Home > วินัยจราจร

อุบัติภัยบนท้องถนน ภาพสะท้อนวินัยจราจร

ข่าวความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติภัยบนท้องถนน แม้ในด้านหนึ่งจะดูเป็นเหตุทั่วไปที่พร้อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากแต่ในอีกมิติหนึ่งกรณีดังกล่าวกลับเป็นภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทย ที่มีนัยความหมายต่อทั้งวิถีในการบริหารจัดการ การบังคับใช้กฎหมาย และสำนึกตระหนักว่าด้วยวินัยจราจร ซึ่งก่อนหน้านี้มีความพยายามสร้างวาทกรรมว่าด้วย “วินัยจราจร สะท้อนวินัยชาติ” แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้เกิดประโยชน์ใดๆ มากนัก นอกจากจะยังเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนากันต่อไปเท่านั้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กลไกภาครัฐรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาชน หรือองค์กรต่างๆ ได้ออกมาเร่งรณรงค์ในเรื่องของการขับขี่เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ด้วยหวังว่าการระดมประชาสัมพันธ์สร้างการตื่นตัวดังกล่าวจะช่วยลดอุบัติเหตุให้น้อยลง หากแต่ในความเป็นจริงอัตราการเกิดและสูญเสียชีวิตจากอุบัติภัยบนท้องถนนของไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก โดยตัวเลขการเสียชีวิตจากอุบัติภัยบนท้องถนนเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-1,600 คนต่อเดือน หรือเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนชั่วโมงละ 2-3 ราย และทำให้ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต 20,000 รายต่อปี และนับเป็นมูลค่าความสูญเสียสูงถึง 5 แสนล้านบาทอีกด้วย ขณะที่ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวไม่ว่าจะเป็นช่วงปีใหม่ สงกรานต์ และวันหยุดต่อเนื่องอื่นๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่มีความสูญเสียจากอุบัติภัยบนท้องถนนเพิ่มขึ้นอีก จนทำให้ยอดรวมของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละปีมีสูงถึง 25,000 คน และทำให้ต้องรณรงค์เฝ้าระวังกันอย่างเอิกเกริก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลประเพณีไปด้วยอีกส่วนหนึ่งโดยปริยาย ข้อถกเถียงที่ดำเนินควบคู่กับสถิติจำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และความสูญเสียจากอุบัติภัยบนท้องถนนในด้านหนึ่งวนเวียนอยู่กับประเด็นที่ว่า “กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์หรือกลไกรัฐไร้ประสิทธิภาพ” เพราะถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยทางถนนหลายฉบับ นับตั้งแต่พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.

Read More

เลนจักรยาน VS วินัยจราจร ไก่กับไข่ในสังคมจักรยานไทย

  อากาศดีท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ปัจจัยแวดล้อมที่เหล่านักปั่นปรารถนาและใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจนำจักรยานสองล้อคู่ใจออกไปปั่นแต่ละครั้ง บนเลนจักรยานระยะทางสั้นๆ ที่ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ เมื่อนักปั่นหัวใจสีเขียวไม่มีเส้นทางให้เลือกมากนัก จำนวนนักปั่นในไทยปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 ล้านคน และกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งนี้แต่ละคนมีวัตถุประสงค์ในการขับขี่พาหนะสองล้อต่างกัน ทั้งเพื่อออกกำลังกาย การท่องเที่ยว การแข่งขัน และการเดินทางในชีวิตประจำวัน ซึ่งกลุ่มหลังนี่เองที่ยังมีจำนวนน้อยอยู่ นั่นอาจจะเพราะสภาพอากาศของไทยไม่เอื้ออำนวยนัก อีกทั้งเลนจักรยานในกรุงเทพฯ ก็กำลังรอการพัฒนาอย่างจีรัง  กระนั้นคำถามที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้คือ ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนที่จะเปิดกว้างหากสังคมจักรยานที่ใครหลายคนต้องการจะเกิดขึ้นจริง และเราจะออกแบบสังคมจักรยานนี้ให้เป็นอย่างที่วาดหวังได้หรือไม่ กรุงเทพฯ มีเลนจักรยานอยู่หลายจุดแต่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังเป็นเส้นทางระยะสั้นๆ อย่างเลนจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์มีระยะทางรวมเพียง 8 กิโลเมตร แต่กลับสั่งสมปัญหาเอาไว้มากมาย ตั้งแต่การไม่มีเสาหลักกั้นเลนที่ชัดเจน การจอดรถทับและกีดขวางจนผู้ใช้จักรยานไม่สามารถปั่นไปบนเส้นทางนั้นได้อย่างเต็มที่ การแก้ปัญหาตามแบบวิสัยของไทยจึงเกิดขึ้น เมื่อการรณรงค์ขอความร่วมมือต่อเรื่องดังกล่าวไม่เป็นผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วย การห้ามหยุดหรือจอดตลอดเวลาบนถนนที่มีเส้นทางจักรยานทั้ง 12 เส้นทางในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2557 กระแสความนิยมจักรยานในไทยทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจ จะเห็นได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพาหนะสองล้อที่มีทุกเดือน เช่นเดียวกับรัฐบาลที่สนับสนุนให้หน่วยงานภายใต้การปกครองออกไปดูงานยังต่างประเทศ เพื่อหวังให้มีแบบอย่างอันจะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ และผลจากการดูงานในแต่ละครั้งมักตามมาด้วยอภิมหาโปรเจกต์ โดยผู้รับผลประโยชน์ปลายทางคือประชาชน Land Mark ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คือโครงการใหม่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล ซึ่งเดิมทีนั้นเป็นโครงการถนนเลียบริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดได้ปรับมาเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างเลนจักรยาน โดยมีกระทรวงมหาดไทยและ กทม. รับลูกดูแลโครงการนี้ต่อ ภายใต้งบประมาณเบื้องต้นราว 14,000

Read More