Content

อเมซอนกับนโยบายส่งของภายในหนึ่งวัน: การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมค้าปลีกครั้งสำคัญ

นับตั้งแต่อเมซอนเข้าสู่วงการค้าปลีกผ่านเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์  ซึ่งสามารถตั้งราคาขายในระดับที่หาคู่ต่อกรได้ยาก โดยเฉพาะความได้เปรียบอันเกิดจากการที่ไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ทำให้สามารถลดต้นทุนมหาศาลเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีหน้าร้านอื่นๆ  นอกจากนี้ยังมีความได้เปรียบเรื่องภาษีที่หลายๆ รัฐในประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ไม่ต้องเก็บภาษีเวลาขายสินค้าสำหรับร้านค้าที่ไม่มีหน้าร้าน  นั่นทำให้ราคาสินค้าของอเมซอนถูกกว่าของร้านอื่นๆ มากสมมุติราคาเครื่อง MacBook Air ที่ตั้งราคาไว้ 999 เหรียญ ที่เราสามารถหาซื้อได้ในเว็บ Apple.com ร้าน Apple สาขาต่างๆ รวมถึงร้านอย่าง Best Buy และร้านขายปลีกยักษ์ใหญ่อื่นๆ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ในเว็บ Amazon.com อาจจะตั้งราคาไว้ถูกหน่อย คือ 979 เหรียญ  อย่างไรก็ดี ราคาที่ดูแตกต่างกันเล็กน้อยนี้ จะยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการจ่ายเงิน โดยในเว็บ Apple.com จะได้ราคาสุดท้ายเป็น 1,101 เหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นราคาเดียวกับร้าน Best Buy  แต่สำหรับ Amazon.com แล้วราคาสุดท้ายก็ยังคงเป็น 979 เหรียญสหรัฐเท่าที่กำหนดไว้  ซึ่งกล่าวได้ว่า ราคา MacBook Air

Read More

การศึกษาไทยและ AEC 2015

ผมได้พูดถึงการศึกษาในประเทศภูฏาน จึงขออนุญาตแทรกเรื่องการศึกษาแบบไทยๆ  เนื่องจากเราเองก็กำลังจะเข้าสู่การเปิดตลาดเสรีของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในอีก2ปีกว่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศชั้นนำในอาเซียน เราต้องหันมาถามตัวเองว่าเราจะ Position การศึกษาของประเทศไทยในมิติไหน  เพราะประเทศเล็กๆ อย่างภูฎานยังสร้าง Education City เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภูมิภาคผมจะพูดถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของอาเซียน แม้เราจะไม่ได้มีประชากรครึ่งโลกอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่น แต่ถ้ารวมประชากรของ ASEAN +3 หรือ ASEAN +6 ผมเชื่อว่าอาจจะเกินครึ่งโลกเสียด้วยซ้ำ  ดังนั้นเราต้องถามว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนในอาเซียน และถ้าบวก3 หรือ บวก 6 ประเทศภาคีแล้วไทยยืนอยู่ตรงไหน หรือมีที่ยืนหรือไม่เนื่องจากผมเองก็เป็นนักการศึกษาคนหนึ่ง  จึงให้ความสนใจในเรื่องการศึกษาค่อนข้างมาก โดยผมได้เล่าว่าการศึกษาคือสินค้าส่งออกในต่างประเทศ  และได้พูดถึงการศึกษาไทยและความเป็นนานาชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถเถียงได้อีกต่อไปว่า  “การศึกษาไทยมีไว้แค่คนไทยเท่านั้น”  แบบในอดีตที่เราพูดกัน เพราะถ้าประเทศไหนยังคิดแบบนี้ก็คงต้องเข้าเกียร์ถอยหลังเข้าคลองไปได้เลย  เพราะแนวคิดที่ว่าการศึกษาคือวิทยาทานนั้นอาจจะเป็นจริงในยุคโบราณจนมาสิ้นสุดในสมัยสงครามเย็นที่มีโคลัมโบแพลน หรือทุนอีสต์เวสต์ ในยุคนั้นเราได้ยินชื่อทุนมากมาย และที่คนไทยรู้จักมากที่สุดคือ ทุนนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ซึ่งรูปแบบของ AFS ในวันนี้ก็แตกต่างจากเมื่อ 20 ปีก่อนไปมากแล้ว ทุกวันนี้การศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงโดยมีการบูรณาการทั้งจากวงการศึกษาและระบบราชการเพื่อความเหมาะสมถ้ามองตามหลักการพัฒนาประเทศโดย Rostow สามารถแบ่ง Product ได้ใน5

