Home > Suporn Sae-tang (Page 11)

TikTok Shop บูม รายใหญ่โดดลงสมรภูมิ

TikTok Shop หนึ่งฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน TikTok โซเชียลมีเดียสายวิดีโอที่ฮิตฮอตติดอกติดใจเหล่าแม่ค้าออนไลน์ โดยเฉพาะการไลฟ์สด ตัวจริง เสียงจริง ขายจริง เห็นสินค้าจริง สามารถกระตุ้นต่อมนักชอปได้อยู่หมัด หลายรายกวาดยอดออเดอร์เพิ่มขึ้นหลายเท่า สำหรับติ๊กต็อก (TikTok) คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ประเภทไมโครบล็อกกิ้ง (micro-blogging) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องลิปซิงก์ โดยบริษัท ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เปิดตัวติ๊กต็อกในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน 2559 ใช้ชื่อว่า “โต่วอิน” แปลว่า “เสียงสั่น” หลังจากนั้นเปิดตัวในตลาดต่างประเทศเมื่อเดือนกันยายน 2560 และในวันที่ 23 มกราคม 2561 ติ๊กต็อกขึ้นแท่นเป็นแอปพลิเคชันอันดับ 1 จากการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันฟรีในแอปสโตร์ต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก ภายใน 1 ปีแรกมีผู้ใช้ 100 ล้านคน มีการดูวิดีโอมากกว่า

Read More

MAJOR เร่งเป้าหมาย1พันโรง ทุ่ม “ไอแมกซ์” รับหนังฟอร์มยักษ์

วิชา พูลวรลักษณ์ กำลังเข้าใกล้เป้าหมายที่เคยประกาศไว้เมื่อปี 2557 ครั้งฉลองอาณาจักรเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ครบรอบ 20 ปี ก่อนก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 อย่างยิ่งใหญ่ ทั้งตัวเลขการขยายโรงภาพยนตร์ครบ 1,000 โรง และยุทธศาสตร์ระยะยาว ผุดโรงภาพยนตร์ในทุกจังหวัดของประเทศไทย หลังถูกวิกฤตโควิดรุมเร้านานกว่า 3 ปี เฉพาะปี 2566 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) วางแผนปูพรมโรงภาพยนตร์มากที่สุด 13 สาขา 49 โรง งบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการลงทุนขนาดใหญ่นับจากโควิดคลี่คลาย รวมถึงขยายสาขาโบว์ลิ่ง 3 สาขา 40 เลน และคาราโอเกะ 30 ห้อง จากปัจจุบันมีสาขาโรงภาพยนตร์ ณ สิ้นปี 2565 รวม

Read More

บทเรียน โอเกนกิ เดสซึกะ บิ๊กซีปรับสูตรดันร้าน PURE

ปี 2556 อาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี ภายใต้บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ตัดสินใจแตกไลน์กิจการสเปเชียลตี้สโตร์ ร้านเพื่อความงามและสุขภาพสัญชาติไทย สไตล์ญี่ปุ่น OGENKI Beauty & Wellness เพื่อขยายพอร์ตและเน้นภาพลักษณ์ผู้ประกอบการไลฟ์สไตล์รีเทลรับกระแสคนรุ่นใหม่ คำว่า “โอเกนกิ” เป็นคำภาษาญี่ปุ่น หรือ “สบายดีไหม” ในภาษาไทย ถือเป็น Concept หลักของร้านที่ให้พนักงานกล่าวทักทายลูกค้าทุกคนที่เข้ามาใช้บริการภายในร้านว่า “โอเกนกิ เดส ซึกะ” เพื่อแสดงถึงความห่วงใยแบบไทยๆ ในเวลานั้น แม้ทิศทางของโอเกนกิเหมือนการซุ่มเงียบเปิดสาขา เนื่องจากอยู่ในช่วงทดลองตลาด เพื่อสรุปจุดเหมาะสมที่สุด ทั้งรูปแบบ ขนาดร้าน ทำเล กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สินค้า และกลยุทธ์ต่างๆ แต่ถือเป็นการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง เพราะมีทั้งเจ้าตลาดอย่างวัตสันและบู๊ทส์ ร้านเพรียวของกลุ่มบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งยังอยู่ในภายใต้คาสิโนกรุ๊ป ประเทศฝรั่งเศส ร้านโปรเจ็กต์เอ็กซ์ตร้าของกลุ่มซีพีออลล์ที่ปูพรมตามร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น และร้านซูรูฮะในเครือสหพัฒน์ สำหรับโอเกนกิสาขาแรกปักหมุดเจาะทำเลย่านอโศก กลุ่มออฟฟิศ คนทำงาน ผู้อยู่อาศัยกำลังซื้อสูงระดับ

