Home > สินค้าชุมชน

ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเคหะ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากสินค้าชุมชนรูปแบบเดิมที่อาจเห็นอย่างมากมายในตลาด สู่การยกระดับมาตรฐาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม ถูกใจแต่ยังคงไว้ซึ่งความปราณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไม่ทิ้งรากฐานเดิม ปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงใจผู้ซื้อ โดยผ่านการสนับสนุนจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลง ผู้คนจำนวนไม่น้อยขาดรายได้ในการยังชีพ ซึ่งชาวชุมชนเคหะเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การเคหะแห่งชาติจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาเคหะชุมชนโดยยึดแนวคิด “ชุมชนต้องสามารถยืนได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้การส่งเสริมอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถยังชีพและเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งหลายชุมชนของการเคหะแห่งชาติมีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ฝีมือปราณีต แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของผูบริโภคในวงกว้างอีกทั้งช่องทางในการจำหน่ายยังมีอยู่อย่างจำกัด “ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และ “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์” ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติและฝ่ายบริหาร จึงร่วมกันผลักดันแนวคิดยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของการเคหะสู่กลุ่มตลาดพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน การได้เข้าพบคุณภากมล รัตตเสรี กรรมการและรองเหรัญญิก มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนาในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งในมิติเกษตรชุมชนยั่งยืน และมิติของการยกระดับสินค้าชุมชน เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาชาวชุมชนจากวิกฤตโควิด-19 และพัฒนาให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติ เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนวคิดนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้กล่าวว่า “การเคหะมีชุมชนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก

Read More