Home > แม่ฮ่องสอนโมเดล

สกว. เปิดเวทีรับฟังเสียงสะท้อนจากขุนเขา ชูแม่ฮ่องสอน “เมืองพิเศษทางวัฒนธรรม”

สกว.จับมือโบราณคดี ศิลปากร จัดเวทีสาธารณะระดมสมองรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มุ่งหาแนวทางในการพัฒนาแม่ฮ่องสอนสู่ความยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์ รองพ่อเมืองฝากข้อคิดการพัฒนาปรับปรุงศิลปวัฒนธรรม ท่องเที่ยว เกษตร และการตลาดร่วมกับพื้นที่ชายแดนพม่า นายประจวบ อาจารพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดเวทีสาธารณะเรื่อง “แม่ฮ่องสอนโมเดล: เสียงสะท้อนจากขุนเขา” อนาคตแม่ฮ่องสอน: ใครกำหนด? ซึ่งจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องประชุมสวนหมอกคำรีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอนบนพื้นฐานของความรู้และกระบวนการมีส่วนร่วม สู่การบูรณาการร่วมกับการพัฒนายุทธศาสตร์ แผนและกลไกการพัฒนาตามลักษณะเฉพาะของจังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างมีเป้าหมายของสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลายภาคส่วนทั้งตัวแทนชุมชน นักวิจัยท้องถิ่น นักวิชาการสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ เอกชน นักศึกษา ประมาณ​ 60 คน รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า แม่ฮ่องสอนมีความพร้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม เราควรปรับปรุงพัฒนาเรื่องวัฒนธรรมการร่ายรำ แม้การแสดงจะน่าตื่นตาตื่นใจในครั้งแรกแต่เมื่อดูหลายครั้งก็นึกภาพออก เพราะเราอนุรักษ์อยู่ในท่าเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่รัฐคะยา ประเทศเมียนมา มีวัฒนธรรมไม่แตกต่างจากของเราแต่มีการปรับปรุงและประยุกต์พัฒนา ทำให้เห็นว่าเขามาไปไกลกว่า จึงควรนำขบคิดจะทำอย่างไรให้แม่ฮ่องสอนมีความ มั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน

Read More

ผวจ.แม่ฮ่องสอนเร่งเพิ่มผลผลิต-ผู้ซื้อ วอนสกว. ช่วยหลุดพ้นจากความยากจน

พ่อเมืองแม่ฮ่องสอนยินดีร่วมขับเคลื่อน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” สู่ความยั่งยืนพร้อมทีม สกว. ชี้ทางแก้ปัญหาให้ชาวบ้านมีรายได้และหลุดพ้นจากความยากจนต้องช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผู้ซื้อ ขณะที่ชาวบ้านห่วงภูมิคุ้มกันและการจัดการระบบในพื้นที่เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้านการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ นำคณะนักวิจัยเดินทางไปสำรวจพื้นที่บูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเข้าพบนายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหารือเรื่องการขับเคลื่อน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” สู่ความยั่งยืน ภายใต้เครือข่ายวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัยที่ สกว. ให้การสนับสนุน โดยเชื่อมโยงกับความต้องการในบริบทใหม่ของประเทศและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายอย่างแท้จริง เบื้องต้น สกว.ได้สรุปประเด็นการขับเคลื่อนในพื้นที่ประกอบด้วย สิทธิในที่ทำกิน โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และโลจิสติกส์ การจัดการเมือง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงนิเวศ การค้าชายแดน ความมั่นคงอาหาร การจัดการภัยพิบัติ และการศึกษาทั้งในและนอกระบบ โดยความร่วมมือจากภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาครัฐ อาทิ สภาพัฒน์ภาค หน่วยงานต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกล่าวว่า อยากให้เพิ่มเติมเรื่องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปัญหาสำคัญคือ ขาดผู้ซื้อ รวมถึงยังเชื่อมโยงกับปัญหาที่ดินทำกินและเอกสารสิทธิ์การครอบครองที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตน้อย จึงถูกกดราคา รวมถึงขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทั้งถนนและไฟฟ้า ไม่มีใครอยากมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตใหญ่ๆ ในพื้นที่

Read More