Read More

ดรักสโตร์คึกรับโควิดพันธุ์ใหม่ วัตสัน-บู๊ทส์ อัดกลยุทธ์เดือดๆ

แม้สถานการณ์โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้งหลังเทศกาลสงกรานต์เป็นปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย แต่อีกด้านหนึ่ง คือปัจจัยบวกของกลุ่ม Drug Store และ Beauty & Wellness ซึ่งประเมินตัวเลขเติบโตปีนี้จะมากกว่า 13% แซงหน้าภาพรวมตลาดร้านค้าปลีกที่คาดว่าจะขยายตัว 9% จากมูลค่าปีก่อน 121,896 ล้านบาท ที่สำคัญ กลุ่ม Drug Store และ Beauty & Wellness ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาน้อยกว่าเซกเมนต์อื่นและฟื้นตัวเร็ว เพราะคนไทยมากกว่า 65% หันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากขึ้น ทุกคนต่างต้องการเสริมภาพลักษณ์ทุกสิ่งอย่างบนร่างกายให้ดูดีตลอดเวลา หากเจาะสมรภูมิตลาดหนีไม่พ้น 3 ค่ายใหญ่ ได้แก่ วัตสัน (Watsons) บู๊ทส์ (Boots) และซูรูฮะ (Tsuruha) โดยมีกลุ่มเซ็นทรัลที่กำลังเร่งผลักดันร้านท็อปส์แคร์ (Tops Care) และท็อปส์ วีต้า (Tops Vita) เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ถ้าย้อนดูที่มาของ 3 ค่ายแรก วัตสันมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายยาในฮ่องกง

Read More

มาแล้ว ตู้ขายยา 24 ชม. กด สั่ง เสียบ สแกนจ่าย จบ

“ตู้ยาเมดิสเกิดจากปัญหาส่วนตัว เป็นความต้องการของผู้บริหารอย่างผมเองนี่แหละ มีลูก ลูกไม่สบาย ผมไปร้านขายยาแล้ว ร้านปิด เราต้องการยาในเวลาฉุกเฉินแต่ไม่สามารถหาซื้อได้ เกิดเป็นแนวคิด เมื่อร้านขายยาไม่สามารถขายยาได้ 24 ชั่วโมง และผู้คนไม่สามารถเข้าถึงยาได้ 24 ชม. เราจึงผนวกเข้ากับตู้ Vending Machine เตรียมเทคโนโลยีรองรับอนาคต มีระบบเทเลพูดคุยกับเภสัชกร หรือหมอ รับยาได้เลย” สรพล พันธุมะผล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิส คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ MEDIS กล่าวกับ “ผู้จัดการ360 องศา” ถึงไอเดียเริ่มต้นธุรกิจแพลตฟอร์มจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน 24 ชั่วโมง (24-Hour Medicine Dispenser Platform) ผ่านระบบตู้จ่ายยาอัตโนมัติ (Vending Phamacy) ซึ่งถือเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย สรพลเล่าว่า เขากับเพื่อนอีกคน คือ วีรธิป กระตุฤกษ์ มองเห็น Pain Point

Read More

คาเฟ่ อเมซอน-อินทนิล ปลุกกระแสแฟรนไชส์ฮอตฮิต

คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) เป็นกิจการร้านกาแฟของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการเมื่อปี 2545 โดยจุดเริ่มต้นมาจากแนวความคิดของ อภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจร อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งช่วงนั้นปั๊มน้ำมันของ ปตท. ยังไม่มีธุรกิจเสริม มีเพียงร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น บางสาขา อภิสิทธิ์กล่าวไว้ว่า “คาเฟ่ อเมซอน ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์และเป็นเสมือนห้องรับแขกของสถานีบริการน้ำมัน ปตท.” ช่วงแรกของการเปิดร้าน คาเฟ่ อเมซอน ขายได้เพียง 20 แก้วต่อวัน และใช้เวลาปลุกปั้นแบรนด์ พัฒนาเมนูเครื่องดื่ม และปรับโฉมร้านสาขาอย่างต่อเนื่อง ยอดขายเติบโตต่อเนื่อง กระทั่งเปิดร้านได้ 300 สาขา จึงหันมาเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอน นอกปั๊มน้ำมัน ล่าสุด คาเฟ่ อเมซอน มีสาขารวม

