Home > Cover Story (Page 180)

ตลาดร้านกาแฟพรีเมี่ยม ทั้งเดือด ทั้งขม…แต่เย้ายวน

 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักข่าวสายธุรกิจ การตลาด และสายสังคม คงต้องรวมข่าวการบินมาเยี่ยมชมกิจการสตาร์บัคส์ในเมืองไทยครั้งแรกของ “ฮาวเวิร์ด ชูลท์ซ” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ แบรนด์กาแฟพรีเมี่ยมชั้นนำของโลกที่มีอายุกว่า 40 ปีโอกาสนี้ ซีอีโอสตาร์บัคส์วัย 60 ปี ยังได้เชิญผู้บริหารของศูนย์การค้าเกือบทุกแห่งของเมืองไทยและเจ้าของพื้นที่เช่ามาพบปะพูดคุย ณ ร้านสตาร์บัคส์ สาขาหลังสวน ซึ่งเพิ่งเปิดตัวใหม่ในฐานะ “คอมมิวนิตี้ สโตร์” แห่งแรกของเมืองไทย และแห่งแรกนอกอเมริกา ซึ่งคอนเซ็ปต์ของร้านรูปแบบนี้คือ สตาร์บัคส์จะมอบรายได้ 10 บาทจากเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ทุกแก้วที่ขายได้จากร้านนี้ เพื่อนำเงินไปสนับสนุนและพัฒนาชุมชนสำหรับ ร้านเพื่อชุมชนที่หลังสวน สตาร์บัคส์ตั้งใจนำเงินจากส่วนนี้มอบแก่องค์กรพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (The Integrated Tribal Development Program) หรือ ITDP เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไร่กาแฟทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟ “ม่วนไจ๋” ให้กับสตาร์บัคส์มานานกว่า 10 ปีนอกจากการมาเป็นเกียรติในการเปิดร้านกาแฟเพื่อชุมชนแห่งที่ 4 ของสตาร์บัคส์ มร.ฮาวเวิร์ด ยังถือโอกาสร่วมฉลองครบรอบ

Read More

“สหพัฒน์” ปูพรม “ซูรูฮะ” ลุยบิ๊กโปรเจกต์ “เจพาร์ค”

ซูรูฮะเตรียมเปิดสาขาโมเดลต้นแบบญี่ปุ่นขนาด 900 ตร.ม. ที่สวนอุตสาหกรรมศรีราชา เพื่อนำร่องรองรับบิ๊กโปรเจกต์ "เจพาร์ค" ของเครือสหพัฒน์“อิราไชมาเสะ..” คำทักทายต้อนรับลูกค้าของพนักงานหน้าร้านน่าจะเป็นจุดขายอย่างแรกนับตั้งแต่ก้าวเข้ามาใช้บริการในร้านซูรูฮะ และลึกๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่ตอกย้ำจุดยืนและแผนการใหญ่ของเครือสหพัฒน์ในการพัฒนาช่องทางค้าปลีก โดยเลือกกลุ่มทุนญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรอย่างแนบแน่นและผูกพันกันมาตั้งแต่ยุคการร่วมทุนกับไลอ้อน คอร์ปอเรชั่น เมื่อ 40 ปีก่อน การจับมือกับ “ลอว์สัน” คอนวีเนียนสโตร์อันดับ 2 ของญี่ปุ่น ยกเครื่องธุรกิจร้านสะดวกซื้อจาก “108 ช็อป” เป็น ”ลอว์สัน 108” ดึง “ซูมิโตโม่ กรุ๊ป” ตั้งบริษัท ช้อปโกบอล (ประเทศไทย) เพื่อรุกธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง และการร่วมทุนกับบริษัท ซูรูฮะ ประเทศญี่ปุ่น เปิดร้านดรักสโตร์สไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ จึงถือเป็นแผนดำเนินงานต่อเนื่องที่ “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ดร.กิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น (Waseda University) ผู้เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของธุรกิจเกือบทุกรูปแบบของญี่ปุ่น วางไว้เพื่อแก้โจทย์การตลาดในไทย การขยายช่องทางการกระจายสินค้าและเปิดหน้าร้านที่มีประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุดขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตลาดดรักสโตร์ หรือร้านขายยาและสินค้าสุขภาพอยู่ในจังหวะเติบโตต่อเนื่อง เฉพาะตลาดยามีมูลค่ากว่า 100,000

