Home > Cover Story (Page 143)

เลนจักรยาน VS วินัยจราจร ไก่กับไข่ในสังคมจักรยานไทย

  อากาศดีท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ปัจจัยแวดล้อมที่เหล่านักปั่นปรารถนาและใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจนำจักรยานสองล้อคู่ใจออกไปปั่นแต่ละครั้ง บนเลนจักรยานระยะทางสั้นๆ ที่ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ เมื่อนักปั่นหัวใจสีเขียวไม่มีเส้นทางให้เลือกมากนัก จำนวนนักปั่นในไทยปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 ล้านคน และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งนี้แต่ละคนมีวัตถุประสงค์ในการขับขี่พาหนะสองล้อต่างกัน ทั้งเพื่อออกกำลังกาย การท่องเที่ยว การแข่งขัน และการเดินทางในชีวิตประจำวัน ซึ่งกลุ่มหลังนี่เองที่ยังมีจำนวนน้อยอยู่ นั่นอาจจะเพราะสภาพอากาศของไทยไม่เอื้ออำนวยนัก อีกทั้งเลนจักรยานในกรุงเทพฯ ก็กำลังรอการพัฒนาอย่างจีรัง  กระนั้นคำถามที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้คือ ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนที่จะเปิดกว้างหากสังคมจักรยานที่ใครหลายคนต้องการจะเกิดขึ้นจริง และเราจะออกแบบสังคมจักรยานนี้ให้เป็นอย่างที่วาดหวังได้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีเลนจักรยานอยู่หลายจุดแต่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังเป็นเส้นทางระยะสั้นๆ อย่างเลนจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์มีระยะทางรวมเพียง 8 กิโลเมตร แต่กลับสั่งสมปัญหาเอาไว้มากมาย ตั้งแต่การไม่มีเสาหลักกั้นเลนที่ชัดเจน การจอดรถทับและกีดขวางจนผู้ใช้จักรยานไม่สามารถปั่นไปบนเส้นทางนั้นได้อย่างเต็มที่ การแก้ปัญหาตามแบบวิสัยของไทยจึงเกิดขึ้น เมื่อการรณรงค์ขอความร่วมมือต่อเรื่องดังกล่าวไม่เป็นผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วย การห้ามหยุดหรือจอดตลอดเวลาบนถนนที่มีเส้นทางจักรยานทั้ง 12 เส้นทางในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2557 กระแสความนิยมจักรยานในไทยทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ จะเห็นได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพาหนะสองล้อที่มีทุกเดือน เช่นเดียวกับรัฐบาลที่สนับสนุนให้หน่วยงานภายใต้การปกครองออกไปดูงานยังต่างประเทศ เพื่อหวังให้มีแบบอย่างอันจะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ และผลจากการดูงานในแต่ละครั้งมักตามมาด้วยอภิมหาโปรเจกต์ โดยผู้รับผลประโยชน์ปลายทางคือประชาชน Land Mark ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คือโครงการใหม่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นโครงการถนนเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดได้ปรับมาเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างเลนจักรยาน โดยมีกระทรวงมหาดไทยและ กทม. รับลูกดูแลโครงการนี้ต่อ ภายใต้งบประมาณเบื้องต้นราว 14,000

Read More

เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ จาก “เอ็มโพเรียม” ถึง “เอ็มดิสทริค”

 ระยะเวลาเกือบ 20 ปี เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ กลายเป็น “มือขวา” ของ “ศุภลักษณ์ อัมพุช” ที่ดูเหมือนจะผ่านการพิสูจน์ดีเอ็นเอทางธุรกิจตรงกัน โดยเฉพาะการทุ่มทุนเปิดอภิมหาโครงการ “ดิ เอ็ม ดิสทริค” จุดเริ่มต้นคลิกขึ้นมาเมื่อ “ศุภลักษณ์” และ “เกรียงศักดิ์” กำลังคิดหาไอเดียสร้างบิ๊กโปรเจกต์ชิ้นใหม่ ทั้งสองคนหยิบภาพโครงการค้าปลีกระดับโลกแห่งหนึ่งตรงกันอย่างไม่ได้นัดหมายและจากวินาทีนั้นก็ลุยสร้างย่านการค้าระดับโลกใจกลางสุขุมวิทขึ้นมาทันที เมื่อ “ผู้หญิงมหัศจรรย์” ตามคำจำกัดความของเกรียงศักดิ์เจอกับลูกน้องที่มหัศจรรย์ไม่แพ้กัน สร้างหลายโครงการมหัศจรรย์ ตั้งแต่เอ็มโพเรียม สยามพารากอน  ดิ เอ็มดิสทริค และกำลังบุกขยายอาณาจักร “เดอะมอลล์กรุ๊ป” ทั้งโครงการบลูพอร์ต หัวหิน รีสอร์ต มอลล์ โครงการบลูเพิร์ล และโครงการแบงค็อกมอลล์ (Bangkok Mall) ซึ่งตั้งเป้าจะเป็นโครงการระดับแฟล็กชิป (Flagship Project) เป็นอาณาจักรศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และออฟฟิศ แบบครบวงจรที่ยิ่งใหญ่ ทันสมัย และสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ City within