Read More

Pro Bono กับการเปลี่ยนกฎหมายในน่านน้ำนิวซีแลนด์

เมื่อกลางปีที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์ได้มีการเปลี่ยนกฎหมายจ้างงานในน่านน้ำนิวซีแลนด์ โดยกำหนดว่าเรือประมงทุกลำที่เข้ามาจับปลาในน่านน้ำนิวซีแลนด์จะต้องใช้กฎหมายจ้างงานของนิวซีแลนด์กับลูกเรือทุกคนในขณะที่อยู่ในน่านน้ำนิวซีแลนด์และที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ นี่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกิดจากผลของคดีความในศาล แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจากการที่กลุ่มทนายความอาสา ได้มีการประชุมเจรจากับรัฐบาลนิวซีแลนด์ให้เปลี่ยนกฎหมาย เนื่องจากลูกความในคราวนี้ไม่มีเงินที่จะไปจ้างทนายในประเทศนี้ให้มาว่าความให้พวกเขา และจ่ายค่าดำเนินการในการพิจารณาคดีในศาลให้ทางการอย่างแน่นอน และถึงมี ผมว่าโอกาสที่จะชนะคดีก็คงจะยากมาก เพราะลูกความเหล่านี้เป็นพวกลูกเรือที่ทำงานอยู่ในเรือประมง ชื่อ ‘โอยาง 75’ (Oyang 75) ซึ่งเป็นเรือประมงของประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเจ้าของเรือโอยาง 75 สามารถเอาเปรียบลูกเรือสารพัดได้ เพราะตามกฎหมายน่านน้ำ (Maritime Law) ของนิวซีแลนด์ถือว่าน่านน้ำเป็นเขตแดนสากล ที่เรือทั่วไปสามารถเดินทางไปมาได้ ฉะนั้นการจะกำหนดให้เรือลำไหนๆ ใช้กฎหมายของประเทศที่เขาอยู่ในน่านน้ำนั้นๆ จึงเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นกฎหมายก็คือ ถ้าเรือลำนั้นชักธงประเทศไหนก็ให้ใช้กฎหมายประเทศนั้น ฉะนั้นถ้าเรือเดินสมุทรลำไหนจดทะเบียนที่เกาหลีใต้ ชักธงเกาหลีใต้ ก็ใช้กฎหมายเกาหลีใต้ในเรือลำนั้นแน่นอนว่าการทำแบบนี้ก็ทำให้มีช่องโหว่ทางกฎหมายเกิดขึ้น ให้นายทุนหัวใสคิดวิธีที่จะลดต้นทุนได้ โดยเฉพาะกับธุรกิจประมง เนื่องจากนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่ค่าแรงสูงมาก แถมลูกจ้างมีสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายมากมาย ที่นายจ้างจะละเมิดไม่ได้ ฉะนั้นบริษัทประมงบางบริษัทในนิวซีแลนด์จึงใช้ช่องว่างของกฎหมายน่านน้ำของนิวซีแลนด์ให้เป็นประโยชน์ที่จะลดค่าใช้จ่าย โดยก่อนอื่นก็ขอสัมปทานจับสัตว์น้ำจากทางการนิวซีแลนด์ซะก่อน พอได้สัมปทานเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ก็ไปซื้อเรือประมงที่ต่างประเทศจดทะเบียนว่าเป็นของประเทศไหนก็ได้ที่กฎหมายแรงงานกำหนดค่าแรงไว้ถูกๆ แล้วก็จ้างลูกเรือจากประเทศนั้นให้ลงเรือแล่นมาที่น่านน้ำของนิวซีแลนด์ โดยชักธงของประเทศนั้นๆ ขึ้นซะ แค่นั้นเจ้าของธุรกิจก็ไม่ต้องกลัวจะถูกกฎหมายแรงงานของนิวซีแลนด์มาเล่นงานเขาได้แล้ว แถมยังได้กำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะว่าต้นทุนเรื่องค่าแรงถูกลงเยอะ แล้วพอจับปลาได้เต็มเรือ