Read More

“ซันโทรี่-คิริน” สยายปีก ปรับกลยุทธ์กินเค้กเออีซี

 การเข้ามาร่วมทุนของบริษัท ซันโทรี่ ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เมื่อ 6 ปีก่อน มีแผนการใหญ่ชัดเจน เพื่อสยายปีกรุกธุรกิจเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการเปิดตัวสินค้าและปูพรมสู่ประเทศต่างๆ ล่าสุด ซันโทรี่โฮลดิ้งส์เตรียมแผนหวังระดมทุนครั้งใหญ่จากตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่น เพื่อเร่งรัดเดินเกมบุกตลาดทั่วโลก รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ “เออีซี”  ซึ่งถือเป็นเค้กก้อนใหญ่มูลค่ามหาศาลจากจำนวนประชากรมากกว่า 600 ล้านคน อย่างไรก็ตาม แม้ซันโทรี่ถือเป็นบริษัทเครื่องดื่มของญี่ปุ่นที่เก่าแก่กว่า 100 ปี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโอซากา เป็นที่รู้จักในฐานะบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น รวมถึงขยายธุรกิจเป็นผู้นำด้านเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์หลายประเภทภายใต้แบรนด์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจอาหารสุขภาพ ร้านอาหารจานด่วน ร้านอาหารและร้านดอกไม้ มีเครือข่ายธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย มียอดขายรวมมากกว่า 1,851,000 ล้านเยน  ซึ่งการร่วมทุนกับทิปโก้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการธุรกิจเครื่องดื่มอย่างมาก แต่การเปิดตัวสินค้าภายใต้ความร่วมมือกันกลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว “มิเรอิ” หรือฟังก์ชันนอลดริงค์อย่าง “ดาการะ” และ “เบิร์น” โดยเฉพาะ “มิเรอิ” ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ซันโทรี่พัฒนาขึ้นมาเพื่อเจาะตลาดอาเซียนและเปิดตัวที่ประเทศไทยเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2554  เนื่องจากมองตลาดชาเขียวพร้อมดื่มในไทยมีการเติบโตสูงต่อเนื่องและเชื่อในจุดแข็งด้านช่องทางจำหน่ายของทิปโก้

Read More

พืช…มงคล เพาะหว่านพืช…ต้องหวังผล

เมล็ดพันธุ์ที่ดีเป็น “แหล่งกำเนิดอาหารคุณภาพของโลก”ทุกวันพืชมงคล คนไทยจะได้เห็นภาพการถ่ายทอดสดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญผ่านทางทีวีสาธารณะ พร้อมกับลุ้นว่าปีนั้นพระโคจะเสี่ยงทายอะไร ภาพพระราชพิธีเป็นเครื่องย้ำเตือนว่า ประเทศไทย (เคย) เป็นประเทศเกษตรกรรม แม้ว่าสังคมเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันจะพึ่งพารายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมานานแล้วภาพสุดท้ายของพระราชพิธีในทุกๆ ปีคือ ภาพประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรกรูกันเข้าไปแย่งชิงเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานที่ใช้ในพระราชพิธี คนกลุ่มหนึ่งตั้งใจนำไปบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนเกษตรกรหลายคนตั้งใจนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปเป็นปลูกไว้ทำพันธุ์ในแปลงข้าว เพราะเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะเป็นหัวใจของผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูงคงไม่มีเกษตรกรคนใดที่หว่านเมล็ดพันธุ์แล้วไม่หวังผลที่ดีที่สุดจากการลงทุนและลงแรงในแต่ละครั้ง แต่กว่าที่ผลลัพธ์จะประจักษ์ว่าขาดทุนหรือได้กำไร ก็ต้องใช้เวลารอคอยด้วยความคาดหวัง“ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ดี ลงทุนไปแล้ว 2-3 เดือน ไถดิน ของออกมาไม่ดี แย่เลย การลงทุนเสียหายหมด เพราะฉะนั้นเราเน้นมากเรื่องความเชื่อถือได้ สินค้ามีคุณภาพ และด้านบริการหลังการขาย” คำกล่าวของมนัส เจียรวนนท์ ในฐานะประธานคณะผู้ปฏิบัติการ บริษัท เจียไต๋ จำกัด“เจียไต๋” เป็นบริษัทที่บุกเบิกธุรกิจค้าเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพมาตั้งแต่ปี 2464 จุดเริ่มต้นจากแผงลอยเล็กๆ ย่านทรงวาด โดยนำเข้าเมล็ดพันธุ์ผักคุณภาพจากประเทศจีนมาขาย ภายใต้วิสัยทัศน์ของ “เจี่ย เอ็กชอ” และ “ชนม์เจริญ เจียรวนนท์” พ่อและอาของเจ้าสัวซีพี เจียไต๋จึงถือเป็นธุรกิจแรกและเป็นรากเหง้า (original) ของเครือซีพี มนัสเป็นลูกชายคนเล็กของชนม์เจริญ เข้ามาดูแลธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2527

