Home > เศรษฐกิจพอเพียง

เปิดโมเดล “ธรรมธุรกิจ” กับผู้จัดการไปทั่ว “พิเชษฐ โตนิติวงศ์”

หลังจากเข้าไปช่วยแก้ปัญหาชาวนาปิดถนนประท้วง ตามคำขอของรัฐบาลใน พ.ศ. 2551 จนทำให้ธุรกิจของตัวเองเกือบล้มละลาย อีกทั้งปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขได้อย่างยั่งยืน “หนาว-พิเชษฐ โตนิติวงศ์” เจ้าของโรงสีศิริภิญโญ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “จะทำอย่างไรเพื่อช่วยให้ชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน” ซึ่งนั่นกลายเป็นที่มาของ “ธรรมธุรกิจ” ธุรกิจที่มีโมเดลไม่เหมือนใคร “ผู้จัดการ 360 องศา” ชวนมาทำความรู้จัก “ธรรมธุรกิจ” ธุรกิจเพื่อสังคมที่ใช้หลักธรรมมานำธุรกิจ เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจทางรอด กับ คุณหนาว - พิเชษฐ โตนิติวงศ์ “ผู้จัดการไปทั่ว” ของบริษัท ธรรมธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด “ใช่ครับ ไม่ได้เรียกผิด ตำแหน่งผมคือ ‘ผู้จัดการไปทั่ว’ เพราะไปทั่วจริงๆ ไปมันทุกที่ และถ้าถามต่อว่า ‘ธรรมธุรกิจ’ คืออะไร ‘ธรรมธุรกิจ’ คือ ธุรกิจเพื่อสังคมที่ต้องการสร้างระบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ธรรมนำหน้า” คุณหนาวเริ่มต้นบทสนทนาเมื่อเราถามถึงชื่อตำแหน่งของเขา พร้อมบอกเล่าเรื่องราวและจุดกำเนิดของ “ธรรมธุรกิจ” ต่อไปว่า “ธรรมธุรกิจ เกิดขึ้นเพราะเราอยากช่วยชาวนา ปี 2551 ตอนนั้นชาวนาปิดถนนที่เชียงราย

Read More

ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเคหะ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากสินค้าชุมชนรูปแบบเดิมที่อาจเห็นอย่างมากมายในตลาด สู่การยกระดับมาตรฐาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม ถูกใจแต่ยังคงไว้ซึ่งความปราณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไม่ทิ้งรากฐานเดิม ปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงใจผู้ซื้อ โดยผ่านการสนับสนุนจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลง ผู้คนจำนวนไม่น้อยขาดรายได้ในการยังชีพ ซึ่งชาวชุมชนเคหะเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การเคหะแห่งชาติจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาเคหะชุมชนโดยยึดแนวคิด “ชุมชนต้องสามารถยืนได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้การส่งเสริมอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถยังชีพและเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งหลายชุมชนของการเคหะแห่งชาติมีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ฝีมือปราณีต แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของผูบริโภคในวงกว้างอีกทั้งช่องทางในการจำหน่ายยังมีอยู่อย่างจำกัด “ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และ “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์” ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติและฝ่ายบริหาร จึงร่วมกันผลักดันแนวคิดยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของการเคหะสู่กลุ่มตลาดพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน การได้เข้าพบคุณภากมล รัตตเสรี กรรมการและรองเหรัญญิก มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนาในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งในมิติเกษตรชุมชนยั่งยืน และมิติของการยกระดับสินค้าชุมชน เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาชาวชุมชนจากวิกฤตโควิด-19 และพัฒนาให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติ เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนวคิดนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้กล่าวว่า “การเคหะมีชุมชนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก

Read More

เศรษฐกิจพอเพียง จาก “ปรัชญา” สร้าง “ธุรกิจชุมชน”

  “การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย จะเกิดความไม่สมดุล ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2517 หรือเมื่อ 50 ปีก่อน ได้รับการพัฒนากลายเป็นปรัชญาสำคัญของประเทศ ภายใต้แนวคิด “3 ห่วง 2 เงื่อนไข”  คือ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้” และ “คุณธรรม” แม้ในช่วงแรกๆ หลายภาคส่วนยังไม่เข้าใจและเข้าถึง “แก่น” แต่การที่ประเทศไทยสามารถผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจหลายครั้งด้วยแนวคิดดังกล่าว ย่อมถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุด ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจน้อมนำแนวคิดปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” สร้างรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจไม่แสวงหากำไรจนเกินควร คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตของประเทศชาติ เพราะเมื่อเศรษฐกิจประเทศมั่นคง ประชาชนเข้มแข็ง จะส่งผลถึง “กำไร” ขององค์กรธุรกิจด้วย ดังทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่อง “ขาดทุน คือ กำไร  Our

Read More

จาก “ต้มยำกุ้ง” ถึง “หนี้ครัวเรือน” ย้ำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

  ขณะที่รัฐบาลพยายามสร้างความเชื่อมั่นในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ หลังเจอผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปัญหาการส่งออกติดลบ การบริโภคภายในประเทศหดตัว และที่สำคัญ คือ วิกฤตหนี้ครัวเรือนพุ่งสูงสุด แม้มีมาตรการกระตุ้นออกมาหลายรอบ แต่ยังไม่เห็นผลชัดเจนนัก จนดูเหมือนว่า วิกฤตครั้งนี้ทางออกเหนือมาตรการทั้งปวงที่จะช่วยประเทศไทยและคนไทยก้าวผ่านพ้นมรสุม คือ การยึดหลักปฏิบัติตามปรัชญาแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ล่าสุด นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาเรียกร้องให้คนไทยมั่นใจศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศและเปลี่ยนความโศกเศร้าของประชาชนเป็นพลังสามัคคีของคนทั้งประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า โดยน้อมนำหลักปรัชญาและสืบสานพระปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปใช้เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ  เพราะวิกฤตเศรษฐกิจหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ปัญหาหลักอยู่ที่ความไม่สมดุลของการพัฒนา จนขาดภูมิคุ้มกันและต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอก เมื่อเศรษฐกิจโลกย่ำแย่ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่อง ทำให้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวคิดที่ทันสมัยทุกยุค  หรือแม้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 เปลี่ยนจากยุค 1.0 เน้นภาคเกษตรกรรม ยุค 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา ยุค 3.0 เน้นภาคอุตสาหกรรมหนัก และยุค 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลล่าสุดที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value-Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนแนวคิดจาก

Read More