู้อ่านคงจินตนาการได้นะคะว่า เครื่องดื่มกระป๋องหรือขวด ที่มีสนนราคาขั้นต่ำเริ่มที่หน่วยละ 150 เยน จะสร้างให้เกิดการแพร่สะพัดของเงินในระบบอย่างไร มูลค่าการค้าที่ดำเนินผ่านช่องทางของเครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญ เฉพาะในหมวดเครื่องดื่มเพียงลำพังก็มีมูลค่าหลายหมื่นหลายพันล้านเยนต่อปีแล้วล่ะค่ะ และหากสำรวจให้ครบทุกหมวดสินค้าก็คงเป็นตัวเลขที่มากมายชวนให้เวียนศีรษะเป็นแน่ และทำให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญมีสถานภาพเป็นดัชนีชี้วัดและกำหนดทิศทางเศรษฐกิจอย่าง อ้อมๆ ไปด้วย ขณะเดียวกันเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ยังมีมิติของการประดิษฐ์สร้างนวัตกรรมให้กับสังคมญี่ปุ่นไปด้วยพร้อมกัน ก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้เห็นภาพข่าวเครื่องจำหน่ายสินค้ารุ่นใหม่ ที่สามารถประเมินผลบุคลิกภาพของผู้ซื้อ ก่อนที่จะแสดงตัวอย่างสินค้าที่คาดว่าจะถูกใจกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายขึ้นมาให้เลือก เรียกได้ว่าทำรายการสินค้าเสนอขายให้ตรงกับโปรไฟล์ของผู้ซื้อกันเลยทีเดียว หากมองในมิติของรูปแบบการตลาดสมัยใหม่ ก็ต้องบอกว่านี่เป็นการเก็บรวมรวบประพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำไปสู่การสร้างข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่แยบคาย

Read More

การละเลยของมืออาชีพ

 เห็นภาพข่าวที่น่าเศร้าสลดของเรือเฟอรรี่ “เซวอล” รวมถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ควบคู่กับข่าวแผ่นดินไหวที่เมืองไทยครั้งล่าสุดแล้ว ทำให้รู้สึกว่าพิบัติภัยจากธรรมชาติจะไม่ใช่ภัยคุกคามที่น่าสะพรึงกลัวอย่างเดียวของมนุษยชาติแล้วล่ะค่ะ หากยังมีภัยจากน้ำมือของมนุษย์นี่ล่ะ ที่กำลังคุกคามสวัสดิภาพของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างกว้างขวางและเพิ่มระดับความรุนแรงไปตามขีดขั้นของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีไม่น้อยด้วยเช่นกัน ต้นเหตุของภัยร้ายที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความประมาทหรือหากกล่าวให้ถึงที่สุดเป็นการละเลยที่จะดำเนินการตามมาตรฐานของความเป็นมืออาชีพ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า โปรเฟสชั่นนอล เนคลิเจนซ์ (professional negligence) ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วถือเป็นเรื่องที่พร้อมจะนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย รุนแรง และเลวร้ายอย่างยิ่ง ตรรกะวิธีและหลักคิดว่าด้วยการกระทำผิดโทษฐาน “การละเลยของความเป็นมืออาชีพ” มาจากพื้นฐานที่ว่าบุคคลบางสาขาอาชีพย่อมต้องเป็นผู้มีทักษะและ/หรือได้รับการฝึกฝนให้มีความชำนาญอย่างยิ่งยวดเหนือกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของสาธารณชนทั่วไป ซึ่งย่อมหมายถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงกว่าระดับปกติที่พึงจะเป็น รวมถึงความคาดหวังทางสังคมที่ว่าบุคคลกลุ่มนี้จะสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ความล้มเหลวใดๆ ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตรวจสอบหรือแจ้งเตือนเหตุไม่พึงประสงค์ ที่นำไปสู่ความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้รับบริการ จึงนำไปสู่การเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างไม่ยากเลย ก่อนหน้านี้ กรณีว่าด้วยการละเลยของมืออาชีพอาจจะพบเห็นได้บ่อยในกรณีของผู้ประกอบอาชีพในด้านการให้บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล เพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็น-ความตายของคนไข้โดยตรง แต่ในปัจจุบันการฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวขยายไปสู่ผู้ประกอบการในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นนักกฏหมาย หรือแม้กระทั่งผู้รับเหมาก่อสร้าง หากบุคคลเหล่านี้เพิกเฉยหรือละเลยต่อประโยชน์ของลูกค้าและผู้รับบริการ รวมถึงสาธารณชนตามแต่กรณี ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่าภายใต้กฎหมายส่วนใหญ่ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมถูกกำกับจากข้อกำหนดว่าด้วย หน้าที่ในการเอาใจใส่ดูแลต่อผลประโยชน์ของสาธารณชนผู้จ้างวาน เพราะสาธารณชนเหล่านี้ย่อมต้องพึ่งพาทักษะและความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ รวมถึงการแจ้งเตือนและป้องกันความเสียหายอย่างมีเหตุผลจากผู้ประกอบวิชาชีพด้วย ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินหรือพบเห็นข่าวโศกนาฏกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องเล่นในสวนสนุกขัดข้อง หรือแม้กระทั่งเด็กติดหรือตกจากบันไดเลื่อนในศูนย์การค้ามาบ้างแล้ว กรณีเหล่านี้ในบางประเทศมีการฟ้องร้องข้อหาการละเลยของมืออาชีพกันอย่างเอิกเกริกและนำไปสู่การออกกฎข้อบังคับให้กับผู้ประกอบการเลยนะคะ ซึ่งในญี่ปุ่นก็เคยมีกรณีเช่นว่านี้ไม่น้อยเหมือนกัน กรณีที่น่าสนใจกรณีหนึ่งที่ทำให้มีการหยิบยก “การละเลยของมืออาชีพ” มาพิจารณาอย่างกว้างขวางในสังคมญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้นเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ในรอปปองงิ ฮิลล์ (Roppongi Hills) ซึ่งขณะนั้นนับเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงโตเกียว และกำลังจะฉลองวาระครบรอบขวบปีแรกของการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนนับล้านๆ คนจากทั่วทุกสารทิศได้เข้ามาสัมผัสความแปลกใหม่ แต่แล้วงานฉลองก็กลับกลายเป็นความเศร้า เมื่อเด็กชายวัย

