Home > Cover Story (Page 121)

The Ultimate JOY Experience: มากกว่ายนตรกรรม แต่เป็น BMW ไลฟ์สไตล์

  การมาถึงของสเตฟาน ทอยเชอร์ต (Stefan Teuchert) ในฐานะประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทยคนใหม่ แทน แมทธิอัส พฟาลซ์ (Matthias Pfalz) ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา กำลังสะท้อนมิติเชิงรุกทางการตลาดและการจำหน่ายของ BMW ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนอกจากสเตฟาน ทอยเชอร์ต จะเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ดูแลด้านการขายและบริการหลังการขายมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายขาย บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป รัสเซีย และผู้อำนวยการภูมิภาค ประจำเยอรมนีตะวันออก ดูแลด้านการขายและบริการหลังการขายของผู้จำหน่ายบีเอ็มดับเบิลยู และมินิ ประจำกรุงเบอร์ลิน  การเข้ารับตำแหน่ง ประธาน BMW ประเทศไทยยังเกิดขึ้นในจังหวะที่ BMW เพิ่งฉลองครบรอบ 100 ปี พร้อมกับการประกาศวิสัยทัศน์แห่งอนาคตในนาม The Next 100 Years อีกด้วย “ก้าวแรกแห่งศตวรรษใหม่ของ BMW เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับภารกิจของผมในการผลักดันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับ BMW ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความท้าทายและน่าตื่นตาตื่นใจไปพร้อมกัน” สเตฟาน

Read More

BDMS ต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจ ลุย Center of Excellence

  การตัดสินใจทุ่มเม็ดเงินกว่า 10,800 ล้านบาท ซื้อที่ดินบริเวณโครงการปาร์คนายเลิศ เนื้อที่ 15 ไร่ จากกลุ่มตระกูลสมบัติศิริ เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์สุขภาพแบบครบวงจร BDMS Wellness Clinic ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS  มีแผนการใหญ่ เพื่อเชื่อมโยงบรรดาโรงพยาบาลทั้งหมดในเครือและสร้างอาณาจักรธุรกิจเวลล์เนสเซ็นเตอร์ ติดอันดับท็อปเท็นในอาเซียน เพราะถ้าสำเร็จรายได้รวมจะพุ่งทะลุ 1 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึงเท่าตัวทันที แน่นอนว่า ตาม Vision ของ นพ.ปราเสริฐ โรงพยาบาลยุคใหม่ในเครือ BDMS จะไม่ใช่โรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย ต่างคนต่างดำเนินธุรกิจ แต่โรงพยาบาลลูกที่มีมากกว่า 44 แห่ง คือจิ๊กซอว์ที่เชื่อมติดต่อกันและสร้างเน็ตเวิร์คธุรกิจเวลเนส เพื่อสร้างความแข็งแกร่งเทียบชั้นคู่แข่งอย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และฝรั่งเศส หรือในเอเชียด้วยกันอย่างสิงคโปร์ โดยเฉพาะบริการทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกัน เอนไทเอจจิ้ง และการดูแลสุขภาพให้อายุยืนยาว  เพราะปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดธุรกิจเวลเนสที่มีศักยภาพ โดยสามารถดึงส่วนแบ่งในตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอันดับที่ 13 ของโลก

Read More

“เฮลธ์แคร์” แข่งเดือด ยักษ์อสังหาฯ บุกชิงเม็ดเงิน

  “ธุรกิจสุขภาพ” กลายเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่ดีที่สุดและมีโอกาสเติบโตที่สุด โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกและมีแนวโน้มเติบโตสดใสทันที เมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ ระยะ 10 ปี จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลก  4  ด้าน  ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) เม็ดเงินสะพัด 1 แสนล้านบาท เฉพาะตลาดต่างประเทศที่เข้ามาจับจ่ายในประเทศไทยมากกว่า 1.2 ล้านคนเมื่อปี 2559 กำลังจะดับเบิ้ลขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยสถิติจากกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพบว่า บริการทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมจากลุ่มเมดิคอลทัวริซึ่ม 5 อันดับแรก คือ บริการตรวจสุขภาพ บริการศัลยกรรมความงาม บริการทันตกรรม บริการศัลยกรรมกระดูก และบริการแพทย์เฉพาะทางผ่าตัดหัวใจ แน่นอนว่า ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโรงพยาบาล บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม BDMS

