Home > Copyright

เจาะผลกระทบ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ นักเลงคีย์บอร์ดพึงระวัง

 หลัง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ประกาศและมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้กรณีดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์กันในหมู่นักท่องโซเชียลเน็ตเวิร์คไม่น้อย ซึ่งมีทั้งที่แสดงความพอใจ เห็นด้วย กับ พ.ร.บ.นี้ บ้างไม่เข้าใจเนื้อหาบางประเด็น หรือที่ร้ายที่สุดเมื่อเจอประโยคที่ว่า “ถ้าไม่อยากให้แชร์ก็อย่าโพสต์” นับเป็นตลกร้ายบนโลกอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานบางกลุ่มแสดงความเห็นแก่ตัวและโพสต์ประโยคเหล่านี้ด้วยอารมณ์ที่แสดงถึงความเขลาทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีในทางที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแก้ไขเนื้อหาใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ อาจไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเท่าใดนัก หากไม่ใช่ผู้ที่ชอบแชร์หรือก๊อบปี้ข้อมูล แน่นอนว่าเหรียญมีสองด้าน สำหรับนักแชร์ นักก๊อบปี้ นักเลงคีย์บอร์ด ที่ปราศจากความระมัดระวังในการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตแล้ว คงจะได้รับผลของการกระทำไม่มากก็น้อย  นั่นเพราะเนื้อหาในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ ระบุว่าการส่งต่อข้อมูลด้วยการแชร์ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายและวิดีโอ จำเป็นต้องอ้างอิงที่มา และให้เครดิตแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เสมอ กระนั้นก็ยังมีรายละเอียดด้านมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ ในที่นี้หมายถึงการลบลายน้ำดิจิตอลออกจากภาพถ่ายหรือวิดีโอนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะถือเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน กระนั้นบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นแบ่งออกเป็นความผิดสองฐาน 1. โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ปรับ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากทำเพื่อการค้า ปรับ 100,000 บาท

Read More

พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ เกราะคุ้มครองคนทำงานสร้างสรรค์

  แม้ประเทศไทยจะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาแล้วหนึ่งฉบับ ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ฤกษ์งามยามดี 4 สิงหาคม 2558 จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการบังคับใช้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะสอดคล้องกับนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานทุกประเภทที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังต้องสอดคล้องกับการใช้สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับแรกไม่ได้ระบุบทลงโทษที่ชัดเจน สำหรับการกระทำความผิดฐานละเมิดทางอินเทอร์เน็ต แต่ถูกกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 ชัดเจน นอกจากนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ ยังเปิดช่องให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงสามารถบังคับให้ผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ยุติการละเมิด ซ้ำยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนที่อยากผลิตนวัตกรรมหรือผลงานใหม่ๆ เพิ่มขึ้น  ทางด้าน สุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย มองว่า “พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฉบับที่ 2 มีความเป็นธรรมต่อเจ้าของผลงานมากขึ้น อีกทั้งยังคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ได้มุ่งจะใช้งานลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ซึ่งการมีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักจะช่วยให้ผู้ใช้งานระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น”  ทั้งนี้สุเมธยังสนับสนุนหากประชาชนหรือผู้มีอาชีพสื่อมวลชนจะช่วยกันประชาสัมพันธ์เนื้อหาของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ภายใต้นิยามที่มีความถูกต้องของรัฐบาล   แน่นอนว่า

Read More