Home > 2016 > พฤศจิกายน (Page 2)

เปลี่ยนแปลงแล้วจะดี

 Column: Well – Being เคยสังเกตไหมว่า บ่อยครั้งทีเดียวที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก่อให้เกิดความแตกต่างที่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเราอย่างแท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องปฏิวัติครั้งใหญ่ในชีวิตด้วยซ้ำ ตามรายละเอียดที่นิตยสาร GoodHealth แจกแจงดังนี้ กินดาร์กช็อกโกแลต (ไม่ใช่นม) เวลาเครียด ข้อดี: ลดผลกระทบด้านลบต่อร่างกายลงได้ครึ่งหนึ่ง คนจำนวนมากมักเลือกบริโภคอาหารรสหวานเวลาเกิดอาการเครียด เพราะน้ำตาลช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอนดอร์ฟินส์ที่ทำให้รู้สึกมีความสุข และช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนจากช็อกโกแลตนมมาเป็นดาร์กช็อกโกแลต คุณจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง อย่างไรรึ เพราะภาวะอักเสบภายในร่างกายกระตุ้นให้เกิดอันตรายจากการเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงจากภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองมากถึงร้อยละ 55 เมื่อคุณเปลี่ยนจากการบริโภคช็อกโกแลตนมมาเป็นดาร์กช็อกโกแลต ความเสี่ยงดังกล่าวก็ลดลงด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในช็อกโกแลตนั่นเอง ฟลาโวนอยด์เป็นสารมหัศจรรย์ที่ส่งผลต่อระบบเลือดในร่างกาย นักวิจัยชาวเยอรมันอธิบายว่า “ถ้าเราคิดว่านมจะเข้าไปขัดขวางการเผาผลาญฟลาโวนอยด์ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ ให้เปลี่ยนมากินดาร์กช็อกโกแลตแทน” ใช้เครื่องดูดควันกับเตาแก๊ส ข้อดี: ลดการสูดสารพิษได้ราวร้อยละ 50คุณอาจคิดว่าอันตรายใหญ่หลวงที่สุดจากการสูดสารพิษ มาจากการเดินอยู่ข้างนอกท่ามกลางการจราจรที่แออัด แต่รัฐบาลออสเตรเลียกลับให้ข้อมูลว่า ชาวออสเตรเลียใช้เวลาร้อยละ 90 อยู่ภายในอาคาร ทำให้ภาวะมลพิษในอากาศกลายเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเรา อย่างไรก็ตาม ควันที่เกิดขึ้นขณะทำอาหาร โดยเฉพาะเมื่อใช้เตาแก๊ส ก็ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งมลพิษที่สำคัญที่ก่อให้เกิดอันตรายเช่นกัน เพราะการปรุงอาหารทำให้เกิดแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาระบบทางเดินหายใจ และยังผลิตอนุภาคและฝุ่นขนาดเล็กที่เกิดจากอาหาร ซึ่งเข้าสู่ปอดได้ผ่านทางการหายใจ การติดตั้งเครื่องดูดควันจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ ขยับร่างกายมากขึ้น ข้อดี: ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราวร้อยละ 30ถูกต้องที่สุด

Read More

“ออมสุข” ต่อยอดโรงเรียนชาวนา พลิกชีวิต อยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี

  การจับมือกันระหว่างบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กับมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) จัดตั้ง บริษัท ออมสุข วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจซื้อสินค้าเกษตร ข้าว และพืชอินทรีย์อื่นๆ น่าจะเป็นก้าวย่างสำคัญของบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ในฐานะภาคเอกชนที่ผลักดันให้เกิดบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise อย่างเต็มรูปแบบ  เป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมเกษตรกรทางภาคเหนือที่ปลูกข้าวและทำเกษตรอินทรีย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ให้เกษตรกร สามารถพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลธรรมชาติ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา และช่วยบรรเทาภัยพิบัติจากธรรมชาติ แน่นอนว่า เมื่อบริษัทเอกชนรายใหญ่อย่าง “บางจาก” เข้ามาสนับสนุนทั้งเงินทุนและช่องทางต่างๆ โดยเริ่มต้นทุนจดทะเบียนก้อนแรก 10 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างบางจากและมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์ 40 : 60 ย่อมหมายถึงโอกาสและความเป็นไปได้สูงขึ้น หลังจากมูลนิธิพุทธเศรษฐศาสตร์เข้าไปบุกเบิกแนวทางเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงรายเมื่อ 7 ปีก่อนพร้อมๆ กับการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากล “ไร่เชิญตะวัน” ท่าน ว.วชิรเมธี เคยกล่าวในธรรมบรรยายครั้งหนึ่งว่า