Read More

งานศิลป์สะสมของอองบร็วส โวลลารด์

พิพิธภัณฑ์มาร์มอตตอง (Musée Marmottan) เป็นศูนย์รวมภาพเขียนของโคล้ด โมเนต์ (Claude Monet) ซึ่งลูกชายคือมิเชล โมเนต์ (Michel Monet) มอบให้ Institut de France รวมทั้งภาพเขียนของจิตรกรผู้นี้ที่เอกชนอื่นๆ มอบให้ ที่พิพิธภัณฑ์ออรองเจอรี (Musée de l’Orangerie) มีภาพชุดดอกบัวขนาดใหญ่ Les nymphéas ของโคล้ด โมเนต์ ซึ่งเจ้าตัวมอบให้รัฐในโอกาสที่สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง นอกจากนั้นยังมีคอลเลกชั่นภาพเขียนซึ่งปอล กีโยม (Paul Guillaume) พ่อค้างานศิลป์ได้มอบให้แก่รัฐ ...แม้อาจจะเป็นวิธีหนึ่งในการลดหย่อนภาษี หากผู้ได้ประโยชน์คือประชาชนทั่วไปที่สนใจศิลปะ ในบรรดาพ่อค้างานศิลป์ ผู้หนึ่งซึ่งเป็นข่าวอยู่เสมอคือ อองบร็วส โวลลารด์ (Ambroise Vollard) ด้วยมีสายตาแหลมคมเกี่ยวกับศิลปะ  อองบร็วส โวลลารด์เกิดในปี 1866 ที่เกาะลา เรอูนิอง (La Réunion) จังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศส

Read More

แท็บเล็ตไฮบริด: โลกของพีซีที่กำลังจะเปลี่ยนไปหลังการเปิดตัวของวินโดวส์ 8

ไมโครซอฟท์กำลังจะเปิดตัววินโดวส์ 8 เร็ว ๆ นี้ โดยตอนนี้เปิดให้ทดสอบการใช้งานและรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ก่อนจะเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลกในวันที่ 26 ตุลาคมนี้แต่การเปิดตัววินโดวส์ 8 ในครั้งนี้นอกจากเป็นการเปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่ของไมโครซอฟท์แล้ว ยังเป็นการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมพีซีและแท็บเล็ต (Tablet) ครั้งสำคัญอีกด้วยตอนนี้เหล่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ทั้งหลายต่างพูดกันถึงแท็บเล็ตไฮบริด (tablet-hybrid) ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างแท็บเล็ตกับแล็บทอป ซึ่งค่อยๆ ทยอยเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ กันออกมาเพื่อมารองรับ วินโดวส์ 8 นี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมพีซีและแท็บเล็ตครั้งสำคัญของโลกผมพูดถึงทั้งอุตสาหกรรมพีซีและแท็บเล็ต เพราะวินโดวส์ 8 นี้กำลังจะทำให้โลกของพีซีและแท็บเล็ตทับซ้อนกันมากขึ้นวินโดวส์ 8 ที่กำลังจะวางตลาดในอนาคตอันใกล้นี้ ไมโครซอฟท์เดิมพันอุตสาหกรรมแท็บเล็ตแบบหมดหน้าตัก โดยออกแบบให้วินโดวส์ 8 สนับสนุนการทำงานทัชสกรีนแบบเต็มตัว ทำให้แท็บเล็ตกลายเป็นสิ่งที่กำลังจะมาแทนที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊กในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะเมื่อองค์กรต่างๆ ทยอยกันอัพเกรดวินโดวส์ 7 หรือเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้มาเป็นวินโดวส์ 8 ประมาณปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้า   นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เหล่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ล้วนมุ่งสู่เส้นทางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการใช้งานแบบทัชสกรีนอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกันทุกวันนี้เราจะพบเห็นคนใช้แท็บเล็ตอยู่รอบๆ ตัวเราไม่ว่าจะเดินไปไหนมาไหน  จากการสำรวจของหน่วยงาน Online Publishers Association (OPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การใช้งานแท็บเล็ตเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยจากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน

Read More

“ลูกคนนี้จะวิ่งเร็วมาก…”

“เสริมสุขจะครบ 60 ปี เมษายนปีหน้า เราสั่งสมประสบการณ์ สร้างแบรนด์เครื่องดื่มมามากมาย วันนี้เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงของการมีแบรนด์น้ำอัดลมของเราเอง คือ เอส (est) เราตั้งเป้าสร้างแบรนด์เอสให้ติดตลาดในเมืองไทยและเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ เปิดตลาดในต่างประเทศ วันนี้เป็นจุดเปลี่ยนจากการสร้างแบรนด์ของผู้อื่นมาสู่การปั้นแบรนด์ของตัวเอง ให้เป็นเจ้าตลาด เป็นครั้งแรกใน 60 ปี”ถ้อยแถลงของสมชาย บุลสุข ในวันเปิดตัว “เอส” ไม่ใช่แค่ความตื่นเต้นในเชิงธุรกิจ แต่ทุกช่วงจังหวะเต็มไปด้วยอารมณ์ลึกซึ้งกัดกินใจผู้ชายวัยเกือบ 70 ปี ที่อยู่ในวงการเครื่องดื่มน้ำดำมาตลอดชีวิต ผ่านวิกฤตหลายรอบ ยอมทิ้งหุ้นธุรกิจที่สร้างมากับมือและถอยมาอยู่เบื้องหลังลูกชายที่ก้าวขึ้นมาบริหารงานอย่างเต็มตัวเพราะนี่คือ ภารกิจใหม่ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ “เสริมสุข” ยุคที่ 3“ยุคนี้ คุณหนึ่ง (ฐิติวุฒิ์ บุลสุข) เป็นผู้บริหารและมีทีมผู้บริหาร อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป แต่วันนี้ เหนื่อยแต่ปลื้ม เรามีเวลาน้อยกว่า 8 เดือนที่เด็กคนนี้จะโตขึ้นมา เรายังไม่เคยทำนะ ผมก็ 46 ปีกับบริษัท ผมยังไม่เคยต้องมานั่งสร้างแบรนด์ ผสมโน่นผสมนี่ ตัวผมเองอยู่ข้างหลังอดปลื้มไม่ได้ เราได้ทำอะไรบางอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต

Read More

วัฏจักรแห่งสายน้ำ

 มหาอุทกภัยเมื่อปี 2010-2011 ที่ผ่านมาทำให้เกิดผลกระทบเสียหายอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมต่างๆ การเกษตร การท่องเที่ยว แหล่งโบราณสถาน และวิถีชีวิตในชุมชนเมืองและชนบท เหตุการณ์ครั้งนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการน้ำที่ไม่เป็นระบบ และความล้มเหลวของการรับมือกับภัยพิบัติขนาดใหญ่ น้ำท่วม-น้ำแล้ง กลายเป็นวัฏจักรที่เวียนวนไม่จบสิ้นและเกิดขึ้นทุกๆ ปี ข่าวการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรมีให้เห็นทุกปี มีบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์สูบน้ำทะเลมากลั่นเป็นน้ำจืดส่งไปหล่อเลี้ยงระบบอุตสาหกรรมต่างๆ ขณะที่อีกฝากหนึ่งของประเทศกำลังถูกสายน้ำเข้าซัดกระหน่ำ!? สายน้ำเปรียบดังเส้นเลือดใหญ่ ทำอย่างไรที่จะให้สายโลหิตนี้หลั่งไหลไปทั่วถึง ไม่เหือดแห้งได้ใช้ประโยชน์กันอย่างทั่วหน้า การบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบจึงกลายเป็นความหวังที่จะนำพาเราก้าวข้ามวัฏจักรแห่งสายน้ำนี้ไปได้ Photo by Bandit Chotsuwan, Chanklang Kanthong 

Read More

ผู้นำ…การเปลี่ยนแปลง สไตล์ ศุภชัย

จากเวทีเสวนา “ผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง” ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสัมมาชีพและเครือมติชน ศุภชัย เจียรวนนท์ ผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มทรูพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในหลายปีที่ผ่านมาของทรูว่า ต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยได้บอกหลักการ “บริหารสู่ความเปลี่ยนแปลง...เพื่อการเปลี่ยนแปลง” ของเขา เอาไว้ดังนี้ 1.บริหารความคิด การบริหารเพื่อความเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มต้นจากการพิจารณาก่อนว่า จริงๆ แล้วคำว่า “เปลี่ยนแปลง” คืออะไร2.บริหารอย่างมีเป้าหมาย เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องไปในทิศทางใด และเป้าหมายอยู่จุดใด โดยต้องเชื่อมั่นว่านั่นเป็นเป้าหมายที่เหมาะสมที่จะไป3.บริหารโดยมีส่วนร่วม การเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมตั้งแต่ความคิดจนถึงการปฏิบัติ เพราะเป็นทางเดียวที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงและเติบโตไปพร้อมกัน4.บริหารโดยคุณค่า องค์กรต้องเปลี่ยนแปลง แต่คุณค่าหลักและวัฒนธรรมองค์กรที่สั่งสมมาไม่ควรเปลี่ยน เพราะคุณค่าเหล่านี้จะทำให้เกิดความยั่งยืนในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง5.บริหารโดยใช้ความรู้และวิทยาการ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการบริหารท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องบริหารด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมากพอ6.บริหารโดยใช้สิ่งแวดล้อมใหม่ ถือเป็นกุศโลบายในการสร้างบรรยากาศในการทำงาน7.บริหารโดยตัวอย่าง (ที่ดี) เพื่อเป็นต้นแบบในเรื่องความสำเร็จและการเสียสละเพื่อส่วนรวม ถ้าไม่มีก็อาจจำเป็นต้องสร้างขึ้นมา8.บริหารโดยผู้นำ ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการนำพาองค์กร เพราะเป็นผู้กำหนดว่าจะนำพาองค์กรไปทิศทางใดและอย่างไร9.บริหารโดยการสร้างคน ผู้บริหารทรูกล่าวว่า ตั้งแต่ข้อ 1 จนถึงข้อนี้ ล้วนแต่เป็นเรื่อง “คน” ฉะนั้น ถ้าวันนี้บริษัทยังคิดไม่ออกว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้เริ่มต้นที่การสร้างคนที่มีคุณภาพ ในอนาคตคนเหล่านี้จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้เองสุดท้าย ศุภชัยสรุปสั้นๆ ว่า “คน” ก็คือ การเปลี่ยนแปลง และ