Read More

ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จาก “10 ล้าน” สู่ “แสนล้าน”

  แม้นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ แชมป์เศรษฐีหุ้น 4 ปีซ้อน ถือครองหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถึง 3 แห่ง คือ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) หรือโรงพยาบาลกรุงเทพ  บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส และ บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) มูลค่าหุ้นรวม 67,244.71 ล้านบาท รวมทั้งยังกระโดดเข้าสู่สมรภูมิใหม่ “ทีวีดิจิตอล” มีช่องพีพีทีวีและช่องวันอยู่ในกำมือ แต่หากนับแหล่งรายได้สำคัญของกลุ่มตระกูลปราสาททองโอสถยังมาจากธุรกิจโรงพยาบาลเป็นหลัก เพราะสามารถสร้างรายได้มากกว่า 63,000 ล้านบาทต่อปี และล่าสุด นพ.ปราเสริฐ หรือ “หมอเสริฐ” ประกาศเป้าหมายจะผลักดันรายได้แตะ 1 แสนล้านบาทภายในปี 2561 โดยกำลังวางยุทธศาสตร์การก้าวกระโดดอย่างเข้มข้น เส้นทางการเติบโตของ “กลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ” จนขยายเครือข่ายกลายเป็นธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยึดกุมส่วนแบ่งในตลาด 60-70% เริ่มต้นลงหลักปักฐานสร้างโรงพยาบาลกรุงเทพแห่งแรกในซอยศูนย์วิจัย เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ด้วยเงินทุนจดทะเบียนก้อนแรกเพียง 10 ล้านบาท!!!  ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม

Read More

ปรับโฉม เกษรวิลเลจ แรงกระเพื่อมใหม่ย่านราชประสงค์

  ศูนย์การค้าเกษร แม้ว่าจะอยู่ในทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างจะได้เปรียบห้างสรรพสินค้าอื่นๆ ทั้งเรื่องความสะดวกในการเดินทาง หรือการที่สามารถเชื่อมต่อไปยังโรงแรมระดับหลายดาวกลางเมือง แต่การชุมนุมประท้วงในช่วงหนึ่งส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายให้แก่ศูนย์การค้าเกษรไม่น้อย ถึงกระนั้นเรายังไม่เห็นการปรับปรุงรูปโฉมแบบเต็มรูปแบบของศูนย์การค้าเกษร แม้ว่าจะเปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ.2540 กระทั่งย่างเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 นับเป็นฤกษ์ยามดีที่ทำให้ บริษัท เกษร พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ที่มีชาญ ศรีวิกรม์ ประธานกรรมการบริหาร นั่งแท่นกุมบังเหียน และนำมาสู่การขยับตัวสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ของเกษรพลาซ่า หลังจากปล่อยให้ศูนย์การค้าเกิดขึ้นรายล้อมและอาจจะเรียกได้ว่าปักหมุดโอบล้อมทำเลโดยรอบศูนย์การค้าเกษร เสมือนการวางหมากดักกลุ่มลูกค้าเอาไว้ที่นอกโซน กระทั่งเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ชาญ ศรีวิกรม์ จัดแถลงข่าวเปิดเผยแผนการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ของโครงการกลุ่มเกษรในย่านราชประสงค์ทั้งหมด กระนั้นการเดินหมากครั้งนี้ของชาญ ศรีวิกรม์ กลับไม่ได้ทำเพียงปรับโฉมของห้างสรรพสินค้าเกษรพลาซ่า ให้เปลี่ยนไปจากเดิมเพื่อหวังเรียกความเชื่อมั่นจากกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาเท่านั้น หากแต่การปรับโฉมครั้งนี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการเกษรวิลเลจ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์การค้าเกษร เกษรทาวเวอร์ อัมรินทร์พลาซ่า อัมรินทร์ทาวเวอร์ พร้อมด้วยงบประมาณการลงทุนรวมกว่า 3 พันล้านบาท  กระนั้นการต่อสู้ฟาดฟันกันบนเวทีแห่งราชประสงค์ดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เมื่อคู่แข่งที่อยู่รายล้อมมีการเดินหมากและขยับตัวอยู่ตลอดเวลา หากแต่กลุ่มเกษรกลับทำตัวเสมือนยักษ์ใหญ่จำศีล และตื่นขึ้นมาพร้อมสะบัดคราบเก่าทำให้โครงการเกษรวิลเลจ เป็นพื้นที่ของ “Time Well Spent”  โดยชาญ ศรีวิกรม์ อธิบายว่า “กลุ่มเกษร พร๊อพเพอร์ตี้ มุ่งมั่นในการวางรากฐานการสร้างสรรค์นิยามของประสบการณ์ลักซ์ชัวรีไลฟ์สไตล์เหนือระดับบนพื้นที่ของย่านราชประสงค์ และนำเสนอไลฟ์สไตล์ที่เข้ามาเติมเต็มและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นเวลานานกว่า 2