Read More

PTG ปล่อยเงินกู้ผ่านปั๊ม ปฏิบัติการมองข้ามช็อต

พิทักษ์ รัชกิจประการ บิ๊กบอส พีทีจี เอ็นเนอยี ออกมาให้ข้อมูลชนิดเขย่าวงการค้าปลีกน้ำมัน ระบุกำลังเจรจากับบริษัทไฟแนนซ์นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ รายหนึ่ง เพื่อเข้าร่วมทุนทำธุรกิจปล่อยเงินกู้ผ่านสาขาปั๊มน้ำมัน PT ทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง และคาดว่าจะเริ่มปล่อยกู้ได้ในครึ่งปีหลังนี้ โดยเตรียมงบลงทุนนับพันล้านบาท ตามแผนบริษัทเตรียมรวบรวมข้อมูลลูกค้าเป้าหมายจากฐานข้อมูลสมาชิกบัตร PT Max Card ทั้ง Max Card, Max Card Plus, Max Me และ Max Enterprise Connect ซึ่งล่าสุดมียอดสมาชิกบัตรรวมกว่า 19 ล้านราย และตั้งเป้าปรับเพิ่มเป็น 30 ล้านรายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดย Max Card และ Max Card Plus ถือเป็นเครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เพื่อสร้างโปรแกรมเพิ่มยอดขายและเพิ่มความถี่ของการเข้ามาใช้บริการธุรกิจในเครือเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันไม่ใช่แค่ลูกค้าผู้ใช้บริการหน้าสถานีบริการเท่านั้น กลุ่มเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อยังรวมถึงบรรดาร้านอาหาร ร้านค้า และปั๊มน้ำมันที่ต้องการเงินทุนขยายสาขาหรือรีโนเวต

Read More

เปิดขุมทรัพย์ PTG 8 กลุ่มธุรกิจ รายได้แสนล้าน

หลังใช้เวลาโลดแล่นในวงการมากกว่า 3 ทศวรรษ “พีทีจี เอ็นเนอยี” เร่งเดินหน้าโรดแมป PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow ตามแผนทรานส์ฟอร์มธุรกิจจาก Oil-Non oil เป็นธุรกิจ Co-Create Ecosystem รุกอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อผลักดันสัดส่วนกำไรจาก Non-oil สู่ระดับ 50% และขึ้นแท่นเป็น Global Company โดยเฉพาะปีนี้ พีทีจีทุ่มเงินลงทุนลุยยกระดับสถานีบริการน้ำมันแบรนด์ PT และยกระดับบริการที่เรียกว่า PT Service Master ใน 3 มิติ ตั้งแต่การขยายสาขาครบ 2,206 สาขา การตั้ง PT Service Master ให้คำแนะนำลูกค้า มี Max Camp ให้ลูกค้าได้เข้าพักผ่อนระหว่างการเดินทาง และการรวบรวมความต้องการของกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ

Read More

“กาแฟพันธุ์ไทย” ติดเทอร์โบ อัด 5 ปี 5 พันสาขา

“พีทีจี เอ็นเนอยี” เริ่มแตกไลน์ธุรกิจ “ร้านกาแฟพันธุ์ไทย” เมื่อปี 2555 ตามแผนยุทธศาสตร์อัปเกรดสถานีบริการน้ำมัน PT Station และรุกกลุ่ม Non-oil อย่างจริงจัง โดยปักหมุดแรก สาขาบางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา เน้นเสน่ห์เอกลักษณ์ไทย สัญลักษณ์รูปช้าง กระทั่งล่าสุดขยายเครือข่ายมากกว่า 570 แห่ง และปีนี้ตั้งเป้าปูพรมแบบก้าวกระโดดครบ 1,500 สาขาด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) ประกาศโรดแมป “PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow” ภายใน 5 ปีข้างหน้า จะมี Retail Oil Market Share กว่า 25% มีจำนวนสมาชิก

Read More

ย้อน TrueMoney Wallet 1.0 ลุยปรับโฉม WeCard

บริษัท ทรูมันนี่ (TrueMoney) ใช้เวลากว่าสิบปีสร้างฐานและขยายบริการ เจาะกลุ่มลูกค้าเพิ่มยอดสมาชิกจากTrueMoney Wallet รุ่น 1.0 ปีแรกได้ 5,000 ราย จนถึงเวอร์ชันล่าสุดพุ่งทะลุ 27 ล้านราย และลุยให้บริการทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งกัมพูชา เมียนมาเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แรกเริ่มเดิมที กลุ่มทรูตั้ง Ascend Money เป็น Business Venture ก่อนแยกออกมาเป็นหนึ่งธุรกิจในแอสเซนด์ กรุ๊ป ภายใต้เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เพราะเห็นโอกาสการทำ Digital Payment เนื่องจากในช่วงเวลานั้นตัวเลือกการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมีน้อยมากและผู้คนส่วนใหญ่พึ่งพาสถาบันการเงินดั้งเดิม เช่น ธนาคาร แต่ยังมีจุดบริการไม่ทั่วถึงและทำธุรกรรมได้ในเวลาจำกัด Ascend Money จึงพัฒนา Digital Payment Platform โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียว สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายและไม่ต้องสัมผัสเงินสด (Cashless Payment) ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet เช่น จ่ายค่าสินค้าและบริการ

Read More