Home > Retail (Page 5)

เซเว่นฯ พลิกกลยุทธ์สู้ “ศึกนอก-ศึกใน” รุมถล่ม

  แม้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัดสินใจพลิกกลยุทธ์ส่งสารแจงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมประกาศจัดตั้งบอร์ดบรรษัทภิบาล ยกระดับมาตรฐานเพื่อเรียกความเชื่อมั่น หลังเกิดเหตุสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ 4 ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารติดรวมอยู่ด้วย ข้อหาใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) ซื้อขายหุ้น “แม็คโคร” แต่ปัญหายังไม่จบ ล่าสุดสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศผลการจัดอันดับบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 100 อันดับ ประจำปี 2559 หรือ “อีเอสจี 100 (ESG 100)” ซึ่งปรากฏว่าซีพีออลล์หลุดเกณฑ์อีเอสจี 100  ขณะเดียวกันการที่บอร์ดซีพีออลล์ไม่มีคำสั่งให้ผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่ากระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นบางคน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และนักลงทุนสถาบันเรียกร้องให้ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง พร้อมโต้กลับด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนและทยอยขายหุ้นซีพีออลล์ ต้องถือว่าช่วงปี 2558 คาบเกี่ยวถึงปี 2559 ซีพีออลล์เจอศึกหนักหน่วงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กรและต้องฝ่าสมรภูมิค้าปลีกที่มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วงชิงตลาดรอบด้าน เพราะทุกค่ายต่างประกาศรุกสงคราม

Read More

“เซ็นทรัล” เฉือน “ทีซีซี” ฮุบ “บิ๊กซีเวียดนาม”

  ในที่สุด กลุ่มเซ็นทรัลสามารถเข้าวินฮุบกิจการ "บิ๊กซีเวียดนาม" เข้ามาอยู่ในพอร์ตรีเทลของเครือ แม้ก่อนหน้านี้ “ทีซีซีกรุ๊ป” ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ชนะศึกยกแรกคว้าชัยชนะฮุบกิจการบิ๊กซี ประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.23 แสนล้านบาทไปได้ ทั้งนี้ เมื่อค่ำวันที่ 29 เมษายน นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด  ร่วมกับ กลุ่มเหงียนคิม ประกาศซื้อกิจการบิ๊กซี เวียดนามจาก "คาสิโนกรุ๊ป" อย่างเป็นทางการแล้ว มูลค่า 920 ล้านยูโร เสริมทัพความยิ่งใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัลในการลงทุนในประเทศแถบเอเชีย สำหรับบิ๊กซี เวียดนามดำเนินการมาแล้วยาวนานกว่า 18 ปี  มีทั้งสิ้น 43 สาขา ในประเทศเวียดนาม ซึ่งแบ่งเป็นดังต่อไปนี้ คือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต 33 สาขา , คอนวีเนี่ยนสโตร์ 10 สาขา และเป็นศูนย์การค้า 30

Read More

“อิออน” เปิดยุทธการ 2020 เร่งเครื่องยึด “อาเซียน-เอเชีย”

  หลังจากค้าปลีกยักษ์ใหญ่ “อิออนมอลล์” ในเครืออิออนกรุ๊ป ประเทศญี่ปุ่น เปิดฉากบุกตลาดอาเซียนเมื่อ 3 ปีก่อน โดยปักหมุดแรกผุด “อิออนมอลล์” กลางกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม พร้อมๆ กับตั้งทีมเดินสายดูการลงทุนและหาพันธมิตรคู่ค้าในทุกๆ ประเทศ  ล่าสุด ปี 2559 “อิออนมอลล์” ยกทัพผู้บริหารชุดใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรไทยที่มี “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” เป็นหัวเรือหลัก เป้าหมายไม่ใช่แค่เดินหน้าโครงการ “อิออนมอลล์” สาขา 2 ในประเทศกัมพูชา แต่ต้องการเปิดเกมรุกยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจครั้งใหญ่ตาม Vision 2020 ของบริษัทแม่ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย (Asia’s No.1 Super-Regional Retailer) ตามแผน อิออนมอลล์ต้องการปักธงยึด 3 ตลาดหลัก ประกอบด้วยตลาดญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นตลาดหลักอันดับ 1 โดยกลุ่มอิออนเริ่มเปิดสาขาค้าปลีกแห่งแรกเมื่อปี 2514 จนปัจจุบันสร้างค้าปลีกแบรนด์ในเครือและขยายสาขาทั้งสิ้น 144 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมมากกว่า 1,000 ล้านคนต่อปี และตั้งเป้าขยายต่อเนื่อง