Read More

ครัวนพรัตน์ บนเรื่องราวและการเล่าขานบทใหม่

  อาคารไม้สองชั้นบนถนนพระอาทิตย์นับเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญบนถนนแห่งนี้ ที่อุดมไปด้วยเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเขตพระนคร กาลผันเปลี่ยน วันเวลานำมาซึ่งความชำรุดทรุดโทรมปรากฏให้เห็นภาพชัด กระทั่งสำนักงานทรัพย์สินฯ มีนโยบายปรับปรุงรูปโฉมตกแต่งภาพลักษณ์ภายนอกอาคารให้ดูใหม่ สร้างสีสันเพิ่มความสดใสมีชีวิตชีวามากขึ้น ความเก่าแก่ของย่านนี้ที่เต็มไปด้วยความเป็นมาเป็นไป เรื่องเล่าของคนเก่าคนแก่ที่ถูกบอกเล่าต่อกันมา ผสมผสานกับจินตนาการของแต่ละคน คงทำให้เห็นภาพยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของสถานที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี กาลเวลาที่ยังคงดำเนินไปข้างหน้าอย่างเที่ยงตรงและมั่นคง หนักแน่นกว่าสายน้ำ คล้ายกระจกเงาชิ้นดีที่สะท้อนให้เป็นความเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนผ่านของสรรพสิ่ง สำหรับบางเรื่องกาลเวลาอาจทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นตำนาน หรือตำนานบางเรื่องกลับผันแปรมาเป็นตัวละครใหม่บนถนนสายเดิม ครั้งหนึ่งบนถนนพระอาทิตย์เต็มไปด้วยร้านรวงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านหนังสือ อัดแน่นไปด้วยเสน่ห์ ที่ทำให้ใครต่อใครต้องเดินทางมาค้นหาและทำความรู้จักกับถนนสายสั้นๆ เส้นนี้ ครัวนพรัตน์ ร้านอาหารไทยที่ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ที่เปิดให้บริการผู้คนในชุมชนและบรรดานิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาศิลปากร ข้าราชการ พนักงานบริษัทเอกชนบริเวณใกล้เคียง เป็นเวลากว่า 30 ปี แม้ครั้งหนึ่งจะปิดตัวลงด้วยเหตุผลบางประการ และปล่อยให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาเช่าพื้นที่ดำเนินกิจการตามยุคสมัย กระทั่งทัศนียภาพของถนนพระอาทิตย์ถูกเปลี่ยนแปลงไปจากภาพชินตาของใครหลายคน บรรยากาศของถนนพระอาทิตย์ที่เคยเต็มไปด้วยความอบอุ่นจากร้านรวงที่แทบทุกร้านจะรู้จักมักคุ้นกัน เสน่ห์ยามค่ำคืนของแสงสีที่อบอุ่นชวนให้ค้นหา แปรเปลี่ยนไปเป็นเสียงอึกทึกครึกโครมของดนตรีทันสมัย ทางเท้าถูกใช้เป็นพื้นที่หน้าร้านสำหรับตั้งโต๊ะดื่มกินและสังสรรค์ สร้างความขัดตาแก่ผู้สัญจรไปมาในย่านนั้น กระทั่งอีกครั้งที่กาลเวลาได้นำพาบรรยากาศแบบเดิมๆ กลับมาเติมเต็มบนถนนพระอาทิตย์อีกครา เมื่อครัวนพรัตน์ที่ปิดกิจกรรมไปเป็นเวลาประมาณ 5 ปี กลับมาดำเนินกิจการใหม่ภายใต้การดูแลของทิพอาภา ยิ่งเจริญ ลูกสาวของอรศรี ศิลปี  “ดีใจมากเลย ที่ลูกสาวตัดสินใจกลับมาเปิดครัวนพรัตน์อีกครั้ง ตอนเขามาบอกว่าจะทำครัวนพรัตน์ ก็คิดว่าเขาน่าจะทำได้ เพราะช่วงท้ายๆ ของ 30 ปีที่ทำครัวนพรัตน์