Read More

สมรภูมิ “รามอินทรา” เดือด ยักษ์ค้าปลีก ลั่นกลองรบ

 แผนการขยายสาขาครอบคลุมสี่มุมเมืองของกลุ่มยักษ์ค้าปลีกกำลังเปิดฉากสงครามระลอกใหม่ โดยเฉพาะโซนกรุงเทพตะวันออก ย่านรามอินทรา ซึ่งล่าสุด เครือเซ็นทรัลเตรียมนับถอยหลังเปิดตัวศูนย์การค้า “เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสท์วิลล์” ปลายปีนี้ ประจันหน้ากับเจ้าถิ่น “เค.อี. แลนด์” เจ้าของโครงการ “เดอะ คริสตัล” ที่เร่งเดินหน้าโครงการเฟส 3 และค่าย “เดอะมอลล์” ซึ่งประกาศจะผุดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ช่วงชิงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายท้าชนคู่แข่งทั้งหมด ไม่นับรวมคอมมูนิตี้มอลล์ทั้งรายเก่าอย่าง “เดอะ วอล์ค” ของกลุ่มอินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ เฟสติวัลวอล์ค และนวมินทร์ซิตี้ อะเวนิว ของบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) อะมอรินี่ รามอินทรา ในเครืออมรพันธุ์กรุ๊ป รวมถึงรายใหม่ที่จะเผยโฉมออกมาอีกแห่ง  ต้องยอมรับว่า เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสท์วิลล์ เป็นจุดสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ โดยบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอ็น” วางกลยุทธ์รุกคืบรับการขยายตัวของกรุงเทพฝั่งตะวันออก ต่อออกจากย่านเอกมัยและสุขุมวิท ที่แออัดและไม่มีพื้นที่ขยายได้ รวมทั้งรองรับผู้อยู่อาศัยในย่านวัชรพลและใกล้เคียง เนื่องจากมีศักยภาพการเติบโตสูง โครงการหมู่บ้านใหม่ๆ

Read More

ศึกไดนิ่ง “เดอะมอลล์-เซ็นทรัล” ประชัน “แม็กเน็ต” ดูดลูกค้า

 ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2558 อาจอุดมด้วยวันธงชัย ฤกษ์ดี จนเป็นเหตุให้ห้างยักษ์ใหญ่ค้าปลีกระดับพรีเมียมของไทยจัดงานประชันกัน โดย 29 พฤษภาคม 2558 เดอะมอลล์กรุ๊ปจะจัดงานฉลองเปิดตัว “ดิ เอ็ม ดิสทริค (The EM District)” ย่านการค้าครั้งยิ่งใหญ่รอบที่ 3 ตามแคมเปญ “The World Extraordinaire Gala Celebration”  สร้างกระแส “Talk of The World” 3 รอบ 3 บรรยากาศ เริ่มจาก “แฟชั่น เอ็กซ์ตรอ ดิแนร์” (Fashion Extraordinaire) ตามด้วย “ไดนิ่ง เอ็กซ์ตรอดิแนร์” (Dining Extraordinaire) และปิดท้าย “เวิลด์ เอ็กซ์ตรอดิแนร์” (World Extraordinaire) โดยซุ่มกิจกรรมการแสดงระดับโลก “ทรีดี

