Home > Life (Page 41)

โมริซ อูทรีโย

 การเดินเล่นย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) เสมือนการเดินตามรอยอาร์ทิสต์ดัง ประเดี๋ยวๆ ก็เจอป้ายอธิบายว่า ณ ที่ตรงนี้วินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent Van Gogh) เคยมาเขียนรูป บ้านนี้เคยเป็นสตูดิโอทำงานของปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) บ้านโน้นปิแอร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir) เคยมาพำนัก ตามมาด้วยเอดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) ราอูล ดูฟี (Raoul Dufy) โอตง ฟรีซ (Othon Friesz) และโมริซ อูทรีโย (Maurice Utrillo) แม้ชาวอเมริกันเห็นว่าปารีสมิใช่ศูนย์กลางของ “วัฒนธรรม” อันรวมถึงศิลปะอีกต่อไปแล้ว หากอาร์ทิสต์จากประเทศต่างๆ ก็ยังมุ่งมาปารีส หมายที่จะ “เกิด” เฉกเช่นอาร์ทิสต์รุ่นก่อนๆ นอกจากนั้นย่านมงต์มาร์ทร์ยังจัดสุดสัปดาห์เปิดบ้านอาร์ทิสต์ ทำให้ตระหนักความจริงข้อนี้Pinacothèque de Paris

Read More

ไปเที่ยวชาโต เดอ วิลลาร์โซส์

รับประทานอาหารกลางวันในสวนที่บ้านของน้องชายคนข้างเคียง เป็นวันแรกในปลายเดือนกรกฎาคมที่มีแสงแดดให้เห็น แล้วเป็นแดดแรงเจิดจ้าที่สาวไทยไม่ชอบ ก็ 34 องศาน่ะ ไม่มีพัดลมปัดเป่า ต้องอาศัยลมธรรมชาติที่แผ่วเต็มที หลังจากนั้นผันผายไป Vexin français ข้อต่อของอิล-เดอ-ฟรองซ์ (Ïle-de-France) และนอร์มองดี (Normandie) เพื่อมุ่งไป Domaine de Villarceaux ปราสาทที่มีสวนสวย อยู่ห่างจากกรุงปารีส 65 กิโลเมตรDomaine de Villarceaux มีบริเวณกว้างขวาง 70 เฮกตาร์ การทำนุบำรุงดีมากแม้จะมีคนสวนเพียง 2 คนเท่านั้น ตัวปราสาทในศตวรรษที่ 12 เป็นไม้ อยู่ใกล้ๆ กับวัดเบเนดิกตีน (bénédictine) ซึ่งกษัตริย์หลุยส์ที่ 6 (Louis VI) ให้สร้างสำหรับแม่ชี ซึ่งต่อมาถูกทำลายและสร้างเป็นปราสาทเล็กๆ ขึ้นแทนโดยใช้หินของวัดเบเนดิกตีนที่เหลืออยู่ ในศตวรรษที่ 13 ปราสาทไม้กลายเป็นป้อมปราการแข็งแรงเพราะเป็นแนวป้องกันชายแดนของกษัตริย์ฝรั่งเศส พอถึงยุคเรอแนสซองส์ (Renaissance) Domaine