Read More

มรดก warehouse สู่ยักษ์ค้าปลีก

 Column: AYUBOWAN ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของศรีลังกาคงไม่สมบูรณ์หากไม่เอ่ยถึงชื่อของ Cargills บรรษัทผู้ผลิต และประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ที่มีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นเสมือนหนึ่งโรงครัวให้กับผู้คนในดินแดนแห่งนี้ ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG: Fast-moving consumer goods) อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ จุดเริ่มต้นของ Cargills ในด้านหนึ่งไม่แตกต่างจากความเป็นไปของบรรษัทรายใหญ่แห่งอื่นๆ ที่โลดแล่นอยู่ในศรีลังกา ซึ่งต่างเป็นผลผลิตหรือมรดกที่สืบเนื่องมาจากนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาแสวงประโยชน์พร้อมๆ กับเจ้าอาณานิคม และลงหลักปักฐานเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่ในรายละเอียดทางธุรกิจของ Cargills อาจแตกต่างจากกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นๆ ตรงที่ Cargills เติบโตขึ้นจากการเป็นคลังนำเข้าสินค้าและธุรกิจค้าส่งกระจายสินค้า มากกว่าที่จะเป็นผู้แทนหรือนายหน้าค้าเงินตราและชาออกไปสู่ตลาดโลก ซึ่งเป็นคุณลักษณะหลักของผู้ประกอบการในช่วงอาณานิคม ประวัติการณ์ของ Cargills เริ่มขึ้นเมื่อ William Miller และ David Sime Cargill เปิดดำเนินธุรกิจคลังสินค้า เพื่อนำเข้าและค้าส่งสินค้าจากต่างประเทศป้อนสู่ความต้องการบริโภคของผู้คนในตลาดศรีลังกา ที่บริเวณท่าเรือโคลัมโบ เมื่อปี 1844 หรือเมื่อ 172 ปีที่แล้ว  โดยสถานที่ตั้งกิจการค้าดังกล่าวได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “House of Cargills” กลายเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อเรื่องราวความเป็นไปของ Cargills หากยังสะท้อนวิถีของการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของศรีลังกาจากยุคอาณานิคมสู่การเป็นเอกราช สังคมนิยม สาธารณรัฐจนถึงตลาดเสรีในปัจจุบันด้วย ลำดับขั้นของการพัฒนา Cargills ก้าวไปสู่หลักไมล์สำคัญอีกขั้นเมื่อนักธุรกิจชาวทมิฬนาม

Read More

ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้หวังสร้างนวัตกรรมค้าปลีก

 หลายต่อหลายครั้งที่ข่าวสารของวงการค้าปลีกไทยที่มักจะวนเวียนอยู่เพียงแค่ไม่กี่กลุ่มบริษัท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เนื้อหาสาระที่ถูกกล่าวถึงมักจะเป็นไปในด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ การปักหมุดล้อมเมือง การสร้างฐานที่ตั้งทางธุรกิจใหม่ๆ  แต่หากเป็นข่าวสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการค้าปลีก ชื่อของนักธุรกิจหญิงจากบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชฎาทิพ จูตระกูล ที่นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มักจะถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์ หรือหากจะกล่าวว่าเป็นนักปฏิวัติวงการค้าปลีกดูจะไม่เกินไปนัก ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ว่ามีทิศทางเป็นเช่นไร กระแส Talk of the Town ที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของ ชฎาทิพ จูตระกูล มักจะมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การคิดการใหญ่ของนักธุรกิจหญิงผู้นี้ที่จับมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้ชำนาญด้านการค้าปลีก ร่วมกันพัฒนาสยามพารากอน รวมไปถึงการร่วมกับกลุ่ม MBK ที่ปัดฝุ่นห้างเก่าอย่างเสรีเซ็นเตอร์ และชูให้เป็น “สวรรค์แห่งการชอปปิ้งของกรุงเทพฯ ย่านตะวันออก” และจบที่ชื่อพาราไดซ์พาร์ค กระทั่งอภิมหาโปรเจกต์บนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ที่ร่วมกับกลุ่มซีพี ในการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในชื่อไอคอนสยาม นอกเหนือไปจากการปลุกปั้นโครงการใหม่ๆ แล้ว โครงการ Renovate สยามเซ็นเตอร์ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากมันสมองของชฎาทิพ และทีมงานมืออาชีพของสยามพิวรรธน์ กระทั่งถึงเวลาที่สยามพิวรรธน์ตัดสินใจที่จะปรับโฉมศูนย์การค้าอย่างสยามดิสคัฟเวอรี่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Exploratorium โดยมีความพยายามจะทิ้งภาพจำของศูนย์การค้าและปรับสู่การเป็นไฮบริดรีเทลสโตร์แห่งแรกของไทย หลักฐานดังกล่าวทำให้ ชฎาทิพ ถูกสื่อหลายแขนงเขียนถึงในเชิงบวกเสมอ