Read More

น้ำกรดสาดหน้า อีกหนึ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงที่อิตาลี

 อิตาลีเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณยุโรปใต้ และเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ร่วมกันก่อตั้งสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) ขึ้นมา อิตาลีถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่อิตาลีจะเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม G8 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในกลุ่ม G8 นี้นับเป็นกว่า 50% ของเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าอิตาลีจะมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ติดอันดับโลก แต่ความปลอดภัยของผู้หญิงในประเทศนี้กลับมีน้อยมากๆ แม้อิตาลีจะออกกฎหมายใหม่มาเพื่อคุ้มครองผู้หญิงมากขึ้น แต่กฎหมายนี้ก็ยังคงล้มเหลวในการป้องกันความรุนแรงต่อผู้หญิงอิตาลี ความรุนแรงในครอบครัวมักเกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศอิตาลี ถึงแม้ว่าชาวอิตาเลียนจะได้รับการศึกษาที่ดี มีอาชีพการงานที่มั่นคงทั้งผู้ชายและผู้หญิง และผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งห้ามใช้ความรุนแรงไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น แต่ผู้หญิงในอิตาลีกับตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวอย่างที่คิดไม่ถึงเลยทีเดียว ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในอิตาลีนั้นถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกๆ ที่และทุกๆ ชนชั้นในสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลีเปิดเผยว่า ในจำนวนผู้หญิงทุกๆ 3 คน จะต้องมีหนึ่งคนที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความรุนแรงนี้เป็นปัญหาใหญ่และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสถานีตำรวจเกือบทุกสถานีถึงกับยกเลิกการรายงานจำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวในท้องที่ที่ตัวเองรับผิดชอบไปเลยก็มี เพราะมีคดีเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน การที่ตำรวจเกือบทุกสถานียกเลิกการรายงานจำนวนคดีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ทำให้สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่สามารถรายงานได้ว่า ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา มีจำนวนคดีความที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมากน้อยแค่ไหนในแต่ละพื้นที่  เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติไม่สามารถรายงานเรื่องจำนวนคดีความที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวได้ องค์กร Women Against Violence Europe (หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า WAVE) ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป (European