Read More

เมืองงอย Simply Beautiful สวรรค์บนดินริมแม่น้ำอู

ลาว...ดินแดนแห่งสายน้ำและทิวเขา แม่น้ำหลายสายของลาวเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงคนในชาติโดยธรรมชาติของมันเองและยังคงเป็นเส้นเลือดทางเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง การล่องเรือชมความงามของสองฝั่งแม่น้ำถือเป็นกิจกรรมที่อยู่ในลำดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวเกือบทุกคนไม่ยอมพลาดเมื่อมาเยือนเมืองลาว และถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นจุดขายของ สปป.ลาว เลยก็ว่าได้ จุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ “เมืองงอย” เมืองเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของลาวเหนือ ถ้าการล่องเรือแม่น้ำโขงคือเสน่ห์ของเมืองหลวงพระบาง และการนั่งปล่อยอารมณ์ชมทัศนียภาพริมแม่น้ำซองเป็นความงามของเมืองวังเวียง การได้เสพความงามของธรรมชาติริมฝั่ง “แม่น้ำอู” เส้นเลือดใหญ่ของเมืองงอยก็ถือเป็นสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวเช่นกัน เราตั้งต้นที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ก่อนเดินทางโดยรถบัสจากซำเหนือมายังเมืองหนองเขียวและแวะพักที่หนองเขียวก่อนเดินทางต่อไปยังเมืองงอย รถออกจากซำเหนือราวๆ 08.30 น. มาถึงหนองเขียวเกือบสามทุ่ม รวมเวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง โดยรถคันดังกล่าวต้องเดินทางต่อไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งเป็นปลายทาง ใช้เวลาอีกราวๆ 12 ชั่วโมงเช่นกัน เรียกว่าวิ่งกันเป็นวันเลยทีเดียว การเดินทางโดยทางรถในลาวใช้เวลานาน เพราะถนนหนทางตัดเลียบเลาะไปตามเทือกเขา ทำความเร็วได้ไม่มากนัก รถทุกรอบทุกคันแน่นขนัดด้วยจำนวนผู้โดยสารและสัมภาระ การเดินทางมายังเมืองหนองเขียวก็เช่นกัน ผู้โดยสารและข้าวของเต็มรถ ที่นั่งไม่สบายนักแต่กลับไม่มีเสียงบ่นของคนบนรถ ทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวนั่งเบียดๆ กันไป ที่ไหนพอจะนั่งได้ก็ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นความเอื้ออาทรที่เห็นได้น้อยเต็มทีในสังคมเมือง หนองเขียว ชุมทาง Backpacker เมืองหนองเขียว หรือเมืองงอยใหม่ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมน้ำอู แม่น้ำใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศลาว จุดเด่นของเมืองหนองเขียวคือเป็นทั้งชุมทางรถ ชุมทางเรือ และชุมทางของเหล่า Backpackerหนองเขียวอยู่ห่างจากหลวงพระบางเมืองมรดกโลกและแหล่งท่องเที่ยวทอปฮิตเพียง 150 กิโลเมตร