Read More

ผู้หญิงชนพื้นเมืองอเมริกันถูกข่มขืนและไม่ได้รับความเป็นธรรม

  Column: Women in Wonderland กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน หมายถึงกลุ่มคนพื้นเมืองในประเทศอเมริกาที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกามาก่อนที่คนยุโรปจะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่จะหมายถึงชนเผ่าอินเดียนแดง ซึ่งส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Native American หรือ American Indian ก่อนหน้านี้มีการใช้คำว่า Red Indian ในการพูดถึงชนพื้นเมือง และต่อมายกเลิกใช้คำนี้ไป เพราะ Red Indian ดูเป็นคำที่ไม่สุภาพและแสดงถึงการแบ่งแยกชนชั้น ดังนั้นในการสัมมนานานาชาติของคนอินเดียน ที่จัดขึ้นที่องค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1977 คนอินเดียนจึงมีมติที่ประชุมร่วมกันว่าจะใช้คำว่า American Indian หรือ Native American ในการกล่าวถึงกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศอเมริกา กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันจะอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มและอาศัยอยู่ในเขตสงวนอินเดียนแดง เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 มกราคม 1876 รัฐบาลอเมริกาประกาศให้ชนพื้นเมืองอเมริกันทุกคนย้ายเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นเขตสงวนอินเดียน ในประเทศอเมริกามีเขตสงวนอินเดียนอยู่ประมาณ 300 เขต และในแต่ละเขตก็จะมีขนาด ภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในบางพื้นที่คนพื้นเมืองอเมริกันไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ ในปัจจุบันนี้มีชนพื้นเมืองอเมริกันบางส่วนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ไม่ใช่พื้นที่เขตสงวน เพื่อเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้เหมือนกับคนอเมริกันทั่วไป ตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า

Read More

โสตศึกษาบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่

  ในห้วงยามที่ประเทศไทยยังคงถูกปกคลุมไปด้วยม่านหมอกแห่งความรู้สึกเศร้าโศกเสียใจกับการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่เพียงประชาชนคนไทยเท่านั้น หากแต่เป็นโลกที่สูญเสียพระมหากษัตริย์นักพัฒนาอีกด้วย ขณะที่น้ำตายังไม่แห้งเหือดและเอ่อล้นรื้นรินดวงตาอยู่ทุกครั้งเมื่อปรากฏภาพพระราชกรณียกิจในสารคดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงตรากตรำทำงานแก้ปัญหาทุกข์เพื่อสุขของประชาชนมิเว้นวาย ปัญหาส่วนใหญ่ของเกษตรกรไทยที่ดูจะเป็นปัญหาสะสมมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ปัญหาการใช้ที่ดินอย่างที่ไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้สูงสุด  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทาน “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหา โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เข้ากับการทำการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเฉลี่ยประมาณครอบครัวละ 10-15 ไร่ จึงทรงคิดคำนวณจำแนกการใช้พื้นที่ดินเพื่อการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายหลักคือ ทำอย่างไรให้มีข้าวปลาอาหารเพียงพอตลอดปีจากผืนดิน เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไปกับค่าอาหารและของกินของใช้ต่างๆ และมีรายได้เพียงพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยสิ่งจำเป็น นอกจากนั้นยังมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย เมื่อมีความมั่นคงในชีวิต ก็ดำเนินชีวิตด้วยความรัก ความสามัคคีเอื้ออาทรกัน  จากนั้นทรงมีพระราชดำริให้ทดลอง “ทฤษฎีใหม่” ขึ้นครั้งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา เมื่อปี พ.ศ.2532 โดยพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อซื้อที่ดินจำนวน 15 ไร่ ใกล้วัดมงคลชัยพัฒนา ทดลองทำทฤษฎีใหม่ จากนั้นขยายโครงการไปยังที่อื่นๆ อีก อย่างไรก็ตาม หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือการแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ ขุดสระหรือบ่อเพื่อกักเก็บน้ำสำหรับทำการเกษตร 30% ของพื้นที่ ส่วนที่สองคือ การปลูกข้าว 30% ของพื้นที่

