Home > ผู้อพยพ

ดาบหน้าของผู้อพยพ กับมนุษยธรรมของประเทศมหาอำนาจ

ภาพผู้อพยพแตกฮือวิ่งหนีหลบแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกายิงใส่ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เหล่าผู้อพยพผ่านเข้ามาจนถึงชายแดนสหรัฐฯ ได้ หลังผู้อพยพพยายามข้ามรั้วพรมแดนเมืองตีฮัวนา ประเทศเม็กซิโก เพื่อหวังจะขอลี้ภัย เหตุการณ์ความโกลาหลนี้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่จำนวนผู้อพยพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นหลายพันคน พร้อมการประกาศกร้าวจากผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะไม่ยินยอมให้ผู้อพยพผ่านเข้ามาในประเทศได้เด็ดขาด หญิงสาวยึดมือลูกของเธอแน่นขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของเธอทั้งสองคนจะไม่มีใครหลุดมือหรือพลัดหลงไปในขณะที่กำลังกระเสือกกระสนวิ่งหนีแก๊สน้ำตา เป็นภาพที่ถูกเผยแพร่ในหลายสื่อ สร้างความรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ใจไม่น้อย พร้อมเกิดคำถามว่า การกระทำดังกล่าวของประเทศมหาอำนาจ รุนแรงและไร้มนุษยธรรมเกินไปหรือไม่ ภายหลังคำสั่งอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ส่งทหารกว่า 5,000 นายไปยังพรมแดนเม็กซิโก เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยป้องกันชายแดน สหรัฐอเมริกาเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพจากหลายประเทศ ในแต่ละปีมีผู้อพยพที่แสดงความประสงค์จะขอเป็นผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะปีนี้สถานการณ์จำนวนผู้อพยพจากกลุ่มประเทศอเมริกากลางจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลายพันคน โดยเฉพาะผู้อพยพที่เดินเท้ามาจาก 3 ประเทศนี้ ได้แก่ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส ซึ่งเหตุผลที่ผู้อพยพเหล่านี้ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนและเดินทางมายังสหรัฐฯ เพราะปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงในประเทศของตัวเอง แน่นอนว่า “การไปตายเอาดาบหน้า” อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในห้วงยามนี้ กระนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศของผู้อพยพ ทางเลือกที่ว่า น่าจะมีเปอร์เซ็นต์รอด หรืออาจมีหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คำถามเรื่องมนุษยธรรมของสหรัฐฯ ที่มีต่อผู้อพยพไม่ใช่เพียงแค่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดเท่านั้น เพราะเมื่อช่วงกลางปี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดการใช้นโยบาย “ความอดทนเป็นศูนย์” กับผู้อพยพ หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ

Read More

ผู้อพยพ: ความท้าทายในโลกปัจจุบัน

ความเป็นไปของคลื่นผู้อพยพในภูมิภาคต่างๆ ของโลกกำลังเป็นภาพสะท้อนของวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ที่รอวันปะทุแตกไม่แตกต่างจากการเคลื่อนตัวของธารแมกมาใต้ปล่องภูเขาไฟ ที่นอกจากจะส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนและเคลื่อนไหวของเปลือกโลกแล้ว ยังพร้อมจะระเบิดทำลายและส่งผลต่อภูมิทัศน์โดยรอบอีกด้วย มูลเหตุของการอพยพลี้ภัยหนีถิ่นฐานของผู้คนไม่ได้เกิดขึ้นจากผลของสภาพสงครามความขัดแย้งแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากยังเกิดขึ้นจากผลของความล่มสลายทางเศรษฐกิจ ที่นำไปสู่ความแร้นแค้นทุกข์ยากลำเค็ญ ซึ่งกรณีเช่นนี้การอพยพทิ้งถิ่นของชาวเวเนซุเอลา เข้าสู่พรมแดนประเทศเพื่อนบ้าน ดูจะเป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างสนใจ และเร่งหาแนวทางในการแก้ไขอย่างกังวล วิกฤตเศรษฐกิจของเวเนซุเอลา ในด้านหนึ่งอาจเป็นเหมือนสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก เรียกได้ว่า เวเนซุเอลามีทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาลของโลกอยู่ในมือ โดยทรัพยากรที่ว่านี้ควรจะนำพารายได้มหาศาลให้กับประเทศ เมื่อรายได้ของประเทศมากกว่าร้อยละ 95 มาจากการส่งออกน้ำมันนี้ หากแต่ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจไม่ได้ดำเนินไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับเวเนซุเอลามากนัก เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกลดลง ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันปรับตัวลดลงมาสู่ระดับ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่ผลิตได้ในระดับ 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และนั่นเป็นเหตุให้รัฐบาลเวเนซุเอลาขาดรายได้จากต่างประเทศไปโดยปริยาย ความล่มสลายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของเวเนซุเอลาในห้วงเวลาปัจจุบัน ถูกระบุว่าเป็นผลพวงที่สืบเนื่องมาจากนโยบายประชานิยม ที่เน้นช่วยเหลือคนจน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินอุดหนุนราคาสินค้าอุปโภคบริโภค การอุดหนุนทางการศึกษาและค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นแนวนโยบายของ ฮูโก ชาเวซ ตั้งแต่เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 1999 และต่อเนื่องมาจนถึงวาระสุดท้ายเมื่อ ฮูโก ชาเวซ ถึงแก่กรรมในปี 2013 เมื่อ นิโกลัส มาดูโร สืบทอดอำนาจขึ้นเป็นประธานาธิบดี เขาก็ยังดำเนินนโยบายตามแนวทางเดิม ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาทรุดต่ำลงต่อเนื่อง ประหนึ่งระเบิดเวลาที่ทำให้เวเนซุเอลากลายเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจพังทลาย อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงจนเงินโบลิวาร์แทบไม่เหลือค่าขณะที่ผู้คนในประเทศอดอยากขาดแคลนทั้งอาหารและยารักษาโรค จนต้องอพยพออกจากประเทศ เพื่อหนีความอดอยากแร้นแค้น สหประชาชาติประมาณการว่านับตั้งแต่ปี

Read More

ยุโรปอบรมผู้ลี้ภัย เน้นเคารพสิทธิสตรี

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว หลายประเทศในทวีปยุโรปต้องเผชิญปัญหาผู้อพยพลักลอบเข้ามาอยู่ในยุโรปมากเกินไป ทำให้หลายประเทศที่แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีและสามารถรับผู้อพยพมาอยู่ในประเทศได้จำนวนหนึ่ง อย่างเยอรมนี สวีเดน และออสเตรีย ก็ยังต้องเผชิญปัญหา การที่มีผู้อพยพทั้งที่ขอลี้ภัยแบบถูกกฎหมายและที่ลักลอบเข้าประเทศมากเกินไป อาจส่งผลให้มีปัญหาอาชญากรรมและการว่างงานเพิ่มมากขึ้น และยังอาจเป็นโอกาสในการแฝงตัวแทรกซึมเข้ามาในประเทศต่างๆ ในยุโรปของผู้ก่อการร้ายอีกด้วย   สถานการณ์ผู้อพยพยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อสถานการณ์สงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีชาวซีเรียหรือคนมุสลิมจำนวนมากขอลี้ภัยไปอยู่ในหลายประเทศในยุโรป และมีจำนวนมากยอมเสี่ยงชีวิตเดินทางลักลอบเข้าทวีปยุโรป  องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า IOM) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ ได้เปิดเผยว่า ในช่วงเวลา 8 เดือนของปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) มีคนอพยพเข้ามาอยู่ในยุโรปถึง 267,121 คน ในขณะเดียวกันก็มีผู้เสียชีวิตถึง 3,000 คน จากการลักลอบเข้ามาในทวีปยุโรป โดยส่วนใหญ่จะเดินทางข้ามทะเลมา และสาเหตุการเสียชีวิตมาจากเรือประสบเหตุอับปางลงกลางทะเล การขาดอากาศหายใจ และถูกรมด้วยควันพิษจากเครื่องยนต์ของเรือ เพราะมีผู้อพยพจำนวนมากที่ขออาศัยมากับเรือของพวกนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ และพวกเขาจะถูกขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือในสภาพที่แออัด จากการสำรวจจำนวนผู้อพยพครั้งหลังสุดพบว่า มีคนซีเรียที่อพยพเข้าไปอยู่ในยุโรปแบบถูกกฎหมายแล้ว 313,000 คน โดยเยอรมนีรับผู้อพยพไว้มากที่สุดประมาณ 89,000 คน และสวีเดนรับไป

Read More