Read More

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ถ้ำผู้นำ เมืองเวียงไซย

นอกจากความงดงามของธรรมชาติที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนแขวงหัวพัน แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวยอมเดินทางเป็นระยะทางไกลเพื่อมายังแขวงหัวพัน คือ อนุสรณ์สถาน “ถ้ำท่านผู้นำ” เมืองเวียงไซย สถานที่ที่มีร่องรอยของเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ที่ยังหลงเหลือให้ชนรุ่นหลังได้สัมผัส หลังจากชาร์จแบตเตอรี่ให้กับตัวเองด้วยธรรมชาติที่งดงามของเมืองซำเหนือ แขวงหัวพันแล้ว เป้าหมายต่อไปของเราคือ “เมืองเวียงไซย (Vieng Xia)” เมืองเล็กๆ ที่อยู่ในแขวงหัวพัน อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว เมืองเวียงไซย อยู่ห่างจากซำเหนือซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงหัวพันเพียง 30 กิโลเมตร มีรถสองแถวขนาดเล็กวิ่งรับส่งจากซำเหนือไปเวียงไซยวันละหนึ่งรอบในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นรถประจำเส้นทางแต่ก็ไม่ได้วิ่งทุกวันขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร เพราะความที่เมืองเวียงไซยอยู่ไม่ไกลจากซำเหนือ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงใช้พาหนะส่วนตัวและรถอีแต๋นเอาเสียมากกว่า อีกทางหนึ่งคือเช่ารถสองแถวที่วิ่งบริการในเมืองซำเหนือ คล้ายกับรถแท็กซี่จะแชร์ค่าโดยสารกับคนอื่นหรือจะเหมาทั้งคันก็ได้ รถสองแถวลักษณะนี้มีอยู่เยอะ ตกลงนัดแนะเวลาและเจรจาค่าโดยสารได้กับคนขับโดยตรง มีทั้งแบบเหมาทั้งคันเพื่อไปส่งที่เวียงไซยอย่างเดียว แบบนำเที่ยวด้วย หรือจะพาไปส่งและรอรับกลับ สนนราคาแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ได้แพงจนเกินไปนัก นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยวเมืองเวียงไซยแบบเช้าไปเย็นกลับ การเลือกใช้บริการเหมารถสองแถวถือว่าสะดวกทีเดียว แต่มีอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวผมทองคือการเช่ารถมอเตอร์ไซค์ขับไปเอง ขับรถขึ้นเขาได้สัมผัสธรรมชาติแบบไม่มีอะไรปิดกั้น แต่ด้วยความที่เส้นทางจากซำเหนือไปยังเมืองเวียงไซยยังคงเป็นถนนที่ตัดเลียบเลาะเทือกเขา ดังนั้นความชำนาญในการขับขี่และคำนึงถึงความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อการเดินทางจะได้ไม่หยุดชะงัก จากซำเหนือเราใช้เวลาเดินทางไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็มาถึงเมืองเวียงไซย ซึ่งตลอดเส้นทางยังคงเป็นป่าเขาและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์งดงามอันเป็นเสน่ห์ของแขวงหัวพัน เมืองเวียงไซย เมืองเล็กๆ ที่อยู่ห่างไกล แต่ถือเป็นเมืองที่เป็นหัวใจของการท่องเที่ยวของแขวงหัวพัน เพราะเป็นเมืองที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม ป่าไม้เขียวขจี ทุ่งนายาวเหยียดที่ทอดไปตามแนวภูผา ภูเขาหินปูนที่ตั้งเรียงรายเสมือนหนึ่งเป็นกำแพงทางธรรมชาติที่โอบล้อมเมืองทั้งเมืองไว้ มีบึงขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง และเป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปีแม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนก็ตาม ถ้ำผู้นำ แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวแห่งเมืองเวียงไซย สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเมืองเวียงไซยไม่ได้มีเฉพาะธรรมชาติที่งดงามเท่านั้น