Read More

สร้างสรรค์แต่ไม่ปรุงแต่ง

 ภาพของผู้คนที่ยืนเรียงแถวรอคอยที่จะได้มีโอกาสเข้าไปเลือกซื้อสินค้าจากร้านเสื้อผ้าแบรนด์ดังจากญี่ปุ่น เมื่อคราวเปิดตัวในประเทศไทยแต่ละครั้งถือเป็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการธุรกิจจากญี่ปุ่นที่กำลังรุกเข้ามาสร้างสีสันให้กับแวดวงธุรกิจไทยไม่น้อยเลยนะคะ แม้ว่าความคุ้นเคยของคนไทยที่มีต่อสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์จากญี่ปุ่น อาจทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวสามัญธรรมดา ขณะเดียวกันก็อาจประเมินได้ว่านี่คือกระแสธารของโลกทุนนิยมและความเป็นไปในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ดำเนินอยู่ไม่แตกต่างจากกรณีอื่นๆ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งยังปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า การขยายบริบททางธุรกิจของผู้ประกอบการญี่ปุ่นออกสู่ตลาดภายนอกประเทศอาจเป็นหนึ่งในหนทางรอดทางธุรกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้ ท่ามกลางความชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายในญี่ปุ่นเองด้วย การจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ 1960 ถึง1980 และได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ” กลายเป็นกับดักที่ส่งผลให้เกิดภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกออกและทำให้ระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระเทือนอย่างหนักหน่วงในระยะเวลาหลังจากนั้น  ถ้าจะถามว่าความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบันมีความรุนแรง หนักหนาเพียงใด ก็คงพิจารณาได้จากการประเมินและเรียกขานช่วงเวลาดังกล่าวของนักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ระบุว่าเป็น ทศวรรษที่หายไป หรือ เดอะ ลอสต์ เดเคด (the Lost Decade) ขณะที่บางรายเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าเป็น ปีที่สูญเปล่า (the Lost Years) ของญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว แต่ภายใต้ซากปรักหักพังของเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งมีบริษัทใหญ่ๆ ตกเป็นเหยื่อที่มีสภาพไม่ต่างจากผีดิบที่ไม่สามารถเติบโตและสร้างผลกำไร เพื่อมาหล่อเลี้ยงองคาพยพทางธุรกิจได้มากนัก กลับเปิดโอกาสให้บริษัทเล็กๆ ที่ค่อยๆ สะสมทุนจากระดับท้องถิ่น ก้าวขึ้นมาเติมเต็มช่องว่างของการขับเคลื่อนกลไกทางเศรษฐกิจที่หายไปทีละน้อย และมีผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของญี่ปุ่นที่ทำให้เกิดเป็นเทรนด์ใหม่ในเวลาต่อมา การเกิดขึ้นของทั้ง MUJI และ Uniqlo เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจไม่น้อยในกรณีที่ว่านี้ เพราะหากย้อนหลังกลับไปในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ ทั้งสองบริษัทยังมีสถานะเป็นเพียงผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่น หรือหากกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายก็ต้องบอกว่าเป็นเพียงเอสเอ็มอี ที่คงไม่มีใครให้ความสนใจเป็นแน่ ทั้งสองบริษัทมีจุดเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์จากห้วงเวลาที่ใกล้เคียงกันในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 ซึ่งสังคมญี่ปุ่นโดยรวมกำลังเริงร่าอยู่กับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ไต่ระดับพุ่งทะยาน

Read More

พฤกษาแห่งท้องนภา

 วันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ถือเป็นวันพิเศษเนื่องในโอกาสครบรอบสองปี ที่ Tokyo Skytree ได้เปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เยี่ยมชม และทำให้สัญลักษณ์ของเมืองภายใต้ชื่อ Tokyo Tower ที่ยืนยาวมานานกว่าครึ่งศตวรรษ และถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเกือบทุกรายต้องไม่พลาดเมื่อมีโอกาสไปเยือนกรุงโตเกียว กำลังจะเหลือเพียงรอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองให้กล่าวขานเสียแล้ว เพราะการมาถึงของหอคอยสูงแห่งใหม่ ที่แทงยอดเบียดแทรกขึ้นสู่ท้องฟ้า มาเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรมและสืบทอดบทบาทเดิมของ Tokyo Tower ในนาม Tokyo Skytree แห่งนี้ได้ก้าวขึ้นมาแทนที่ความจำเริญครั้งเก่าอย่างสมบูรณ์ โครงการก่อสร้างหอคอยสูงแห่งใหม่ในกรุงโตเกียวนี้ ไม่ใช่โครงการที่เพิ่งเริ่มคิดดำเนินการนะคะ หากแต่เป็นโครงการที่ผ่านกระบวนการถกแถลงในวงกว้างมายาวนานหลายปี ทั้งในเรื่องของการออกแบบรูปลักษณ์ของตัวหอคอย การหาทำเลที่ตั้ง หรือแม้กระทั่งชื่อหอคอยสูงแห่งใหม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรดี ก่อนที่จะได้บทสรุปที่ชื่อ Tokyo Skytree หรือพฤกษาแห่งท้องนภานี่ล่ะคะ ความคิดที่จะก่อสร้างหอคอยสูงแห่งใหม่ในกรุงโตเกียวนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้รากฐาน แต่เป็นผลมาจากการที่ญี่ปุ่นมีนโยบายจะปรับเปลี่ยนให้การแพร่ภาพสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบ analog ไปสู่การส่งสัญญาณแบบ digital ในอนาคต กรณีที่ว่านี้ ทำให้บทบาทของ Tokyo Tower แห่งเดิม ซึ่งเป็นที่ติดตั้งจานรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และรายได้ที่ประมาณกันว่ามีจำนวนมหาศาลกว่า 2.7 พันล้านเยนต่อปี ได้รับผลกระเทือนทันที เพราะด้วยความสูง 333 เมตรของ Tokyo Tower

