Home > วิจัย (Page 2)

สกสว. หนุนสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ‘วิศวกรรมโบราณสถาน’

นักวิจัยม.ธรรมศาสตร์ลงพื้นที่สำรวจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เก็บภาพถ่ายโบราณสถานทางอากาศเพื่อตรวจสอบความเสียหาย พร้อมตรวจวัดหาค่าความถี่ธรรมชาติของตัวโครงสร้างโบราณสถานและริเริ่มกระบวนการสร้างเครือข่ายวิจัยภูมิภาคแก่สถาบันอุดมศึกษาเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่การวิจัยเชิงวิศวกรรมโบราณสถาน คณะวิจัยชุดโครงการอนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานด้วยหลักวิศวกรรม (ระยะที่ 2 ) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม พร้อมด้วยทีมงานจากภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเชิงวิศวกรรมของโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เพื่อเข้าสำรวจโบราณที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการศึกษาข้อมูลและบูรณะซ่อมแซมในอนาคต อันเป็นผลสืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับกรมศิลปากร เพื่อวางแผนอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานในเขตอุทยานที่มีผลกระทบสำคัญเร่งด่วน อาทิ เจดีย์เอียง ฐานรากทรุด ทดสอบวัสดุเดิม และวัสดุทดแทนใหม่สำหรับการบูรณะ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการศึกษาวิจัยให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิศวกรรมต่อไป รศ. ดร.นครระบุว่าการลงพื้นที่วิจัยที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีการดำเนินงานหลัก 2 ส่วน คือ การสำรวจเก็บภาพถ่ายโบราณสถานโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และนำภาพถ่ายมาขึ้นแบบจำลองสามมิติ เพื่อตรวจสอบ รายงานผลความเสียหาย และวิเคราะห์โครงสร้าง โดยแปลงเป็นแบบจำลองทางเรขาคณิตหรือเรียกอีกอย่างคือการการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ทำนายพฤติกรรมของโครงสร้างที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การนำโดรนมาใช้กับการตรวจสอบนั้นนอกจากสะดวกต่อการเข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดแล้ว ยังช่วยในด้านการรักษาโบราณสถานที่อาจได้รับความเสียหายระหว่างทำการสำรวจโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังทำให้ได้ข้อมูลพื้นผิวโครงสร้างที่ครบถ้วน มีองค์ประกอบของสีที่หลากหลาย แก้ไขความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วระหว่างการสำรวจ ช่วยลดต้นทุน

Read More

สกสว.จับมือกระทรวงพาณิชย์ ดันงานวิจัยข้าม‘หุบเหวมรณะ’

สกสว.พร้อมจับมือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เป็นสะพานเชื่อมงานวิจัยก้าวข้ามหุบเหวมรณะไปสู่การใช้ประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยภาครัฐจะต้องช่วยออกแบบงานวิจัยตั้งแต่ต้นทาง โครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยภาคนโยบาย ฝ่ายบริหาร ภายใต้ภารกิจส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ (สนค.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเชื่อมโยงการวิจัยและนโยบายสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งผ่านงานวิจัยไปสู่ฝ่ายนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุม สกสว. โดยนำเสนองานวิจัยที่มีศักยภาพโดดเด่นและสามารถนำไปประยุกติ์ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงการนำไปใช้โดยภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้งนำความรู้ไปพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้ผลิตเพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค. กล่าวถึงเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลกภายใต้พลวัตว่าการค้าและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ประเทศกำลังพัฒนามีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งเอเชียที่อยู่ท่ามกลางศักยภาพทางเศรษฐกิจและสงครามการค้าโลก เราต้องยืดหยัดได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบัน สนค.ได้ตกผลึกมาระยะหนึ่งแล้วว่าแนวโน้มหลักในอนาคตจะประกอบด้วย (1) การเปลี่ยนขั้วทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย (2) แนวโน้มนวัตกรรม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย ได้แก่ ABCDE (AI, Blockchain, Cloud, Data, E-business) รวมถึง IoT และ E-commerce (3) โครงสร้างสังคมเมืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงสังคมเมือง

Read More

ลอรีอัล เชิดชูเกียรตินักวิจัยสตรีไทย สานต่อโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 17

ลอรีอัล เชิดชูเกียรติ 5 นักวิจัยสตรีไทย สนับสนุนงานวิจัยโดดเด่นมีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ สานต่อโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 17 บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรายชื่อ 5 นักวิจัยสตรีผู้มีผลงานวิจัยในการพัฒนาชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมและประเทศชาติอันโดดเด่นที่ได้รับทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Women in Science) ประจำปี 2562 โดยในปีนี้เป็นปีที่ 17 ของการดำเนินโครงการในประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการร่วมเชิดชูเกียรติสตรีในสายงานวิทยาศาสตร์และสนับสนุนงานด้านการค้นคว้าและวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย ปัจจุบันมีนักวิจัยสตรีไทยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้รวมแล้วทั้งสิ้น 65 ท่าน นางสาวอรอนงค์ ประทักษ์พิริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ลอรีอัลเชื่อมั่นมาตลอดว่าการค้นคว้าวิจัยจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นจุดยืนของ มร.ยูชีน ชูแลร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งลอรีอัล

Read More

ประติมากรรมฝาท่อระบายน้ำ ศิลปะสุดชิคปรับโฉมกรุงเทพฯ

แนวคิดที่ว่าประติมากรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองและช่วยให้เมืองมีความงดงาม เป็นแนวคิดทางศิลปะและการจัดผังเมืองที่สังคมไทยได้อิทธิพลจากตะวันตก ในระยะแรกประติมากรรมบนที่สาธารณะของเมืองเกิดขึ้นโดยการจัดการของรัฐ ซึ่งมีการเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสม และโครงการมักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดผังเมือง เช่น ตั้งอยู่บนลานพระราชวัง หรือตั้งบนแยกถนนที่ตัดขึ้นใหม่ งานประติมากรรมสาธารณะในช่วงเริ่มต้นของไทยมักเป็นอนุสาวรีย์หรือเป็นส่วนประดับสะพาน น้ำพุ หรืออาจเป็นส่วนประดับอาคารของราชการ การจัดการอย่างชัดเจนในระยะแรก ๆ โดยรัฐ ทำให้ประติมากรรมบนที่สาธารณะมีทางสุนทรีย์ และสื่อความหมายของผลงานถึงสาธารณชนได้ดี ทั้งยังเป็นหมุดหมายที่ส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมือง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็ว การจัดการเมืองไม่ทันต่อสถานการณ์ได้ทำลายทัศนียภาพของเมืองที่เคยงดงามในอดีต การขยายถนนได้รื้อทำลายสะพานซึ่งมีอายุกว่า 100 ปีลงมาก งานศิลปกรรมประดับตกแต่งสะพานรวมไปถึงน้ำพุประดับตามแยกถนนสายสำคัญจึงถูกรื้อทำลายลงด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีความแออัด การจัดสรรพื้นที่ในเมืองให้เป็นที่สาธารณะใหม่ขึ้น เช่น ลานคนเมือง จัตุรัสเมือง หรือสวนหย่อมทำได้ยาก สภาพเมืองปัจจุบันจึงไม่เอื้ออำนวยต่อโครงงานประติมากรรมบนที่สาธารณะเช่นในอดีต กรุงเทพมหานครมีแนวคิดและความพยายามแทรกงานศิลปะลงบนพื้นที่เมือง โดยริเริ่มโครงการติดตั้งงานประติมากรรมถาวรตามจุดตัดของถนนหลายแห่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่เหมาะสมให้แก่ผลงานประติมากรรม ผลงานบางชิ้นถูกรื้อทิ้งเมื่อมีการปรับปรุงผิวจราจร บางชิ้นถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแล กรุงเทพมหานครจึงมักเลือกสวนสาธารณะเป็นที่ติดตั้งโครงการประติมากรรม แต่ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้พื้นที่ชุมชนและภูมิทัศน์ของเมืองมีทัศนียภาพโดยรวมที่ดีขึ้นมากนัก ปัจจุบันมีภาคธุรกิจ องค์กร และเอกชนหลายรายนำประติมากรรมมาติดตั้งหน้าอาคารสำนักงานของตัวเอง ช่วยสร้างทัศนียภาพของเมืองให้งดงามไปพร้อมกับการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงธุรกิจขององค์กร เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการเหล่านี้มักเกิดในย่านธุรกิจสำคัญบนพื้นที่ ซึ่งเจ้าของเป็นผู้ดูแลรักษาให้งานประติมากรรมอยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ส่วนในย่านชุมชนที่มีงานประติมากรรมติดตั้ง หากไม่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการมักขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ ทำให้ผลงานเหล่านั้นเสื่อมโทรมในเวลาไม่นานและมักถูกรื้อถอนไป ผลลัพธ์ของการจัดการที่ผ่านมาชี้ชัดว่าการจัดการทัศนียภาพของเมืองขนาดมหานครโดยรัฐฝ่ายเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมืองให้งดงามขึ้นจึงต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย โครงการประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะที่จะประสบผลสำเร็จต้องการการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และชุมชน ฝ่ายมนุษยศาสตร์