Read More

ยลธรรมชาติกลางขุนเขา จากเชียงขวางสู่หัวพัน

เสียงเพลงลาวที่บรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของแขวงหัวพัน ดังแว่วอยู่ในรถโดยสารระหว่างเมืองที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ภาษาที่ตรงไปตรงมา บวกกับท่วงทำนองของเครื่องดนตรีที่ดูเรียบง่าย ผสานกับทิวทัศน์สองข้างทาง ทำให้เราอิ่มเอมไปกับความงดงามของแขวงหัวพัน แม้จะยังเดินทางไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางก็ตามจากนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาว ศูนย์กลางความเจริญ และจุดตั้งต้นสำหรับการเดินทางต่อไปยังเมืองต่างๆ ของลาว เรามุ่งหน้าสู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตามรอยเส้นทางยุทธศาสตร์สมัยสงครามอินโดจีน ผ่านเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง ก่อนเข้าสู่แขวงหัวพัน ระยะทางจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังแขวงหัวพันราวๆ 640 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยทางรถเกือบ 22 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลามาตรฐานสำหรับการเดินทางโดยทางรถในลาว ดังนั้นเราเลือกจึงเลือกแวะพักเก็บบรรยากาศตามเมืองต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และทอนเวลาการเดินทางไม่ให้แต่ละครั้งยาวนานเกินไป จากเวียงจันทน์เราแวะพักที่เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง อดีตเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักช่วงสงครามอินโดจีน เมืองที่มีประวัติศาสตร์และร่องรอยของสงครามให้เราได้เห็นจนถึงทุกวันนี้ต่อจากเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง เราเดินทางด้วยรถโดยสารระหว่างเมืองจากสถานีขนส่งของแขวงเชียงขวาง สปป.ลาว เพื่อเดินทางไปยังเมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน การเดินทางด้วยวิธีนี้ ดูจะเป็นวิธีการเดินทางหลักของทั้งชาวลาวและนักท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้โดยสารที่อัดแน่นกันอยู่ภายในรถที่มีทั้งชาวลาว ชาวเขา และนักท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่จำนวนผู้โดยสารที่เต็มทุกที่นั่งของรถเท่านั้น แต่ปริมาณและขนาดของสัมภาระที่แต่ละคนนำมามีปริมาณมากจนเราไม่เชื่อว่าทั้งหมดนั้นจะสามารถเดินทางไปพร้อมเจ้าของได้สัมภาระทั้งหมดถูกจัดวางไว้ทุกซอกมุมของทั้งในตัวรถและบนหลังคา และทุกที่ที่พอจะวางได้ เป็นการจัดสรรพื้นที่ได้อย่างน่าทึ่งจริงๆ ด้วยความที่เมืองโพนสะหวันเป็นเมืองใหญ่ มีตลาดขนาดใหญ่ บรรดาชาวบ้านต่างเมืองจึงนิยมมาซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่เมืองนี้ ไปใช้และขายต่อในหมู่บ้านที่อยู่ไกลออกไป จึงไม่แปลกที่รถโดยสารจะอัดแน่นด้วยสัมภาระเหล่านั้นรถโดยสารระหว่างเมืองดูจะเป็นที่นิยมของทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว สำหรับคนท้องถิ่นมันคือการเดินทางที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก สำหรับนักท่องเที่ยวมันคือการได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านและเสพความงามของธรรมชาติด้วยต้นทุนที่ถูกแสนถูก

Read More

เยือนถิ่นเมืองลาว ในท่ามกลางจินตนาการ AEC

เทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามา หลายคนเตรียมตัวสนุกกับการสาดน้ำดับร้อน หลายคนวางแผนเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ชีวิตให้กับตัวเองในช่วงวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง หลากหลายสถานที่ท่องเที่ยวคงผุดขึ้นมาเป็นตัวเลือกให้กับผู้ที่แสวงหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ วันนี้เราจะขอนำเสนออีกหนึ่งสถานที่ที่เหมาะกับการเติมพลังชีวิตให้กับตัวเอง กับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงกับไทย อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น...Battery of Asiaการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศลาวสำหรับคนไทยแล้วถือว่าสะดวกเพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ห่างกันแค่ลำน้ำโขงกั้นกลางเท่านั้น และมีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้านทั้งภาษา วัฒนธรรม แต่ในความคล้ายกันนั้นก็มีความต่างซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์และเป็นเสน่ห์เฉพาะของลาว ภายใต้ความสะดวกในการเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านนั้น เราต้องให้ความเคารพต่อระเบียบ กฎหมาย วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวลาว สิ่งใดที่เป็นข้อห้ามไม่พึงกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายเวลาเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ มารยาทที่ไม่ควรกระทำ ข้อห้ามในการถ่ายภาพในสถานที่บางแห่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงตระหนัก เพื่อไม่ทำผิดต่อกฎระเบียบของบ้านเมืองที่เราไปเยือน เพราะหากทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำแล้ว การต้องแก้ปัญหาขณะเดินทางท่องเที่ยวคงไม่ใช่เรื่องสนุกเป็นแน่สำหรับจุดหมายปลายทางของเราในครั้งนี้คือ “นครเวียงจันทน์” เมืองหลวงแห่งประเทศลาว ซึ่งการเดินทางไปยังนครเวียงจันทน์นั้นสามารถเลือกเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบประหยัดเวลาแต่ความสะดวกสบายสูงอย่างเครื่องบินซึ่งมีหลายสายการบินให้เลือกใช้บริการ หรือถ้าอยากจะขับรถไปเองก็สามารถทำได้ อีกทั้งยังสามารถใช้บริการการรถไฟไทยเส้นทาง กรุงเทพฯ–หนองคาย แล้วข้ามไปยังฝั่งลาวด้วยรถไฟระหว่างประเทศ หนองคาย-ท่านาแล้ง ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีจากฝั่งไทย ก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่ง อีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่เราอยากแนะนำคือ รถทัวร์ เส้นทางกรุงเทพฯ–เวียงจันทน์ ของบริษัท ขนส่ง จำกัด

