Home > Suporn Sae-tang (Page 12)

สมรภูมิใหม่ “ทรู-เอไอเอส” 3 มี.ค. ลุ้นหุ้น TRUEE

ดีลควบรวมกิจการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ใช้เวลากว่า 1 ปี ฝ่ากระแสต่อต้านทั้งฝ่ายนักวิชาการและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค จนกระทั่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติเสียงข้างมากไฟเขียวการรวมธุรกิจเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ล่าสุด กระบวนการควบรวมและจัดสรรหุ้นใหม่ดำเนินการตามขั้นตอนมาถึงบทสรุปสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แจ้งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วม ครั้งที่ 2 ระหว่างผู้ถือหุ้นของทรูกับดีแทค อนุมัติชื่อบริษัทใหม่ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” และชื่อย่อหุ้นใหม่ “TRUEE” มีทุนจดทะเบียน 138,208

Read More

บุญชัย เบญจรงคกุล ปิดฉากธุรกิจ หรือแค่พักชั่วคราว

วันที่ 3 มีนาคม 2566 หุ้น TRUE ใหม่ หลังกระบวนการควบรวมกิจการระหว่างกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น และดีแทค จะกลับเข้ามาเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอีกครั้ง หลังที่ประชุมผู้ถือหุ้นสรุปชื่อบริษัทอย่างเป็นทางการให้ใช้ชื่อ “ทรูคอร์ปอเรชั่น” เพราะสะท้อนภาพรวมธุรกิจสื่อสารได้มากกว่า ขณะที่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนเส้นตายวันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายของการซื้อขายหุ้น เพื่อเริ่มกระบวนการจัดสรรหุ้นใหม่นั้น มีรายการซื้อขายบิ๊กล็อตหุ้น TRUE และ DTAC โดยเป็นบิ๊กล็อตของดีแทค จำนวน 434 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 19,000 หมื่นล้านบาท และ TRUE จำนวน 2.29 พันล้านหุ้น มูลค่ากว่า 9,900 ล้านบาท ที่น่าสนใจ คือ กูรูทั้งหลายต่างตีตัวเลขบิ๊กล็อตของดีแทคตรงกับจำนวนหุ้นที่บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ของนายบุญชัย เบญจรงคกุล ที่ถืออยู่ 434,124,196

Read More

สวนลุมไนท์บาซาร์ จุดเริ่มตลาดนัดยามค่ำคืน

สวนลุมไนท์บาซาร์ ถือเป็นตลาดนัดยามค่ำคืนแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริเวณหัวมุมสี่แยกวิทยุ-ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหารเดิม มีบริษัท พี.คอน. ดีเวล็อปเมนท์ (ไทย) จำกัด เป็นผู้พัฒนาโครงการและเปิดเมื่อปี 2544 ภายในมีร้านค้า ส่วนใหญ่ขายสินค้าพวกของขวัญ เสื้อผ้า อัญมณี ผลไม้ ผ้าทอและศิลปกรรม เช่น ภาพวาด และประติมากรรม รวมทั้งมีลานเบียร์ขนาดใหญ่ มีบางกอกฮอลล์ หรือ บีอีซี-เทโร ฮอลล์ ตามชื่อเจ้าของในขณะนั้น เป็นศูนย์ประชุมขนาด 6,000 ที่นั่ง และโรงละครโจหลุยส์ของคณะนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก คณะละครหุ่นกระบอกแบบไทยเดิม ซึ่งทำการแสดงละครเวทีเรื่องรามเกียรติ์ วรรณคดีแห่งชาติของประเทศไทย ต้นปี 2544 สวนลุมไนท์บาซาร์ปิดตัว เนื่องจากหมดสัญญาเช่ากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยย้ายไปสร้างสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งใหม่บริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ส่วนโรงละครโจหลุยส์ได้ย้ายมาอยู่ที่ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ จนถึงปัจจุบัน ปี 2547 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ได้เปิดประมูลที่ดินบริเวณสวนลุมไนท์บาซาร์เดิม โดยเปิดให้บริษัทเอกชนเสนอแผนการพัฒนาโครงการ

Read More

JODD FAIRS เต็มคาราเบล จีแลนด์ขยายโซนจุกๆ 400 ร้าน

ปี 2566 ถือเป็นปีทองของเจ้าพ่อตลาดนัด Night Market “ไพโรจน์ ร้อยแก้ว” หนุ่มร่างใหญ่ที่ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นหาสูตรธุรกิจจนประสบความสำเร็จ มีบริษัทยักษ์ใหญ่จับมือสร้างสมรภูมิที่ใหญ่กว่าเดิมอีกหลายเท่า ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก JODD FAIRS ประกาศเปิดจองล็อกโซนใหม่หลังศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ติดกับพื้นที่เดิม จำนวนมากกว่า 400 ล็อก พร้อมดีเดย์เปิดให้บริการลูกค้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนยาวไปจนถึงสิ้นปี 2566 ขณะเดียวกัน แม้ทำเลตลาดจ๊อดแฟร์ พระราม 9 มีสัญญาเช่ากับบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “จีแลนด์” เจ้าของที่ดิน เพียง 2 ปีเศษๆ เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2564 และจะจบในสิ้นเดือนธันวาคม 2566 เนื่องจากบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นใหญ่ จีแลนด์ มีแผนสร้างตึกสำนักงานเชื่อมกับศูนย์การค้า เซ็นทรัล

