Home > Retail (Page 4)

หมดยุค “คอมมูนิตี้มอลล์” “ชอปปิ้งเซ็นเตอร์” เดือด

  หลังจากบรรดาแลนด์ลอร์ดและกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์แห่ชิมลางเล่นสงครามคอมมูนิตี้มอลล์อย่างหนักหน่วงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจนมีพื้นที่รวมมากกว่าซูเปอร์สโตร์และไฮเปอร์มาร์เก็ต แม้ปี 2560 ยังมีบางรายมั่นใจในทำเลย่านชุมชนและแองเคอร์ที่เข้ามาเสริมจุดแข็ง แต่เทรนด์ใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้ากลายเป็นโจทย์ข้อสำคัญ โดยเฉพาะโครงการสไตล์มิกส์ยูสและไลฟ์สไตล์ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ด้วยความครบเครื่อง ความใหญ่ และไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ทำให้ศูนย์การค้าไม่ต่างจาก “บ้าน” หลังที่ 2 ของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ แน่นอนว่า คอมมูนิตี้มอลล์ แม้มีจุดแข็งในแง่การเดินทางและความสะดวกสบาย แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งหมดและยังต้องแข่งขันกับกลุ่มจีสโตร์ในสถานีบริการน้ำมันมากขึ้น ข้อมูลจากฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า พื้นที่ค้าปลีกรวมในกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบอยู่ที่ประมาณ 7,537,820 ตร.ม. แม้ปี 2559 จำนวนพื้นที่ค้าปลีกเปิดให้บริการใหม่ประมาณ 130,380 ตร.ม. เป็นคอมมูนิตี้มอลล์มากที่สุด ประมาณ 85,380 ตร.ม. รองลงมาคือสเปเชียลตี้ สโตร์ พื้นที่รวมประมาณ 41,000 ตร.ม. แต่กลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์มีแนวโน้มชะลอตัว เพราะหลายโครงการไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีแผนพัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์เริ่มทบทวนแผนการพัฒนาใหม่  ขณะที่ศูนย์การค้าที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่จะเริ่มมีโครงการเปิดให้บริการใหม่มากขึ้นในปี 2560–2563 หลังจากซุ่มเงียบในช่วงปี 2559 และบางโครงการเลื่อนมาจากปีก่อนหน้า  ทั้งนี้ พื้นที่ค้าปลีกรวม

Read More

“ทศ จิราธิวัฒน์” ฮุบบิ๊กดีล บิ๊กแพลน Central Bangkok

  ทศ จิราธิวัฒน์ กำลังพยายามจะจบบิ๊กดีลประมูลที่ดินสถานทูตอังกฤษบริเวณถนนวิทยุ เนื้อที่กว่า 10,000 ตารางวา มูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตารางวาละ 2-2.2 ล้านบาท หลังจากก่อนหน้านี้ฮุบที่ดินแปลงแรกมาแล้วด้วยราคา 900,000 บาทต่อ ตร.ว. โดยเตรียมโครงการมิกซ์ยูสที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดเชื่อมต่อกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ห้างเซ็นทรัลชิดลม ห้างเซน และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สร้างอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่และขยายแนวรบตามแผน “Central Bangkok” อย่างแข็งแกร่ง  ว่ากันว่า ทันทีที่สถานทูตอังกฤษเปิดประมูลทำเลทองผืนงาม มีกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่สนใจเข้าร่วมประมูล ทั้งทีซีซีกรุ๊ปของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มคิงเพาเวอร์ และกลุ่มแสนสิริ  แต่สำหรับ “เซ็นทรัล” การสร้างอาณาจักรค้าปลีกระดับ “World Destination” ภายใต้แนวคิด Central Bangkok ที่กลุ่มจิราธิวัฒน์พยายามปลุกปั้นมาตลอด 3 ปี ทำให้การช่วงชิงที่ดินแห่งนี้มีความหมายมากมาย เพราะเป็นจุดรวมทุกแฟลกชิปสโตร์ของห้างเซ็นทรัล เจาะทุกตลาด ทุกกลุ่มลูกค้าและทุกไลฟ์สไตล์ ตลอดแนวชอปปิ้งสตรีทตั้งแต่สี่แยกราชประสงค์จนถึงถนนเพลินจิต ที่สำคัญ โครงการมิกซ์ยูสจะเสริมทุกแฟลกชิปสโตร์ โดยเฉพาะเซ็นทรัลเอ็มบาสซี เพื่อขยายฐานรายได้ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติระดับพรีเมียม ทั้งนี้ เมื่อปี