Read More

Re-Discovery “สยามดิสฯ” ปรับ-เปลี่ยน-ถอด เพื่อเป็นผู้นำ

 หลังจากสร้างปรากฏการณ์จนกลายเป็นกระแส Talk of the Town ให้สยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 ด้วยการปิดปรับปรุงนานถึง 6 เดือน ซึ่งครั้งนั้นสยามพิวรรธน์ใช้งบประมาณไปกว่า 1.8 พันล้านบาท เสียงตอบรับเชิงบวกที่ได้จากการปรับปรุงสยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อสามปีก่อน น่าจะสร้างความมั่นใจให้แก่บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ที่นำทัพโดยชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จนบังเกิดเป็นไอเดียที่กำลังจะถูกถ่ายทอดออกมาบนอาคารที่ตั้งอยู่บนย่านสำคัญของการค้าปลีก ห้วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปรับโฉมสยามดิสคัฟเวอรี่ ถือเป็นการปรับปรุงครั้งที่สอง นับตั้งแต่สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2540  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด มักจะสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในวงการค้าปลีกอยู่เนืองๆ และมักถูกจับตามองทั้งจากนักธุรกิจ คู่ค้า สื่อมวลชน และลูกค้า ทั้งจากการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์แห่งวงการค้าปลีก หรือจากการปรับปรุงรูปลักษณ์ของศูนย์การค้า ที่อุดมไปด้วยดีไซน์ เช่นที่เคยสร้างความโดดเด่นแตกต่างให้แก่สยามเซ็นเตอร์ ซึ่งการันตีได้จากการคว้ารางวัลระดับนานาชาติจำนวน 8 รางวัล รวมถึงการได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 5 ศูนย์การค้าที่ออกแบบดีที่สุดในโลก จากสมาคมศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Council of Shopping Centers–ICSC) ยิ่งเป็นการตอกย้ำคำว่า

Read More

“เคอีแลนด์” ดันบิ๊กโปรเจกต์ มิกซ์ยูส ทาวน์ เซ็นเตอร์

 แนวรบค้าปลีกเลียบทางด่วนรามอินทราเพิ่มดีกรีความร้อนแรงมากขึ้นและกลายเป็น “รีเทลฮับ” อีกจุดใหญ่ โดยเฉพาะ “เซ็นทรัล” ที่เข้ามาปักหมุดผุด “อีสต์วิลล์” กับเจ้าถิ่น “เค.อี.แลนด์” ซึ่งล่าสุดขยายเฟสใหม่ เปิดตัว “เดอะคริสตัล วีรันด้า” และมีแผนลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ต่อเนื่อง ขยาย “คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (ซีดีซี)” และต่อยอดสู่โครงการ “มิกซ์ยูส ทาวน์ เซ็นเตอร์” มูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ทั้งหมดเป็นการทยอยต่อจิ๊กซอว์พลิกที่ดินในมือกว่า 300 ไร่ ตั้งแต่การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เริ่มจากทาวน์เฮาส์ “คริสตัลวิลล์” ตามด้วยคฤหาสน์สไตล์เบเวอร์ลี่ ฮิลล์ “คริสตัลพาร์ค” ราคาหลังละ 80 ล้านบาท เปิดบ้านเดี่ยวสไตล์คฤหาสน์ “แกรนด์ คริสตัล”แล้วเติมเต็มคอมมูนิตี้มอลล์ระดับหรู “เดอะคริสตัล” รองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัย ทั้งในโครงการและพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมด  จนกระทั่งปี 2553 ลงทุนสร้างโครงการ คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ซึ่งถือเป็นศูนย์ดีไซน์ครบวงจรฉีกแนวแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชีย ณ