Read More

ไชน่าเวิลด์ คาดสิ้นปีมูลค่าการซื้อขายผ้าทะลุ 700 ล้านบาท

  ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ อาณาจักรผ้าม้วนที่ใหญ่ที่สุดใจกลางพาหุรัด ในเครือกลุ่มเซ็นทรัล เติบโตต่อเนื่อง เป็นแหล่งรวมผ้าม้วนสำหรับค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่สุดของพาหุรัด  ทำยอดการค้าทะลุเป้า  เลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล เปิดเผยว่า ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ก่อตั้งเมื่อปี 2552 เดิมพื้นที่ส่วนนี้เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล วังบูรพา แต่เนื่องจากกลุ่มเซ็นทรัลมองเห็นโอกาสของตลาดผ้าม้วน ซึ่งบริเวณชุมชนพาหุรัดเป็นย่านที่โดดเด่นของผ้าม้วนลวดลายต่างๆ คนส่วนใหญ่หากพูดถึงผ้าม้วนจะต้องนึกถึงพาหุรัดเป็นอันดับต้นๆ ทำให้ปรับแผนการตลาดจากเซ็นทรัล วังบูรพา มาเป็นศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์  จุดเด่นของไชน่าเวิลด์ ถือเป็นแหล่งรวมผ้าม้วนทุกลวดลายที่ใหญ่ที่สุดในพาหุรัด รวบรวมร้านค้าผ้าม้วนเกือบ 200 ร้านค้า แบ่งเป็นประเภทค้าส่ง 80% และค้าปลีก 20% ประกอบด้วย 3 โซน ได้แก่ ผ้าระดับไฮเอนด์ (Hi-End) เช่น The Cynosure Bangkok (เดอะไซนอชัวร์ บางกอก), Jolie (โจลี่), Cosmo (คอสโม่) โซนผ้าม้วน เช่น DM

Read More

ปลาแอนโชวีของกอลลีอูร์

  Column: From Paris อองรี มาติส (Henri Matisse) อยู่ในกระแสอิมเพรสชั่นนิสต์ เดินทางไปยังเมืองกอลลีอูร์ (Collioure) ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ติดชายแดนสเปน ห่างจากสเปนเพียง 20 กิโลเมตร อยู่ในจังหวัด Pyrénées Orientales แล้วประทับใจแสงแดดอันเจิดจ้าและทะเลสีสวย จึงชักชวนอองเดร เดอแรง (André Derain) ให้มาร่วมวาดรูปด้วย เป็นภาพเขียนที่จัดจ้านด้วยสีสัน จนเป็นกระแสโฟวิสม์ (fauvisme) เสียงร่ำลือเกี่ยวกับกอลลีอูร์ทำให้ต้องไปเยือนเมืองนี้เมื่อหลายปีที่แล้ว บ้านพักเป็นจำพวก bed & breakfast ซึ่งฝรั่งเศสเรียกว่า chambres d’hôtes บ้านอยู่บนเนินที่มองลงมาเห็นทะเลสวย สนนราคาแพงทีเดียวเมื่อเทียบกับช่วงที่ไป เพราะพ้นฤดูท่องเที่ยวแล้ว กล่าวคือกลางเดือนพฤศจิกายน วันที่เดินทางไปถึงคือวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันสุดท้ายของฤดูท่องเที่ยวของเมืองนี้ พลันในวันรุ่งขึ้นร้านค้าจำนวนหนึ่งปิดเพราะถึงคราวไปพักผ่อนบ้าง เมืองจึงค่อนข้างเงียบเหงา ถึงกระนั้นชาวเมืองก็ยังคงกิจกรรมปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดนัด ในอดีตกอลลีอูร์เคยเป็นของสเปน ต่อมากษัตริย์หลุยส์ที่ 11 ยึดเมืองไว้เป็นของฝรั่งเศสระหว่างปี 1475-1481 โปรดให้สร้างป้อมปราการ แต่แล้วกษัตริย์ชาร์ลส์ที่