Read More

สกว. หนุนนักวิจัย มรภ.อุดรธานี สืบสานภูมิปัญญา ถอดลายบ้านเชียงสู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

สกว. หนุนนักวิจัย มรภ.อุดรธานี สืบสานภูมิปัญญาสร้างมูลค่าทางการตลาดด้วยการถอดลายประทับดินเผาบ้านเชียง เชื่อมกับลายมงคลสมัยนิยม เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แตกต่างจากเดิมแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ผศ. ดร.กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในฐานะหัวหน้าโครงการ “สัมพันธภาพระหว่างลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงกับลายมงคลสมัยนิยมสู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัด” เปิดเผยว่า ตนและคณะได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนจากลวดลายบ้านเชียงหลายรูปแบบ โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บ้านเชียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก การบริการต่าง ๆ แล้ว รูปแบบสินค้าของที่ระลึกก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการท่องเที่ยวเช่นกัน จึงเป็นความท้าทายของผู้วิจัยในการถอดลวดลายตราประทับดินเผาบ้านเชียงเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างลวดลายโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ กับความหมายของลวดลายในเชิงมงคลสมัย เพื่อสร้างแนวทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเลือกซื้อสินค้าของฝาก ของที่ระลึก และส่งเสริมแนวทางการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ตอบรับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี 4 ปี ในการเพิ่มขีดความสามารถของรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทขนมเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการที่จะนำลวดลายมาบูรณาการ เพื่อให้มีลักษณะเฉพาะที่สื่อถึงขนมจังหวัดอุดรธานีได้ จึงได้ทำตราประทับดินเผาบ้านเชียงมีลวดลายที่ลึก นูน สวยงาม แปลกตา ซึ่งมีนักวิชาการและนักโบราณคดีจำนวนมากสันนิษฐานว่าตราประทับดินเผาบ้านเชียงใช้กดประทับลายบนภาชนะดินเผา แต่เพราะลวดลายบนภาชนะดินเผาบ้านเชียงสมัยปลายเป็นลวดลายที่เกิดจากการเขียนด้วยพู่กันและไม่ปรากฎลวดลายบนภาชนะดินเผาที่เกิดจากลายประทับจึงเกิดสมมติฐานที่ว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างลวดลายบนผืนผ้า ด้วยความน่าสนใจของลูกกลิ้งและตราประทับดินเผาบ้านเชียงที่มีลวดลายสวยงามและเป็นโบราณวัตถุที่แสดงลักษณะเฉพาะที่จังหวัดอุดรธานี “งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ คุณค่าทางภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ทางศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรม และความหลากหลายของกลุ่มคน สร้างมูลค่าสู่การตลาด ด้วยกระบวนการบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ และลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ โดยประยุกต์งานออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุภายในประเทศ

Read More