Read More

จากวันครูสู่การพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

 ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับอนาคตผ่านกิจกรรมวันเด็ก และการวางรากฐานสู่ความสำเร็จผ่านกิจกรรมวันครู ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อย ช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันนี้ยังมีการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ภายใต้ชื่อ “การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand Constructionism Symposium 2013)” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มูลนิธิไทยคม และภาคเอกชน และมีพิธีเปิดงานที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมาหรือก่อนหน้าวันครูเพียง 1 วัน และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) อีกด้วย สาระสำคัญของการประชุมสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปการเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของคนไทย ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Constructionism ในบริบทต่างๆ แล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งการเน้นย้ำให้เห็นถึงทิศทางและการให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้  ทั้งในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาคการศึกษา การพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ห่างไกล และการพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่อยู่ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการประภาคารปัญญา หรือ The Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ที่ร่วมงานกับคณาจารย์จาก Massachusetts

Read More

Let it Go, Let it Flow @ ลอยละล่อง

 “อย่างเดียวที่สะท้อนตัวตนของผมกับแฟนคือ ชื่อโรงแรม ตอนนั้นเรากำลังโหยหาอิสรภาพมาก เราอยู่ใน “กรง” มาตลอด แล้ววันหนึ่งที่หลุดออกมา เราก็คงอยากลอยไปเรื่อยๆ ใจเย็นๆ เปรียบเหมือนชีวิตที่ไหลขึ้นลงไปกับน้ำ ไหลไปเรื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ไหลไปอย่างมีความสุข"คำบอกเล่าจากเจ้าของโรงแรมที่มีชื่อว่า “ลอยละล่อง” ซึ่งนอกจากบ่งบอกโลเกชั่นของโรงแรมที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อนี้ยังสะท้อนสิ่งที่หนุ่มใหญ่วัย 42 ปีคนนี้แสวงหามาตลอดชีวิต ที่ผ่านมาสราวุธ ศาสนนันทน์ เป็นอดีตครีเอทีฟในบริษัทเอเจนซี โฆษณาที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ในช่วงชีวิตการทำงานในวงการโฆษณาร่วม 20 ปี เขาฝากผลงานมาแล้วหลาย ร้อยชิ้นงาน เช่น เซ็นทรัลชุด “หนูผี”, สปอนเซอร์, ไวไวควิก, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และหม่ำวอยซ์ เป็นต้นขณะที่เรือด่วนเจ้าพระยามุ่งหน้าสู่สาทรได้ขับพ้นท่าเรือ ราชวงศ์ไปได้สักพัก ผู้โดยสารที่ชีวิตไม่เร่งรีบและจดจ่อกับการ เดินทางจนเกินไป หลายคนที่เงยหน้าขึ้นมามองทิวทัศน์สองฝั่งน้ำจะได้ชื่นชมกับภาพเจดีย์จีนทรงแปลกตางดงาม นั่นคือที่ตั้งของสมาคมเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า จีจินเกาะ”วิวฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านไม้สองชั้นอายุ 30 ปี ลอยปริ่มอยู่ เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา คือ “ลอยละล่อง” โรงแรมขนาด 7 ห้องพัก บนพื้นที่ที่เคยเป็นโรงงานน้ำปลา คลังสินค้า และท่าเรือทรงวาด ซึ่งอยู่ภายในรั้วของวัดปทุมคงคา ถนนทรงวาดเพราะมีบ้านอยู่ริมน้ำแถวบางลำพู ออฟฟิศอยู่ราชประสงค์ สราวุธชอบเดินทางด้วยเรือด่วน และทุกครั้งที่เห็นบ้านไม้หลังนี้ เขารู้สึกหลงใหล กระทั่งเจ้าของบ้านติดประกาศ ให้เช่า เขาจดเบอร์ไว้ แต่ก็นานกว่าที่จะได้โทรหา“วันที่มาดูบ้านเป็นวันอาทิตย์