Read More

100 ปี โคคา-โคล่า

 “นวัตกรรมคือหัวใจหลักในการดําเนินธุรกิจของโค้ก โค้กขวดแก้ว RGB (Returnable Glass Bottle หรือโค้กขวดแก้วชนิดคืนขวด) ถือกําเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2458 คือหนึ่งในความสําเร็จอันยิ่งใหญ่ที่เราจะได้เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี โค้กขวดแก้วในปีนี้” นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อํานวยการองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสารบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวในงานแถลงข่าวฉลอง 100 ปี โค้กขวดแก้ว เรียกได้ว่าเป็นตำนานน้ำอัดลม เลยทีเดียว เมื่อโค้กได้ก้าวขึ้นปีที่ 100 ในปีนี้ โค้กผ่านศตวรรษแรกของธุรกิจไปด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม ผู้ประกอบการได้วางแผนธุรกิจสำหรับอนาคตเพื่อควบคุมธุรกิจจากบนลงล่าง ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท           โคคา-โคล่า หรือที่รู้จักกันในนาม “โค้ก” ถือเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับ 1 ที่อยู่คู่โลกมายาวนาน และประสบผลสำเร็จอย่างมากในเครื่องหมายการค้า ที่มีคนรู้จักกันมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นคำที่ผู้คนทุกชาติทุกภาษา เข้าใจความหมายตรงกันเป็นอันดับ 2 รองจาก “OK”    โดยปัจจุบันโค้กได้ส่งความสุขให้ผู้บริโภคทั่วโลกมากถึง 1.8

Read More

ปั่นตามกระแส ดันตลาดจักรยานโต

 การออกกำลังกายไม่ใช่เพียงกิจกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นคนใส่ใจและรักสุขภาพเท่านั้น ในปัจจุบันการออกกำลังกายกำลังเป็นเทรนด์แฟชั่นที่คนรุ่นใหม่วิ่งตามจนกลายเป็นกระแสสังคม ไล่เรียงตั้งแต่โยคะ พิลาทิส T25 กระทั่งล่าสุด จักรยาน พาหนะสองล้อที่อาศัยแรงมนุษย์ คือเทรนด์ใหม่ที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และยังมีนักปั่นหน้าใหม่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่อง จักรยานเริ่มได้รับความสนใจเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ช่วงเวลาที่พีคสุดคือเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา จักรยานที่เรียกกันว่าฟิกเกียร์เริ่มเป็นที่นิยมจากกลุ่มเซเลบ ศิลปินนักแสดง และขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันรูปแบบของจักรยานถูกพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ความชอบของแต่ละบุคคล โดยจักรยานในตลาดไทยแบ่งได้เป็นสองประเภท 1. จักรยานบ้าน 2. จักรยานทางเลือก ซึ่งประเภทหลังนี่เองที่มีส่วนทำให้ตลาดจักรยานในไทยโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะจักรยานทางเลือกสามารถแบ่งย่อยได้อีก 5 กลุ่ม 1. จักรยานเสือภูเขา 2. จักรยานเสือหมอบ  3. จักรยานทัวริ่ง  4. จักรยานซิตี้ไบค์  5. จักรยานแบบพับได้  ความหลากหลายของจักรยานในปัจจุบันและกระแสความชื่นชอบของนักปั่นส่งผลให้ตลาดจักรยานในไทยมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 6,500 ล้านบาท โดย 70 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาดมาจากภูมิภาค 30 เปอร์เซ็นต์เป็นของตลาดจากภาคกลาง และธุรกิจนี้ยังเติบโต 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2558 แม้กระแสความนิยมจะยังไม่ตกและยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่มีการจัดสร้างเลนจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์

Read More

ตลาดน้ำดำ ระอุเดือดแข่งความซ่าส์

 ท่ามกลางอากาศร้อนระอุ ถ้าได้ดื่มน้ำอัดลม ซ่าส์ๆ เย็นๆ จะช่วยให้ดับกระหายคลายร้อนได้เกือบทันที จึงไม่แปลกใจว่าในช่วงหน้าร้อนถึงร้อนมากนี้ สินค้าที่ขายดิบขายดีคงหนีไม่พ้นน้ำอัดลม ไม่ว่าจะเป็นโค้ก เป๊ปซี่ หรือน้องใหม่อย่างเอส และรวมถึงผู้เล่นรายเล็กอื่นๆ อีกก็ตาม ขณะที่ผู้บริโภคเองก็สามารถดื่มได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีคำเตือน “ห้ามกินเกินวันละ 2 ขวด”   ตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมในประเทศไทยปี 2557 มีมูลค่า 47,330 ล้านบาท มีการเติบโต 3% จากปีก่อนหน้า โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าฯ เป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่ง 58% โดยในปีนี้ก็คาดว่าตลาดน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสภาพอากาศและเศรษฐกิจ และด้วยมูลค่าการตลาดที่สูงและมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง บรรดาค่ายน้ำดำหน้าใหม่ หน้าเก่า  ต่างงัดกลยุทธ์การตลาดพร้อมแคมเปญมาช่วงชิงตลาด ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนที่เอื้ออำนวย  ประเดิมด้วยเบอร์หนึ่ง แบรนด์โคคา-โคล่า หรือโค้ก ที่เน้นให้ความสดชื่น ที่ครองส่วนแบ่งตลาดกว่าครึ่ง ซึ่งในปีนี้โค้กฉลอง 100ปี โค้กขวดแก้วร่วมกับโค้กทั่วโลก ด้วยการออกแคมเปญ “100 ปี โค้กขวดแก้ว อร่อยซ่าตัวจริง” โดยทุ่มงบด้านการตลาดสูงถึง 450 ล้านบาท โดยมี key