Read More

ปตท. จำหน่ายข้าวจากโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา”

 ปตท. จำหน่ายข้าวสารตรงจากมือชาวนา ณ บริเวณด้านข้างร้านคาเฟ่อเมซอน อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ และอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ถ.วิภาวดี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชมการเปิดจำหน่ายข้าว ที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” โดยมีเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหาร ปตท. ให้การต้อนรับ เทวินทร์เปิดเผยว่า ปตท. เพิ่มช่องทางบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาโดยประสานงานกับเครือข่ายเกษตรกรจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มต่างๆ หมุนเวียนนำข้าวสารคุณภาพมาจำหน่ายที่อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ และอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ถ.วิภาวดี ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน 2559 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการรวมพลังซื้อข้าวจากชาวนา” ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกร

Read More

ข้าว: ความมั่นคงทางอาหาร และสังคมไทย

  “... ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...”  กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2536 นอกจากจะเป็นมิ่งขวัญและให้ความสำคัญแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแล้ว ยังสะท้อนพระวิสัยทัศน์ที่ลุ่มลึกในมิติของความมั่นคงทางอาหารอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นความมั่นคงในมิติที่แตกต่างออกไปจากความนึกคิดของบรรดาขุนศึกนายพลและผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางมิติของความมั่นคงแบบเดิม ที่เน้นย้ำเรื่องการมีอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้สร้างสมดุลแห่งความหวาดระแวง และอาจจะไม่มีความเข้าใจเลยจนพร้อมจะกล่าวล้อเล่นด้วยการไล่ชาวนาไปขายปุ๋ยแทน เมื่อถูกถามว่าจะแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำแต่ราคาปุ๋ยแพงอย่างไร สติปัญญาในการแก้ปัญหาราคาข้าวที่ดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันกลายเป็นการผลิตซ้ำมาตรการที่คณะผู้บริหารชุดปัจจุบันพยายามจะชี้ว่ามีความผิดพลาดในอดีต แต่แล้วในที่สุดก็ด้อยความสามารถที่จะคิดหาวิธีในการแก้ไข เยียวยาให้ไปสู่มิติใหม่ที่ไปไกลกว่าเดิม ข้อเท็จจริงของความคืบหน้าในการแก้ปัญหาว่าด้วยเรื่องข้าวในปัจจุบัน ก็คือ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกลไกของ คสช. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบโรงสีและโกดังข้าว ควบคู่กับการพบเกษตรกร พร้อมกับมาตรการช่วยเหลือและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว มาตรการที่ว่านี้ประกอบด้วย สินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 13,000 บาท จากฐานการคำนวณที่ว่า ข้าวในปัจจุบันมีราคาอยู่ระหว่างตันละ 9,700-12,000 บาท จึงควรมีราคาเฉลี่ยที่ตันละ 11,000 บาท  โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