Read More

เทศกาล “กินของเน่า” ยิ่งเน่า ยิ่งนัว

 หากร้านอาหารแห่งนี้เสิร์ฟ “แกงเขียวหวาน พริกแกงซากกุ้งเน่า” พร้อมขนมจีนน้ำยาป่าที่น้ำของปลานั้นเน่าค้างปี และน้ำพริกอ่องทำจากแผ่นถั่วรวมแบคทีเรีย ตบท้ายด้วยของหวานเป็นขนมถ้วยฟูที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ญาติเชื้อรา คุณจะ...ลุกหนีหรือลุยต่อ!!!คุณกิน “ของเน่า”!!! คุณนั่นแหละกินของเน่า ยิ่งเน่าก็ยิ่งอร่อย ยิ่งเน่าก็ยิ่งกิน และคุณกินของเน่าเข้าไปแล้ว ...นี่คือประโยคทักทายแรกที่ผู้ชมจะได้พบทันทีที่ก้าวเข้าสู่ห้องนิทรรศการ “กินของเน่า” ภาพที่เห็นคือบรรยากาศร้านอาหารหรูย่านทองหล่อแทนที่ชั้นวางโหลใส่เส้นพาสต้าสีสันสวยงามตามร้านอาหารอิตาเลียน แต่ร้านจำลองแห่งนี้เลือกที่จะจัดโชว์โหลปลาเน่าปลาหมักที่มีทั้งแบบเป็นต่อนและไม่เห็นตัวปลา สีสันตุ่นๆ กลิ่นก็ฉุนแรง ซึ่งล้วนแล้วแต่คัดมาจาก ไหปลาร้านานาประเทศในประชาคมอาเซียนปลาร้าเขมรเรียก “ปราฮ็อก” ฟิลิปปินส์เรียก “บากุง” เวียดนามเรียกว่า “มาม” มาเลเซียเรียก “เปกาซัม” หรือ “เบลาคัน” ขณะที่อินโดนีเซียเรียก “บากาแช็ง” พม่าเรียก “งาปิ๊” ส่วนลาวและอีสานบ้านเราเอิ้น “ปลาแดก”ว่ากันว่าปลาร้าไหแรกที่มีหลักฐานความเก่าแก่ที่สุดในประเทศใน “ประชาคมปลาร้า” ในภูมิภาคนี้มีอายุราว 2,500 ปี พบในหลุมศพ นี่เป็นพยานยืนยันว่าการกินปลาร้าเป็นวัฒนธรรมที่ถูกสืบสานตกทอดกันมายาวนานแต่ไม่ใช่แค่ดินแดนสุวรรณภูมิ ปลาร้ายังเกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลก ด้วยเหตุที่มนุษยชาติ เพิ่งมีตู้เย็นใช้เมื่อไม่นาน แต่ผักปลาก็ไม่ได้มีสมบูรณ์ในทุกฤดูกาล คนรุ่นก่อนจึงจำเป็นต้อง หาวิธีถนอมอาหารไว้กินยามขาดแคลน โดยใช้สิ่งที่มีอยู่รอบตัว อย่างเกลือและข้าวในการหมักปลาเพื่อยืดอายุของปลา แต่ผลพลอยได้คือรสชาติก่อนจะไปชมส่วนอื่น เจ้าหน้าที่ประจำนิทรรศการในชุดพนักงานเสิร์ฟสีดำทำหน้าที่เชิญผู้ชมเข้านั่งที่โต๊ะอาหาร พร้อมกับยื่นเมนูบุฟเฟต์อร่อยไม่อั้นแบบ “เน่าๆ” ประกอบด้วย 4 รายการอาหารของเน่าที่เอ่ยมาข้างต้นไม่ว่าจะเต็มใจเลือกหรือไม่ ทันทีที่บริกรรับออร์เดอร์ เพียงไม่นาน “เชฟชาคริต แย้มนาม” ก็ออกมาพูดถึงวิธีปรุงเมนูดังกล่าวพร้อมอธิบายว่าทำไมอาหารทั้ง 4 เมนูจึงถูกเรียกว่าเป็น “ของเน่า” ผ่านจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ยกตัวอย่างเมนูแกงเขียวหวาน เพราะแกงเขียวหวานมีส่วนผสมของพริกแกงและกะปิ ซึ่งกะปิเกิดจากการหมักซากเคย (กุ้งตัวเล็ก) กับเกลือ โดยเกลือจะทำหน้าที่คัดกรองเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออก เพราะจุลินทรีย์เชื้อร้ายจำนวนมากจะไม่ทนต่อเกลือ จากนั้นก็คัดกรอง “เชื้อร้าย” อีกครั้งด้วยการตากแดด  ผ่านการคัดกรองสองชั้น จุลินทรีย์ที่เหลือรอดส่วนใหญ่ ซึ่งเป็น “เชื้อดี” จะทำหน้าที่ปราบ “เชื้อร้าย” ที่หลงเหลืออยู่ อันเป็นการยืดอายุให้อาหาร โดยหากยิ่งทิ้งไว้นาน เอนไซม์ในเคยและจุลินทรีย์ที่เหลือรอดจะช่วยทำหน้าที่ปรุงรสให้กะปิหอมและอร่อยยิ่งขึ้นขณะที่ “กะปิ” เป็นตัวแทน “ของเน่าพลิกโลก” จากภาคใต้ ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องแกงและน้ำพริกหลากหลายชนิด ภาคเหนือก็มี “ถั่วเน่า” ที่เป็นเครื่องปรุง รสชาติที่กลายเป็นอัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานก็มี “น้ำปลาร้า” เป็นน้ำทิพย์ชูรสในแทบทุกเมนูอาหารพื้นบ้านทั้งวัตถุดิบและวิธีการในการทำกะปิ