Read More

“กล้วยน้ำไท” งัดคอนวีเนียนคลินิก ผุดพรึบ เจาะบัตรทอง-ประกัน

โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ยุค “ศรัณยู ชเนศร์” เจเนอเรชันที่ 2 เร่งขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ Health Care 4.0 หลัง พูลชัย ชเนศร์ ผู้เป็นพ่อส่งมอบอาณาจักรธุรกิจมากกว่าสิบบริษัท โดยเฉพาะเกมรุกขยายคลินิกโครงข่ายกระจายทั่วกรุงเทพฯ ภายใต้นิยาม Convenience Health Care Clinic เพื่อยึดฐานตลาดคนเมืองให้อยู่หมัด ล่าสุด โครงข่ายคลินิกกล้วยน้ำไทเปิดให้บริการแล้ว 29 สาขาในเขตกรุงเทพฯ ใช้ 3 แบรนด์หลัก คือ คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท เคคลินิกเวชกรรม และเคสหคลินิก โดยเน้น 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มใช้สิทธิ์บัตรทอง สิทธิ์ประกันสังคม และสิทธิ์ประกันสุขภาพ จุดขายสำคัญ คือบริการครบวงจรเหมือนโรงพยาบาล ตั้งแต่การตรวจรักษาโรคทั่วไป ตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจก่อนเข้าทำงาน ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ (Health Counseling Service) ให้คำปรึกษาด้านการใช้ยา ห้องทำหัตถการ (Treatment room)

Read More

สงครามไนต์มาร์เกต PF ดึง “จ๊อดแฟร์” ชน “เดอะสตรีท”

ไนต์มาร์เกตเส้นรัชดาภิเษกร้อนฉ่าขึ้นทันควัน เมื่อกลุ่ม “พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” ระเบิดเกมมิกซ์ยูส มูลค่า 7,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 13 ไร่ ติด MRT ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยจับมือกับมาเฟีย ออฟ ไอเดียส์ “ไพโรจน์ ร้อยแก้ว” ผู้สร้างสรรค์ตลาดนัดที่กำลังอินเทรนด์สุดๆ “จ๊อดแฟร์” เขย่าแนวรบที่มีทั้ง “เดอะ สตรีท” ของทีซีซีกรุ๊ป และเดอะ บาซาร์ รัชดาภิเษก ที่ย้ายมาจากสวนลุมไนท์บาซาร์ ขณะเดียวกัน งานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะ ศานิต อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF ต้องการปลุกปั้นธุรกิจค้าปลีก เพื่อสร้างรายได้ก้อนใหญ่ ตั้งแต่เปิดบริษัท วีรีเทล จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2554 และประเดิมโครงการแรก

Read More

มหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์” ระเบิดสินเชื่อรถแลกเงิน

ธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา 2 ค่าย แต่ใช้ชื่อเดียวกันอย่าง “Superrich (ซุปเปอร์ริช)” แม้เป็นคู่แข่งที่ต่างฝ่ายไม่เคยยอมกัน แต่ไม่ได้เปิดศึกช่วงชิงแบรนด์ดุเดือดเหมือนมหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” ซึ่งใช้เวลาต่อสู้ยาวนานมากกว่าทศวรรษ และในกลุ่มสินเชื่อ “รถแลกเงิน” ต้องถือว่า “ศรีสวัสดิ์” เป็นผู้บุกเบิกปลุกตลาดใหม่ให้สถาบันการเงินแห่เข้ามาเจาะช่องว่างสร้างรายได้จำนวนมหาศาล จุดเริ่มต้นของ “ศรีสวัสดิ์” เกิดจากแนวคิดของเสี่ยเจ้าของธุรกิจอู่ซ่อมรถในจังหวัดเพชรบูรณ์ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ซึ่งมีเครือข่ายลูกค้าที่นำรถยนต์มาใช้บริการในอู่อยู่เป็นประจำ และส่วนใหญ่มักเจอปัญหาการติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเอกสารรายได้ทางการเงิน การตรวจสอบเครดิต รวมถึงการเดินทางไปยังสาขาต่างๆ ของธนาคาร ปี 2522 ฉัตรชัยตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน โดยใช้ชื่อมารดา “ศรีสวัสดิ์ แก้วบุตตา” ตั้งชื่อกิจการว่า “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” เริ่มต้นธุรกิจให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนเป็นที่รู้จักและถือเป็นเจ้าตลาดในจังหวัด ดำเนินธุรกิจเกือบ 20 ปี บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์ ขยายสาขาไปยังจังหวัดต่างๆ มากกว่า 130 สาขาทั่วประเทศ และถือเป็น “เบอร์ 1”

