Home > อินเทอร์เน็ต

บอร์ด ทีโอที ปรับแผนรองรับสังคม ยุค New Normal

มติที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2563 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ได้หารือการปรับแผนการดำเนินงานของ ทีโอที ให้รองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้บริการของ ทีโอที ในช่วงโควิด-19 โดย คณะกรรมการ บมจ.ทีโอที เห็นว่าโครงการเน็ตประชารัฐ สามารถนำมาขยายผลเพื่อให้ บริการประชาชนในช่วงเวลานี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของโครงการ อีกทั้งยังสามารถรองรับวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นหลัก นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ประธานคณะกรรมการ ทีโอที กล่าวว่า โครงการเน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งดำเนินการเมื่อปี 2559 โดย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) มอบหมายให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทำให้คนไทยทุกระดับสามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงได้ที่ความเร็วจากเดิม 30 Mbps/10 Mbps ปรับเพิ่มเป็น

Read More

ทีโอที จัดโปรสู้วิกฤติโควิด-19 #Save&Safe ตอบโจทย์ทุกกิจกรรมออนไลน์ ยุค Work From Home

นางพิมพ์วิมล วงษ์สุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เผยว่า ทีโอที ห่วงใยทุกคนและพร้อมสู้วิกฤต COVID-19 ไปด้วยกันกับคนไทย ขานรับนโยบายภาครัฐ Work From Home รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตที่สูงมากขึ้นโดยได้ขยายแบนวิธอินเทอร์เน็ตในประเทศจำนวน 300 Gbps และแบนวิธอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศจำนวน 280 Mbps เพื่อให้ประชาชนและ ภาคธุรกิจได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพร่วมกันให้มากที่สุด รวมถึง ทีโอที ได้ออกโปรโมชั่น Work @ home สำหรับลูกค้าประชาชนและภาคธุรกิจได้ทำงานและเรียนจากที่บ้านได้ทุกที่ ทุกเวลา ต่อเนื่องไม่มีสะดุด ด้วยบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตบนโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกแท้ (Optical Fiber Cable) 100 % แรงเต็มสปีด แรงต่อเนื่องไม่สะดุด เพื่อลดความเสี่ยง ปลอดภัยห่างไกลจากไวรัส Covid-19 และคุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพ แพ็กเกจ “Work @ home” ความเร็ว 300/300

Read More

เจาะผลกระทบ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ นักเลงคีย์บอร์ดพึงระวัง

 หลัง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ประกาศและมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กรณีดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์กันในหมู่นักท่องโซเชียลเน็ตเวิร์คไม่น้อย ซึ่งมีทั้งที่แสดงความพอใจ เห็นด้วย กับ พ.ร.บ.นี้ บ้างไม่เข้าใจเนื้อหาบางประเด็น หรือที่ร้ายที่สุดเมื่อเจอประโยคที่ว่า “ถ้าไม่อยากให้แชร์ก็อย่าโพสต์” นับเป็นตลกร้ายบนโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานบางกลุ่มแสดงความเห็นแก่ตัวและโพสต์ประโยคเหล่านี้ด้วยอารมณ์ที่แสดงถึงความเขลาทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแก้ไขเนื้อหาใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ อาจไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเท่าใดนัก หากไม่ใช่ผู้ที่ชอบแชร์หรือก๊อบปี้ข้อมูล แน่นอนว่าเหรียญมีสองด้าน สำหรับนักแชร์ นักก๊อบปี้ นักเลงคีย์บอร์ด ที่ปราศจากความระมัดระวังในการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตแล้ว คงจะได้รับผลของการกระทำไม่มากก็น้อย  นั่นเพราะเนื้อหาในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ ระบุว่าการส่งต่อข้อมูลด้วยการแชร์ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายและวิดีโอ จำเป็นต้องอ้างอิงที่มา และให้เครดิตแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เสมอ กระนั้นก็ยังมีรายละเอียดด้านมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ ในที่นี้หมายถึงการลบลายน้ำดิจิตอลออกจากภาพถ่ายหรือวิดีโอนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะถือเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน กระนั้นบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นแบ่งออกเป็นความผิดสองฐาน 1. โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ปรับ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากทำเพื่อการค้า ปรับ 100,000 บาท

Read More