Read More

สงครามบุฟเฟ่ต์เดือด “โออิชิ” รีเฟรชแบรนด์สู้

  วันที่ 9 เดือน 9 ปี 1999  “โออิชิ” เปิดตัวร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์บุฟเฟ่ต์ ตอบโจทย์โดนใจนักกินและปลุกกระแส Japanese Food ในตลาดไทยร้อนแรงสุดขีด โดยเฉพาะตลาดบุฟเฟ่ต์ และแม้ปีที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจฉุดกำลังซื้อส่วนหนึ่ง แต่การแข่งขันยังรุนแรงขึ้นต่อเนื่องจนทำให้เจ้าตลาดต้องเปิดเกมรุก “รีเฟรช” แบรนด์ร้านอาหารทั้งหมด เพื่อเปิดศึกรอบใหม่ในปี 2560 ที่คาดกันว่าธุรกิจอาหารในประเทศไทยจะมีมูลค่าทะยานขึ้นไปถึง 3.9 แสนล้านบาท  ในจำนวนดังกล่าวแยกเป็นเชนร้านอาหารราว  1.17 แสนล้านบาท และเป็นธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น เกินกว่า 20,000 ล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย 10-15%  ต่อปี  ถือเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเติบโตสูงได้อีกและแข่งขันดุเดือด ทั้งในแง่จำนวนผู้เล่น จำนวนร้านและกลยุทธ์ต่างๆ   ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แม้มีความหวังว่าจะดีขึ้น ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นแข่งขันรุนแรงมากกว่าเดิม แต่การจะเอาชนะคู่แข่งได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแบรนด์และใครตอบโจทย์ได้ดีกว่า ซึ่งโออิชิมีการปรับยุทธศาสตร์ตั้งแต่ปีก่อน

Read More

“So Asean” ลุยเฟส 2 แผนใหญ่ “ฟู้ดออฟเดอะเวิลด์”

  นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ด ออฟ เอเชีย จำกัด ใช้เวลากว่า 2 ปี สร้างโมเดล ผุดร้านอาหารอาเซียน SO Asean Cafe & Restaurant ชิมลางสาขาแรกในศูนย์การค้า “เดอะสตรีท รัชดา” ผ่านไป 1 ปี แม้รายได้บรรลุเป้าหมาย แต่ยังมี “โจทย์” ข้อยากที่สุด ซึ่งถือเป็นการบ้านที่ยังทำไม่เสร็จและอาจต้องยกเป็น “วาระแห่งชาติ” ของประเทศในการปลุกกระแสอาเซียนให้เกิดขึ้นจริงด้วย  “เพราะอาหารเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาเซียน....” นงนุชกล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ” ก่อนอธิบายต่อว่า การเปิด So Asean แม้ล่าสุดมีแผนขยายอย่างต่อเนื่อง แต่ยังเป็นช่วงการเรียนรู้ประสบการณ์จากลูกค้า เพื่อปรับเปลี่ยนร้านให้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย ข้อสำคัญที่สุด คือ การให้ความรู้ เพื่อปลุกกระแสความเป็น “อาเซียน” ตามวิชั่นของฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มบริษัท