Read More

ทวาย: ความเคลื่อนไหวในสายลมแล้ง กลางสนามประลองของมหาอำนาจ

 ข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย กลับมาอยู่ในความสนใจและเป็นประเด็นให้ผู้ที่ติดตามใฝ่ถามหาข้อมูลกันอย่างคึกคัก หลังจากที่ตลอดเวลาที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวดูจะอุดมไปด้วยความคลุมเครือและไม่ปรากฏท่วงทำนองในทิศทางที่แจ่มชัด ควบคู่กับความล่าช้าที่ทำให้หลายฝ่ายกังวลและสงสัยว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อหรือไม่ ย้อนหลังกลับไปอภิมหาโครงการแห่งนี้ ได้รับการประเมินจากหลายฝ่ายว่าเป็นความทะเยอทะยาน และกำลังจะเป็นการวางรากฐานการรุกคืบในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาครั้งสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบส่วนกับข้อเท็จจริงที่ว่าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายมิได้มีนัยความหมายจำกัดอยู่เฉพาะบริบทความเป็นไปในเมียนมาร์ หรือแม้แต่ประโยชน์ของเอกชนรายใดรายหนึ่งแต่เพียงลำพัง หากแต่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกำลังปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทั้งด้านการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมและการคมนาคมทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจขยายไปสู่บริบทที่กว้างขวางกว่านั้นด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ด้วยระยะทาง 160 กิโลเมตรของเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี จะมีสถานะเป็น land bridge เชื่อมโยงการค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่สั้นที่สุด ยังไม่นับรวมเส้นทางที่จะเชื่อมท่าเรือทวาย-กาญจนบุรี-แหลมฉบัง ในลักษณะที่จะเป็นอภิมหาโครงการที่เชื่อมโยงตะวันตก-ตะวันออกของไทย รวมถึงการต่อเชื่อมเข้ากับ Southern Corridor ที่จะมีท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่อยู่ในแผนพัฒนาเข้ามารองรับโครงการนี้ กระนั้นก็ดี ด้วยพื้นฐานและความสืบเนื่องของโครงการที่เกิดขึ้นจากรากและผลของการที่บริษัทเอกชนไทย ได้รับสัมปทานในการพัฒนาพื้นที่ ก่อสร้าง และหาแหล่งทุน ที่มีลำดับขั้นและพัฒนาการมาตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2551 ก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายตามระยะเวลาการเช่าที่ดิน เป็นเวลามากกว่า 75 ปี ในช่วงปลายปี 2553  ทำให้ความเป็นไปของโครงการที่ว่านี้ ได้รับการประเมินในมิติที่โครงการดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องราวระหว่างเอกชนไทยรายหนึ่ง ที่ได้เข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลแห่งเมียนมาร์ โดยที่เอกชนรายที่ว่าก็คงอยู่ในตำแหน่งและบทบาทไม่แตกต่างจาก “นายหน้าที่วิ่งเร่ขายโครงการ” ให้กับผู้ร่วมทุนหรือผู้ประกอบการรายอื่นๆ การดำเนินการของรัฐบาลไทย เพื่อผลักดันโครงการดังกล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ จึงถูกประเมินอย่างเคลือบแคลงว่าเป็นไปเพื่อการโอบอุ้มผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจในเครือข่ายอำนาจหรือไม่ หรือเป็นการเข้าร่วมโครงการอย่างมีวิสัยทัศน์ในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการกำหนดบทบาทและการพัฒนาในระดับภูมิภาค ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการสารนิเทศเกี่ยวกับโครงการทวายนี้มีความด้อยประสิทธิภาพและไม่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน หรือแม้แต่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีแนวทางและกำหนดบทบาทในเชิงยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ไว้อย่างไร และเมื่อ คสช. เข้ายึดอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ก็ดูเหมือนว่าโครงการทวายจะเป็นโครงการลำดับต้นๆ ที่

