Home > ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเคหะ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากสินค้าชุมชนรูปแบบเดิมที่อาจเห็นอย่างมากมายในตลาด สู่การยกระดับมาตรฐาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม ถูกใจแต่ยังคงไว้ซึ่งความปราณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไม่ทิ้งรากฐานเดิม ปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงใจผู้ซื้อ โดยผ่านการสนับสนุนจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลง ผู้คนจำนวนไม่น้อยขาดรายได้ในการยังชีพ ซึ่งชาวชุมชนเคหะเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การเคหะแห่งชาติจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาเคหะชุมชนโดยยึดแนวคิด “ชุมชนต้องสามารถยืนได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้การส่งเสริมอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถยังชีพและเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งหลายชุมชนของการเคหะแห่งชาติมีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ฝีมือปราณีต แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของผูบริโภคในวงกว้างอีกทั้งช่องทางในการจำหน่ายยังมีอยู่อย่างจำกัด “ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และ “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์” ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติและฝ่ายบริหาร จึงร่วมกันผลักดันแนวคิดยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของการเคหะสู่กลุ่มตลาดพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน การได้เข้าพบคุณภากมล รัตตเสรี กรรมการและรองเหรัญญิก มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนาในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งในมิติเกษตรชุมชนยั่งยืน และมิติของการยกระดับสินค้าชุมชน เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาชาวชุมชนจากวิกฤตโควิด-19 และพัฒนาให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติ เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนวคิดนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้กล่าวว่า “การเคหะมีชุมชนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก

Read More

งานต้นแบบวิจัยสู่นโยบายพาณิชย์ ใช้นวัตกรรมเคลือบผ้าไหมให้คงรูป-ลดขุย

ผู้ประกอบการสุดปลื้มหลัง ส.ส.และเจ้าหน้าที่รัฐสภาชื่นชมผลิตภัณฑ์กระเป๋าและหน้ากากผ้าไหมแท้ร่วมโชว์ที่รัฐสภา โดย สกสว. ได้เชื่อมโยงพลังการพัฒนานวัตกรรมจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำกับหน่วยงานนโยบายด้านพาณิชย์ พร้อมนำ ‘คีแตม’ สารสกัดจากเมล็ดมะขามเหลือทิ้งและไคโตซานจากเปลือกกุ้งมาเคลือบผ้าไหมให้คงรูป แข็งแรงทนทานและไม่เป็นขุย หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดแสดงผลงานหัตถศิลป์ชุมชนภายใต้แบรนด์ “ไผท” ในงานนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์” ซึ่งจัดโดยภารกิจการส่งเสริมระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ณ อาคารสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เกียกกาย น.ส.ชลีทิพย์ ทิพเนตร กรรมการผู้จัดการบริษัท บรรจงศิลป์ไทย จำกัด และบริษัทเกรซ ออฟฟีเชี่ยล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์หน้ากากผ้าไหมแท้ทอมือสีธรรมชาติและกระเป๋าถือดีไซน์ต่าง ๆ ได้รับความสนใจและชื่นชมจากสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐสภาเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสีสันและการออกแบบที่สวยงามทันสมัย โดยนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามถึงการช่วยเหลือชุมชนและการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข ชื่นชมที่มีการผลักดันและช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชน รวมถึง ส.ส.นครศรีธรรมราชที่จะร่วมสนับสนุนด้านการพัฒนาชุมชน ทั้งนี้ น.ส.ชลีทิพย์เป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการการศึกษาและการเชื่อมโยงงานวิจัยภับภาคนโยบายพาณิชย์ ของสำนักประสานงานโครงการกิจกรรมการเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคนโยบาย

Read More

สกว. หนุนนักวิจัย มรภ.อุดรธานี สืบสานภูมิปัญญา ถอดลายบ้านเชียงสู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน

สกว. หนุนนักวิจัย มรภ.อุดรธานี สืบสานภูมิปัญญาสร้างมูลค่าทางการตลาดด้วยการถอดลายประทับดินเผาบ้านเชียง เชื่อมกับลายมงคลสมัยนิยม เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แตกต่างจากเดิมแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ ผศ. ดร.กนิษฐา เรืองวรรณศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในฐานะหัวหน้าโครงการ “สัมพันธภาพระหว่างลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียงกับลายมงคลสมัยนิยมสู่งานออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัด” เปิดเผยว่า ตนและคณะได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนจากลวดลายบ้านเชียงหลายรูปแบบ โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บ้านเชียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากสถานที่ท่องเที่ยว ที่พัก การบริการต่าง ๆ แล้ว รูปแบบสินค้าของที่ระลึกก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการท่องเที่ยวเช่นกัน จึงเป็นความท้าทายของผู้วิจัยในการถอดลวดลายตราประทับดินเผาบ้านเชียงเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างลวดลายโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ กับความหมายของลวดลายในเชิงมงคลสมัย เพื่อสร้างแนวทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเลือกซื้อสินค้าของฝาก ของที่ระลึก และส่งเสริมแนวทางการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน ตอบรับยุทธศาสตร์แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี 4 ปี ในการเพิ่มขีดความสามารถของรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทขนมเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการที่จะนำลวดลายมาบูรณาการ เพื่อให้มีลักษณะเฉพาะที่สื่อถึงขนมจังหวัดอุดรธานีได้ จึงได้ทำตราประทับดินเผาบ้านเชียงมีลวดลายที่ลึก นูน สวยงาม แปลกตา ซึ่งมีนักวิชาการและนักโบราณคดีจำนวนมากสันนิษฐานว่าตราประทับดินเผาบ้านเชียงใช้กดประทับลายบนภาชนะดินเผา แต่เพราะลวดลายบนภาชนะดินเผาบ้านเชียงสมัยปลายเป็นลวดลายที่เกิดจากการเขียนด้วยพู่กันและไม่ปรากฎลวดลายบนภาชนะดินเผาที่เกิดจากลายประทับจึงเกิดสมมติฐานที่ว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างลวดลายบนผืนผ้า ด้วยความน่าสนใจของลูกกลิ้งและตราประทับดินเผาบ้านเชียงที่มีลวดลายสวยงามและเป็นโบราณวัตถุที่แสดงลักษณะเฉพาะที่จังหวัดอุดรธานี “งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ คุณค่าทางภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ทางศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรม และความหลากหลายของกลุ่มคน สร้างมูลค่าสู่การตลาด ด้วยกระบวนการบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ และลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ โดยประยุกต์งานออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุภายในประเทศ

Read More

เปิดสินค้า “Unseen” จากแบรนด์ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง เครือข่ายเพื่อความสุข จากชุมชนสู่คนไทย

หากเอ่ยถึงสินค้าชุมชน แบรนด์ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนัก เพราะเป็นแบรนด์สินค้าชุมชนน้องใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโครงการไปรษณีย์ไทย...เพื่อแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง โดย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ผ่านการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคัดสรรผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีส่วนผสมของ GI หรือวัตดุถิบเฉพาะของท้องถิ่นสุด UNSEEN มาปรับโฉมสู่ผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม ที่มีคุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชนได้หลายเท่าตัว ชารางแดง แบรนด์ “ชารากุล” - ต้นตำรับสมุนไพรแห่งเมืองนนท์ สมุนไพรพืชถิ่นประจำชุมชน เกาะเกร็ด ซึ่งมาพร้อมกับสรรพคุณทางยาทั้งช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนังในรูปแบบของเหงื่อ-ปัสสาวะ ลดคลอเรสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ช่วยลดความดันและแก้กระษัยเส้น โดยผู้บริโภคสามารถดื่มได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาในแพ็คเกจจิ้งรูปลักษณ์ใหม่ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของเกาะเกร็ด “เจดีย์เอียง” หรือพระเจดีย์มุเตา ได้เป็นอย่างดี ผงจมูกข้าวกล้องหอมมะลิแดงและข้าวไรซ์เบอร์รี่ แบรนด์ “จันทร์หอม” - ผงจมูกข้าวแท้ 100% จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองมะคังพัฒนา จ.พิษณุโลก ที่ผ่านการเก็บเกี่ยวและผลิตจากใจเกษตรกรไทย ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

Read More