Home > ธุรกิจสื่อ

Digital Disruption จุดเปลี่ยนวงการสื่อไทย?

ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการมาถึงของยุคสมัยแห่งดิจิทัลดูจะเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเติบโตและส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง หากแต่ท่ามกลางความไร้ขีดจำกัดของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่ทำให้วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนไปนี้ กลับเป็นแรงสั่นสะเทือนที่วิ่งเข้ากระทบต่อวงการสื่อไทยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และทำให้สื่อกระแสหลักที่เคยครองความนิยมมาอย่างยาวนานต้องตกอยู่ในสภาพขาลง และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีสื่อใหม่ในนาม สื่อออนไลน์ เข้ามาแทนที่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทนิตยสาร ต่างออกมาประกาศปิดตัวและทิ้งภาพความรุ่งเรืองครั้งเก่าให้เหลือไว้เป็นเพียงตำนาน ซึ่งสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากการที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนที่สะสมพอกพูนเพิ่มขึ้นได้ ขณะเดียวกันประเด็นว่าด้วย Digital Disruption ได้รับการประเมินว่าเป็นกระแสคลื่นที่ถาโถมเข้าใส่สื่อเก่า ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือแม้กระทั่งสื่อโทรทัศน์ เพราะทางเลือกในการเข้าถึงข่าวสารเปิดกว้างขึ้นไปสู่การเสพสื่อในแพลตฟอร์มใหม่บนโลกออนไลน์ จนทำให้สื่อเก่าเสื่อมความนิยมลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่ดำเนินผ่านเทคโนโลยี และเครื่องมือสื่อสาร โดยเฉพาะมือถือ ส่งผลให้ปริมาณการเสพสื่อสิ่งพิมพ์ลดน้อยถอยลง และกำลังจะถึงจุดที่สื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารมีความสำคัญน้อยลง ไม่เว้นแม้แต่สื่อโทรทัศน์ ที่ก็ต้องอยู่ในกระแสธารของการปรับตัวครั้งใหญ่ หลังจากที่ปริมาณการเข้าถึงของประชาชนมีอัตราลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง บทบาทและอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ทวีน้ำหนักและเพิ่มพลังให้กับประเด็นต่างๆ มากขึ้น หลังจากที่ประชาชน รวมถึงสถาบันสื่อสารมวลชนและกลไกภาครัฐ ต่างหันมาหยิบยกประเด็นบนโลกออนไลน์ไปจุดประเด็นและสานต่อ หรือแม้กระทั่งนำประเด็นเหล่านี้ไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนรวดเร็ว ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสื่อออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ และเป็นกลไกขับเคลื่อนเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทลายกำแพงของเวลาลงอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวทำให้สื่อกระแสหลัก ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้รับการประเมินว่าอยู่ในภาวะเสื่อมถอย จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถที่จะเดินหน้าหรือดำรงสถานะต่อไปได้ และหากสื่อใดยังจ่อมจมที่จะผลิตสื่อในรูปแบบเดิมๆ อาจจะต้องปิดตัวลงไปในที่สุด การปรับตัวในสื่อที่ปรากฏในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายหันมาให้ความสำคัญกับสื่อออนไลน์มากขึ้น ด้วยหวังว่าวิธีดังกล่าวจะเพิ่มมูลค่า

Read More

VGI พลิก “ออฟไลน์-ออนไลน์” บิ๊กมีเดีย 5 หมื่นล้านสยายปีก

นับจากวันแรกเมื่อ 20 ปีก่อน คีรี กาญจนพาสน์ ควักเงิน 5 ล้านบาท เปิดบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จนถึงวันนี้หลังผ่านวิกฤตหลายครั้ง มูลค่าของวีจีไอจาก 5 ล้านบาท พุ่งพรวดเป็น 5 หมื่นล้าน ซึ่งกวิน กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ย้ำกับสื่อว่า “เติบโตหมื่นเท่า” ทั้งหมดมาจากวิสัยทัศน์การ Synergy ระหว่างธุรกิจมีเดียกับธุรกิจระบบรางของบีทีเอสกรุ๊ป ล่าสุด ปี 2561 วีจีไอแปลงโมเดลธุรกิจอีกครั้งจากธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านเข้าสู่โลกธุรกิจใหม่ เชื่อมออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน จะไม่ใช่แค่ผู้นำสื่อนอกบ้านในกรุงเทพฯ ที่มีมูลค่าสื่ออยู่ในมือ 6,800 ล้านบาท แต่จะเป็นบิ๊กมีเดียเจ้าแรกที่รวบรวมตลาดมีเดียทั้งหมด ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “Pioneering Solutions for Tomorrow” กับโมเดลธุรกิจใหม่ Offline-to-Online: O2O Solutions

Read More

อนาคตของสื่อไทย หมดเวลาของนักวิชาชีพ??