Read More

พจนานุกรม แบรนด์เนม

 ท่านผู้อ่านเคยนึกถึงเวลาเดินเข้าร้านหนังสือแล้วพบว่ามีมุมหนึ่งของร้านจัดวางพจนานุกรม หรือ dictionary ที่พร้อมจะแปลความหมายของคำจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง หรือแม้กระทั่งขยายความของคำจากภาษาเดียวกันให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไหมคะ ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องแปลกเลยนะคะ เพราะทุกคนย่อมต้องมีโอกาสพบกับข้อติดขัดในการใช้และสื่อสารทางภาษากันทั้งนั้นจริงไหม ไม่นับรวมแนวความคิดที่ว่าหนังสือที่มีความน่าสนใจ เพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็นมาและเป็นไปของทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของมนุษยชาติ ที่ประกอบส่วนขึ้นด้วย มหาคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์อัลกุรอาน และพระไตรปิฎก หรือแม้กระทั่งหลักธรรมคำสอนและมหาตำนานแห่งปวงเทพในศาสนาใดๆ แล้ว ก็เห็นจะมีพจนานุกรมนี่แหละที่เป็นหนังสือที่นอกจากจะบรรจุคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารในสังคมมนุษย์แล้ว พจนานุกรมที่มีการรวบรวมคำศัพท์อย่างกว้างขวาง ยังถือเป็นแหล่งที่อุดมด้วยความรู้ไม่รู้จบอีกด้วย แต่ถ้าหากว่า เมื่อท่านผู้อ่านพบว่า พจนานุกรมที่วางตระหง่านอยู่เบื้องหน้ากลายเป็นพจนานุกรมว่าด้วยแบรนด์สินค้าชื่อดังต่างๆ ที่มาพร้อมกับคำอธิบายว่าด้วยประวัติความเป็นมา และจุดกำเนิดของสินค้าแต่ละชนิดด้วยล่ะคะ ผู้เขียนคิดว่าพจนานุกรมเล่มนี้น่าจะเป็นงานที่น่าสนใจที่สุดชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว อย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้เป็นไปไม่ได้ หรือจะมีใครหน้าไหนคิดนึกทำเรื่องที่ดูจะไม่เป็นเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้ เพราะในความเป็นจริงสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น และไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดของเด็กๆ ที่คิดสนุกอยากมีหนังสือที่มีชื่อตัวเองติดอยู่บนปกตามสมัยนิยมซะที่ไหน  หากเป็นงานที่รวบรวมขึ้นโดยนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่เพิ่มน้ำหนักความจริงจังให้พจนานุกรมที่ดูไม่น่าจะเป็นเรื่องนี้ เป็นเรื่องขึ้นมาจริงๆ ไม่ใช่ในฐานะนามานุกรมแบบแบรนด์ไดเร็คทอรี่ (brand directory) ทั่วไปที่อาจพบเห็นได้ไม่ยาก แต่เป็น Dictionary of Brand Names จริงๆ Masayoshi Yamada ศาสตราจารย์กิตติคุณในวัย 74 ปี จากมหาวิทยาลัยชิมาเนะในเมืองมัตสึเอะ คือนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ที่รวบรวมแบรนด์สินค้าชื่อดังกว่า 6,500 รายการมาบรรจุไว้ในพจนานุกรมว่าด้วยแบรนด์สินค้าฉบับภาษาอังกฤษ-ญี่ปุ่น ฉบับนี้ จะว่าไปนี่ก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เพราะความคิดของ Yamada ที่จะรวบรวมแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ในรูปของพจนานุกรมเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งที่เขาเดินทางไปเป็นนักวิจัยอยู่ในมหาวิทยาลัยแคนซัส

Read More