Read More

“ทิปโก้” ยกเครื่อง สู้พิษชาเชียว

 อากาศที่ดูเหมือนจะร้อนขึ้นทุกวันกลายเป็นปัจจัยเพิ่มดีกรีการแข่งขันในกลุ่มเครื่องดื่มทั้งตลาดที่มีมูลค่ากว่า 140,000 ล้านบาท  โดยเฉพาะกระแสตลาดเครื่องดื่มชาเขียวที่กลายเป็นเซกเมนต์เติบโตสูงสุดเฉลี่ย 30-35% ต่อปี เบียดตลาดเครื่องดื่มกลุ่มอื่นๆ อย่าง “น้ำผลไม้” ซึ่งโตแบบทรงๆ ไม่เกิน 15% ต่อปี  จนกลายเป็นเซกเมนต์ที่โดนกินส่วนแบ่งมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่ใช่แค่ชาเขียว แต่ยังเจอกลุ่มฟังก์ชันนอลดริงค์ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแนวใหม่รุกไล่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดรวมเครื่องดื่มกว่า 130,000-140,000 ล้านบาท แบ่งเป็นตลาดน้ำอัดลม 44,000-45,000 ล้านบาท น้ำดื่ม 23,000ล้านบาท เครื่องดื่มชูกำลัง 20,000ล้านบาท ชาพร้อมดื่ม 13,000 ล้านบาท น้ำผลไม้ 12,000 ล้านบาท  กาแฟพร้อมดื่มประมาณ 10,000ล้านบาท ฟังก์ชันนอลดริงค์และเครื่องดื่มผสมวิตามิน  5,000ล้านบาท และเครื่องดื่มเกลือแร่   4,200 ล้านบาท ในตลาดน้ำผลไม้ยังแบ่งเป็นตลาดน้ำผลไม้แท้ 100% ระดับพรีเมียม มูลค่า  4,500 ล้านบาท ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นตลาดกลางและล่าง 7,500 ล้านบาท ซึ่งมีมากกว่าร้อยแบรนด์ ทั้งรายย่อยและรายใหญ่อย่าง

Read More

สงครามน่านฟ้าอาเซียน โลว์คอสต์ บูม

 กว่า 10 ปีก่อน การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะเป็นความสะดวกที่มีไว้ให้เฉพาะคนร่ำรวย และเป็นความใฝ่ฝันของคนรายได้ต่ำทั้งหลาย กระทั่งเกิดสายการบินต้นทุนต่ำ การนั่งเครื่องบินจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยสายการบินที่ถือว่ามีบทบาทในการพลิกน่านฟ้าของไทยและอาเซียน คือ แอร์เอเชียสำหรับเมืองไทย “ไทยแอร์เอเชีย” เปิดตัวเมื่อต้นปี 2546 ด้วยสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” โดยเที่ยวบินราคาต่ำรอบแรกเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 อันเป็นช่วงเดียวกับที่ “นกแอร์” เปิดตัวในฐานะสายการบินโลว์คอสต์รายที่ 2 ของเมืองไทย โดยมีการบินไทยเป็นแบ็กอัพมาถึงวันนี้ ธุรกิจการบินในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจของอาเซียนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจการบินขยายตัวตามไปด้วย แต่เชื่อกันว่า ทันทีที่เปิดเสรีน่านฟ้าอาเซียนในปี 2558 โอกาสการเติบโตของธุรกิจการบินจะมากกว่านี้อีกมหาศาลเพื่อรองรับตลาดอาเซียนที่ใหญ่กว่าไทย 10 เท่า ช่วงที่ผ่านมาหลายสายการบินในไทยจึงมีความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง โดยเฉพาะ “เบอร์หนึ่ง” ในตลาดโลว์คอสต์ โดยปีที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาขยายฝูงบิน เพิ่มเที่ยวบิน และเปิดเส้นทางบินใหม่ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเส้นทางสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเส้นทางสู่ประเทศจีนตอนใต้ถึง 7 เมือง