Read More

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว: ความเชื่อเรื่องสัตว์ และความอัปมงคล

 เหตุการณ์สะเทือนใจจากกรณีแผ่นดินไหวในเนปาล ซึ่งได้รับการเรียกขานว่า Himalayan Earthquake เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งในเบื้องต้นประเมินว่าอาจมีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 1 หมื่นราย และคิดเป็นความสูญเสียที่มีมูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังไม่นับรวมถึงผลสืบเนื่องที่จะเกิดและเกี่ยวเนื่องไปสู่โอกาสและอนาคตของเนปาลนับจากนี้ เหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ซึ่งสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง เกิดขึ้นเมื่อเวลา 11.56 น. ของช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 25 เมษายน และถือเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาล นับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล-รัฐพิหาร เมื่อ พ.ศ. 2477 ที่พรากชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นชีวิต ผลกระทบที่กำลังติดตามมาจากเหตุวิบัติภัยครั้งนี้ ส่งผลให้นานาชาติต่างส่งมอบและยื่นมือเข้าช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ความห่วงใยและน้ำใจไมตรีที่หลั่งไหลไปช่วยบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยในเนปาล แผ่กว้างทั้งในระดับรัฐ เอกชน และที่ดูเหมือนจะขาดไม่ได้ในยุคสมัยปัจจุบันก็คือ การใช้สื่อสังคมสมัยใหม่ เป็นจักรกลในการเชื่อมโยงและแสดงความรู้สึกผ่าน hashtag หลากหลายเพื่อสื่อสารร่วมแสดงความเสียใจต่อความสูญเสีย ขณะเดียวกัน ความกังวลใจในเรื่องผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในสังคมไทย ได้รับการอธิบายจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องในสาขาอาชีพต่างๆ อย่างหลากหลาย ถึงความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะเกิดเหตุวิปโยคเช่นนี้ และจะเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้อย่างไร ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ เหตุแผ่นดินไหวในหิมาลัยครั้งนี้ เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ภูเขาไฟคัลบูโกทางตอนใต้ของประเทศชิลี กำลังปะทุและระเบิด ปล่อยพ่นหมอกควันและเถ้าลาวาสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สินและภาวะเศรษฐกิจของชิลี ไม่น้อยเช่นกัน เถ้าถ่านและหมอกควันที่ถูกปล่อยออกมาจากแรงภูเขาไฟระเบิดได้ปกคลุมพื้นที่อาณาบริเวณกว้าง ซึ่งครอบคลุมแหล่งน้ำและพื้นที่เพาะปลูกและทุ่งหญ้าปศุสัตว์ ซึ่งมีการประเมินว่า

Read More

Le Petit Cafe เมนูใหม่ของ “MK”

 แม้ “เอ็มเค” เริ่มต้นจากร้านอาหารไทยคูหาเล็กๆ ย่านสยามสแควร์ ซอย 3 แต่ “สุกี้” คือ เมนูสร้างชื่อโด่งดังและติดสปีดให้ “เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป” ขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เมนูไทยๆ สุกี้ อาหารญี่ปุ่น และล่าสุดกำลังเร่งรุกตลาดปลุกปั้นร้านกาแฟและเบเกอรี่ “เลอ เพอทิท คาเฟ่ (Le Petit Cafe)” ภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็นผู้นำธุรกิจด้านร้านอาหาร ในฐานะ Restaurant Food Chain Expert  แน่นอนว่า ธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ถือเป็นสมรภูมิขนาดใหญ่ เม็ดเงินมหาศาล ยังมีศักยภาพการเติบโต และที่สำคัญมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มทุนรายใหญ่และแบรนด์ต่างชาติที่กำลังไหลทะลักเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด   ประเมินกันว่า ภาพรวมธุรกิจร้านกาแฟมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท โดยตลาดกาแฟสำเร็จรูปประเภท 3 อิน 1 มีสัดส่วน 50%  ตลาดกาแฟ รถเข็น 20-30%และตลาดกาแฟพรีเมียมอีก 15-20% โดยตลาดกาแฟพรีเมยมถือเป็นเซกเมนต์ที่แข่งขันรุนแรง

Read More