Read More

ทีซีซี ผนึก “บิ๊กซี” ปูพรมฮุบค้าปลีก

  การทุ่มเม็ดเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทยจากกลุ่มคาสิโนเมื่อเดือนมีนาคม 2559 ถือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญตามแผนขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างครบวงจรของทีซีซีกรุ๊ป ตั้งแต่ธุรกิจศูนย์การค้าหลากหลายรูปแบบสู่ธุรกิจค้าปลีกปลายน้ำทุกโมเดล ทั้งห้างค้าส่ง ไฮเปอร์มาร์เก็ต ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตจนถึงร้านสะดวกซื้อ ที่กำลังปลุกปั้นแบรนด์อย่างเข้มข้นในตลาดอาเซียน  ระยะเวลากว่า 9 เดือน อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และในฐานะซีอีโอ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ดึงฐาปนี สิริวัฒนภักดี ภรรยา ซึ่งเป็นลูกสาวคนเล็กของเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าไปปรับระบบต่างๆ เพื่อแก้จุดอ่อนทั้งหมดของ “บิ๊กซี” เพราะการต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง “เทสโก้ โลตัส” และกลุ่มเซ็นทรัล ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการสร้างความมั่นใจให้คู่ค้าและผู้บริโภคเห็นถึงศักยภาพ “ทีซีซี” ในฐานะยักษ์ค้าปลีกอีกราย  ขณะเดียวกัน อัศวินต้องเร่งเขย่าแบรนด์ค้าปลีกทั้งหมดในเครือบีเจซี เพื่อสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง โดยหวังใช้แบรนด์ “บิ๊กซี”

Read More

ศึกรอยัลตี้โปรแกรม เซ็นทรัลปูพรมชิงฐานลูกค้า

  ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวบวกกับเทรนด์การจับจ่ายผ่านออนไลน์ของผู้บริโภคกลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของบรรดาห้างค้าปลีก ทำให้ทุกค่ายเปิดศึก “รอยัลตี้โปรแกรม” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานลูกค้าสมาชิกและกระตุ้นการซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดฉลองการดำเนินธุรกิจ “เดอะวันการ์ด” ครบ 10 ปี พร้อมประกาศทุ่มงบก้อนโต เร่งขยายฐานสมาชิกและเชื่อมเครือข่ายสิทธิประโยชน์ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือที่มากกว่า 5,000 ร้านค้า  ปัจจุบันเดอะวันการ์ดมียอดสมาชิกรวม 12 ล้านคน เรียกว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศและถ้าแยกสัดส่วนสมาชิกหลัก มีกลุ่มลูกค้าอายุ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 45-64 ปี มากสุด กลุ่มละ 30% ตามด้วยกลุ่มอายุ 25-34 ปี อยู่ที่ 25% กลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยกว่า 24 ปี ประมาณ 10% และมากกว่า 65 ปี อีก 5%  ระวี พัวพรพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ผู้ดูแลธุรกิจบัตรเดอะวันการ์ด กล่าวว่า

Read More

เซ็นทรัลชนทีซีซีกรุ๊ป ดัน “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” ไล่บี้บิ๊กซี

  “ทีซีซีกรุ๊ป” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี สามารถเอาชนะคว้าดีลฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทย ด้านหนึ่งสามารถเติมเต็มเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักรธุรกิจ แต่อีกด้านหมายถึงอภิมหาสงครามระดับแสนล้าน เพราะหากเทียบความเชี่ยวชาญและประสบการณ์แล้ว ถือว่า “บิ๊กซี” เป็นสมรภูมิใหม่ของเหล่าทายาทในตระกูล เมื่อต้องชนกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล  ที่สำคัญ “บิ๊กซี” ไม่ได้เจอเพียงแค่ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่มั่นใจของกลุ่มผู้บริโภคและกำลังซื้อหดหนัก แต่ยังต้องฝ่าแนวต้านการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดเปิดศึกดัน “ท็อปส์” รุกตลาดเต็มรูปแบบ ทุ่มเงินทุน 6,500 ล้านบาท ปูพรมขยายสาขาภายใน 5 ปี ครบ 600 สาขา เจาะทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย พร้อมๆ กับยกเครื่องเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ หรือคอนวีเนียนสโตร์ในเครืออย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” ด้วย จากเดิม “ท็อปส์” เคยเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง บิ๊กซีเน้นจุดขายความเป็น “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ในฐานะพันธมิตรผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้งบิ๊กซี แต่ ณ วันนี้ ท็อปส์กระโดดเข้ามาเล่นตลาดซูเปอร์เซ็นเตอร์มากขึ้น แตกไลน์รูปแบบสาขาหลากหลายครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่แตกต่างจากกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต  ขณะเดียวกันตามแผนยุทธศาสตร์ของทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท

Read More

ท็อปส์-บิ๊กซี จาก “พันธมิตร” สู่ “คู่แข่งทางธุรกิจ”

  การประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ของ “ท็อปส์” ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 6,500 ล้านบาท เร่งปูพรมสาขาทั่วประเทศครบ 600 สาขาภายในปี 2564 เป็นทั้งการเปิดกลยุทธ์สู้ศึกระลอกใหม่และเตรียมพร้อมรับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ใน “บิ๊กซี” ทั้งหมด 25% ผ่านกระบวนการรับซื้อหุ้นในขั้นตอนการเทกโอเวอร์ของ “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” ในเครือทีซีซีกรุ๊ป เปลี่ยนสถานะ “บิ๊กซี” จาก “Big Central” ของกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์  เป็น “Big Charoen” พลิกเกมธุรกิจจาก “พันธมิตร” เป็น “ศัตรูคู่แข่ง” โดยถือฤกษ์การฉลองครบรอบ 20 ปีของ “ท็อปส์” ลุยสงครามฟู้ดรีเทลกับ “บิ๊กซี” และจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลกับทีซีซีกรุ๊ปด้วย  หากย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน กลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และรวมกิจการในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งเซ็นทรัลกับโรบินสันเมื่อปี 2537   หลังจากนั้นอีก 2

Read More

The Exploratorium นิยามใหม่สยามดิสคัฟเวอรี่

  ภายหลังจากใช้ระยะเวลาในการวางแผน 18 เดือน และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างออกแบบปรับโฉม 12 เดือน สยามพิวรรธน์ฉีกทุกกฎการค้าปลีกและสร้างบันทึกหน้าใหม่ด้วยคอนเซ็ปต์ The Exploratorium ให้สยามดิสคัฟเวอรี่ แม้ว่าตลอดเส้นทางของถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต จนกระทั่งถึงถนนสุขุมวิท เป็นถนนที่ถูกกลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของไทยเลือกทำเลปักหมุดใช้เป็นสนามประลองกำลัง และต่อสู้กันด้วยชั้นเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ต้องยอมรับว่าแม้แต่ผู้นำด้านธุรกิจรีเทลอย่าง ชฎาทิพ จูตระกูล ยังเอ่ยปากว่า “ธุรกิจรีเทลในประเทศไทยมีการต่อสู้ทางกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนักมากกว่าประเทศอื่นๆ”  ในขณะที่สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศไทยกำลังยืนอยู่บนจุดที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพน้อยที่สุด หากแต่บนหน้าข่าวเศรษฐกิจยังคงปรากฏให้เห็นถึงการขยับตัวของบรรดากลุ่มธุรกิจชั้นนำของไทย ไม่ว่าจะด้านอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก ซึ่งบริษัทสยามพิวรรธน์ คือหนึ่งในบรรดากลุ่มธุรกิจที่ตัดสินใจเปิดเผยโฉมหน้าของ “สยามดิสคัฟเวอรี่” หลังปรับปรุงนานถึง 12 เดือน อาคารกระจกที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 1 กลายเป็นประหนึ่งพื้นที่จัดแสดงความคิดสร้างสรรค์ที่สยามพิวรรธน์ส่งมอบคอนเซ็ปต์ให้กับ Nendo ที่สามารถตอบโจทย์และแปลงโฉมสยามดิสให้ออกนอกกรอบความเป็นห้างค้าปลีกแบบเดิม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วย โอกิ ซาโตะ หัวหน้านักออกแบบและผู้ก่อตั้งเนนโดะ พร้อมเปิดสยามดิสคัฟเวอรี่ ให้เป็นสนามทดลองพลังอำนาจแห่งความคิดสร้างสรรค์ในมิติของ The Exploratorium โดยหวังให้เข้าถึงใจลูกค้ามากที่สุด อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาจากความสามารถที่อุดมไปด้วยความคิดอันแยบยลในเชิงธุรกิจของผู้นำหญิงจากสยามพิวรรธน์แล้ว คงจะมีเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถของเธอได้เป็นอย่างดี เมื่อยังปรากฏผลงานที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนพระราม

Read More

ศึกออนไลน์แข่งเดือด “ซีพี-เซ็นทรัล” ชิง 2 ล้านล้าน

  ตลาดค้าปลีกออนไลน์กลายเป็นสมรภูมิดุเดือดยิ่งขึ้น ทั้งมูลค่าเม็ดเงินที่คาดว่าจะพุ่งทะลุ 2.1 ล้านล้านบาท และผู้เล่นที่เข้ามาเปิดเกมรุกล่าสุด ทุกค่ายล้วนเป็นยักษ์ค้าปลีก โดยเฉพาะเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มเซ็นทรัลที่ประกาศต่อยอดขยายจากแนวรบในประเทศไทยสู่สงครามอาเซียนด้วย ถ้าดูตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเมื่อปี 2558 เกือบๆ 2.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.65% จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นอีคอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท, ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) 4.7 แสนล้านบาท และระหว่างธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) 4 แสนล้านบาท โดยการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซของ B2C กับ B2G เพิ่มขึ้น 15.2% และ 3.9% ตามลำดับ ยกเว้น B2B ที่ปรับตัวลดลง  ที่สำคัญตัวเลข 2 ล้านล้านบาทเมื่อปีก่อนสามารถเติบโตมากกว่านั้น หากไม่เจอสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต

Read More

ปลุกแผน ดิวตี้ฟรีซิตี้ เจาะฐาน “คิง เพาเวอร์”

  แม้สาเหตุหลักหนึ่งที่ฉุดธุรกิจค้าปลีกไทยทรุดหนักต่ำสุดในรอบ 20 ปี มาจากวิกฤตกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางถึงล่างหดตัวหนัก แต่แย่มากไปกว่านั้น กลุ่มคนไทยระดับไฮเอนด์ เศรษฐีกระเป๋าหนัก แห่เดินทางไปหว่านเม็ดเงินในต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 9% เฉพาะปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 170,032 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่มีจำหน่ายในประเทศไทยสูงถึง 50,840 ล้านบาท ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า ตัวเลขการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศของคนไทยเติบโตสูงทุกปี ทั้งที่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าในไทยลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลสร้างโครงการระดับไฮเอนด์รองรับกลุ่มลูกค้า ระดมสินค้าแบรนด์เนมยอดนิยมทุกเซกเมนต์และปลุกภาพลักษณ์ “Shopping Destination” ดึงนักท่องเที่ยวได้ส่วนหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถลดตัวเลขการจับจ่ายสินค้าในต่างประเทศของนักชอปไทย กระแสเงินที่ควรเข้ามาหมุนเวียนในประเทศรั่วไหลจำนวนมาก  จากข้อมูลการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย 9 หมวดจาก 17 หมวด ตามนิยามของของกรมศุลกากร ในปี 2558 ได้แก่ เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง นาฬิกา แว่น กระเป๋าหนัง รองเท้าหนัง เครื่องประดับคริสตัล ปากกา น้ำหอม สุราต่างประเทศ ผลไม้

Read More

เอสเอฟ “ช้าแต่ชัวร์” ชะลอแผนต่างประเทศ

  ขณะที่ค่าย “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” เร่งปูพรมสาขาตามแผนก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ตั้งเป้าปี 2020 หรือปี พ.ศ. 2563 จะขยายเครือข่ายโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศไทยและกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ครบ 1,000 โรง โดยมีทั้งยักษ์ใหญ่ “อิออนมอลล์” ประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มทุนท้องถิ่นเป็นพันธมิตรเสริมความแข็งแกร่ง ฟากฝั่ง “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” กลับยังขอเวลาศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะแผนรุกตลาดอาเซียน ซึ่งเริ่มต้นดูทำเลตั้งแต่ 2 ปีก่อน และล่าสุดยืดเวลาออกไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี แม้มีการเจรจากับผู้ร่วมลงทุนหลายรายแล้ว ทั้งลาว เมียนมา เวียดนาม รวมถึงการต่อยอดธุรกิจศูนย์การค้า หลังจากผุดโครงการ “เมญ่า” (MAYA) ไลฟ์สไตล์ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ บนถนนนิมมานเหมินท์ ใจกลางเมืองเชียงใหม่เมื่อต้นปี 2557  ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ มีทั้งหมด 47 สาขา

Read More