Read More

7-11 สู้ศึกรอบด้าน สงครามคอนวีเนียนสโตร์

สงครามคอนวีเนียนสโตร์ดุเดือดมากขึ้น เมื่อผู้เล่นยักษ์ใหญ่เข้ามาบุกตลาดและใช้กลยุทธ์จับมือพันธมิตรสร้างความแข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) กับบริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น โดยซีอาร์ซีเข้าถือหุ้นใหญ่ 50.29% ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ท ในประเทศไทย และประกาศแผนขยายสาขาให้ได้ 1,500 สาขา ภายใน 5 ปี และเพิ่มเป็น 3,000 แห่ง ภายใน 10 ปี จากปัจจุบันเปิด 746 สาขาล่าสุด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เตรียมบรรลุข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ลอว์สัน อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น เจ้าของเครือข่ายกิจการร้านสะดวกซื้อรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัท สหลอว์สัน จำกัด ยกเครื่อง "ร้าน 108 ช้อป" ทั้ง 600 สาขา เพื่อรุกตลาดครั้งใหญ่นี่ยังไม่นับรวมกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตที่แห่ลงมาเล่นเกมไซส์เล็กแบบเจาะช่องว่างทุกตารางเมตร อย่างโลตัสเอ็กซ์เพรส ที่ล่าสุดเปิดแล้ว 500 สาขา มินิบิ๊กซี 90 สาขา สิ้นปีเพิ่มเป็น 125 สาขา ท็อปส์เดลี่ 114 สาขา สิ้นปีเพิ่มเป็น 200 สาขา และแม็กซ์แวลู่ทันใจที่เร่งขยายตามแนวรถไฟฟ้าอีก 27 สาขาการรุกตลาดและตีขนาบพื้นที่อย่างต่อเนื่องส่งผลให้เบอร์ 1 ในธุรกิจร้านสะดวกซื้อหรือคอนวีเนียนสโตร์ อย่าง "เซเว่น-อีเลฟเว่น" ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ต้องสู้ศึกรอบด้าน ซึ่งปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยอมรับว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่กดดันให้เซเว่น-อีเลฟเว่น ต้องหนีจุดแข็งของคู่แข่งและต้องสร้างความแตกต่างให้ได้จุดแข็งใหม่ของเซเว่นฯ คือการเข้าสู่ร้านสะดวกซื้อแบบครบวงจร

Read More

โครงข่ายศูนย์การค้า CPN ตั้งหลัก-ปักหมุดดูดเงิน AEC

 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกต้นปี “กลุ่มเซ็นทรัล” และแต่ละกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลจะทยอยออกมาแถลงผลประกอบการและทิศทางการดำเนินงานต่อสื่อมวลชน สำหรับปีนี้ ทิศทางของกลุ่มเซ็นทรัลดูจะมุ่งเน้นไปที่ความตื่นตัวในการรองรับการเปิดตัวของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังจะเห็นได้จากหัวข้อการเสวนาที่ถูกจัดขึ้นพร้อมกับการแถลงประจำปีครั้งนี้ นั่นคือ “AEC Challenge”  “ภูมิภาคอาเซียนจะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ เพราะกลุ่ม AEC มี GDP ทั้งหมด 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีประชากร 600 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มที่จะมีศักยภาพมาก สำหรับทิศทางในการลงทุนของเรา ก็ยังคงจะเน้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากประเทศจีนและอิตาลีที่ลงทุนไปแล้ว เราก็คงจะเน้นขยายในภูมิภาคนี้เป็นหลัก” สุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เกริ่น สำหรับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ดูเหมือนกลยุทธ์สำคัญในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC ของกลุ่มคงอยู่ที่การเร่งเปิดศูนย์การค้าให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเฉพาะเข้าไปจับจองพื้นที่ในจังหวัดที่อยู่ติดหรืออยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการหลั่งไหลมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากภายหลังเปิด AEC อย่างเป็นทางการ ในปี 2558  ณ ชายแดนทางด้านเหนือ กลุ่ม CPN ได้ปักหมุดในจังหวัดเหนือสุดของสยามด้วย การเปิดตัว “เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย” ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554

Read More