Read More

สามอารมณ์ทดสอบ new BMW 320d

ฟ้ากว้าง ทางสวยที่เต็มไปด้วยเนินถนนสูงต่ำ ระหว่างเส้นทางตรัง-กระบี่ เหมาะสมกับการทดสอบรถสปอร์ตซีดาน the all-new BMW 320d สีแดงเพลิงคันใหม่หรูปราดเปรียวและโฉบเฉี่ยว เพียงเสียงสตาร์ทก็บ่งบอกเครื่องพลังทวินพาวเวอร์เทอร์โบ 4 สูบ วิ่งไปราวชั่วโมงถึงที่หมาย รถคันนี้กินน้ำมันดีเซลเพียง 22.7 กม.ต่อลิตรเท่านั้น ระดับการปล่อยของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาตรฐาน EU คือเฉลี่ยเพียง 117 กรัม/กิโลเมตร ความมั่นใจจากเครื่องยนต์ที่โดดเด่น เทคโนโลยี Twin Power Turbo 4 สูบ เร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งทันใจพุ่งจาก 0-100 กม/ชม.ใน 7.6 วินาที และสามารถเปลี่ยนระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดได้ฉับไว ถือเป็นค่ายรถยนต์แรก ที่ติดตั้งไว้ในรถพรีเมียมระดับกลาง เมื่อนึกอยากจะเปลี่ยนโหมดขับแบบสปอร์ตก็แค่ตบเปลี่ยนเกียร์ในระยะสั้นๆ ทำให้การขับรถคันนี้เร้าใจและนิ่มนวลตามใจต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกของ the all-new BMW 320d ตัวถังกว้างกว่าเดิมประมาณ +93

Read More