Read More

จาก “เทสโก้” ถึง “คาสิโน กรุ๊ป” ศึกไฮเปอร์มาร์เก็ตพลิกโฉม

 ไม่ว่าจะเป็นการประกาศขายหุ้น “บิ๊กซี ประเทศไทย” ของ “คาสิโน กรุ๊ป” บิ๊กรีเทลสัญชาติฝรั่งเศส หรือกระแสข่าวโละกิจการ “เทสโก้ โลตัส” ของกลุ่มค้าปลีกข้ามชาติจากสหราชอาณาจักร ซึ่งยืดเยื้อยาวนานมากกว่า 1 ปีและยังไร้ข้อสรุปที่แน่ชัด “ขาย-ไม่ขาย” ยิ่งตอกย้ำถึงภาวะ “ดาวน์เทรนด์” ของไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เกิดขึ้นทั่วโลก  ที่สำคัญ ธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่จะอยู่รอดได้ ต้องสร้างเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ เพื่อเจาะตลาดทุกเซกเมนต์ ทั้งไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เน้นสินค้าราคาถูก  ปรับจากไฮเปอร์มาร์เก็ต เพิ่มแม็กเน็ตกลายเป็น “ไลฟ์สไตล์มอลล์” และไม่ใช่มีแค่ซูเปอร์มาร์เก็ต ต้องเพิ่มฟู้ดฮอลล์ ในบางทำเลต้องเน้นมินิไซส์เป็น “มินิซูเปอร์มาร์เก็ต” รองรับชุมชนเกิดใหม่ ขณะที่คอนวีเนียนสโตร์ต้องเพิ่มพื้นที่คาเฟ่สไตล์ “แฮงก์เอาต์” สนองคนรุ่นใหม่ ซึ่งทั้งหมดเป็นเกมที่ทุนค้าปลีกไทยกำลังเร่งวางยุทธศาสตร์แข่งขันยึดตลาดอย่างเข้มข้น ขณะเดียวกัน ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อกำลังซื้อยังบีบให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความหลากหลายต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ หากดูข้อมูลของบริษัท กันตาร์ เวิลด์พาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โดยวิจัยพฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2542-2558 จากกลุ่มตัวอย่าง 4,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ ทั้งเขตเมืองและต่างจังหวัด

Read More

ส่องสมรภูมิค้าปลีกไทย ขุมทรัพย์หรือกับดักธุรกิจ

 ศักราชใหม่ปี 2559 ได้เริ่มขึ้นแล้ว และถ้อยวลีที่ว่า “ยุ่งเหยิงเหมือนลิงแก้แห” กำลังปรากฏภาพให้เห็นประจักษ์ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ และกำลังส่งผลกระทบแผ่ซ่านไปทั่วทั้งองคาพยพของสังคม  เพราะไม่เพียงแต่จะมีประเด็นให้ต้องขบคิดในเชิงสังคมการเมืองที่ดูเหมือนจะหาทางออกและจัดวางหนทางไปสู่การปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมชัดเจนได้อย่างยากลำบากแล้ว ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานก็ยังไม่ปรากฏสัญญาณเชิงบวกให้ได้ขานรับกันมากนัก กรณีดังกล่าวนี้ส่งผลต่อบรรยากาศและสังคมจิตวิทยาอย่างกว้างขวางและกำลังขยายไปสู่ภาวะชะลอตัวในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมหลากหลายอย่างต่อเนื่องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ธุรกิจค้าปลีกไทยที่เคยมีอัตราการเติบโตแข็งแกร่งได้รับการระบุว่าเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้และสะท้อนทิศทางของเศรษฐกิจว่าดำเนินไปในทิศทางใด กำลังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงและแนวโน้มความเชื่อมั่นที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตอย่างยากจะปฏิเสธ ความมุ่งหมายของภาคธุรกิจเอกชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการของรัฐในช่วงไตรมาสที่ 4 ดูเหมือนจะไม่ได้ประโยชน์โพดผลตามที่คาดหวังเท่าใดนัก เพราะการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจจากมาตรการของรัฐกว่าจะเริ่มปรากฏผลก็ต้องรอไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถประคับประคองสถานการณ์ใดๆ ไว้ได้ ความตกต่ำลงของราคาพืชผลทางการเกษตรประกอบกับภาวะหนี้ครัวเรือน อาจทำให้ผู้บริโภคระดับกลาง-ล่างได้รับผลกระทบในมิติของกำลังซื้อ ในขณะที่ลูกค้ากลุ่มกลาง-บน ซึ่งแม้จะมีกำลังซื้อล้นเกินแต่ก็เป็นเพียงกลุ่มประชากรบนยอดพีระมิด ที่ไม่ได้หนุนนำพลวัตในระบบเศรษฐกิจมากนัก ความเป็นไปในธุรกิจค้าปลีกท่ามกลางภาวะที่ขาดปัจจัยบวกหรือตัวแปรที่จะมากระตุ้นธุรกิจอุตสาหกรรมให้กลับมาเติบโตเช่นในอดีต ได้รับการเติมเต็มด้วยมาตรการระยะสั้น จากกระทรวงการคลังที่เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณามาตรการภาษีเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 จำนวน 1 มาตรการ  มาตรการที่ว่านี้คือการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม 2558 จากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบตาม ม.86/4 แห่ง ป.รัษฎากร แต่ไม่รวมถึงการซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลไกภาครัฐพยายามส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการระยะสั้น เพราะก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการสำหรับวันที่