Read More

พระราชดำริคืนชีวิตชาวม้ง พลิกไร่ฝิ่นสู่พืชออร์แกนิค

  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เคยพระราชทานไว้ในวันเปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 ความว่า  “...คำว่าชาวบ้านนี้ จะเรียกชาวบ้านก็ได้ ชาวเขาก็ได้ ก็เป็นชาวบ้านทั้งนั้น เคยไปถามชาวเขา พูดถึงเรื่องว่าจะทำโครงการอย่างไร อะไร เราก็ช่วยกันนะ เขาบอกว่า หมู่เฮาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน ก็หมายความว่า เป็นคนไทยเป็นชาวบ้านทั้งสิ้น ช่วยกันทำ เขาก็อยากอยู่ในกฎหมาย ทำงานสุจริต หรือถ้าเราทำอะไรที่มีเหตุผล เขาก็จะช่วยรักษาป่า 3 อย่างให้เรา”  ชาวไทยภูเขา หรือชาวเขา ที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศเพื่อนบ้าน มีจำนวนประมาณ 500,000 คน แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่มีวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ของตนเอง ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ลักษณะการดำรงชีพของชาวเขาที่ร่อนเร่ไปตามเทือกเขาสูงห่างไกล รูปแบบของเกษตรกรรมจึงเป็นการทำไร่เลื่อนลอย ไร่ข้าวโพด รวมไปถึงการปลูกฝิ่น ซึ่งจะมีการแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตรในรูปแบบของตัวเองเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าในยุคสมัยหนึ่งการปลูกฝิ่น การค้าฝิ่น จะยังเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและมีการออกกฎหมายห้ามตั้งแต่การผลิตและการค้า แต่ชาวเขาในช่วงเวลานั้นก็ยังไม่ยอมเลิกปลูกฝิ่น ทั้งเหตุผลในเรื่องราคาสูง เป็นแหล่งรายได้อย่างดีของชาวเขาที่สามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ และเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่จากภาครัฐจะเข้าไปควบคุมดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากพื้นที่เป็นยอดเขาสลับซับซ้อน

Read More

แอลกอฮอล์ทำร้ายคนวัยกลางคนมากแค่ไหน

 Column: Well – Being ว่ากันว่าการดื่มไวน์สักแก้วเป็นครั้งคราวถือเป็นคุณต่อร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้น รูปแบบการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของเราเปลี่ยนไป แม้ดื่มเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างที่เราไม่คาดคิด เมื่ออายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มทำงานช้าลง จึงส่งผลกระทบต่อการเผาผลาญแอลกอฮอล์ด้วย ดร.แอนดริว รอชฟอร์ด แห่งหน่วยงาน DrinkWise อธิบายว่า “ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าขณะที่เราอายุยังน้อย ทำให้แอลกอฮอล์และผลพลอยได้จากการดื่มตกค้างอยู่ในระบบของร่างกายนานขึ้น นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายยังมีน้ำในระบบน้อยลงด้วย ทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเข้มข้นขึ้น” นิตยสาร GoodHealth ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า แอลกอฮอล์ทำร้ายร่างกายคุณได้มากแค่ไหนเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ขนาดรอบเอวของคุณ เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ระบบเผาผลาญทำงานช้าลงและร่างกายต้องการพลังงานน้อยลงในการคงน้ำหนักตัวเอาไว้ เมื่อคำนวณจำนวนพลังงานอย่างละเอียด จะเห็นว่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูงมาก เอลิสัน แม็คเอลิส นักกำหนดอาหารให้ข้อมูลว่า “ไวน์หนึ่งแก้วขนาด 150 มิลลิลิตร ให้พลังงานถึง 430 กิโลจูลส์ ซึ่งมากกว่าขนมปังกรอบรสช็อกโกแลตหนึ่งแผ่นเสียอีก เมื่อระบบเผาผลาญทำงานช้าลง การดื่มแอลกอฮอล์แต่ละแก้วจึงให้พลังงานในมื้ออาหารนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีแนวโน้มน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ขณะมีอายุมากขึ้น จึงแนะนำให้คิดว่า แอลกอฮอล์เป็นเหมือนอาหารขยะ หากต้องการดื่มให้ดื่มเป็นครั้งคราวในปริมาณน้อยเท่านั้น ผิวหนังของคุณ เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ระบบในร่างกาย มีผลให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดเหล่านี้อ่อนแอลงและสูญเสียความสามารถในการหดตัวกลับสู่สภาพเดิม

Read More