ข่าวการปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์หลายสำนักในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการรุกคืบเข้ามาของกลุ่มทุนใหญ่เพื่อถือครองหุ้นและลงทุนในธุรกิจสื่อได้ก่อให้เกิดคำถามถึงทิศทางของสื่อสารมวลชนไม่จำกัดเฉพาะในมิติของสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น หากแต่หมายรวมครอบคลุมไปสู่สื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างรอบด้านด้วย สาเหตุหลักที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการพิมพ์ในด้านหลักมักดำเนินไปภายใต้คำอธิบายที่ยึดโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่รายได้จากค่าโฆษณาที่ทยอยปรับตัวลงตามแนวโน้มดังกล่าว ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้ปรับตัวลดลง มิหนำซ้ำยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ความไม่สมดุลที่ว่านี้ได้กลายเป็นกับดักให้ผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์จำนวนไม่น้อยเริ่มขาดทุนสะสมและกลายเป็นภาระหนี้ ที่นำไปสู่การล่มสลายและปิดตัวลงไปในที่สุด กระนั้นก็ดี ประเด็นที่มีความแหลมคมยิ่งไปกว่านั้นก็คือการปรับเปลี่ยนประพฤติกรรมของผู้บริโภค และการมาถึงของสื่อดิจิทัล ออนไลน์ ที่ดูจะตอบสนองและสอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนร่วมสมัย ซึ่งแม้ว่าผู้ประกอบการหลายรายจะพยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับเนื้อหา รวมถึงช่องทางในการเข้าถึงไปสู่การนำเสนอในรูปแบบของ e-magazine e-contents อย่างขะมักเขม้น หากแต่พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เลื่อนไหลอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งมิติของเงินทุนและกรอบเวลาใหม่ของการนำเสนอ ขณะที่กลไกการแสวงหารายได้จากสื่อที่ว่านี้วิ่งตามไปไม่ทันและบ่อยครั้งดำเนินไปด้วยความเฉื่อยจากความคุ้นชินของทีมงานฝ่ายขายที่ยังจ่อมจมอยู่กับภาพความรุ่งเรืองในอดีตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่า มูลค่าเงินโฆษณาที่กระจายเข้าสู่สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะในกลุ่มนิตยสารมีอยู่ในระดับประมาณ 6 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งการปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยังเชื่อว่าหากสามารถรักษาตัวรอดต่อไปได้ก็ยังมีโอกาสในทางธุรกิจอยู่บ้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำนวนหัวหนังสือที่จะมาแย่งชิงส่วนแบ่งเงินค่าโฆษณานี้มีลดลง แม้ว่าในอีกด้านหนึ่งเม็ดเงินโฆษณาในตลาดอาจลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงความพยายามของผู้ประกอบการสื่อหลายแห่ง ที่พยายามต่อยอดและมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการพัฒนาของโทรทัศน์ดิจิทัล ด้วยหวังว่าเนื้อหาสาระและคลังข้อมูลที่มีอยู่จะสามารถนำไปปรับใช้ และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อชนิดใหม่ ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพของการเป็นสื่อควบคู่กับการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นทั้งความพยายามและความเสี่ยงที่ทำให้สภาพและสถานการณ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละแห่งดำเนินไปอย่างไร้ทางออกยิ่งขึ้นอีก ปรากฏการณ์แห่งการล่มสลายของผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของสังคมไทยแต่โดยลำพังหากแต่เป็นกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ Time Inc. บริษัทสื่อที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี และเป็นเจ้าของนิตยสาร Time และสื่อแบรนด์ดังในเครือทั้ง Sport Illustrated, People, Moneyและ Fortune ที่ประกาศปิดดีลขายกิจการให้กับ Meredith Corporation ยักษ์ใหญ่วงการสื่อของสหรัฐอเมริกาด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Read More