Read More

2559 จุดเปลี่ยนค้าปลีกไทย จุดจบไฮเปอร์มาร์เก็ต?

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจไทยในช่วงปลายปี 2558 ต่อเนื่องสู่ศักราชใหม่ปี 2559 นอกจากจะปกคลุมด้วยเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเชื่อว่าอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในระยะถัดจากนี้ไม่น้อยแล้ว ธุรกิจค้าปลีกไทยก็คงเป็นอีกสมรภูมิหนึ่งที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจติดตามและกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ความเป็นไปของธุรกิจที่เคยเชื่อกันว่าเป็นจักรกลสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวยิ่งขึ้นนี้ถึงคราเสื่อมมนตร์เลยทีเดียว เพราะหากประเมินจากโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2556 ซึ่งธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่งมีมูลค่ารวมกว่า 1.5 ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนเป็นอันดับ 2 หรือร้อยละ 13.4 รองจากภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 38.1 และมีการจ้างงานมากเป็นอันดับ 3 รองจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม หรือมีจำนวนแรงงานกว่า 4 ล้านราย จากการจ้างงานของคนไทยอยู่ที่ 38 ล้านคนแล้ว ภาวะเศรษฐกิจไทยและธุรกิจค้าปลีกของไทยในช่วงเวลานับจากนี้อาจเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงหรือพ้นจากยุครุ่งเรืองไปแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์และคาดการณ์จำนวนไม่น้อยจะเชื่อว่าสถานการณ์โดยรอบจะเอื้อให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถเติบโตต่อเนื่องและขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7-8 ต่อปี หากแต่สถานการณ์ที่ปรากฏขึ้นอยู่จริงเบื้องหน้ากลับพบว่า ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมในปี 2558 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 3.2 จากเดิมที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 5 ตลอดช่วงเวลาจากปี 2553-2557  เหตุปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกเดินทางมาถึงจุดที่ตีบตันในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่อยู่ในระดับกลางและล่างซึ่งถือเป็นฐานผู้บริโภคหลักของธุรกิจนี้ สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยต่างประเมินทิศทางของธุรกิจค้าปลีกไทยในช่วงปี 2559 ว่าจะเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยและอาจชะลอตัวต่ำกว่าปีก่อนหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัย ที่ดูจะมีความจริงจังและมีน้ำหนักมากกว่าการโหมประโคมข่าวผลงานไร้ราคาที่พยายามอวดอ้างกันเสียอีก ฐานลูกค้าระดับ กลาง-ล่าง ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการอุ้มชูธุรกิจค้าปลีกไทยให้จำเริญเติบโตมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกำลังถูกข้อเท็จจริงจากสภาพเศรษฐกิจกัดกร่อนและทำลายให้อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในภาวะที่ด้อยหรือไม่มีกำลังซื้อ จากผลของปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประชากรในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทำให้รายได้ลดลงอีกด้วย ธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มซูเปอร์สโตร์

Read More