Home > เคล็ดลับสุขภาพดี

อาหารที่ทำให้ผมหนา & แข็งแรง

Column: Well Being “รากผมจัดว่าเป็นเซลล์ที่ทำงานแข็งขันที่สุด และมีอัตราการผลัดเซลล์สูงสุดชนิดหนึ่งของร่างกาย” นพ. อลัน เจ. บาวแมน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการฟื้นฟูเส้นผมและศัลยแพทย์การปลูกผมแห่งบาวแมน เมดิคอล กรุ๊ป รัฐฟลอริดา อธิบาย “การจำกัดอาหารหรือกินโปรตีน แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็น และวิตามินไม่เพียงพอ สามารถนำไปสู่ปัญหาโครงสร้างเส้นผมผิดปกติ รวมถึงปัญหาการสร้างเส้นผม การมีสีผมเปลี่ยนแปลง และภาวะผมร่วงได้ ถ้าคุณขาดโปรตีนซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นขั้นพื้นฐาน ร่างกายของคุณจะไม่สามารถผลิตเส้นผมที่แข็งแรงได้” ร่างกายผลิตเส้นผมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดช่วงอายุระหว่าง 15-30 ปี จากนั้นจะผลิตเส้นผมช้าลงหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังอายุ 40 ปีขึ้นไป จึงจำเป็นต้องคิดถึงเมนูอาหารซึ่งอุดมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างเส้นผมมากที่สุด ได้แก่ โปรตีน เหล็ก วิตามิน เอ, ซี, ดี และอี วิตามินบีรวม กรดไขมันโอเมก้า-3 และ 6 สังกะสี เซลีเนียม และแมกนีเซียม นพ. ซัลวาทอเร เจ. ดิ แกรนดิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนังแนะนำว่า ถ้าคุณเปลี่ยนมากินอาหารที่ช่วยสร้างเส้นผมเต็มที่แล้วแต่ยังไม่ได้ผล

Read More

เป็นมิตรกับไขมันกันดีกว่า & กินมากไปทำไงดี

Column: Well – Being ที่พูดกันว่า ไขมันทำให้คุณอ้วนได้นั้น เป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะไขมันให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน แต่ร่างกายของคุณจำเป็นต้องได้รับไขมันเพื่อทำหน้าที่ให้ได้ดีที่สุด และไขมันบางชนิดก็มีคุณสมบัติและคุณภาพดีกว่าชนิดอื่นๆ ในการช่วยค้ำจุนสุขภาพโดยรวมของคุณ การตรวจสอบปริมาณไขมันที่กินเข้าไปอย่างระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักตัว แต่การกินอะโวคาโดสักสองสามชิ้น เนยถั่วสักหนึ่งช้อนพูน หรือเหยาะน้ำมันมะกอกลงในสลัดสักหน่อย สามารถทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น หรือสามารถช่วยให้ร่างกายของคุณเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นด้วยซ้ำ และที่ไม่อาจปฏิเสธได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไขมันทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้นเสียด้วย หนังสือ Prevention Guide: Eat Clean กล่าวว่า หัวใจสำคัญอยู่ที่การเลือกกินไขมันให้ถูกชนิด เพราะไขมันที่มีอยู่ทั้งหมดไม่ได้ถูกผลิตขึ้นอย่างเท่าเทียมหรือเหมือนกัน แล้วคุณจะแยกแยะได้อย่างไรล่ะว่าไขมันชนิดไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดคือ นึกถึงไขมันในรูปของสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง ไขมันบางชนิดจัดอยู่ในประเภทไฟเขียว บางชนิดเป็นไฟเหลือง และบางชนิดเป็นไฟแดง ไขมันประเภทไฟเขียว เป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fat) และกรดไขมันโอเมก้า–3 ซึ่งสามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจได้ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดของคุณให้คงที่ ซึ่งช่วยลดอาการอยากอาหารขยะที่มีรสหวานได้ด้วย คุณแสวงหาไขมันประเภทไฟเขียวนี้ได้จากอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่มีอยู่มากมาย รวมทั้งอาหารประเภทธัญพืชเต็มเมล็ดด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่ น้ำมันมะกอก ผลมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง และเนยถั่ว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

Read More