Read More

สหพัฒน์ งัดหมัดเด็ด “ลอว์สัน 108” สู้ยักษ์ค้าปลีก

 หลังจากซุ่มเงียบอยู่นาน ในที่สุด ค่ายสหพัฒน์ของกลุ่มโชควัฒนา เริ่มเปิดฉากร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน 108” ประเดิมสาขาแรกหน้าบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ย่านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และขยายตามมาติดๆ อีก 2 สาขา ลาดพร้าว 101 และร่มเกล้า 21 โดยเร่งทยอยงัดหมัดเด็ดต่อสู้กับเครือข่ายยักษ์ค้าปลีกที่กำลังกินรวบทุกช่องทางการจำหน่าย ตั้งแต่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ซูเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์สโตร์ไปจนถึงศูนย์ค้าส่งขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันตลาดคอนวีเนียนสโตร์ถือเป็นเซกเมนต์ที่มีอัตราเติบโตสูงสุด 10-15% ต่อปี จากมูลค่าตลาดค้าปลีกรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท และหากเทียบอัตราส่วนประชากรต่อร้านกับประเทศอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น 2,800 คนต่อร้าน ไต้หวันและเกาหลี 2,500 คนต่อร้าน ขณะที่ไทยเฉลี่ย 6,800 คนต่อวัน เกิดการช่วงชิงโอกาสการเติบโตไม่ต่างจากญี่ปุ่นที่ผุดร้านสะดวกซื้อในทุกตรอกซอกซอย โดยเฉพาะในปี 2556 คาดว่าจะมีการเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่ในไทยไม่ต่ำกว่า 1,000 สาขา เพิ่มจากปีก่อนๆ ที่ขยายปีละ 700-800 สาขา การพลิกสถานการณ์ในช่วงจังหวะที่ธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์กำลังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

Read More

สำรวจเครือข่าย รพ.ไทย ในอาเซียน ก่อนเปิดประตูสู่ AEC

 ไม่เพียงธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่สยายปีกออกสู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะในเมืองที่เป็น “หน้าด่านการค้า” สำคัญ เพื่อเตรียมรับกับกระแสการเปิดประชาคมอาเซียนในอีกไม่ถึง 3 ปี โรงพยาบาลเอกชนนับเป็นอีกธุรกิจที่เดินเครื่องมุ่งหน้าปักหมุดในหัวเมืองสำคัญตามแนวชายแดนอย่างคึกคัก รวมถึงความพยายามที่จะรุกเข้าไปปักธงในเมืองสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรอรับโอกาสทองจากเออีซีที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ในบรรดา รพ. เอกชนไทย การเคลื่อนทัพของเครือ รพ. กรุงเทพ ดูจะร้อนแรงและน่าจับตาเป็นที่สุด ทั้งนี้เพราะวิสัยทัศน์ของ “กรุงเทพดุสิตเวชการ” หรือ BGH คือการเป็น “พี่ใหญ่” ในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม) โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อรุกเข้าสู่ตลาดจีนในอนาคต “นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราต้องรุกเปิด รพ. ทางตอนเหนือ เพราะถ้าเรานำสาขาเข้าไปใกล้กับพม่าและลาวได้ก็จะใกล้กับจีนได้มากขึ้น” คำอธิบายจาก นพ.ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ หลังการควบรวมครั้งใหญ่ระหว่างเครือ รพ.กรุงเทพ กับเครือ รพ. พญาไท และเปาโลเมโมเรียล เมื่อวันที่ 1เม.ย. 2554 ส่งผลให้มี รพ. ในเครือถึง 27 แห่ง โดยมี

Read More

เปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย

ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม “25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding  เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด

Read More

“ซีพี” เฉือนคู่แข่ง ฮุบ “แม็คโคร” กินรวบ

การทุ่มทุนกว่า 188,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นแม็คโครของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จากกลุ่มบริษัท เอสเอชวี โฮลดิ้ง เอ็นวี (เอสเอชวี) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และบริษัทในเครือ  ถือเป็น “จิ๊กซอว์” ตัวสำคัญล่าสุดของธนินท์ เจียรวนนท์ ในการขยายอาณาจักรธุรกิจอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ “ซีพี” อย่างครบวงจร โดยเฉพาะการปรับกระบวนทัพยึดทุกช่องทางค้าปลีก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล แม้วงการค้าปลีกมองดีลครั้งนี้เป็นการลงทุนที่แพงมาก  แต่สำหรับซีพีถือเป็นการลงทุนที่สามารถต่อยอดหลายชั้น เนื่องจากเป็นทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบครอบคลุมตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า การแปรรูปเนื้อสัตว์ เนื้อดิบๆ กึ่งปรุงสุก ปรุงสุก ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และการเปิดหน้าร้าน ทั้งร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ขณะที่แม็คโครเป็นผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์ค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตัวเอง (Cash & Carry) มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ร้านค้าปลีก ร้านโชวห่วย โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร ธุรกิจจัดเลี้ยง (โฮเรก้า) สถาบันการศึกษา และสำนักงานต่างๆ ในรูปแบบสมาชิกจำนวนมากกว่า

Read More