Read More

สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล ลุยงานใหญ่ ปลุกแบรนด์ OH! Rich

สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล หรือคุณแพม เข้ามาบริหารงานบริษัท ซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์) จำกัด ในฐานะเจน 2 นานกว่า 8 ปี งัดกลยุทธ์ พร้อมๆ กับการปรับโครงสร้างผสมผสานแนวคิดระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่จนเป็นที่ยอมรับ และล่าสุดประกาศเปิดตัวบริษัท เอส อาร์ ที ฟอเร๊กซ์ (SRT Forex) ตั้งเป้าปลุกปั้นแบรนด์ OH! Rich แจ้งเกิดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีมูลค่าหลายแสนล้าน ด้านหนึ่งเป็นการสร้าง DNA ใหม่ รองรับการขยายฐานตลาด อีกด้านหนึ่งเปิดเกมสร้างความแตกต่างของแบรนด์ซุปเปอร์ริชที่ยังซ้ำซ้อนกัน เพียงแต่ใช้สีต่างกัน ซุปเปอร์ริชของตระกูล “สุสมาวัตนะกุล” ใช้สีเขียว ขณะที่อีกค่าย “ซุปเปอร์ริช 1965” ใช้สีส้ม จะว่าไปแล้ว ซุปเปอร์ริชในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล้วนมีต้นกำเนิดจากครอบครัวเดียวกัน โดย วิบูลย์ ตันติเวชยานนท์ เริ่มทำธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินเมื่อปี 2508 ใช้ชื่อว่าร้านจิตรพาณิชย์ แต่กิจการช่วงแรกประสบปัญหาและถูกโจรปล้นซ้ำอีก วิบูลย์และภรรยาจึงตัดสินใจเปลี่ยนชื่อเป็น Superrich และใช้สีส้มเป็นสีหลักของกิจการ เพราะเป็นสีมงคล แถมส้มถือเป็นผลไม้มงคล เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

Read More

โออาร์-บางจาก ศึกเทกโอเวอร์ช่วงชิงตลาด

ทันทีที่ “บางจาก” ประกาศดีลเทกโอเวอร์ “เอสโซ่” เกิดแรงสั่นสะเทือนในตลาดค้าปลีกน้ำมันที่มี “โออาร์” ของกลุ่ม ปตท. เป็นเบอร์ 1 เพราะเหมือนส่งสัญญาณเปิดศึกไล่บี้ช่วงชิงส่วนแบ่งครั้งใหญ่ ต่อมามีการปล่อยฮินต์ประเด็นโออาร์เร่งแผนซื้อหุ้น “เซ็นกรุ๊ป” ธุรกิจร้านอาหารยักษ์ใหญ่ นั่นกลายเป็นสงครามเทกโอเวอร์ช่วงชิงตลาดอย่างดุเดือด กระแสข่าวระบุว่า บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กำลังเจรจาเข้าซื้อหุ้นบริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN สัดส่วน 25% หรือจำนวน 75 ล้านหุ้น จากผู้ถือหุ้นเดิม คือ บริษัท เอจีบี ซิบลิ้งส์ โฮลดิ้ง จำกัด แต่ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องราคา มูลค่าทรัพย์สิน และเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งหากคิดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดจะอยู่ที่ 5,010 ล้านบาท ทั้งนี้ เซ็น คอร์ปอเรชั่น

Read More

OH! Rich รวยนิหว่า เกมรุกใหม่ของซุปเปอร์ริช

Superrich Thailand เปิดเกมรุกครั้งใหญ่ แตกแบรนด์ธุรกิจแลกเงิน OH! Rich เน้นจุดขาย Lifestyle Promotion รับกระแสท่องเที่ยวไทยพลิกฟื้นแบบ “ล้นทะลัก” จากการคาดการณ์ตัวเลขรายได้ท่องเที่ยวในปี 2566 จะเติบโตในอัตราเร่งอีก 1 ล้านล้านบาท พุ่งแตะ 2.25 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติจะพุ่งสูงแตะ 28 ล้านคน แน่นอนว่า ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรากลับมาคึกคัก ทั้งในแง่กลุ่มลูกค้าคนไทยที่เริ่มเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ มากขึ้น การเดินทางไปทำธุรกิจและการเรียนต่อต่างประเทศ หลังหยุดชะงักไปในช่วงโควิดแพร่ระบาด 2-3 ปี ขณะเดียวกันการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการของจีน โดยผ่อนคลายมาตรการการรับมือสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นสัญญาณการสิ้นสุดของวิกฤตโควิด-19 ที่กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว หลังไทยประกาศเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 รายได้ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส อาร์ ที ฟอเร๊กซ์ จำกัด (SRT Forex) กล่าวกับ

Read More