Read More

เปิดบทเรียนแนวคิดธุรกิจ กับ “วรัตต์ วิจิตรวาทการ”

  จากจุดเริ่มต้นของร้านกาแฟเล็กๆ ขนาด 12 ที่นั่ง เมื่อประมาณ 8-9 ปีที่แล้วในนาม OHANA ซึ่งมีความหมายในภาษาท้องถิ่นฮาวายว่า “ครอบครัว” จังหวะแห่งการก้าวเดินบนหนทางสายธุรกิจของ วรัตต์ วิจิตรวาทการ ในวันนี้ได้เปลี่ยนผ่านประสบการณ์และการเคี่ยวกรำ มาสู่ ROAST และแตกหน่อไปสู่ Roots แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการเป็นผู้ร่วมริเริ่มก่อตั้ง The Commons คอมมูนิตี้มอลล์ที่ให้ภาพความแตกต่างไปจากบริบทเดิมๆ ของย่านทองหล่อ ต้นทุนเบื้องต้นที่มาจากความสนใจและตั้งใจที่จะนำเสนออาหาร เครื่องดื่ม และกาแฟ ที่แตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายอื่นๆ ไปสู่ผู้บริโภค กลายเป็นปฐมบทแห่งการเดินทางบนถนนสายธุรกิจที่มีการเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคง ก่อนที่จะขยับขยายควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในความสามารถและมีความน่าเชื่อถือ ไม่เฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว หากยังรวมถึงผู้สนใจร่วมลงทุนรายอื่นๆ หรือแม้กระทั่งสถาบันการเงินที่จะหยิบยื่นเงินลงทุนในการขยายกิจการ “ผู้ประกอบการบางรายอาจเริ่มต้นธุรกิจ ด้วยความพยายามมองหาหรือให้ความสำคัญกับผู้ร่วมทุนที่มีศักยภาพทางการเงิน โดยละเลยที่จะพิจารณาในมิติของเป้าหมาย ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องธุรกิจ แต่เป็นการตั้งคำถามถึงเป้าหมายในชีวิตก่อน แล้วค่อยเลือกที่จะทำในสิ่งหนุนนำเราไปสู่จุดนั้นได้” การเกิดขึ้นของ The Commons ในช่วงขวบปีที่ผ่านมา อาจสะท้อนภาพทัศนะและแนวความคิดที่ว่านี้ของวรัตต์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะในมุมมองของวรัตต์ การเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร ที่แม้จะประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ ROAST ให้เป็นที่รู้จักและได้รับการกล่าวถึงในวงกว้าง ที่ดำเนินควบคู่กับการเติบโตแบบ organic

Read More

เปิดหวูดรถไฟฟ้า ระเบิดศึกชิงทำเลทอง

  สงครามชิงทำเลทองระลอกใหม่ระเบิดขึ้นทันทีที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ เฟสแรก ภายใต้งบประมาณมากกว่า 5 แสนล้านบาท โดยจะทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559-2565 เริ่มจากการเปิดเดินรถไฟสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559 และในปี 2560 จะเปิดเดินรถอีก1สถานีที่เชื่อมสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ ปี 2561 สายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ลักษณะทยอยวิ่ง สถานีไหนสร้างเสร็จจะเปิดเดินรถก่อน  ปี 2562 สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต รวมทั้งสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ    ปี 2563 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-หัวหมาก, สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และช่วงคูคต-ลำลูกกา ปี 2564 สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ก่อนวางแผนปิดจ๊อบโครงการเฟสแรกในปี 2565 เปิดเดินรถสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และสายสีส้มตะวันตก

Read More